พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ฟ้องไม่เคลือบคลุม-การคำนวณหนี้-เอกสารประกอบพยาน-การส่งเอกสารต่อศาล
หนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิได้มุ่งหมายให้ตัวแทนกระทำกิจการใดโดยเฉพาะเจาะจง ทั้งการฟ้องคดีก็มิได้ระบุตัวบุคคลผู้เป็นลูกหนี้หรือบุคคลที่จะถูกฟ้องว่าเป็นบุคคลใด ย่อมมีผลเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว โจทก์จึงใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องลูกหนี้ของโจทก์ได้ทุกคดีโดยไม่มีจำกัดจำนวนคดีและตัวบุคคล แม้โจทก์จะเคยใช้หนังสือมอบอำนาจฟ้องจำเลยมาแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมมาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินรวม1,500,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ หลังจากนั้นมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีเรื่อยมา ระยะหลังจำเลยเบิกเงินจากบัญชีจำนวนมากแต่นำเงินเข้าหักทอนบัญชีจำนวนน้อย โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์คำนวณหนี้คิดเพียงวันที่ 12 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเลิกบัญชีเดินสะพัด จำเลยเป็นหนี้โจทก์1,877,571.48 บาท ตามบันทึกการคำนวณดอกเบี้ยเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ส่วนขั้นตอนของการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละเดือนและยอดสรุปของหนี้แต่ละเดือนเป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ในคดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ายอดหนี้สำหรับหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคำนวณไม่ถูกต้องจึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ และต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีรายเดียวกันอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องโดยคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดไว้ โจทก์ฟ้องและนำสืบในประเด็นเดิม จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งคดีทั้งสองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งคดีนี้โจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในคดีก่อนแล้ว จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินรวม1,500,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ หลังจากนั้นมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีเรื่อยมา ระยะหลังจำเลยเบิกเงินจากบัญชีจำนวนมากแต่นำเงินเข้าหักทอนบัญชีจำนวนน้อย โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์คำนวณหนี้คิดเพียงวันที่ 12 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเลิกบัญชีเดินสะพัด จำเลยเป็นหนี้โจทก์1,877,571.48 บาท ตามบันทึกการคำนวณดอกเบี้ยเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ส่วนขั้นตอนของการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละเดือนและยอดสรุปของหนี้แต่ละเดือนเป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ในคดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ายอดหนี้สำหรับหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคำนวณไม่ถูกต้องจึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ และต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีรายเดียวกันอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องโดยคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดไว้ โจทก์ฟ้องและนำสืบในประเด็นเดิม จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งคดีทั้งสองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งคดีนี้โจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในคดีก่อนแล้ว จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8625/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นก่อนวันสิ้นเดือนขัดต่อสัญญา การคำนวณหนี้ใหม่ตามข้อตกลง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับเงินกู้จำนวนที่ได้เบิกไป โดยมีกำหนดชำระเงินรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันสิ้นเดือน ในเวลาทำงานของผู้ให้กู้ แต่ถ้าวันถึงกำหนดชำระดอกเบี้ยเช่นว่านี้ตรงกับวันหยุดงานของผู้ให้กู้ ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำงานที่ถัดไป ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยทบต้นก่อนวันสิ้นเดือนจึงขัดกับข้อสัญญาเป็นการไม่ชอบ ทำให้มูลหนี้ความรับผิดของจำเลยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง จึงต้องคิดคำนวนหนี้ของจำเลยในส่วนนี้ใหม่ โดยให้คิดดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยทุกวันสิ้นเดือน แล้วนำดอกเบี้ยทบเข้ากับต้นเงินคงค้าง เพื่อถือเป็นต้นเงินของเดือนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักส่วนได้ใช้แทนในบังคับคดีและการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินของจำเลยได้จากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย การที่โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทน หมายถึงการที่โจทก์มีหน้าที่ต้องวางเงินชำระ ราคาค่าซื้อที่ดินในฐานะผู้ซื้อ และโจทก์มีสิทธิรับเงินจากการขายทอดตลาดที่โจทก์นำมาวางชำระค่าที่ดินในฐานะ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาที่ต้องชำระ และศาลอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาด โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคน ได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในมาตรา 318 ถึง 322 แห่ง ป.วิ.พ. เป็นแต่เพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพิ่ม เนื่องจากบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณ ไม่ถูกต้อง ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้จ่ายให้โจทก์รับไปตามหนี้จำนองที่โจทก์มีอยู่เหนือที่ดินที่ขายทอดตลาดดังกล่าวครบถ้วนตามหนี้จำนองและเงินส่วนที่เหลือได้คืนให้จำเลย รับไปแล้ว เมื่อกรณียังไม่เป็นการแน่ชัดว่า เมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือ ที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาเห็นควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยพอชำระหนี้โจทก์พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยตามสิทธิของแต่ละฝ่าย และเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดเพิ่มต่อไป
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคน ได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในมาตรา 318 ถึง 322 แห่ง ป.วิ.พ. เป็นแต่เพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพิ่ม เนื่องจากบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณ ไม่ถูกต้อง ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้จ่ายให้โจทก์รับไปตามหนี้จำนองที่โจทก์มีอยู่เหนือที่ดินที่ขายทอดตลาดดังกล่าวครบถ้วนตามหนี้จำนองและเงินส่วนที่เหลือได้คืนให้จำเลย รับไปแล้ว เมื่อกรณียังไม่เป็นการแน่ชัดว่า เมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือ ที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาเห็นควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยพอชำระหนี้โจทก์พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยตามสิทธิของแต่ละฝ่าย และเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดเพิ่มต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การฟ้องล้มละลายโดยไม่สุจริต, การคำนวณหนี้ผิดพลาด
ตามสัญญาค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทนั้น โจทก์และ ส.ร่วมกันค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล.ภายในวงเงิน 1,000,000 บาท โดยยอมเข้ารับผิดร่วมกับบริษัท ล. ความรับผิดระหว่างโจทก์กับ ส.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 682 วรรคสองส่วนการที่โจทก์และ ส.ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้โดยยอมรับผิดร่วมกับบริษัท ล.ผู้เป็นลูกหนี้นั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้และต่อผู้ค้ำประกันยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันเป็นผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 เมื่อโจทก์และ ส.ค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล.ภายในวงเงิน 1,000,000 บาทความรับผิดของโจทก์และ ส.ย่อมจำกัดอยู่เพียงจำนวนเงิน 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน 1,000,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยที่บริษัท ล.ต้องรับผิดต่อจำเลย แต่อัตราดอกเบี้ยนั้นต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดได้ตามกฎหมาย การที่ ส.ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้จำเลย1,800,000 บาท และจำเลยปลดหนี้ค้ำประกันให้ ส.เมื่อวันที่ 18 เมษายน2533 ทำให้โจทก์ซึ่งมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับ ส.ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ของ ส.ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง, 293 ดังนั้นถึงอย่างไรโจทก์ก็คงรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาค้ำประกันไม่ถึง 1,000,000บาท ต่อมาอีก 2 ปี 11 เดือน 23 วัน จำเลยได้ฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายไม่ว่าจะคำนวณดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่โจทก์ยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันอย่างไรยอดหนี้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีล้มละลายก็ไม่มีทางถึง 15,332,017.82 บาท ตามที่จำเลยฟ้อง ส่วนหนี้ตามสัญญาจำนองนั้นตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและหนังสือสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นประกัน โจทก์ทำสัญญาจำนองแก่จำเลยเป็นประกันเงินกู้และหรือหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของบริษัท ล.และหรือของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท แม้บริษัท ล.เป็นหนี้จำเลยอยู่ในขณะที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์ในคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,019.82 บาท ก็ตามแต่โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาจำนองในวงเงิน200,000 บาท และดอกเบี้ยที่คิดจากต้นเงิน 200,000 บาท ตามอัตราที่บริษัท ล.ต้องรับผิดต่อจำเลยแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี เท่านั้นและหนี้ดังกล่าวหลักทรัพย์ที่โจทก์จำนองไว้ก็มีราคาประมาณ 300,000 บาทเท่านั้น เมื่อพิจารณาสัญญาจำนองแล้วมูลหนี้ตามสัญญาจำนองในขณะนั้นเมื่อเทียบเคียงกันมีราคาใกล้กับราคาที่ดินที่จำนองเป็นประกัน การที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายโดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล.โดยจำเลยไม่บรรยายฟ้องถึงวงเงินที่โจทก์ค้ำประกัน และได้บรรยายต่อไปว่าโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่จำเลยภายในวงเงิน 200,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ประสงค์ให้บริษัท ล.กู้เงินอีกต่อไปจึงเรียกให้บริษัท ล.ชำระหนี้เป็นเงิน 15,332,017.82 บาทโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าว จำเลยตีราคาทรัพย์จำนองเป็นเงิน 316,500 บาท เมื่อหักกับจำนวนหนี้แล้วโจทก์ยังต้องรับผิดร่วมกับบริษัท ล.อีก 15,015,517.82 บาท ตอนจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองก็แจ้งระบุว่ามีหนี้ค้างชำระ ณ วันที่15 กรกฎาคม 2534 เป็นเงิน 14,904,532 บาท ในชั้นพิจารณาคดีล้มละลายผู้รับมอบอำนาจจำเลยก็เบิกความว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ล.ถึงวันฟ้องคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,071.82 บาท ทั้ง ๆ ที่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันของโจทก์มีเพียงไม่เกิน 1,000,000 บาท กับดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าว และสัญญาค้ำประกันหนิ้สินทุกประเภท ก็ทำขึ้นตามแบบพิมพ์ของจำเลย ซี่งต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดและพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อในการคำนวณยอดหนี้ของโจทก์และใช้สิทธิในการฟ้องคดีล้มละลายโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายโดยไม่สุจริตและการคำนวณหนี้ผิดพลาด จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลาย โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล. โดยจำเลยไม่บรรยายฟ้องถึงวงเงินที่โจทก์ค้ำประกันและได้บรรยายต่อไปว่าโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่จำเลยภายในวงเงิน 200,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ประสงค์ให้บริษัท ล. กู้เงินอีกต่อไปจึงเรียกให้บริษัท ล.ชำระหนี้เป็นเงิน 15,332,017.82 บาท โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าว จำเลยตีราคาทรัพย์จำนองเป็นเงิน 316,500 บาท เมื่อหักกับจำนวนหนี้แล้วโจทก์ยังต้องรับผิดร่วมกับบริษัท ล. อีก15,015,517.82 บาท ตอนจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองก็แจ้งระบุว่ามีหนี้ค้างชำระ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2534 เป็นเงิน14,904,532 บาท ในชั้นพิจารณาคดีล้มละลายผู้รับมอบอำนาจจำเลยก็เบิกความว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ล.ถึงวันฟ้องคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,071.82 บาททั้ง ๆ ที่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันของโจทก์มีเพียงไม่เกิน 1,000,000 บาท กับดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวและสัญญาค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทก็ทำขึ้นตามแบบพิมพ์ของจำเลย ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดและพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อในการคำนวณ ยอดหนี้ของโจทก์และใช้สิทธิในการฟ้องคดีล้มละลายโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ฐานละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชี, การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร, การคำนวณหนี้ที่ถูกต้องตามบัญชี
++ เรื่อง บัญชีเดินสะพัด ค้ำประกัน จำนอง ++
++ จำเลยทำสัญญากู้เงินเกินบัญชีแล้วมีการเดินสะพัดทางบัญชีในบัญชีกระแสรายวันตลอดมาโดยมีการทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาแล้ว แม้ยังไม่มีการทำบันทึกต่ออายุสัญญาครั้งต่อไป แต่โจทก์ยังยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาอีก จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้สัญญาเดินสะพัดดังกล่าวยังมีผลต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญา การที่ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกฉบับหนึ่งโดยให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันในบัญชีกระแสรายวันเดิม และต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาเช่นเดียวกับสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่วันที่โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 โจทก์กับจำเลยตกลงเดินสะพัดตามบัญชีเดินสะพัดคือบัญชีกระแสรายวันเดิม โดยถือเงื่อนไขตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 รวมกัน ซึ่งการคิดดอกเบี้ยต้องนำยอดหนี้ตามวงเงินของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแต่ละฉบับมาคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันในแต่ละสัญญาแยกกันก่อน แล้วจึงนำดอกเบี้ยมารวมยอดกันเพื่อทบเป็นต้นเงินใหม่ การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคิดยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่า จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหักชำระหนี้หมดแล้วในวันที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 แล้ว จึงเบิกถอนเงินออกไปใหม่อีกในวันเดือนกัน การคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่เบิกถอนออกไปใหม่ยังพอที่ศาลจะพิพากษากำหนดวิธีการคิดยอดหนี้เฉพาะดอกเบี้ยตามอัตราที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องคิดคำนวณเป็นตัวเลขให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์ควรได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้ ++
++ จำเลยทำสัญญากู้เงินเกินบัญชีแล้วมีการเดินสะพัดทางบัญชีในบัญชีกระแสรายวันตลอดมาโดยมีการทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาแล้ว แม้ยังไม่มีการทำบันทึกต่ออายุสัญญาครั้งต่อไป แต่โจทก์ยังยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาอีก จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้สัญญาเดินสะพัดดังกล่าวยังมีผลต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญา การที่ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกฉบับหนึ่งโดยให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันในบัญชีกระแสรายวันเดิม และต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาเช่นเดียวกับสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่วันที่โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 โจทก์กับจำเลยตกลงเดินสะพัดตามบัญชีเดินสะพัดคือบัญชีกระแสรายวันเดิม โดยถือเงื่อนไขตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 รวมกัน ซึ่งการคิดดอกเบี้ยต้องนำยอดหนี้ตามวงเงินของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแต่ละฉบับมาคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันในแต่ละสัญญาแยกกันก่อน แล้วจึงนำดอกเบี้ยมารวมยอดกันเพื่อทบเป็นต้นเงินใหม่ การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคิดยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่า จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหักชำระหนี้หมดแล้วในวันที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 แล้ว จึงเบิกถอนเงินออกไปใหม่อีกในวันเดือนกัน การคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่เบิกถอนออกไปใหม่ยังพอที่ศาลจะพิพากษากำหนดวิธีการคิดยอดหนี้เฉพาะดอกเบี้ยตามอัตราที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องคิดคำนวณเป็นตัวเลขให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์ควรได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารคำนวณหนี้ที่ถูกต้องมาประกอบการวินิจฉัยคดี ศาลมีอำนาจสั่งได้โดยไม่ต้องมีฝ่ายร้องขอ
ระหว่างพิจารณาคู่ความแถลงว่าให้โจทก์จัดทำเอกสารเกี่ยวกับยอดหนี้ที่ถูกต้องมาเสนอศาล เมื่อโจทก์จัดทำเอกสารมาแจ้งศาลชั้นต้นได้ออกหมายเรียก ก. มาเป็นพยานเบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวเช่นนี้เป็นอำนาจของศาลที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาได้ โดยไม่ต้องมีฝ่ายได้ร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86เพราะศาลนำเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายและการคำนวณหนี้ที่ถูกต้อง ศาลฎีกาตัดสินให้ใช้ยอดหนี้ที่คำนวณใหม่
หนี้ตามสัญญากู้ฉบับใหม่รวมหนี้เงินกู้เดิมเข้าไปจำนวน87,150 บาท แต่หนี้จำนวน 87,150 บาทรวมดอกเบี้ยที่เกินอัตราอยู่ด้วย และไม่สามารถแยกดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะออกมาเพื่อให้ทราบต้นเงินกู้เดิมได้ จึงหาอาจนำหนี้จำนวน 87,150 บาท หรือต้นเงินกู้เดิมที่แน่นอนมารวมเป็นยอดหนี้เงินกู้ใหม่เพื่อให้จำเลยรับผิดได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การคิดคำนวณหนี้ที่จำหน่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ
ข้อกฎหมายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า การเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็น เงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า การเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็น เงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณหนี้ค้างชำระและหักชำระหนี้ตามกฎหมายแพ่ง จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดการชำระหนี้ที่ชัดเจน
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยให้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยและให้ชำระดอกเบี้ยเดือนละครั้ง จำเลยไม่ผ่อนชำระให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์อีกและได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมทั้งสองฉบับสัญญาครั้งละครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้จำเลยยังเป็นหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญาฉบับอื่นๆ อีกหลายฉบับ โดยโจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว เมื่อโจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว เมื่อจำเลยเป็นหนี้อยู่หลายจำนวนรวมกันและชำระหนี้รวมกันแต่ละเดือนก็ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนว่าห้ามมิให้นำ ป.พ.พ. มาตรา 329 ที่ให้นำเงินที่จำเลยชำระไปหักใช้ดอกเบี้ยก่อนส่วนที่เหลือจึงนำไปชำระหนี้ต้นเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานมาใช้บังคับ
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือน และยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ไม่ได้ความว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวดๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือน และยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ไม่ได้ความว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวดๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน