พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7046/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: คำพิพากษาผูกพันคู่ความเดิม แม้เป็นฝ่ายเดียวกัน ศาลยกฟ้อง
โจทก์จำเลยไม่เคยฟ้องร้องกันมาก่อน เป็นแต่เคยถูก ส. ฟ้องเป็นจำเลยด้วยกันเท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อน ส. ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 4 และสหกรณ์จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นพิพาทและให้โอนหุ้นพิพาทในสหกรณ์จำเลยคืนแก่ ส. โจทก์และจำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 โอนหุ้นพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยสุจริตจำเลยที่ 4 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเช่นเดียวกับข้ออ้างในคดีนี้อันมีประเด็นโดยตรงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทหรือไม่ แม้คดีก่อนโจทก์และจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันก็ต้องถือว่าเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความเมื่อคดีก่อนศาลพิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส. ให้โจทก์และจำเลยคดีนี้โอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส. คดีถึงที่สุด โจทก์และจำเลยจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาของศาลว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส. และจำเลยต้องโอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส. จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คดีก่อน ส. ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 4 และสหกรณ์จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นพิพาทและให้โอนหุ้นพิพาทในสหกรณ์จำเลยคืนแก่ ส. โจทก์และจำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 โอนหุ้นพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยสุจริตจำเลยที่ 4 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเช่นเดียวกับข้ออ้างในคดีนี้อันมีประเด็นโดยตรงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทหรือไม่ แม้คดีก่อนโจทก์และจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันก็ต้องถือว่าเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความเมื่อคดีก่อนศาลพิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส. ให้โจทก์และจำเลยคดีนี้โอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส. คดีถึงที่สุด โจทก์และจำเลยจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาของศาลว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส. และจำเลยต้องโอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส. จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความและบุคคลภายนอก: หลักการใช้ยันบุคคลภายนอกและอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145
คดีก่อนจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.เป็นจำเลยที่ 1และโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/1 จะเข้าไปรื้อบ้านหลังดังกล่าวของจำเลยที่ 2แต่ ส.กับโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยากันขัดขวาง ขอให้ห้าม ส. และโจทก์ขัดขวางการรื้อบ้าน โจทก์ให้การในคดีก่อนว่า จำเลยที่ 2 จะรื้อบ้านเลขที่ 81/3 ของโจทก์ และฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 2 รื้อบ้านเลขที่ 81/1 ของจำเลยที่ 2 ออกไปศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดว่า หลังจากการบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว โจทก์ได้ขอออกเลขที่บ้านใหม่เป็นเลขที่ 81/3 เมื่อ จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านตามคำสั่งศาลโดยสุจริตจึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ ห้าม ส.และโจทก์เกี่ยวข้องหรือขัดขวางในการที่จำเลยที่ 2จะทำการรื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันได้มีการออกทะเบียนบ้านใหม่เป็นเลขที่81/3 ฟ้องแย้งของโจทก์ให้ยกเสีย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และเมื่อคำพิพากษานั้นวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวว่าเป็นของจำเลยที่ 2 จึงย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกคือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2)
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 81/3 ตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ เท่ากับศาลมีคำวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3 การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า บ้านเลขที่ 81/3เป็นของโจทก์อีก และจำเลยที่ 2 ก็ให้การว่า บ้านเลขที่ดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3หรือไม่ จึงถือว่าประเด็นข้อพิพาทนี้ได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีก่อน ดังนั้น ข้อวินิจฉัยเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในบ้านเลขที่ 81/3 จึงย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ด้วย แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันโจทก์ก็ตาม เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์บ้านเลขที่ 81/3 ในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (5) มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องและคำให้การ
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 81/3 ตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ เท่ากับศาลมีคำวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3 การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า บ้านเลขที่ 81/3เป็นของโจทก์อีก และจำเลยที่ 2 ก็ให้การว่า บ้านเลขที่ดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3หรือไม่ จึงถือว่าประเด็นข้อพิพาทนี้ได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีก่อน ดังนั้น ข้อวินิจฉัยเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในบ้านเลขที่ 81/3 จึงย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ด้วย แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันโจทก์ก็ตาม เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์บ้านเลขที่ 81/3 ในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (5) มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีก่อนผูกพันคู่ความ แม้จำเลยอ้างสิทธิครอบครองใหม่ภายหลังคำพิพากษา โจทก์ยังมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
เมื่อศาลได้วินิจฉัยถึงสิทธิระหว่างโจทก์จำเลยในคดีก่อนว่าจำเลยอาศัยโจทก์อยู่ในที่พิพาทเท่านั้นมิใช่จำเลยครอบครองอย่างเป็นเจ้าของและคดีได้ถึงที่สุดแล้วคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145จำเลยจะอ้างสิทธิต่อสู้คดีให้เป็นอย่างอื่นหาได้ไม่ถ้าจำเลยจะมีสิทธิครอบครองอย่างเป็นเจ้าของก็ต้องเป็นสิทธิที่จำเลยมีขึ้นใหม่ภายหลังคำพิพากษาเมื่อยังไม่เกิน1ปีโจทก์ยังมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีก่อนพิพาทเรื่องค่าชดเชย คดีหลังเรียกค่าเสียหายจากละเมิด แม้ประเด็นต่างกัน แต่คำพิพากษาคดีก่อนผูกพัน
คดีก่อนจำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินจำนวนอื่นจากโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนอ้างว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยโดยจำเลยไม่ได้กระทำผิดแม้โจทก์จะให้การต่อสู้คดีในคดีนั้นว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยเพราะโจทก์เลิกจ้างจำเลยเนื่องจากจำเลยกระทำผิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีก่อนก็มีเพียงว่าจำเลยฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินจำนวนอื่นจากโจทก์ได้เพียงใดหรือไม่แต่ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีก่อนว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปให้โจทก์เพียงใดหรือไม่การที่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในคดีนี้โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปคดีนี้จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เพียงใดหรือไม่ซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ เมื่อคดีก่อนได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาอันถึงที่สุดแล้วว่าโจทก์ในคดีนี้ได้เลิกจ้างจำเลยในคดีนี้โดยจำเลยไม่ได้กระทำผิดจำเลยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปตามที่โจทก์ให้การต่อสู้คดีในคดีก่อนคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ในคดีนี้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปโจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความเดิม: คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนหน้าเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินมีผลผูกพันผู้ร้อง
สามีของผู้ร้องและบุตรของผู้ร้องอีก 4 คนได้ร่วมกันฟ้องผู้ประกันเกี่ยวกับที่พิพาท ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่พิพาทในคดีนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่พิพาทในคดีดังกล่าวเป็นของผู้ประกันต่อมาผู้ประกันได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องและบุตรออกจากที่พิพาทศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้พิพากษาถึงที่สุดว่าที่พิพาทเป็นของผู้ประกันให้ขับไล่ผู้ร้องและพวกผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงผูกพันผู้ร้อง ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก ผู้ร้องจะกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ผู้ประกันจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันคำพิพากษาในคดีก่อน แม้ฝ่ายฟ้องแตกต่างกัน หากประเด็นข้อพิพาทเป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนจำเลยได้ฟ้องโจทก์ว่า โจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้รับจำเลยกลับเข้าทำงาน หรือให้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายไป ขอให้จำเลยชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยดังนี้ เมื่อเหตุที่จำเลยอ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมคือโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจำเลยมิได้กระทำผิดซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไป ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปหรือไม่ จำเลยจึงเถียงข้อเท็จจริงให้ผิดแผกแตกต่างไปจากคดีก่อนมิได้ ต้องฟังว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ขาดบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: โจทก์ในคดีเดิมถูกผูกพันคำพิพากษาในคดีต่อมา แม้เปลี่ยนสถานะเป็นจำเลย
คดีก่อนบุคคลภายนอกฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างให้ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยได้ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างโดยประมาทชนรถที่ ส.ขับเป็นเหตุให้ส. ถึงแก่ความตายศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งว่าจำเลยมิได้ประมาท ส่วนคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยว่าขับรถโดยประมาทชนกับรถ ส.เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไปก่อน ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวคืนโจทก์ ดังนี้ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยเป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยประมาทหรือไม่เช่นเดียวกับคดีก่อน ฉะนั้นแม้ว่าคดีก่อนโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ต่างเป็นจำเลยด้วยกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีดังกล่าวด้วยคำพิพากษาในคดีนั้นจึงผูกพันโจทก์ในคดีนี้ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อนกับคดีหลังในประเด็นสัญญาซื้อขาย การฟังข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธที่ไม่รับของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคแรก
คดีก่อนจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้โจทก์คดีนี้ชำระค่าเสียหายเพราะเหตุส่งมอบพรมชำรุดบกพร่อง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระราคาพรม ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีมิได้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144
โจทก์และจำเลยในคดีก่อนกับจำเลยที่ 1 และโจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน และพิพาทกันในมูลสัญญาซื้อขายอันเดียวกัน คำพิพากษาในคดีเรื่องก่อนจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้มิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 และเป็นผลให้ศาลในคดีนี้ต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีก่อน เมื่อศาลอุทธรณ์คดีก่อนซึ่งจำเลยที่ 1เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย พิพากษาว่า โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) ได้รับพรมที่สั่งซื้อจากจำเลย (โจทก์คดีนี้) และโจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) มีโอกาสตรวจดูว่าตรงตามที่สั่งซื้อหรือไม่ โจทก์รับไว้โดยมิได้ทักท้วงแล้วนำไปติดตั้งให้ลูกค้า กรณีเช่นนี้จำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ต้องรับผิด คดีถึงที่สุดแล้ว การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ (คดีนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งมอบพรมตามคุณภาพที่ได้สั่งซื้อให้จำเลยและไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และไม่มีหน้าที่ชำระราคาให้โจทก์พิพากษายกฟ้อง จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากคดีก่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว.
คดีก่อนจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้โจทก์คดีนี้ชำระค่าเสียหายเพราะเหตุส่งมอบพรมชำรุดบกพร่อง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระราคาพรม ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีมิได้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144
โจทก์และจำเลยในคดีก่อนกับจำเลยที่ 1 และโจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน และพิพาทกันในมูลสัญญาซื้อขายอันเดียวกัน คำพิพากษาในคดีเรื่องก่อนจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้มิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 และเป็นผลให้ศาลในคดีนี้ต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีก่อน เมื่อศาลอุทธรณ์คดีก่อนซึ่งจำเลยที่ 1เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย พิพากษาว่า โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) ได้รับพรมที่สั่งซื้อจากจำเลย (โจทก์คดีนี้) และโจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) มีโอกาสตรวจดูว่าตรงตามที่สั่งซื้อหรือไม่ โจทก์รับไว้โดยมิได้ทักท้วงแล้วนำไปติดตั้งให้ลูกค้า กรณีเช่นนี้จำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ต้องรับผิด คดีถึงที่สุดแล้ว การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ (คดีนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งมอบพรมตามคุณภาพที่ได้สั่งซื้อให้จำเลยและไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และไม่มีหน้าที่ชำระราคาให้โจทก์พิพากษายกฟ้อง จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากคดีก่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950-953/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความเดิม การครอบครองหลังคำพิพากษาถือเป็นการครอบครองแทนเจ้าของเดิม สิทธิครอบครองและการซื้อขาย
เดิมจำเลยที่ 3 และที่ 5 เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ ว.ออกจากที่พิพาทศาลพิพากษายกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นของฉ.ภริยาว. ไม่ใช่ของจำเลย ที่3 และที่ 5 คดีถึงที่สุดแล้วหลังจากนั้นจำเลยทั้งหกว.และฉ. ก็ยังคงอาศัยอยู่ในที่พิพาทโดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 อาศัยสิทธิจำเลยที่ 3 และที่ 5 ปลูกสร้างอยู่อาศัยในที่พิพาทด้วยต่อมาโจทก์ได้รับโอนสิทธิครอบครองที่พิพาทจากฉ. และฟ้องขับไล่จำเลยทั้งหกให้ออกไปจากที่พิพาทเป็นคดีนี้ดังนี้ ผลแห่งคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดในคดีก่อนย่อมผูกพันจำเลยที่ 3 และที่ 5 ในคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การครอบครองที่พิพาทของจำเลยหลังจากศาลพิพากษาถึงที่สุดถือว่าเป็นการครอบครองแทนผู้ชนะคดี จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งหกอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ฉ. ตามคำให้การจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยคนใดได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพื่อตนไปยังผู้ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381เพื่อการเริ่มต้นนับระยะเวลาแย่งการครอบครองโดยมิชอบตามมาตรา1375 เป็นประเด็นไว้จำเลยที่ 3 และที่ 5 จึงไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ฉ. เจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาทคนเดิมและโจทก์ผู้รับโอนซึ่งสิทธิและหน้าที่ในที่พิพาทจากเจ้าของเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมต่อคดีใหม่ & อำนาจฟ้อง: เมื่อข้อพิพาทซ้ำกับคดีก่อน โจทก์ถูกผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
คดีก่อน กรมทางหลวงเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับ ส.ลูกจ้างของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 คดีนี้เป็นจำเลย หาว่า ส. ขับรถยนต์โดยสารในทางการที่จ้างของโจทก์และจำเลย ที่ 1ขับรถยนต์บรรทุกในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทโดยต่างขับเคียงคู่ใกล้ชิดกันด้วยความเร็วสูงในลักษณะแข่งขันความเร็วกัน เป็นเหตุให้รถทั้งสองคัน กระแทกกันจนรถยนต์โดยสารแฉลบออกไปชนเสาและราวเกาะกลางถนนกับ เสาไฟฟ้าของกรมทางหลวงเสียหาย ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสี่ (ในคดีก่อน)ใช้ค่าเสียหาย คดีถึงที่สุดโดยศาลฟัง ข้อเท็จจริงว่า เหตุละเมิดเกิดจากความผิดของรถยนต์บรรทุกน้ำมัน อีกคันหนึ่งขับแซงเบียดกระแทกรถยนต์บรรทุกทำให้รถยนต์บรรทุก เสียหลักไปชนรถยนต์โดยสารหาใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 คดีนี้และ ส. ไม่ พิพากษายกฟ้องโจทก์มาฟ้องคดีนี้ โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับที่โจทก์ให้การต่อสู้ในคดีก่อนว่า จำเลยที่ 1 คดีนี้ขับรถเบนออกมาทางด้านขวาเข้ามาชน รถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหลักพุ่งเข้าชนเกาะกลางถนน เป็นความ ประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว เช่นนี้ เห็นได้ว่า ประเด็นข้อพิพาทโดยตรงในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นอย่างเดียวกันว่า ส.ลูกจ้างของโจทก์หรือจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็น ฝ่ายขับรถยนต์โดยประมาทแม้ว่าในคดีก่อน โจทก์กับ ส. ลูกจ้าง และจำเลยที่ 1 ที่ 2 คดีนี้จะเป็นจำเลยด้วย กันก็ตามก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของ ศาลในคดีก่อนด้วยคำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพัน โจทก์คดีนี้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์บรรทุกโดย ประมาทดังข้ออ้างในฟ้องเป็นความประมาทของรถยนต์บรรทุกน้ำมันอีกคันหนึ่ง โจทก์จะโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่าย ประมาทหาได้ไม่
เมื่อโจทก์ต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนโดยผลของกฎหมายว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ก็เท่ากับ ว่า จำเลยที่ 1รวมทั้งจำเลยอื่น (นายจ้างของจำเลยที่ 1 และผู้รับประกันภัยรถยนต์ ที่จำเลยที่ 1 ขับ) ไม่ได้ โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
เมื่อโจทก์ต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนโดยผลของกฎหมายว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ก็เท่ากับ ว่า จำเลยที่ 1รวมทั้งจำเลยอื่น (นายจ้างของจำเลยที่ 1 และผู้รับประกันภัยรถยนต์ ที่จำเลยที่ 1 ขับ) ไม่ได้ โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้