คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความระมัดระวัง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8144/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อและเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินฝากร่วม กรณีเงินฝากเป็นสินสมรส
การที่โจทก์กับ ม. ขอเปิดบัญชีร่วมกับธนาคารจำเลยที่ 1 โดยกำหนดเงื่อนไขในการเบิกถอนเงินจากบัญชีว่าโจทก์กับ ม. ต้องลงลายมือชื่อร่วมกันจึงจะเซ็นสั่งจ่ายเงินจากบัญชีได้นั้น ย่อมแสดงให้เห็นได้อยู่ในตัวจากสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์ถือเอาเงื่อนไขการเบิกถอนเงินตามที่กำหนดไว้ในคำขอเปิดบัญชีร่วมเป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขที่ทำให้โจทก์ผู้ฝากเงินเกิดความมั่นใจว่าหากโจทก์มิได้ร่วมลงลายมือชื่อในใบถอนเงินด้วย จะไม่มีใครสามารถที่จะเบิกถอนเงินจากบัญชีได้ ดังนั้น หากจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเงื่อนไขการเบิกถอนเงินเช่นว่านี้เป็นอย่างอื่น ย่อมต้องถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในส่วนที่เป็นสาระสำคัญยิ่งของสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กล่าวคือ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเงื่อนไขดังกล่าวก็ชอบที่ฝ่ายโจทก์คือทั้งโจทก์และ ม. จะต้องมาปรากฏตัวแสดงตนต่อจำเลยที่ 1 ด้วยตนเองหรือทำหนังสือมอบอำนาจมาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ การที่จำเลยที่ 1 เห็นว่า โจทก์และ ม. เป็นลูกค้ารายใหญ่และยอมผ่อนปรนวิธีปฏิบัติให้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้บุคคลทั้งสองมาปรากฏตัวเพื่อแสดงความประสงค์พร้อมกันด้วยตนเองต่อจำเลยที่ 1 นั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มุ่งหมายเพียงเพื่อการเอาใจลูกค้ารายใหญ่ให้ได้รับความสะดวกโดยไม่ถือปฏิบัติเช่นที่ต้องปฏิบัติตามปกติ ถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่เป็นธรรมดาที่ต้องใช้และสมควรต้องใช้ในกิจการธนาคารพาณิชย์ของตน เมื่อลายมือชื่อของโจทก์ในหนังสือขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินฝากเป็นลายมือชื่อปลอม พนักงานของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบแล้ว ไม่ทราบว่าเป็นลายมือชื่อปลอมจึงอนุมัติให้ ม. เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเบิกถอนได้ เช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้รับฝากซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์มิได้ใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ในกิจการธนาคารของตนในส่วนนี้อีกโสดหนึ่งด้วย
ขณะที่โจทก์กับ ม. เปิดบัญชีร่วมต่อจำเลยที่ 1 และ ม. ยื่นหนังสือขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินจากบัญชี รวมทั้งขณะที่ ม. เบิกถอนเงินจากบัญชีร่วมดังกล่าวไปแต่ผู้เดียวนั้น โจทก์กับ ม. ยังเป็นสามีภริยากัน ซึ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาย่อมเป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1470 และถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ตามมาตรา 1474 วรรคสอง บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ประกอบกับหากเงินในบัญชีเงินฝากเป็นของโจทก์คนเดียว ก็ไม่มีเหตุที่โจทก์กับ ม. จะกำหนดเงื่อนไขการเบิกถอนเงินว่าต้องลงลายมือสั่งจ่ายทั้งสองคนร่วมกัน จึงฟังว่าเงินในบัญชีเงินฝากที่ ม. เบิกถอนไปนั้นเป็นสินสมรส ซึ่งโจทก์มีส่วนอยู่เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาททางถนน: ผู้ขับชนท้ายต้องรับผิดชอบหากไม่ใช้ความระมัดระวังแม้ผู้ถูกชนกลับช่องทางไม่ปลอดภัย
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน ขณะที่คนขับรถยนต์คันที่บริษัทโจทก์รับประกันภัยไว้ขับรถแซงรถคันหน้าขึ้นไปแล้วกลับเข้ามาในช่องเดินรถเดิม จำเลยซึ่งขับรถอยู่ห่างจากรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ทางด้านหลัง ย่อมมองเห็นตลอดเวลาและควรใช้ความระมัดระวังชะลอความเร็วของรถลงเนื่องจากเป็นเวลาหลังฝนตกถนนลื่น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ การที่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้แล่นกลับเข้ามาในช่องเดินรถเดิมและอยู่ห่างรถยนต์ที่จำเลยขับประมาณ2 เมตร แต่จำเลยไม่สามารถห้ามล้อหยุดรถได้ทัน เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับชนท้ายรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ แสดงว่าจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายประมาทยิ่งกว่าคนขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายสองในสามส่วนให้แก่โจทก์ที่รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5491/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการจอดรถกีดขวางการจราจรและขาดความระมัดระวังยามค่ำคืน
ป. คนขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัย จอดรถบรรทุกบนไหล่ทางตรงที่เกิดเหตุล้ำไหล่ทางขึ้นไปบนถนนถึง 80 เซนติเมตร ทั้งที่ถนนกว้างเพียง 7 เมตร และแบ่งทางเดินรถเป็นสองช่องเดินรถไปกลับ ทางเดินรถแต่ละช่องจึงกว้างเพียง 3.50 เมตร ป. ยังจอดรถล้ำขึ้นไปบนถนนมากขนาดนั้น อีกทั้งเป็นเวลากลางคืนแรม 8 ค่ำ ไม่มีแสงสว่าง ไม่มีไฟฟ้าบนไหล่ทาง ไม่มีบ้านเรือนผู้คนอยู่ใกล้เคียง ป. ไม่สมควรจะจอดรถนอนบริเวณนั้น ควรจะหาสถานที่ที่เหมาะสมกว่า แต่เมื่อ ป. จอดรถนอนตรงนั้นแทนที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รถอื่นที่ใช้ถนนมองเห็นรถที่จอดอยู่ เช่น เปิดโคมไฟ จุดตะเกียงหรือแม้แต่ก่อกองไฟด้านท้ายรถเพื่อแสดงสัญญาณให้ผู้อื่นรู้ ป. ก็ไม่ได้กระทำ แต่กลับดับเครื่องยนต์แล้วเข้าไปนอนอยู่ในรถโดยไม่ใยดีเลยว่าจะเกิดความเสียหายเป็นอันตรายต่อใคร การกระทำของ ป. เช่นนี้เป็นความประมาทอย่างร้ายแรงไม่น้อยกว่าคู่กรณีอีกฝ่าย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าเสียหายของแต่ละฝ่ายเป็นพับกันไป จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9047/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยต้องไม่ใช่ความผิดผู้ประสบภัย และป้องกันไม่ได้แม้ใช้ความระมัดระวัง
เหตุที่จะถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 ต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของบุคคลผู้นั้นและต้องเป็นเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้ แม้บุคคลผู้ประสบเหตุนั้นจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว การที่จำเลยได้ประกาศขายโครงการก่อสร้างบ้านที่พักอาศัยแก่ประชาชนโดยทั่วไปรวมทั้งโจทก์ไปแล้วโดยที่ยังไม่ได้ตระเตรียมเงินลงทุนไว้ให้พร้อมเสียก่อน เมื่อเกิดมีปัญหาเกี่ยวกับเงินลงทุนโดยสถาบันการเงินระงับการให้กู้ในระหว่างนั้นอันเป็นผลมาจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้การดำเนินกิจการโครงการก่อสร้างหยุดชะงักอันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเงินลงทุนครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะความผิดของจำเลยโดยแท้ที่ไม่เตรียมป้องกันทั้ง ๆ ที่สามารถป้องกันได้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9047/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ใช้ความระมัดระวังแล้ว การขาดเงินทุนจากการไม่เตรียมการ ถือเป็นความผิดของจำเลย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 เหตุที่จะถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยนั้นจะต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของบุคคลนั้น และต้องเป็นเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้แม้ผู้ประสบเหตุนั้นจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
จำเลยประกาศขายโครงการบ้านที่พักอาศัยแก่ประชาชนทั่วไปรวมทั้งโจทก์ไปแล้ว โดยที่ยังไม่ได้เตรียมเงินลงทุนไว้ให้พร้อมเสียก่อนต่อมาเกิดปัญหาเกี่ยวกับเงินลงทุนโดยสถาบันการเงินระงับการให้กู้อันเป็นผลมาจากวิกฤติเศรษฐกิจทำให้การก่อสร้างหยุดชะงักดังนี้การที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนดังกล่าวเกิดขึ้น เพราะความผิดของจำเลยที่ไม่เตรียมป้องกันทั้ง ๆ ที่สามารถป้องกันได้จึงไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการทวงหนี้ผิดพลาด - จำเลยต้องระมัดระวังตรวจสอบข้อมูลลูกหนี้ก่อนดำเนินการ
แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ของจำเลย แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนา อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวันลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลย และลงความเห็นว่าถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความให้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว ดังนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อหรือไม่ใยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลังโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความของจำเลยหรือจำเลยทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนถูกหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้วครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความผิดเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากลายมือชื่อปลอมในใบถอนเงิน หากไม่ใช้ความระมัดระวังตามวิชาชีพ
++ เรื่อง ฝากทรัพย์ ตัวแทน ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยที่ 4สาขาบางนา มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชี จำเลยที่ 2 เป็นสมุห์บัญชีจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการ โจทก์เป็นลูกค้าจำเลยที่ 4 สาขาบางนาโดยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ต่อมาวันที่ 20เมษายน 2538 มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ดังกล่าว 2 ครั้งรวมเป็นเงิน 350,000 บาท
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 4 ข้อแรกว่าลายมือชื่อในใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 เป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เมื่อพิเคราะห์ใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 แล้ว ปรากฏว่าลงวันที่ 20 เมษายน 2538 แต่ตามเอกสารหมาย จ.20 ตีตราประทับของจำเลยที่ 4 สาขาบางนาว่า วันที่ 20 มีนาคม 2538 ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง และเลขที่บัญชีออมทรัพย์ของโจทก์ก็ไม่ถูกต้องโดยระบุบัญชีเลขที่058-2-0477-9 ที่ถูกต้องบัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ในช่องผู้จ่ายและอนุมัติไม่มีลายมือชื่อผู้จ่ายเงินและผู้อนุมัติ ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและช่องลายมือชื่อผู้รับเงินแต่ละช่องมีการลงลายมือชื่อถึงสองลายมือ เมื่อนำลายมือชื่อดังกล่าวเปรียบเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 ตามเอกสารหมาย จ.1 เห็นได้ว่า ลายมือแรกไม่มีลักษณะรูปแบบใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกันแต่ประการใด ส่วนลายมือชื่อที่สองดูผิวเผินเห็นว่ามีคำว่า "สุ" ซึ่งเป็นชื่อคำแรกของโจทก์ แต่เมื่อตรวจพิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ชัดว่าลีลาในการเขียนและคุณสมบัติรูปร่างตัวอักษรแตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนใบถอนเงินตามเอกสารหมาย จ.21 ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีมีถึง 4 ลายมือชื่อ เป็นหมึกสีดำกับสีน้ำเงิน ลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อผู้รับเงินมีลายมือชื่อเดียวเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งลายมือชื่อทั้งห้าลายมือชื่อในช่องเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและไม่คล้ายคลึงกันแต่ประการใดเลย ซึ่งศาลสามารถตรวจพิเคราะห์และมีความเห็นได้เองโดยไม่จำต้องอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ประการใดและไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญประกอบการพิจารณาตามที่จำเลยที่ 1และที่ 4 ฎีกาแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 เช่นนี้แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มาถอนเงินตามใบถอนเงินทั้งสองฉบับ ซึ่งมีข้อพิรุธ ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่อผู้ถอนเงินและผู้รับเงิน จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยความละเอียดรอบคอบเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอแล้วย่อมจะทราบว่าไม่คล้ายคลึงกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ในธุรกิจธนาคารหาได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจธนาคารไม่ เป็นการกระทำผิดหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์กับโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 4 ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนและกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ในกิจการนี้ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป คงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ข้อสุดท้ายที่ฎีกาว่า โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วย เพราะโจทก์ต้องเก็บรักษาสมุดคู่ฝากไว้เป็นอย่างดีมิใช่นำไปเก็บไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และโจทก์ทราบว่าสมุดคู่ฝากหายหลังจากเกิดเหตุหลายเดือน อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เห็นว่า การที่โจทก์นำสมุดคู่ฝากไว้ในกระเป๋าหนังใส่ไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และเพิ่งทราบว่าสมุดคู่ฝากหายไปแล้วหลายเดือน ไม่ใช่กรณีผิดปกติวิสัย แต่เป็นกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 4 นำสืบยังฟังไม่ได้ว่า ที่สมุดคู่ฝากหายไปนั้นเกิดจากความจงใจของโจทก์ เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เพราะมีผู้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ในใบถอนเงินและนำไปถอนเงินจากจำเลยที่ 4ซึ่งจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ตัวแทนของจำเลยที่ 4 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจ ธนาคารได้จ่ายเงินให้แก่ผู้ปลอมไปดังที่วินิจฉัยข้างต้น โดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย เหตุที่สมุดคู่ฝากของโจทก์หายไปไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์นั้นชอบแล้ว สรุปแล้วฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ด้วยค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 2,000 บาท แทนโจทก์.(ธีรศักดิ์ เตียวัฒนานนท์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล - สุวัฒน์ วรรธนะหทัย)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์สัญญาประกันภัย, การเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์, ความระมัดระวังของผู้เอาประกัน, การปฏิบัติตามเงื่อนไขกรมธรรม์
โจทก์นำรถยนต์คันที่หายเอาประกันไว้กับจำเลยโดยระบุให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เป็นผู้รับประโยชน์ เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก สิทธิของบุคคลภายนอกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อได้แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญา ตราบใดที่ยังไม่ได้แสดงเจตนาดังกล่าว คู่สัญญาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิ ตามสัญญานั้นได้ เมื่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ฟ้องโจทก์ให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แสดงว่าได้สละเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยจึงเป็นคู่สัญญามีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาซึ่งกันและกันตามหลักทั่วไป และโจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยเองได้ จึงมี อำนาจฟ้อง
โจทก์เช่าสถานที่ของวัดเป็นที่จอดและอู่ซ่อมรถ บริเวณดังกล่าวมีประตูเข้าออกทางเดียว แม้ไม่มี พนักงานรักษาความปลอดภัย แต่ก็มีผู้ดูแล ถือว่าโจทก์ใช้ความระมัดระวังในการสงวนทรัพย์สินเช่นวิญญูชน พึงประพฤติตามพฤติการณ์แล้ว รถยนต์คันที่เอาประกันภัยสูญหายไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ และเมื่อทราบเหตุโจทก์ได้โทรศัพท์แจ้งจำเลยและแจ้งความต่อพนักงานตำรวจทันที แต่ขาดหลักฐาน การมอบอำนาจจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ทำให้การแจ้งความเป็นลายลักษณ์อักษรล่าช้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงยังต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของตู้นิรภัยต่อการสูญหายของทรัพย์สินที่ฝากเก็บ
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าทรัพย์สินโจทก์ทั้งสามมิได้สูญหายจริง แม้จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ แต่ปรากฏว่า จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามสัญญาเช่าตู้นิรภัยเป็นการเช่าเพื่อเก็บทรัพย์สินซึ่งตู้นิรภัยอยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลยที่ 1 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะไม่รู้เห็นการนำทรัพย์สินเข้าเก็บหรือนำออกจากตู้นิรภัย จำเลยที่ 1 ก็ไม่หลุดพ้นจากความรับผิดหากทรัพย์สินที่เก็บในตู้นิรภัยนั้นสูญหายจริง และข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ามีลายนิ้วมือแฝงที่ตู้นิรภัยซึ่งมิใช่ของโจทก์ที่ 1และที่ 2 และมิใช่ของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ด้วยเป็นข้อที่ชี้ให้เห็นว่า มีคนร้ายเข้าไปเปิดตู้นิรภัยและนำเอา ทรัพย์สินที่เก็บไปจริง จำเลยที่ 1 อ้างว่าอาจเป็นลายนิ้วมือแฝงของคนของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นั้นก็เป็นการคาดคะเน โดยปราศจากข้อเท็จจริงสนับสนุน การที่คนร้ายลักเอาทรัพย์สิน ในตู้นิรภัยไปถือเป็นความบกพร่องในหน้าที่ของจำเลยที่ 1ในการดูแลป้องกันภัยแก่ทรัพย์สิน ความระมัดระวังของจำเลยที่ 1 จึงไม่พอ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิด ชดใช้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ทรัพย์บางรายการโจทก์ที่ 1 และที่ 2 รับฝากไว้จาก อ.โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีนิติสัมพันธ์ที่จะต้องรับผิดชอบต่ออ. ย่อมถือเป็นความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเก็บรถยนต์ ผู้รับฝากต้องใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์สินเช่นเดียวกับของตนเอง หากโจทก์ไม่พิสูจน์การกระทำของผู้รับฝาก ก็ต้องรับผิด
โจทก์นำรถยนต์จอดฝากจำเลยไว้ที่หน้าร้านของจำเลย โดยไม่มีบำเหน็จค่าฝากต่อมารถยนต์ของโจทก์หายไป ข้อเท็จจริง ที่โจทก์จำเลยนำสืบรับกันว่ารถยนต์ของจำเลยจอดไว้ที่หน้าร้าน ของจำเลยเป็นประจำเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยผู้รับฝาก ได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินรถยนต์ของโจทก์เหมือนเช่นเคย ประพฤติในกิจการของจำเลยแล้ว โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ล็อกกุญแจ ประตูทุกบาน ล็อกเบรคและพวงมาลัยล็อกเกียร์ หรือตัดสัญญาณไฟ โดยถอดหัวเทียนรถยนต์ของจำเลยก่อนจอดรถยนต์ทิ้งไว้หรือไม่ เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติต่อรถยนต์ของโจทก์เช่นเดียวกัน จึงเป็น หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้ ใช้ความระมัดระวังในการดูแลรถยนต์ของโจทก์เหมือนเช่นเคย ปฏิบัติในการดูแลรถยนต์ของจำเลยเอง
of 13