คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำบอกกล่าว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าหุ้น: สิทธิเรียกร้องเกิดเมื่อมีคำบอกกล่าวเรียกชำระจากกรรมการบริษัท และไม่ขาดอายุความหากยังไม่มีการบอกกล่าว
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องถือหุ้นบริษัท จำเลยจำนวน 100 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 100,000 บาท ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้น ขณะจัดตั้งบริษัทเป็นเงิน 25,000 บาท คงค้างชำระเงินค่าหุ้น อีก 75,000 บาท แต่ในการวินิจฉัยปัญหาข้อที่ว่าสิทธิเรียกร้อง ในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระขาดอายุความหรือไม่ ศาลอุทธรณ์กลับฟังข้อเท็จจริงว่ากรรมการบริษัทจำเลย เรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 ให้ครบมูลค่าของหุ้น อันแสดงว่าผู้ร้องค้างชำระเงินค่าหุ้น เพียง 50,000 บาท เท่านั้น ฉะนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงขัดกันไม่เป็นไปในทางเดียวกันว่าผู้ร้อง ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอยู่เพียงใดศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริง ใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (3) (ก)ประกอบด้วยมาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 ตามบทบัญญัติมาตรา 1120 และ 1121 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้อำนาจกรรมการบริษัทจะเรียกผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ และเมื่อกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีก สิทธิเรียกร้องก็เกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการบริษัทส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเนื่องจากสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อกรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยจึงยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระอายุความจึงไม่เริ่มนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้คัดค้านจึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำบอกกล่าวตามสัญญาซื้อขาย การกำหนดภูมิลำเนาเฉพาะการ และผลของการไม่แจ้งให้ถูกต้อง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจากจำเลย 2 ห้อง ในราคาห้องละ 350,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลยแล้วห้องละ 105,000 บาทส่วนที่เหลือจะชำระในวันทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และโจทก์ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่จำเลยทราบว่าโจทก์ต้องเดินทางไปต่างประเทศ หากจะติดต่อกับโจทก์ให้ติดต่อผ่าน จ.พี่สาวโจทก์ การที่จำเลยได้ส่งโทรสารแผนที่ตั้งโครงการไปให้ จ.พี่สาวโจทก์ เพื่อให้ จ.นำไปขอติดตั้งโทรศัพท์ในห้องอาคารชุดแทนโจทก์ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยติดต่อเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดผ่าน จ.ตั้งแต่ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จึงต้องถือว่าที่อยู่ของ จ.เป็นภูมิลำเนาที่โจทก์ได้เลือกไว้เป็นการเฉพาะการนี้ ดังนั้น แม้จำเลยจะมีหนังสือแจ้งกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งสองฉบับไปยังภูมิลำเนาเดิมของโจทก์ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม แต่จำเลยไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบคำบอกกล่าว จำเลยยังคงต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายอยู่ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่โจทก์แล้วจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาและบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระไม่ผูกติดกรอบเวลา 10 ปี แต่เกิดขึ้นเมื่อมีคำบอกกล่าวเรียกชำระจากกรรมการ
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าจะต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้งกรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 119เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำบอกกล่าวของผู้ตายต้องระบุชื่อผู้กระทำผิดขณะหมดหวังถึงชีวิต จึงจะรับฟังได้
เกณฑ์สำคัญประการหนึ่งที่ให้รับฟังคำบอกกล่าวของผู้ตาย คือผู้ตายต้องระบุชื่อผู้ทำร้ายในขณะที่ผู้ตายรู้ตัวว่าหมดหวังที่จะมีชีวิตรอดอยู่ ทั้งนี้เพราะคนที่รู้สึกตัวว่าหมดหวังจะมีชีวิตรอดอยู่ได้แล้วกล่าวถ้อยคำใดนั้นถือว่ากล่าวโดยสาบานตัวแล้วและไม่ต้องการกล่าวเท็จก่อเวรกรรมอีกต่อไป ส่วนจะถึงแก่ความตายเมื่อใดหาเป็นข้อสำคัญไม่
คำบอกกล่าวของผู้ตายที่ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำร้ายผู้ตาย แต่ไม่ได้ความว่าผู้ตายกล่าวในขณะที่รู้ตัวว่าหมดหวังจะมีชีวิตรอดอยู่ได้หรือไม่จึงขาดเกณฑ์สำคัญที่ให้รับฟังคำบอกกล่าวของผู้ตายตามกระบวนความ แม้ผู้ตายจะสิ้นใจในอีก 10 นาทีต่อมา คำบอกกล่าวของผู้ตายเช่นนี้ย่อมไม่น่าเชื่อถือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำบอกกล่าวของผู้ตายก่อนสิ้นใจต้องมีสภาพจิตใจที่หมดหวังแล้วจึงจะรับฟังได้ พยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอต่อการลงโทษ
ถ้อยคำของผู้ตายที่ให้ไว้ต่อแพทย์และเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ทำการรักษาผู้ตาย โดยระบุชื่อ จำเลยว่าเป็นคนยิงผู้ตายนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าผู้ตายระบุชื่อ จำเลยในขณะที่ผู้ตายรู้ตัวว่าหมดหวังจะมีชีวิตรอดอยู่หรือไม่เช่นนี้จะรับฟังพยานนั้นมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำบอกกล่าวของผู้ตายต้องระบุชื่อผู้กระทำผิดขณะหมดหวัง จึงจะรับฟังได้
เกณฑ์สำคัญประการหนึ่งที่ให้รับฟังคำบอกกล่าวของผู้ตาย คือผู้ตายต้องระบุชื่อผู้ทำร้ายในขณะที่ผู้ตายรู้ตัวว่าหมดหวังที่จะมีชีวิตรอดอยู่ ทั้งนี้เพราะคนที่รู้สึกตัวว่าหมดหวังจะมีชีวิตรอดอยู่ได้แล้วกล่าวถ้อยคำใดนั้นถือว่ากล่าวโดยสาบานตัวแล้วและไม่ต้องการกล่าวเท็จก่อเวรกรรมอีกต่อไป ส่วนจะถึงแก่ความตายเมื่อใดหาเป็นข้อสำคัญไม่
คำบอกกล่าวของผู้ตายที่ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำร้ายผู้ตาย แต่ไม่ได้ความว่าผู้ตายกล่าวในขณะที่รู้ตัวว่าหมดหวังจะมีชีวิตรอดอยู่ได้หรือไม่จึงขาดเกณฑ์สำคัญที่ให้รับฟังคำบอกกล่าวของผู้ตายตามกระบวนความ แม้ผู้ตายจะสิ้นใจในอีก 10 นาทีต่อมา คำบอกกล่าวของผู้ตายเช่นนี้ย่อมไม่น่าเชื่อถือ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย: การตีความข้อความในหนังสือแจ้งความประสงค์
ทนายความของผู้รับจำนองมีหนังสือถึงผู้จำนองมีความว่า'นางสาวศิริวรรณได้มอบอำนาจให้ข้าพเจ้าใช้สิทธิเรียกร้องและบอกเลิกสัญญาจำนองต่อท่าน. ดังนี้ ด้วยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าขอให้ท่านไปจัดการไถ่ถอนจำนองที่ดินทั้ง 3โฉนดภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2523 หากพ้นกำหนดไปแล้วท่านเพิกเฉยก็ดี ฯลฯ ข้าพเจ้าจำเป็นจะต้องดำเนินคดีกับท่านตามที่ได้รับมอบหมายไว้' ดังนี้เป็นคำบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้ทรงสิทธิเก็บกินในที่ดินของผู้เยาว์ และผลของการไม่มีคำบอกกล่าวเตือนก่อนฟ้อง
แม้ที่ดินที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เยาว์ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1407 วรรค 2 บัญญัติให้ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจจัดการทรัพย์สิน และการฟ้องขับไล่ออกจากที่ดินและบ้านพิพาทที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินก็เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนี้ ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้เองโดยมิต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนเสียก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินในขณะยื่นฟ้องย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยได้ แม้โจทก์จะมิได้มีคำบอกกล่าวให้คำเตือนแก่จำเลยก่อนยื่นฟ้องก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ต้องเสียไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมบริษัทจำกัด การนับระยะเวลาตามกฎหมาย ให้ดูวันที่ส่ง ไม่ใช่วันที่ผู้รับได้รับ
มาตรา 1175 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่บริษัทจำกัด เพียงแต่บังคับให้ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีได้ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นก็ได้รับ ย่อมถือว่าจำเลยส่งถูกต้องตามกฎหมายแล้ว โจทก์ได้รับวันใด หาเป็นข้อสำคัญไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบอกกล่าวประชุมผู้ถือหุ้น: ระยะเวลาที่กำหนดกฎหมายเน้นที่การส่งก่อนวันประชุม ไม่จำเป็นต้องให้ถึงมือผู้รับก่อน
มาตรา 1175 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่บริษัทจำกัด เพียงแต่บังคับให้ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีได้ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นก็ได้รับ ย่อมถือว่าจำเลยส่งถูกต้องตามกฎหมายแล้ว โจทก์จะได้รับวันใด หาเป็นข้อสำคัญไม่
of 2