พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายซ้ำหลังเจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิเจ้าหนี้เดิมไม่ได้
จำเลยที่ 1 ขอสินเชื่อจาก บ. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาไว้แก่โจทก์อีกว่า หากโจทก์ต้องชำระหนี้แก่ บ. แทนจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้แก่โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวันที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาไว้แก่โจทก์นั้นมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อาจถูก บ. เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญารับจะชำระหนี้ในเวลาภายหน้าได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่โจทก์อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 และ 101 ปรากฏว่า บ. ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย แต่การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ บ. ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดและปลดจากล้มละลายแล้วมีผลให้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ไปใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 229 โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ล้มละลายซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: การรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้เดิม และข้อจำกัดในการยื่นคำขอรับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ขอสินเชื่อจาก บ. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาไว้แก่โจทก์อีกว่า หากโจทก์ต้องชำระหนี้แก่ บ. แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้แก่โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ปรากฏว่าในวันที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาไว้แก่โจทก์นั้น มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อาจถูก บ. เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่ บ. ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงเป็นผู้ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญารับจะชำระหนี้ในเวลาภายหน้าได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาด โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่โจทก์อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 และ 101 แต่ บ. ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย แต่การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ บ. ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมีผลให้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ไปใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 โจทก์จะนำหนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมาฟ้องให้จำเลยดังกล่าวล้มละลายซ้ำอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4667/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งดังกล่าว ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ตามมาตรา 27 และมาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตรวจคำขอรับชำระหนี้ และสอบสวนพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องแล้วเสนอความเห็นต่อศาล ศาลมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือยกคำร้องขอรับชำระหนี้ ตามมาตรา 106, 107 เจ้าหนี้จะดำเนินการแจ้งการประเมินตามวิธีการที่กำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรฯ เพื่อเรียกให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใดไม่
ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/5 (6) บัญญัติให้คิดฐานภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีบทบัญญัติในหมวดภาษีธุรกิจเฉพาะให้ถือเอาราคาประเมินทุนทรัพย์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินเป็นฐานในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ส่วนที่เจ้าหนี้ประเมินภาษีธุรกิจเพิ่มโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 49 ทวิ ก็อยู่ในส่วนการจัดเก็บภาษีบุคคลธรรมดา และมาตรา 69 ทวิ ก็อยู่ในส่วนเก็บภาษีนิติบุคคล ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้นำมาใช้บังคับในหมวดภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ดังนั้น การที่ลูกหนี้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะโดยมีฐานภาษีจากรายรับการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ก่อนหักรายจ่ายซึ่งเป็นราคาซื้อขายกันในขณะนั้น เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในราคาตลาดตามความหมายของมาตรา 91/16 และมาตรา 91/1 (3) แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีอำนาจประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ เบี้ยประกันและเงินเพิ่มอีก
ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/5 (6) บัญญัติให้คิดฐานภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีบทบัญญัติในหมวดภาษีธุรกิจเฉพาะให้ถือเอาราคาประเมินทุนทรัพย์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินเป็นฐานในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ส่วนที่เจ้าหนี้ประเมินภาษีธุรกิจเพิ่มโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 49 ทวิ ก็อยู่ในส่วนการจัดเก็บภาษีบุคคลธรรมดา และมาตรา 69 ทวิ ก็อยู่ในส่วนเก็บภาษีนิติบุคคล ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้นำมาใช้บังคับในหมวดภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ดังนั้น การที่ลูกหนี้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะโดยมีฐานภาษีจากรายรับการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ก่อนหักรายจ่ายซึ่งเป็นราคาซื้อขายกันในขณะนั้น เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในราคาตลาดตามความหมายของมาตรา 91/16 และมาตรา 91/1 (3) แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีอำนาจประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ เบี้ยประกันและเงินเพิ่มอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4667/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมหากลูกหนี้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีถูกต้อง
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้ก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจที่จะตรวจคำขอรับชำระหนี้ และสอบสวนพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องว่ามูลหนี้นั้นเจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ แล้วทำความเห็นเสนอต่อศาล และศาลมีอำนาจตามมาตรา 106, 107 ที่จะพิจารณามีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือให้ยกคำขอรับชำระหนี้นั้นตามที่ได้ความจากการสอบสวนก็ได้ เจ้าหนี้จะดำเนินการแจ้งการประเมินตามวิธีการที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรเพื่อเรียกให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 82/2542 ข้อ 9 ให้เริ่มใช้บังคับสำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2542 จึงไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายรับของเดือนภาษี ธันวาคม 2541 และมกราคม 2542
การที่ลูกหนี้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะโดยมีฐานภาษีจากรายรับการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ก่อนหักรายจ่ายซึ่งเป็นราคาซื้อขายกันในขณะนั้น จึงเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในราคาตลาดตามความหมายของ ป.รัษฎากร มาตรา 91/16 และมาตรา 91/1 (3) แล้ว ประกอบกับการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้เป็นการดำเนินการโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นองค์การของรัฐและดำเนินการในช่วงเวลาที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังถดถอย จึงอาจขายได้ราคาไม่เท่ากับในภาวะเศรษฐกิจปกติ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการสมรู้ในการประมูลราคาแล้ว จึงต้องฟังว่าเป็นการขายทอดตลาดในราคาตลาดโดยชอบ
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 82/2542 ข้อ 9 ให้เริ่มใช้บังคับสำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2542 จึงไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายรับของเดือนภาษี ธันวาคม 2541 และมกราคม 2542
การที่ลูกหนี้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะโดยมีฐานภาษีจากรายรับการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ก่อนหักรายจ่ายซึ่งเป็นราคาซื้อขายกันในขณะนั้น จึงเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในราคาตลาดตามความหมายของ ป.รัษฎากร มาตรา 91/16 และมาตรา 91/1 (3) แล้ว ประกอบกับการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้เป็นการดำเนินการโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นองค์การของรัฐและดำเนินการในช่วงเวลาที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังถดถอย จึงอาจขายได้ราคาไม่เท่ากับในภาวะเศรษฐกิจปกติ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการสมรู้ในการประมูลราคาแล้ว จึงต้องฟังว่าเป็นการขายทอดตลาดในราคาตลาดโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: วันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาหรือหนังสือพิมพ์รายวัน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 28 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ และมาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91 ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่า "วันโฆษณา" ตามมาตรา 91 หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คดีนี้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงในราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาจึงต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป ซึ่งจัดพิมพ์แล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้กับสมาชิกที่ไปรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาที่ส่วนงานราชกิจจานุเบกษาด้วยตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2545 ดังนี้ จึงฟังได้ว่าวันที่ 14 สิงหาคม 2545 เป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือราชกิจจานุเบกษาที่ลงประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดไปยังสาธารณชน กำหนดเวลา 2 เดือน จึงเริ่มต้นนับแต่วันดังกล่าวโดยจะครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 14 ตุลาคม 2545 เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 27 สิงหาคม 2545 จึงยังอยู่ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91
คดีนี้เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้สอบสวนพยานหลักฐานของเจ้าหนี้ตามมาตรา 105 แต่มีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยอ้างว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดระยะเวลา ตามมาตรา 91 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ต่อศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงอ้างส่งหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวแล้วนำมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีนี้เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้สอบสวนพยานหลักฐานของเจ้าหนี้ตามมาตรา 105 แต่มีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยอ้างว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดระยะเวลา ตามมาตรา 91 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ต่อศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงอ้างส่งหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวแล้วนำมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ และมาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91 ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่าวันโฆษณาตามมาตรา 91 หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คดีนี้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงในราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจัดพิมพ์แล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้แก่สมาชิกที่ได้รับด้วยตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2545 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน และเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 27 สิงหาคม 2545 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ย่อมอ้างส่งเอกสารต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวแล้วนำมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ย่อมอ้างส่งเอกสารต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวแล้วนำมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2979/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ หากเจ้าหนี้ไม่ได้รับแจ้งตามหลักเกณฑ์ แม้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนด ก็ยังสามารถรับคำขอได้
ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ ตามมาตรา 90/20 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ ทั้งยังต้องแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายตามบัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ที่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้เสนอต่อศาลและเจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบตามมาตรา 90/24 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้โดยทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ แต่ส่งไม่ได้เนื่องจากบ้านปิดและไม่ไปรับภายในกำหนด จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยังไม่ได้รับประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในเรื่องดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนวันที่ 22 เมษายน 2547 ที่เจ้าหนี้อ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันถัดมา กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าหนี้รายอื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เต็มจำนวนที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้ว ดังนั้น หนี้ที่ผู้ค้ำประกันยื่นคำขอรับชำระหนี้จึงมิใช่จำนวนหนี้ที่แท้จริงที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้ายและวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อนุญาตเลื่อนการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ในกระบวนการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้นให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วทำความเห็นส่งสำนวนคำขอรับชำระหนี้ต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 105 เพื่อศาลจะได้มีคำสั่งตามมาตรา 106 และมาตรา 107 ต่อไป การที่ผู้ร้องทั้งเจ็ดได้คัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 51 เมื่อผู้คัดค้านหมายนัดให้ผู้ร้องทั้งเจ็ดนำพยานมาให้ทำการสอบสวนประกอบคำคัดค้าน ผู้ร้องทั้งเจ็ดขอเลื่อนการสอบสวน ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำร้อง กรณีเป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ซึ่งยังไม่แน่ว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นเสนอศาลอย่างไร จะฟังตามคำคัดค้านของผู้ร้องทั้งเจ็ดหรือไม่ และเมื่อผู้คัดค้านทำความเห็นเสนอศาลแล้ว ลำพังความเห็นของผู้คัดค้านก็หามีผลแต่อย่างใดไม่ ทั้งเมื่อศาลพิจารณาตามมาตรา 106 หรือมาตรา 107 แล้วก็อาจมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ คำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนการสอบสวนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายตามมาตรา 146 ผู้ร้องทั้งเจ็ดยังไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6440/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นเหตุไม่ควรให้ล้มละลาย แม้หนี้ยังไม่สูญ
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 6312/2537 ที่โจทก์อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ ล. 171/2541 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวจนต่อมาเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้จำนวน 3 ราย ได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวทุกราย ศาลแพ่งจึงถือเป็นเหตุไม่ควรให้จำเลยถูกพิพากษาให้ล้มละลายและมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยแล้ว แม้ผลของคำสั่งดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นหนี้สินตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135 (2) ประกอบมาตรา 136 และโจทก์ยังอาจนำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 6312/2537 มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้อีกในคดีนี้ก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ละเลยมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ ล. 171/2541 โดยไม่ปรากฏเหตุอันสมควรทั้งที่มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 กรณีดังกล่าวจึงถือเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 14