คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำนวณผิดพลาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลไม่อนุญาตแก้ไขคำพิพากษาเมื่อโจทก์คำนวณหนี้ผิดพลาดในคำฟ้อง ต้องอุทธรณ์โต้แย้ง
จำนวนหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามที่โจทก์บรรยายมาในตอนต้นของคำฟ้องรวมแล้วเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ในตอนท้ายของคำฟ้องโจทก์กลับสรุปว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์รวมเป็นเงิน 12,357,821.97 บาท พร้อมกับมีคำขอบังคับให้ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการคำนวณผิดพลาด แต่โจทก์ก็มิได้ขอแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ยอดหนี้ทั้ง 5 รายการ เป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเป็นเงินเพียง 12,357,821.97 บาท ถือว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ตามจำนวนหนี้ที่ระบุในคำขอท้ายฟ้อง และพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 12,357,821.97 บาท นั้น เท่ากับศาลชั้นต้นเห็นแล้วว่าจำนวนหนี้รวมเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามมาตรา 142 ที่ห้ามมิให้ศาลพิพากษาเกินคำขอ จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีในกรอบแห่งกระบวนพิจารณา มิใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตามมาตรา 143 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์จะขอให้แก้ไขได้ แต่โจทก์ชอบที่จะต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามที่มาตรา 223 ให้สิทธิไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง-ค่าชดเชย: ศาลแรงงานพิจารณาพยานหลักฐานและคำนวณค่าชดเชยผิดพลาด
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานมิได้นำเหตุผลที่โจทก์ทั้งสิบสองกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างมาพิจารณา แต่นำคำเบิกความของพยานที่ไม่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง มาเป็นเหตุผลในการตัดสินคดี เมื่อนำคำพยานจำเลยมาพิจารณาจะเห็นได้ว่าเป็นเพียงคำชี้แจงถึงผลที่จะตามมาถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง มิใช่เป็นคำสั่งเลิกจ้าง คำพูดดังกล่าวเป็นการพูดขณะที่มีอารมณ์โกรธ มิใช่คำสั่งเด็ดขาดว่าหากไม่พิมพ์ลายนิ้วมือให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง อีกทั้งไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ที่เป็นช่าง 8 คน ด้วยในวันเดียวพร้อม ๆ กัน และโจทก์ทั้งสิบสองจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจำเลยและได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏชัดว่า โจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 3 มิได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ขณะโจทก์ที่ 4 ถึงโจทก์ที่ 7 และโจทก์ที่ 9ถึงโจทก์ที่ 12 ถูกจำเลยเลิกจ้าง มิได้เป็นผู้ได้ยินหรือทราบข้อความโดยตรงในเหตุการณ์ดังกล่าว คำเบิกความของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 3 จึงเป็นพยานบอกเล่า ศาลมิอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ดี และโจทก์ทั้งสิบสองมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนมิอาจรับฟังน้ำหนักให้พอที่จะเชื่อได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง ศาลจึงมิอาจจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสิบสองก็ดี แต่คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 13,500 บาทมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน คิดเป็นเงิน 40,500 บาทศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 12,150 บาทแต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์จำนวน 72,900 บาท ซึ่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 36,450 บาทแม้จำเลยอุทธรณ์ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 40,500 บาท ตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยตามกฎหมายเพียงจำนวนดังกล่าว ศาลก็ต้องพิพากษาให้ตามที่โจทก์มีสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา การหักชำระหนี้ที่คำนวณผิดพลาด และการระงับหนี้
จำเลยเจตนาจะชำระหนี้ทั้งหมดตามสัญญากู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่มีอยู่แก่โจทก์และจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่โจทก์แจ้งยอดค้างชำระหนี้ให้จำเลยทราบกรณีเช่นนี้จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยต้องชำระหนี้โจทก์โดยมูลหนี้หลายรายแล้วชำระหนี้ไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้หมดทุกรายอันจะนำไปสู่การพิจารณาว่าการชำระหนี้ของจำเลยจะเป็นการเปลื้องหนี้รายใดก่อนหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328เมื่อปรากฎว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ตามสัญญากู้เงินผิดพลาดส่วนยอดหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีถูกต้องอีกทั้งจำนวนเงินที่จำเลยชำระก็เพียงพอและถูกต้องตามยอดหนี้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบถ้วนและหนี้ดังกล่าวระงับไปแล้วโจทก์จะนำเงินที่จำเลยชำระไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินที่โจทก์คำนวณยอดหนี้ผิดพลาดก่อนโดยพลการไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา แม้โจทก์คำนวณยอดหนี้ผิดพลาด โจทก์ไม่มีสิทธิหักชำระหนี้อื่น
จำเลยเจตนาจะชำระหนี้ทั้งหมดตามสัญญากู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่มีอยู่แก่โจทก์และจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่โจทก์แจ้งยกค้างชำระหนี้ให้จำเลยทราบกรณีเช่นนี้จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยต้องชำระหนี้โจทก์โดยมูลหนี้หลายรายแล้วชำระหนี้ไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้หมดทุกรายอันจะนำไปสู่การพิจารณาว่าการชำระหนี้ของจำเลยจะเป็นการเปลื้องหนี้รายใดก่อนหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328เมื่อปรากฏว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ตามสัญญากู้เงินผิดพลาดส่วนยอดหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีถูกต้องอีกทั้งจำนวนเงินที่จำเลยชำระก็เพียงพอและถูกต้องตามยอดหนี้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบถ้วนและหนี้ดังกล่าวระงับไปแล้วโจทก์จะนำเงินทีจำเลยชำระไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินที่โจทก์คำนวณยอดหนี้ผิดพลาดก่อนโดยพลการไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2900/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกที่ศาลล่างคำนวณผิดพลาด แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้เพื่อความเป็นธรรม
ศาลล่างทั้งสองลดโทษให้จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 53 หนึ่งในสาม จากจำคุกตลอดชีวิตเหลือจำคุก 34 ปี 8 เดือนคลาดเคลื่อนไป ที่ถูกต้องเหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน การลดโทษคลาดเคลื่อนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ต้องรับโทษมากขึ้น เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็พิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การชำระเงินไม่ครบถ้วน การคำนวณผิดพลาด และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากจำเลย และผ่อนชำระราคาเรื่อยมาจำเลยได้ออกหลักฐานการชำระเงินงวดสุดท้ายให้โจทก์ระบุว่า"จ่ายให้หมดแล้ว" ซึ่งความจริงเงินที่ต้องผ่อนชำระยังขาดอยู่อีก2,600 บาท แต่จำเลยคำนวณผิดพลาด จำนวนเงินที่ขาดนี้ไม่ใช่โจทก์ไม่ยินยอมชำระ แต่เนื่องจากโจทก์เข้าใจว่าได้ชำระครบถ้วนแล้วตามหลักฐานที่จำเลยทำให้และที่จำเลยทวงถามก็ให้โจทก์ชำระเงินถึง8,200 บาท ซึ่งมิใช่จำนวนเงินที่ค้างจริง ทั้งเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่ค้างชำระจริง โจทก์ก็มิได้ฎีกาโต้แย้ง แสดงว่าโจทก์ยอมรับที่จะชำระเงินส่วนนี้ให้จำเลยให้ครบถ้วนตามสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไปเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ครบถ้วนแล้ว โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินให้จำเลยไปเพียง 45,000 บาท ถ้าจะบังคับให้จำเลยคืนเงินก็คงบังคับได้เฉพาะส่วนที่จำเลยได้รับชำระไปแล้วเท่านั้น จะบังคับให้คืนทั้งหมด 48,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยรวมส่วนที่ยังชำระไม่ครบด้วยนั้นไม่ชอบ เมื่อโจทก์ยังชำระค่าที่ดินขาดอยู่อีก 2,600 บาท ซึ่งแม้ในตอนแรกจะเกิดขึ้นจากการคำนวณผิดพลาดของจำเลยว่าชำระครบแล้วแต่ต่อมาเมื่อจำเลยทวงถาม โจทก์ก็ยังไม่ยอมชำระ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ยังไม่โอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจจะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่ากระแสไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ, การคำนวณหน่วยไฟฟ้าผิดพลาด, และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
หนังสือสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าก็จะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นของฝ่ายผู้ให้เช่าที่จะให้ผู้เช่าเลือกจะบังคับผู้ให้เช่าให้ต้องยอมทำสัญญาเช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปีหรือไม่ และตามข้อตกลงนี้มีผลทำให้ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่า ผู้เช่าได้แจ้งความจำนงขอเช่าต่ออีก 10 ปี ผู้ให้เช่าจะไม่ยอมให้เช่าไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไฟฟ้านครหลวงฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่คำนวณผิดพลาด และประเด็นอายุความของหนี้
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนเป็นสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิใช่พ่อค้าตามมาตรา 165(1)แห่ง ป.พ.พ. การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่พนักงานของโจทก์จดหน่วยไฟฟ้าจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าโดยไม่ได้คูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งทำให้จำเลยชำระค่าไฟฟ้าให้โจทก์ขาดไปนั้น เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์คำนวณหน่วยกระแสไฟฟ้าที่จำเลยใช้ผิดไปเพราะไม่ได้นำตัวเลขในเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามาคูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งให้จำเลย จำเลยได้รับประโยชน์ในการใช้กระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณผิด ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้จำเลยโดยไม่อิดเอื้อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 327จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณขาดไปและจะถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไประหว่างเดือนธันวาคม 2505 จนถึงเดือนมกราคม 2525 สำนวนหลังโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไปในระหว่างวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2525 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากัน ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ฟ้องเรื่องเดียวกันและโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไฟฟ้านครหลวงฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่คำนวณผิดพลาด อายุความ 10 ปี ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนเป็นสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิใช่พ่อค้าตามมาตรา 165(1)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่พนักงานของโจทก์จดหน่วยไฟฟ้าจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าโดยไม่ได้คูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้ง ทำให้จำเลยชำระค่าไฟฟ้าให้โจทก์ขาดไปนั้น เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 โจทก์คำนวณหน่วยกระแสไฟฟ้าที่จำเลยใช้ผิดไปเพราะไม่ได้นำตัวเลขในเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามาคูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งให้จำเลย จำเลยได้รับประโยชน์ในการใช้กระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณผิด ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้จำเลยโดยไม่อิดเอื้อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณขาดไปและจะถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไประหว่างเดือนธันวาคม 2505 จนถึงเดือนมกราคม 2525 สำนวนหลังโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไปในระหว่างวันที่13 กุมภาพันธ์ 2525 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากัน ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ฟ้องเรื่องเดียวกันและโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6378/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีครอบครองปรปักษ์: ศาลคำนวณผิดพลาด ต้องคืนเงินส่วนเกิน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ครอบครองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยโดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินแก่โจทก์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์คือ ราคาที่ดินซึ่งโจทก์ก็เสียมาถูกต้องแล้ว แม้ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเหตุที่ว่าที่ดินตามฟ้องยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงขอบังคับให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์มิได้ก็ไม่ทำให้คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้กลายเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับโดยไม่คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาทแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินอัตราที่บัญญัติไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ฟ้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดิน ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับการที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมว่าเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องโต้แย้งสิทธิแต่เป็นการใช้สิทธิทางศาลศาลก็ชอบที่จะเรียกค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ขอให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมส่วนที่เกินเป็นการอุทธรณ์ว่าการที่ศาลชั้นต้นสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวมีผลเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดินอันเป็นการกำหนดหรือคำนวณค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว และในกรณีอุทธรณ์ว่า ค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายเช่นนี้ แม้จะมิได้อุทธรณ์ในเนื้อหาโดยตรงของคดีด้วย ก็ไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168
of 2