คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเข้าใจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ หากความเข้าใจของจำเลยสอดคล้องกับเหตุการณ์จริง แม้ผลทางกฎหมายจะต่างกัน ก็ไม่ถือเป็นความเท็จ
การกระทำของโจทก์กับพวกเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจได้ว่าเป็นการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ และทำให้เสียทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ตามที่จำเลยแจ้ง และพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ คดีของโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องพิจารณาจากความเข้าใจของวิญญูชนทั่วไป ไม่ใช่ความรู้สึกของผู้ถูกใส่ความ
ข้อความที่จำเลยทั้งหกลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน ในคอลัมน์ยุทธจักรแปดแฉก ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์นั้น เป็นข้อความทั่วๆ ไปที่วิจารณ์การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับการคัดเลือกตัวบุคคลที่จะเข้ารับตำแหน่งสำคัญในสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า ควรเป็นบุคคลที่อุทิศตนเพื่อทางราชการ โดยไม่มีข้อความใดที่ทำให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เข้าใจว่า เจ้าพนักงานตำรวจที่ใช้เวลาราชการไปสะสางเรื่องส่วนตัวตั้งแต่เช้าจรดเย็นเป็นตัวโจทก์ การที่โจทก์นำบทความที่จำเลยที่ 6 เขียนไว้ในคอลัมน์อื่นก่อนหน้านี้มารวมเข้ากับข้อความในคอลัมน์ดังกล่าวว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ก็เป็นเพียงความเข้าใจของโจทก์เองเท่านั้นหาใช่เป็นความเข้าใจของบุคคลทั่วไปไม่ เมื่อโจทก์ยึดถือความรู้สึกนึกคิดของตนเองเป็นสำคัญทั้งๆ ที่บุคคลทั่วไปมิได้มีการรับรู้หรือเข้าใจในถ้อยคำหรือข้อความดังกล่าวว่าเป็นตัวโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลล่าง และการรับสารภาพที่ไม่เข้าใจ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 24สิงหาคม 2539 เวลากลางคืนหลังเที่ยง และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง คดีต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลย กระทำผิดตามวันเวลาและสถานที่ดังกล่าวในฟ้องจำเลยจะฎีกา โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะไม่ใช่ข้อที่ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (9) วรรคสาม ลงโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็น ชาวต่างประเทศเปรู พูดภาษาสเปน ซึ่งในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นปรากฏเพียงว่ามี ส. เป็นล่ามแปลคำให้การของจำเลยได้สาบานตัวแล้วเท่านั้น แต่หาได้มีการแปล เป็นภาษาสเปนให้จำเลยเข้าใจโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 ไม่ อีกทั้งจำเลย ไม่เข้าใจความหมายในกฎหมายที่จำเลยลงลายมือรับสารภาพนั้น เท่ากับจำเลยโต้เถียงข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ให้การ รับสารภาพตามที่ล่ามแปลให้ฟัง โดยขอให้ศาลฎีการับฟังและ เชื่อถือข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกา ซึ่งล้วนเป็นการโต้เถียง ดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาแล้วศาลวินิจฉัยลงโทษจำเลยนั้นข้อฎีกาของจำเลยที่ว่า การสืบพยาน ปากผู้เสียหายไว้ก่อนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง ย่อมเป็นฎีกาในข้อกฎหมาย ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะแม้ศาลฎีกา จะวินิจฉัยให้ตามฎีกาของจำเลยก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพคำฟ้องโดยผู้ไม่รู้ภาษาไทย: การไต่สวนและพิสูจน์ความเข้าใจ
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นคนไทยแต่ไม่รู้ภาษาไทยเพียงพอและขณะศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยไม่มีล่ามช่วยแปลนั้นศาลชั้นต้นได้ไต่สวนปัญหานี้ตามคำสั่งของศาลฎีกาแล้วปรากฏว่าจำเลยสามารถพูดและเข้าใจภาษาไทยสามารถตอบคำถามทนายจำเลยโจทก์และศาลเป็นภาษาไทยโดยมิต้องใช้ล่ามแปลดังนั้นเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโดยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาและคำฟ้องแล้วกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยบันทึกคำให้การรับสารภาพของจำเลยไว้จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบไม่ชอบเหตุที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ จำเลยอ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยจำเลยก็อาจขอพิสูจน์สัญชาติได้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522มาตรา57

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ: การแจ้งความโดยสุจริตตามความเข้าใจในขณะนั้น ไม่ถือเป็นความผิด
คำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาทและไม่ได้เป็นผู้เช่าจาก ม. แต่ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินโดยเช่าจาก ม.และโจทก์บุกรุกเข้าไปในที่ดินตัดต้นส้มเขียวหวานของจำเลย ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้ต้องหา ความจริงแล้วโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทโดยซื้อมาจาก บ. การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นการแจ้งความว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาข้อหาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งหากเป็นความเท็จ จำเลยก็อาจมีความผิดฐานแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 ได้ ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดรวมทั้งข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การลงข้อความเชื่อมโยงถึงการทุจริต ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนรู้เห็น
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและเป็นเจ้าของนามปากกาว่า "ขุนช้าง"จำเลยได้ลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีมีข้อความว่า "ชอบใจที่พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ ร.ม.ต. มหาดไทย กล่าวว่า ทำไมผู้กำกับจึงมาร้องตอนนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องมีมานาน ขุนช้างว่า คงพึ่งคิดวิธีทำอาญาให้เป็นแพ่งได้กระมังจริงไหมครับพ.ต.อ.นิยม ไกรลาศ" อัน เป็นข้อความเกี่ยวโยง กับกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่การเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการจำนวนหลายล้านบาท ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเข้าใจว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการ ข้อความที่จำเลยลงโฆษณานอกจากจำเลยอ้างถึงข้อความที่พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ กล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้นทั้งผู้ได้อ่านก็ไม่ได้รู้ถึงความจริงอันควรเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังจำเลยกล่าว แต่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริต จึงไม่ใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ทั้งไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตาม ป.อ. มาตรา 329 ข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้วก็ไม่ต้องยกมาตรา326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแจ้งความเท็จต้องระบุความจริงชัดเจน หากไม่ระบุจำเลยไม่เข้าใจความเท็จ แม้รับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานแจ้งความเท็จ โดยบรรยายถึงข้อความที่จำเลยแจ้งความและกล่าวว่า ซึ่งความจริงมิใช่เช่นนั้น แต่มิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร จำเลยย่อมไม่อาจเข้าใจได้ดีว่าข้อความที่แจ้งเป็นความเท็จ เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)
เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในสัญญากู้: พยานเบิกความรับรองความเข้าใจของจำเลยถือเป็นการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ
เมื่อพยานในสัญญากู้คนหนึ่งอ่านสัญญาที่โจทก์และจำเลยนำมาให้อ่านแล้ว เห็นว่าตรงลายพิมพ์นิ้วมือยังไม่ได้เขียนระบุว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือจำเลยพยานคนนั้นจึงให้ผู้เขียนสัญญาเขียนข้อความดังกล่าวกำกับไว้ที่ลายพิมพ์นิ้วมือจำเลยต่อหน้าจำเลยพฤติการณ์ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้รับรองแล้วว่าลายพิมพ์นิ้วมือในสัญญานั้นคือลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยนอกจากนี้เมื่อพยานในสัญญากู้ทั้งสองคนอ่านสัญญาแล้ว ได้สอบถามโจทก์จำเลยว่าได้อ่านสัญญากันดีแล้วหรือ โจทก์และจำเลยต่างรับรองว่าเข้าใจเรียบร้อยแล้ว พยานทั้งสองคนจึงลงชื่อเป็นพยานพฤติการณ์เช่นนี้พอถือได้เช่นเดียวกันว่าจำเลยได้รับรองต่อพยานทั้งสองว่าลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญากู้เป็นลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ: การเล่าเหตุการณ์ตามความเข้าใจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ หากไม่มีเจตนาใส่ร้าย
จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน.โดยเล่าเรื่องให้ฟังตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าบิดาโจทก์กับบิดาจำเลยเป็นความกันเรื่องทางเดิน จำเลยพาคนไปถ่ายภาพทางเดินนั้นเพื่อประกอบคดีในขณะที่โจทก์กับพวกกำลังเดินออกจากบ้าน ขณะที่ถ่ายภาพอยู่นั้นได้มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด จำเลยไม่เห็นคนยิง แต่เชื่อหรือเข้าใจว่าโจทก์เป็นผู้ยิงพนักงานสอบสวนได้สรุปข้อความตามคำแจ้งความแล้วให้ตำรวจบันทึกคำแจ้งความไว้ มีความตอนหนึ่งว่า โจทก์ใช้ปืนพกยิงจำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีเจตนาจะยิงจำเลยให้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยไปแจ้งความโดยเล่าเรื่องตามที่เกิดขึ้นซึ่งมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจเช่นนั้นได้ ข้อความที่บันทึกไว้นั้นก็เป็นข้อความที่พนักงานสอบสวนบอกให้ตำรวจเขียน ไม่ใช่ถ้อยคำที่จำเลยแจ้งโดยแท้จริง ทั้งมีพฤติการณ์ต่อมาแสดงว่าจำเลยมิได้เจตนาแกล้งเอาความเท็จไปกล่าวหาโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต้องสุจริต ผู้แจ้งความเข้าใจว่าสิทธิถูกรุกล้ำ
การที่จำเลยแจ้งความตำรวจว่าโจทก์ทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในเขตบ้านจำเลยนั้นหากความจริงปรากฏว่าโจทก์ได้กั้นรั้วขึ้นตรงที่ๆ จำเลยทำราวตากผ้าและตรงนั้นเป็นด้านหลังห้องที่จำเลยเช่าจากโจทก์ซึ่งโจทก์เคยผ่อนผันให้จำเลยทำราวตากผ้าได้เดินผ่านไปใช้สะพานท่าน้ำได้ดังนี้จำเลยย่อมน่าจะเข้าใจโดยสุจริตใจได้ว่าเมื่อโจทก์มาทำรั้วกั้นเสียเช่นนี้จำเลยย่อมเสียสิทธิในการใช้และเข้าใจว่าจำเลยถูกกลั่นแกล้งขัดขวางสิทธิฉะนั้นจะว่าจำเลยแจ้งความเท็จมีความผิดในทางอาญายังไม่ได้
of 3