พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5915/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร เมื่อมีความเกี่ยวพันกันหลายคดี และจำเลยได้รับโทษเกิน 20 ปี
โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นรายสำนวนในความผิดปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอม และยักยอกรวม 34 คดี โดยลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีดังกล่าวจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2)
การที่จำเลยร้องขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 สั่งให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เป็นการบังคับคดีที่ศาลต้องออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยร้องขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 สั่งให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เป็นการบังคับคดีที่ศาลต้องออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาต่างกรรมต่างวาระ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสามารถนับโทษต่อกันได้หากไม่มีความเกี่ยวพันกัน
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นส่วนคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืน ต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ทั้งสองคดีเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหาก โดยไม่มีความเกี่ยวพันกัน ผู้เสียหายและพยานหลักฐานเป็นคนละชุด ลักษณะคดีและความผิดคนละประเภทไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือพิจารณาพิพากษารวมกันไปได้ จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(3) ศาลย่อมนับโทษต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษจำคุกหลายคดี ต้องพิจารณาความเกี่ยวพันของการกระทำผิด หากแต่ละคดีมีวันเวลา สถานที่ และพยานหลักฐานต่างกัน ไม่สามารถรวมโทษได้
การรวมโทษของจำเลยทุกคดีแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน20 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นั้น จะต้องปรากฏว่าการกระทำผิดของจำเลยทุกคดีมีลักษณะเกี่ยวพันกันจนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 วรรคหนึ่ง หรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อปรากฏว่าคดีทั้งสามคดีที่จำเลยขอให้รวมโทษดังกล่าวเป็นคดีที่มีวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุต่างกันอยู่ในเขตอำนาจศาลต่างกัน และพยานหลักฐานก็เป็นคนละชุดกัน การกระทำผิดของจำเลยทั้งสามคดีจึงไม่ได้เกี่ยวพันกันจนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ แต่เป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 91(2) แห่งประมวลกฎหมายอาญาจึงไม่อาจรวมโทษของจำเลยทั้งสามคดีดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วคงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาที่เกี่ยวพันกัน: ต้องแสดงความเกี่ยวพันที่อาจฟ้องรวมกันได้
คำร้องของจำเลยที่ขอให้นับโทษคดีนี้รวมกับโทษจำคุกตลอดชีวิตอีกคดีหนึ่งนั้นมิได้แสดงว่าคดีทั้งสองเกี่ยวกับพันกันอย่างไรและโจทก์อาจฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวกันได้หรือไม่หรือหากโจทก์ฟ้องแยกกันมาศาลอาจมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันเพื่อความสะดวกแก่การพิจารณาพิพากษาทั้งยังปรากฏว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้อื่นส่วนคดีที่จำเลยขอให้นับโทษคดีนี้รวมกับคดีดังกล่าวนั้นจำเลยถูกฟ้องในข้อหาต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยเหตุเกิดต่างกันด้วยจึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกันไม่อาจรวมการพิจารณาพิพากษาได้หากจะให้รวมการนับโทษตามคำร้องของจำเลยก็เท่ากับว่าผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก50ปีถ้ากระทำความผิดอื่นอีกก็ไม่ต้องรับโทษซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีความผิดหลายกรรมต่างท้องที่ และความเกี่ยวพันของความผิดอาญา
จำเลยถูกกล่าวหาตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เหตุเกิดท้องที่ สภ.อ.เมืองนราธิวาส ปรากฏว่าจำเลยได้ไปแจ้งความที่ สภ.อ.สุไหงโก-ลก ว่าเช็คที่จำเลยถูกดำเนินคดีหายไป ซึ่งเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกง พนักงานสอบสวนสภ.อ. เมืองนราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยเกี่ยวกับความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกงได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(4) และโจทก์ย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จ มีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกัน และเป็นความผิดเกี่ยวพันกันซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ โดยไม่ต้องขอผัดฟ้องพร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีอาญาและการพิจารณาความเกี่ยวพันของคดี การจำกัดโทษตาม ป.อ.มาตรา 91(2)
ตาม ป.อ.มาตรา 91 (2) ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี โทษจำคุกทั้งสิ้นรวมกันต้องไม่เกิน 20 ปีนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมแต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียว หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี แต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ส่วนคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2) เช่นเดียวกัน
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอก คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ.2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกัน จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533, 7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า20 ปีได้ คดีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2535)
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอก คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ.2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกัน จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533, 7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า20 ปีได้ คดีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2535)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงานต้องมีความเกี่ยวพันกับฟ้องเดิม หากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่างกัน ศาลไม่รับพิจารณา
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแม้ว่าทิ้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตามแต่ข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานที่นำสืบเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้ ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน: โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลจังหวัด แม้บางข้อหาเป็นอำนาจศาลแขวง
แม้ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ กับความผิดต่อพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่โจทก์ฟ้องจะเป็นความผิดที่แยกเป็นแต่ละกรรมต่างกัน และความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงก็ตาม แต่ก็ได้กระทำลงโดยผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน จึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พร้อมกับความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษต่อศาลจังหวัดได้โดยมิต้องผัดฟ้องฝากขังจำเลยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกับการค้ำประกันและจำนอง: ศาลอนุญาตได้หากเชื่อมโยงกับเหตุแห่งการทำสัญญา
โจทก์ฟ้องไล่เบี้ยจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน และผู้จำนองประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์จำเลยและบุคคลอื่นเข้าหุ้นส่วนกันรับเหมาก่อสร้างโรงเรียน อันเป็นการนำสืบถึงความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลอันเป็นเหตุชักนำให้โจทก์เข้าทำสัญญาค้ำประกันและจำนอง โจทก์ย่อมนำสืบได้โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวไว้ในฟ้อง และการนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ประเด็นดังกล่าวนี้ หาจำต้องนำสืบถึงรายละเอียดและแสดงพยานหลักฐานการลงหุ้น การประมูลการก่อสร้างหรือรายละเอียดอย่างอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพลเรือนพิจารณาคดีลักทรัพย์เมื่อฟ้องรวมกับคดีบุกรุกทำลายทรัพย์สิน
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดฐานบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ในวันตามฟ้องต่อเนื่องกันนั้น เป็นคดีที่เกี่ยวกันพันตามความในมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ฉะนั้น เมื่อมีการฟ้องคดีในข้อหาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ต่อศาลพลเรือนแล้ว ศาลพลเรือนย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในข้อหาฐานลักทรัพย์ที่ฟ้องรวมกันมาด้วย