พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4557/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืนในคดียาเสพติด: ต้องมีความเชื่อมโยงกับการกระทำความผิดโดยตรง
ทรัพย์สินที่จะต้องริบตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30 ต้องเป็นทรัพย์สินที่ถูกนำมาใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและจากนิยามความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด อาวุธปืนไม่ใช่เป็นทรัพย์ที่ถูกนำมาใช้ในการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากผู้กระทำผิดยาเสพติด: สันนิษฐานความเชื่อมโยงกับความผิดและภาระการพิสูจน์
จำเลยคดีนี้กับจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นอีกคดีหนึ่งซึ่งถึงที่สุดไปแล้วมิใช่บุคคลคนเดียวกัน เหตุแห่งการขอริบธนบัตรจำนวนเดียวกัน คดีอีกคดีหนึ่งโจทก์ขอริบโดยอ้างเหตุว่าเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยในคดีดังกล่าวได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 แต่คดีนี้ผู้ร้อง อ้างเหตุให้ริบว่าเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งคณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินได้ยึดไว้ ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 22, 27, 29 และ 31 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตลอดจนการกระทำที่อ้างเป็นเหตุให้ศาลพิจารณาริบธนบัตรจำนวนนี้แตกต่างกัน การพิจารณาคดีนี้จึงหาเป็นการร้องซ้อนหรือร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีอีกคดีหนึ่ง หรือทำให้สิทธิของผู้ร้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ไม่
ผู้คัดค้านถูกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกผู้คัดค้าน 25 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 29 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าธนบัตรที่ผู้คัดค้านมีอยู่ หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถใน
การประกอบอาชีพเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงตกเป็นภาระของผู้คัดค้านที่ต้องพิสูจน์ว่าธนบัตรเป็นของผู้คัดค้านที่ได้มาโดยสุจริตและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าธนบัตรเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน แต่เป็นทรัพย์สินที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต อันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงต้องริบธนบัตรให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามความในมาตรา 29 และ มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534
ผู้คัดค้านถูกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกผู้คัดค้าน 25 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 29 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าธนบัตรที่ผู้คัดค้านมีอยู่ หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถใน
การประกอบอาชีพเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงตกเป็นภาระของผู้คัดค้านที่ต้องพิสูจน์ว่าธนบัตรเป็นของผู้คัดค้านที่ได้มาโดยสุจริตและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าธนบัตรเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน แต่เป็นทรัพย์สินที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต อันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงต้องริบธนบัตรให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามความในมาตรา 29 และ มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเป็นเงินได้พึงประเมิน การหักค่าใช้จ่ายต้องมีเหตุผลความเชื่อมโยงโดยตรงกับรายได้
โจทก์ที่ 2 ฟ้องบริษัท ค. ขอให้ชำระค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยบริษัท ค. ยอมชำระเงินจำนวน 48 ล้านบาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เงินดังกล่าวเป็นค่าเสียหายจากการผิดสัญญาถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8)
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 ชำระไปไม่เกี่ยวกับการจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 46 และ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ ซึ่งให้นำ ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ค่าภาษีอากรที่คณะบุคคลชำระแก่จำเลย แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นผู้จัดการของคณะบุคคลและต้องรับผิดชอบในเงินภาษีอากรของคณะบุคคลด้วย ก็ไม่อาจถือได้ว่าเงินภาษีที่คณะบุคคลชำระดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่ 2 เป็นส่วนตัว โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระแก่จำเลยได้
ป.รัษฎากรบัญญัติเกี่ยวกับเงินเพิ่มไว้เป็นจำนวนแน่นอนมิได้ให้ดุลพินิจศาลงดหรือลดลงได้เช่นเบี้ยปรับ จึงไม่อาจงดหรือลดลงได้
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 ชำระไปไม่เกี่ยวกับการจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 46 และ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ ซึ่งให้นำ ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ค่าภาษีอากรที่คณะบุคคลชำระแก่จำเลย แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นผู้จัดการของคณะบุคคลและต้องรับผิดชอบในเงินภาษีอากรของคณะบุคคลด้วย ก็ไม่อาจถือได้ว่าเงินภาษีที่คณะบุคคลชำระดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่ 2 เป็นส่วนตัว โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระแก่จำเลยได้
ป.รัษฎากรบัญญัติเกี่ยวกับเงินเพิ่มไว้เป็นจำนวนแน่นอนมิได้ให้ดุลพินิจศาลงดหรือลดลงได้เช่นเบี้ยปรับ จึงไม่อาจงดหรือลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2160/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดจากความผิดยาเสพติด: ศาลต้องพิจารณาความเชื่อมโยงกับความผิดที่ฟ้อง และอำนาจตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เงินสดที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษอันศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (2) จึงไม่อาจริบได้ แม้จำเลยไม่ฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (อุปกรณ์เสพยา) ต้องเชื่อมโยงกับความผิดที่โจทก์ฟ้อง หากไม่ได้ฟ้องฐานเสพยา ไม่อาจริบได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขายและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนกฎหมาย กล้องและกรวยเสพวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องมือและอุปกรณ์หรือภาชนะหรือหีบห่อที่บรรจุที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 116 แห่ง พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ขอให้ลงโทษดังที่บัญญัติไว้ มาตรา 33 (1) แห่ง ป.อ. เช่นเดียวกัน จึงไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถงมติอนุมัติโครงการก่อสร้างท่าอากาศยาน และการเรียกร้องค่าเสียหายจากมลพิษ กรณีความเสียหายไม่เชื่อมโยงโดยตรงกับมติ
โจทก์ทั้งสิบหกฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้ระงับการก่อสร้างและให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน อ้างว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การก่อสร้างขยายท่าอากาศยานทำให้เกิดฝุ่นละออง ประชาชนและโจทก์ทั้งสิบหกสูดฝุ่นละอองทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง และมีผลต่อการระบายน้ำในหมู่บ้านทำให้เกิดความเสียหายแก่สุขภาพอนามัยและทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสิบหกดังนี้ กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบหกเป็นเรื่องแหล่งกำเนิดมลพิษที่ก่อให้เกิดหรือแพร่กระจายของมลพิษ ซึ่งหากเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสิบหกได้รับอันตรายแก่ร่างกายสุขภาพอนามัย และเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสิบหกเสียหายด้วยประการใด ๆโจทก์ทั้งสิบหกก็ชอบที่จะฟ้องร้องเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายเพื่อการนั้น ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 96 ได้ หรืออาจเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐในกรณีที่ได้รับความเสียหายอันมีสาเหตุมาจากกิจการหรือโครงการที่ริเริ่ม สนับสนุนหรือดำเนินการโดยส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 6 (2) หรือหากเป็นกรณีจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อโจทก์ทั้งสิบหกโดยผิดกฎหมายให้โจทก์ทั้งสิบหกเสียหายแก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดีเสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสิบหก โจทก์ทั้งสิบหกก็ชอบที่จะฟ้องร้องผู้ทำละเมิดหรือนายจ้างของผู้ทำละเมิดเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ หรือหากผู้ทำละเมิดทำละเมิดต่อเนื่องกันไม่ยอมหยุดโจทก์ทั้งสิบหกก็ชอบที่จะฟ้องร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ทำละเมิดหยุดทำละเมิดเสียก็ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
การที่โจทก์ทั้งสิบหกฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าหากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วจะมีผลถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีจะไม่อนุมัติการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานจึงยังไม่อาจถือได้ว่ามติคณะรัฐมนตรีไม่ชอบ ยิ่งกว่านั้นโจทก์ทั้งสิบหกได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างอันเนื่องมาจากความบกพร่องของผู้ก่อสร้างที่ไม่ป้องกันมลพิษซึ่งความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ผลโดยตรงจากมติคณะรัฐมนตรี โจทก์ทั้งสิบหกย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานได้
เมื่อคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสิบหกไม่อาจจะพิพากษาให้ได้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์ทั้งสิบหกเสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 131 (2) การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องและคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ทั้งสิบหกทั้งหมดจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ทั้งสิบหกฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าหากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วจะมีผลถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีจะไม่อนุมัติการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานจึงยังไม่อาจถือได้ว่ามติคณะรัฐมนตรีไม่ชอบ ยิ่งกว่านั้นโจทก์ทั้งสิบหกได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างอันเนื่องมาจากความบกพร่องของผู้ก่อสร้างที่ไม่ป้องกันมลพิษซึ่งความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ผลโดยตรงจากมติคณะรัฐมนตรี โจทก์ทั้งสิบหกย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานได้
เมื่อคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสิบหกไม่อาจจะพิพากษาให้ได้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์ทั้งสิบหกเสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 131 (2) การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องและคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ทั้งสิบหกทั้งหมดจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิดยาเสพติด: ต้องมีหลักฐานเชื่อมโยงถึงที่มาของการได้มาซึ่งเงิน
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าเงินจำนวน 76,000 บาท ที่เจ้าพนักงานยึดมาเป็นเงินที่จำเลย ได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีน เงินดังกล่าวอาจเป็นเงิน ที่จำเลยได้มาจากกิจการอื่นดังที่จำเลยอ้างก็ได้ ดังนั้น ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบเงิน ดังกล่าว ให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 หรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนที่ดินและฟ้องแย้งละเมิด: เงื่อนไขฟ้องแย้งต้องเชื่อมโยงกับฟ้องเดิม
แม้จำเลยจะให้การรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องร่วมกับอ. โดยจำเลยเพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังมิได้โอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามที่โจทก์ต้องการจนโจทก์ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งที่โจทก์จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลแล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยอ้างว่าให้จำเลยใส่ชื่อในโฉนดที่ดินไว้แทน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายโดยจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์กลั่นแกล้งฟ้องจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไข เพราะจะรับฟังได้เมื่อคดีฟังได้ว่าฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
โจทก์กับ อ.จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องคนละเท่าใดตามที่จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ย่อมเป็นเรื่องที่โจทก์กับ อ.จะไปว่ากล่าวกันเอง ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้ง และงดสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นนี้ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยอ้างว่าให้จำเลยใส่ชื่อในโฉนดที่ดินไว้แทน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายโดยจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์กลั่นแกล้งฟ้องจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไข เพราะจะรับฟังได้เมื่อคดีฟังได้ว่าฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
โจทก์กับ อ.จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องคนละเท่าใดตามที่จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ย่อมเป็นเรื่องที่โจทก์กับ อ.จะไปว่ากล่าวกันเอง ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้ง และงดสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นนี้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4255/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีอาญา จำเป็นต้องมีการสอบถามจำเลยเพื่อยืนยันตัวตนและความเชื่อมโยงของคดี
คดีอาญาที่จำเลยให้การปฏิเสธ และในสำนวนปรากฏว่ามิได้มีการสอบถามจำเลยในเรื่องที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยในคดีจะเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ ศาลจึงไม่อาจนับโทษต่อให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินต้องเชื่อมโยงกับความผิดที่ฟ้องและพิสูจน์ได้ การรับสารภาพหลังศาลตัดสินแล้วไม่เพียงพอต่อการริบ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) ระบุถึงทรัพย์สินที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบได้นั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยได้กระทำความผิด ซึ่งหมายถึงว่า จะ ต้องมีการฟ้องจำเลยในความผิดฐานใดฐานหนึ่งและได้มีการพิสูจน์ความผิดนั้นแล้วและศาลพิพากษาว่าจำเลยได้กระทำ ความผิดจึงจะริบทรัพย์สินนั้นได้ อันถือเป็นการลงโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18(5) เมื่อธนบัตรมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ดังนั้น การที่โจทก์ยังมิได้ฟ้องจำเลยถึงการขายเมทแอมเฟตามีนในครั้งก่อนโดยตรงเพียงแต่กล่าวอ้างพาดพิงถึงว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีนในครั้งก่อน จึงยังไม่เป็นการเพียงพอตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(5) และ 33(2)เพื่อลงโทษจำเลยด้วยการริบทรัพย์สิน และแม้ว่าจำเลยจะได้ให้การรับสารภาพหรือให้ความยินยอมในชั้นฎีกาเพื่อให้คดีเสร็จไปจากศาลฎีกาโดยเร็วก็ตาม ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางได้