คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเข้าใจผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะจากกิจการร่วมค้า การประเมิน และการลดเบี้ยปรับจากเหตุผลความเข้าใจผิด
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลร่วมกับโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาขายที่ดินอันมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาเป็นการประกอบกิจการร่วมค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39 จึงเป็นนิติบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายรับที่ได้จากกิจการที่ดำเนินการร่วมกันต่างหากจากโจทก์ทั้งแปดแต่ละคนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (4) ประกอบมาตรา 91/1 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งแปดได้ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในนามของนิติบุคคลผู้ประกอบกิจการร่วมค้าเช่นนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินได้โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/15 (1) และมาตรา 88/4 ประกอบกับมาตรา 91/21 (5) กรณีภาษีธุรกิจเฉพาะ ประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดเวลาการประเมินไว้ จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติอายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี ในการเรียกเอาค่าภาษีอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลตามนัด สืบเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องการมอบหมายทนายความ ศาลไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9 นาฬิกา โจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้ว มีหน้าที่ต้องมาศาลตามกำหนดนัด แม้ น. พนักงานอัยการโจทก์เจ้าของสำนวนจะมาที่ศาลแล้วแต่ก็มิได้เข้าห้องพิจารณา คงไปทำหน้าที่แทนพนักงานอัยการในคดีอื่นและทำหน้าที่อื่น โจทก์อ้างว่าจะมีพนักงานอัยการคนอื่นมาว่าความแทนโจทก์โดยโจทก์เองไม่ได้ใส่ใจว่าที่แท้จริงแล้วมีพนักงานอัยการคนอื่นมาทำหน้าที่แทนหรือไม่ ทั้งที่เจ้าหน้าที่ศาลได้ประกาศเรียกโจทก์ให้เข้าห้องพิจารณาตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา ศาลรอจนกระทั่งเวลา 11.15 นาฬิกา โจทก์ก็ไม่เข้าห้องพิจารณาคดีแถลงให้ศาลทราบถึงเหตุขัดข้องของโจทก์ ทั้งที่โจทก์ได้มาอยู่ในบริเวณศาลแล้ว ดังนี้ โจทก์จะอ้างว่า โจทก์เชื่อว่าจะมีพนักงานอัยการคนอื่นมาทำหน้าที่แทนแล้วเพื่อให้เห็นว่าโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะจงใจหรือไม่ใส่ใจในกำหนดนัดของศาลหาได้ไม่ พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่เอาใจใส่หรือเล็งเห็นถึงความสำคัญในเวลานัดของศาล เหตุที่โจทก์เชื่อดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวหรือยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเบี้ยปรับกรณีความเข้าใจผิดในการใช้เครดิตภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ในเดือนภาษีมีนาคม 2542 โจทก์มียอดภาษีมูลค่าเพิ่มชำระไว้เกินเป็นเครดิตภาษีจำนวน 536,712.40 บาท แต่โจทก์มิได้ไปขอคืนเป็นเงินสดหรือนำไปเป็นเครดิตภาษีหักกับภาษีที่ต้องชำระในเดือนถัดไปคือเดือนภาษีเมษายน 2542 ทั้ง ๆ ที่โจทก์ใช้สิทธิเช่นนั้นได้ ทำให้โจทก์ไม่สามารถนำมาเครดิตภาษีหักกับภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปได้ แต่โจทก์ได้นำมาเป็นเครดิตภาษีหักในเดือนภาษีพฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์อย่างแท้จริง ทั้งจำเลยก็อุทธรณ์รับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะงดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจากความเข้าใจผิด ศาลฎีกายืนว่าไม่มีเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน
จำเลยฆ่า ย. เพราะจำเลยเข้าใจว่า ย. พูดถ้อยคำส่อเสียดล่วงเกินทางเพศกับ ล. ภริยาจำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยกับ ล. มีเจตนาดีต่อผู้เสียหาย จำเลยจึงโกรธและกลับไปนำอาวุธมีดง้าวมากระทำผิดโดยมีช่วงระยะเวลาห่างกันเพียงประมาณ 5 นาที เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกระชั้นชิด มิได้มีช่วงระยะเวลาขาดตอนอันจะทำให้จำเลยมีโอกาสใช้เวลาใคร่ครวญไตร่ตรองแล้วจึงก่อเหตุขึ้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7244/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากจำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาได้หลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้จะอ้างความเข้าใจผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิด ป.อ.มาตรา 138วรรคสอง, 277 วรรคสอง, 391 ประกอบมาตรา 80 และ 90, 91 ฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 13 ปี ลงโทษจำคุก 8 ปี ฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย และฐานทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก6 เดือน เรียงกระทงลงโทษ เป็นจำคุก 8 ปี 6 เดือน ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยกโจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้เป็นผลร้ายที่เพิ่มขึ้นแก่จำเลย จึงไม่มีกรณีที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้ แม้จำเลยจะกล่าวในฎีกาเป็นทำนองเข้าใจผิดในกฎหมายวิธีพิจารณาความว่า จำเลยคิดจะยื่นอุทธรณ์ แต่โจทก์ยื่นอุทธรณ์เสียก่อน ทำให้จำเลยหมดโอกาสยื่นอุทธรณ์ ก็ดี หรือจำเลยฎีกาขอให้ลงโทษเบาลงเพียงสถานเดียว ก็ดี ศาลฎีกาก็ไม่อาจรับวินิจฉัยให้ได้ ศาลชั้นต้นรับฎีกาจำเลยในข้อหาพยายามข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงส่งขึ้นมา ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฟ้องเท็จ: แม้ข้อกล่าวหาไม่เป็นความจริง แต่ขาดเจตนาทำให้ผู้อื่นได้รับโทษ จึงไม่เป็นความผิด
แม้จะได้ความตามคำเบิกความของ ส. พยานโจทก์และคำวินิจฉัยของศาลล่างว่าพฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสองขาดเจตนา กระทำความผิดดังที่จำเลยฟ้อง แต่จำเลยก็ฟ้องโจทก์ทั้งสอง เป็นคดีอาญาไปตามความเข้าใจของจำเลยตามที่พบเห็นมา จึงเป็น การขาดเจตนากระทำผิดฐานฟ้องเท็จ การกระทำของจำเลยไม่เป็น ความผิดฐานฟ้องเท็จ คดีโจทก์ไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด และละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
แม้คำว่า "เจ้าสาว" จะเป็นคำสามัญ แต่จำเลยเอาชื่อคำว่า "เจ้าสาว" มาใช้โดยจงใจให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าร้านของจำเลยคือร้านของโจทก์หรือเป็นสาขาหรือเกี่ยวข้องกับร้านของโจทก์ การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยดำเนินธุรกิจอย่างเดียวกันแม้มิได้อยู่ในทำเลละแวกเดียวกันลูกค้าที่นิยมในชื่อเสียงของร้านโจทก์อาจจะเข้าใจผิดไปตัดเย็บหรือซื้อชุดวิวาห์จากร้านของจำเลยอันเป็นการแย่งลูกค้าจากโจทก์ไปส่วนหนึ่งและหากร้านจำเลยตัดเย็บชุดวิวาห์มีคุณภาพไม่ดีหรือประกอบกิจการไม่เป็นที่พอใจแก่ลูกค้าก็อาจกระทบต่อชื่อเสียงของร้านโจทก์ให้ต้องเสื่อมเสียไปด้วยย่อมส่งผลต่อรายได้ของโจทก์ ดังนั้น การกระทำของจำเลยในพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดสิทธิในการใช้นามที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 และเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยระงับการกระทำดังกล่าวได้ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำคำว่า "เจ้าสาว" ซึ่งเป็นชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ประกอบกิจการร้านจำหน่ายสินค้าของจำเลย โดยไม่มีสิทธิและเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์นั้น ตราบใดที่จำเลยยังคงใช้คำดังกล่าวอยู่จนถึงวันฟ้อง การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อเนื่องตลอดมา โจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยระงับการกระทำนั้นอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7220/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเว้นเงินเพิ่มภาษีเนื่องจากความเข้าใจผิดและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (9) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 6) เรื่อง กำหนดระเบียบการยกเว้นเงินได้พึงประเมิน ประเภทการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2521 ได้กำหนดให้ผู้มีเงินได้แสดงรายการเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้ไว้ในแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามที่อธิบดีกำหนดด้วย แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดยกเว้นดังกล่าว ซึ่งเห็นได้แจ้งชัดว่าเป็นเรื่องที่จำเลยไม่รู้ถึงประกาศข้างต้น หาใช่จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ยอมชำระค่าภาษีไม่ เพราะหากจำเลยเพียงแต่ปฎิบัติตามประกาศดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ได้รับยกเว้นภาษีในเรื่องนี้อยู่แล้ว การไม่ปฎิบัติของจำเลยส่อแสดงเด่นชัดว่า จำเลยมิได้จงใจหลีกเลี่ยงภาษีอากรแต่อย่างใดกรณีจึงสมควรงดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 26
ส่วนรายได้จากค่าเช่าอาคารเป็นเงินจำนวน 14,140 บาทนั้น แม้จำเลยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับปี 2523 แล้วจำเลยละเลยไม่ปฎิบัติหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติก็ดี แต่เมื่อปรากฎว่าในชั้นตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี จำเลยได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อีกทั้งภาษีเงินได้จากค่าเช่าอาคารมีจำนวนเพียงเล็กน้อย กรณีเห็นควรให้งดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 26
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไว้แล้วว่า ให้งดเงินเพิ่มตามมาตรา 26 แห่ง ป.รัษฎากร จำนวน 1,645,967.40 บาท จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินภาษีอากรและเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เท่านั้น และตามมาตรา 27กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อเงินภาษีอากรที่จำเลยต้องรับผิดมีจำนวน 822,983.70 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 คิดเป็นเงินจำนวน 164,596.74 บาท รวมเป็นเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระทั้งหมดจำนวน 987,580.44 บาท แต่โจทก์ได้รับชำระเงินภาษีอากรไปแล้วจำนวน 400,000 บาท ดังนั้น จึงคงเหลือเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเป็นเงินจำนวน 587,580.44 บาท ที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยชำระเงินภาษีอากรจำนวน 916,773.92บาท แก่โจทก์ จึงไม่ถูกต้อง แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การเนื่องจากความเข้าใจผิดและข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การแต่เนื่องจากจำเลยไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลจึงหลงเชื่อคำหลอกลวงของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ต้องยื่นคำให้การแต่ต้องไปศาลทุกครั้งตามที่ศาลนัด โจทก์จะไม่ดำเนินการใด ๆต่อจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ยื่นคำให้การ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจงใจทิ้งฟ้อง: ความเข้าใจผิดในคำสั่งศาลและที่อยู่จำเลย
แม้ทนายโจทก์ละเลยไม่ติดตามรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในคำร้องของโจทก์ให้โจทก์คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอศาลก่อนก็ตามแต่ฟ้องของโจทก์ได้ระบุที่อยู่ของจำเลยผิดไปเฉพาะเขตคือระบุว่า "เขตบางเขน"เท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ สำเนาทะเบียนบ้านจำเลยท้ายฟ้องก็ระบุว่า "เขตดอนเมือง"ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นคำแถลงขอปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุภูมิลำเนาของจำเลยที่ระบุเป็น "เขตดอนเมือง" ในท้ายคำแถลงนั้นด้วยพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์คงเข้าใจว่าเมื่อสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยระบุภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้องตามคำแถลงแล้ว ศาลคงสั่งให้ปิดหมาย ณภูมิลำเนาของจำเลยดังกล่าวนั้น ทนายโจทก์จึงเข้าใจสับสนในคำสั่งของศาลที่ให้คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอต่อศาลอีกครั้ง ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้อง
of 11