พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8910/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำคดีอาญาที่มีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว สิทธิฟ้องย่อมระงับตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำหนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยกับ ส. ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับมานำสืบและแสดงเป็นพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 264, 268, 180 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง จึงเท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งความผิดแล้ว ถือได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งโจทก์ได้ฟ้องแล้ว คดีนี้โจทก์นำการกระทำของจำเลยในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องจำเลยอีก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยปลอมเอกสารสิทธิและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 ซึ่งแตกต่างกัน แต่มูลคดีนี้ก็มาจากการกระทำอันเดียวกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำความผิดเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
โจทก์ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 742/2539 ของศาลชั้นต้นฟ้องว่า จำเลยกับพวกโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยประกาศโฆษณาแก่ประชาชนว่า จำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ มีตำแหน่งงานให้ทำหลายตำแหน่ง รายได้ดี สวัสดิการดี ใครต้องการไปทำงานให้สมัครและจ่ายค่าสมัคร ค่าบริการต่าง ๆ ได้ที่จำเลยกับพวกซึ่งเป็นเท็จ ด้วยการหลอกลวงดังกล่าวเป็นเหตุให้ประชาชนจำนวน 343 คน หลงเชื่อไปสมัครงานและจ่ายเงินให้จำเลยกับพวกรวมเป็นเงิน 16,185,000 บาท แล้วจำเลยกับพวกนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต นอกจากนี้จำเลยกับพวกยังร่วมกันจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งหมดซึ่งเป็นคนหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจัดหางานจากนายทะเบียนกลางตามกฎหมาย ปรากฏว่าฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 742/2539 เหมือนกันแทบทุกประการ เป็นการฟ้องในฐานความผิดเดียวกัน โดยวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดทั้ง 2 คดี เป็นช่วงเวลาเดียวกัน แสดงว่าการประกาศโฆษณาให้ประชาชนรวมทั้งผู้เสียหายทั้ง 2 คดี หลงเชื่อ เป็นการประกาศโฆษณาครั้งเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุทั้งสองคดีเป็นสถานที่เดียวกันจะแตกต่างกันก็เฉพาะเป็นผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้น ทั้งทางนำสืบทั้ง 2 คดี จำเลยกระทำผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ต. โดยจำเลยเป็นหุ้นส่วนของห้างดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่โจทก์นำการกระทำของจำเลยซึ่งโจทก์กล่าวหาว่าเป็นความผิดอันเป็นการกระทำเดียวกันมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี โดยแยกผู้เสียหายออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละคดีเท่านั้น เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นความผิดที่โจทก์ได้ฟ้องไว้ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 742/2539 และเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1312/2544 ของศาลชั้นต้นไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในคดีนี้ย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) จึงต้องยกฟ้องของโจทก์คดีนี้เสีย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำกรรมเดียวกัน: คดีความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและขายของหลอกลวง ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 273และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาเด็ดขาดผูกพันคู่ความ การฟ้องขับไล่ต้องพิจารณาจากการครอบครองที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยเคยพิพาทฟ้องร้องเกี่ยวกับที่ดินแปลงพิพาทมาก่อนแล้ว และคดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้แย่งการครอบครองที่พิพาทของโจทก์ (จำเลยคดีนี้) มาเกิน 1 ปีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง จึงฟังเป็นยุติได้ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาท ผลแห่งคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยจำต้องยอมรับผลแห่งคำพิพากษานั้น จะมาโต้เถียงอีกว่าความจริงที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันและจำเลยเป็นผู้ทำประโยชน์อยู่ตลอดมา ทั้ง ๆ ที่ตนต้องคำพิพากษาให้เป็นฝ่ายแพ้คดีหาได้ไม่ มิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลย่อมจะไร้ผล ดังนั้น เมื่อจำเลยเข้ามารบกวนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องระงับจากคำพิพากษาเด็ดขาดในความผิดเดียวกัน แม้ฟ้องก่อน
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงไว้ก่อนในข้อหาบุกรุกทำให้เสียทรัพย์ คดีอยู่ระหว่างนัดไต่สวนมูลฟ้องอัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 3 (อัยการจังหวัดนครราชสีมา) ฟ้องจำเลยในมูลกรณีเดียวกันต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 3(ศาลจังหวัดนครราชสีมา) ในข้อหาพยายามลักทรัพย์ คดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องนั้นศาลได้มีคำพิพากษาก่อนว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด คดีถึงที่สุดแล้วดังนี้ เห็นว่า การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านอันเป็นเคหสถานและฆ่าสุกรของโจทก์นั้น เป็นการกระทำที่ประสงค์ต่อผลในการลักสุกรหรือฆ่าสุกรการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อปรากฏว่าจำเลยถูกฟ้องเกี่ยวกับการกระทำครั้งเดียวกันนี้ในข้อหาพยายามลักทรัพย์ และศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว แม้โจทก์จะได้ยื่นฟ้องคดีไว้ก่อนคดีดังกล่าวก็ตาม แต่คดีที่อัยการฟ้องนั้นศาลได้มีคำพิพากษาก่อนสิทธิของโจทก์ที่ได้ฟ้องไว้แล้วย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวฟ้องซ้ำ สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
โจทก์เป็นบิดาผู้ตาย ฟ้องจำเลยฐานฆ่าผู้ตายไว้ก่อน ต่อมาอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานประมาททำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลย คดีถึงที่สุด ดังนี้เมื่อการกระทำของจำเลยครั้งเดียวเป็นกรรมเดียวแม้จะถูกฟ้องต่างข้อหากัน เมื่อได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่อัยการฟ้องแล้วสิทธิฟ้องคดีของโจทก์แม้จะได้ฟ้องไว้ก่อน ก็ต้องถือว่าระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องซ้ำหลังมีคำพิพากษาเด็ดขาด และการร้องสอดของบุคคลภายนอกคดีเดิม
คู่ความพิพาทกันในกรรมสิทธิทรัพย์พิพาทซึ่งศาลฎีกาได้พิพากษาเด็ดขาดไปแล้วว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนและเป็นฝ่ายแพ้คดีกลับมาฟ้องจำเลยในคดีนี้ขึ้นใหม่อ้างว่าคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ถูกต้องด้วยประการต่างๆ นั้น เป็นการรื้อร้องฟ้องใหม่ซึ่งประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
คารมที่คู่ความยกขึ้นอ้างเป็นข้อเถียงข้อแย้งนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นประเด็นแห่งคดีเสมอไป
ฟ้องไม่ระบุว่าทรัพย์เป็นอะไรอยู่ที่ไหน คำขอแต่เพียงว่า 'ให้แบ่งมรดกของนายแกรนอกพินัยกรรมทั้งหมดถ้าหากมีให้โจทก์ตามส่วนที่ควรได้ตามกฎหมายนั้น' ไม่เป็นฟ้องที่จะรับไว้พิจารณา
เมื่อผู้ร้องสอดมิได้เป็นคู่ความกับโจทก์จำเลยในคดีก่อนแม้ศาลจะได้พิพากษาชี้กรรมสิทธิในทรัพย์ว่าเป็นของจำเลยก็ดีจำเลยจะนำไปใช้ยันกับผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแห่งคดีเดิมนั้นไม่ได้ถ้าผู้ร้องสอดมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลย
เมื่อกรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยคงมีแต่เรื่องอื่นอันไม่เกี่ยวกับปัญหาที่ผู้ร้องสอดร้องสอดแล้วสิทธิของผู้ร้องสอด จึงยังไม่เกี่ยวเนื่องกับคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีผู้ร้องสอดชอบที่แยกคดีไปฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่ง
คารมที่คู่ความยกขึ้นอ้างเป็นข้อเถียงข้อแย้งนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นประเด็นแห่งคดีเสมอไป
ฟ้องไม่ระบุว่าทรัพย์เป็นอะไรอยู่ที่ไหน คำขอแต่เพียงว่า 'ให้แบ่งมรดกของนายแกรนอกพินัยกรรมทั้งหมดถ้าหากมีให้โจทก์ตามส่วนที่ควรได้ตามกฎหมายนั้น' ไม่เป็นฟ้องที่จะรับไว้พิจารณา
เมื่อผู้ร้องสอดมิได้เป็นคู่ความกับโจทก์จำเลยในคดีก่อนแม้ศาลจะได้พิพากษาชี้กรรมสิทธิในทรัพย์ว่าเป็นของจำเลยก็ดีจำเลยจะนำไปใช้ยันกับผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแห่งคดีเดิมนั้นไม่ได้ถ้าผู้ร้องสอดมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลย
เมื่อกรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยคงมีแต่เรื่องอื่นอันไม่เกี่ยวกับปัญหาที่ผู้ร้องสอดร้องสอดแล้วสิทธิของผู้ร้องสอด จึงยังไม่เกี่ยวเนื่องกับคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีผู้ร้องสอดชอบที่แยกคดีไปฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเรื่องแบ่งมรดก: ศาลพิพากษาแล้ว แม้ไม่ได้อุทธรณ์ ก็ถือเป็นคำพิพากษาเด็ดขาด
ได้ความว่าเดิมโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดิน 3 โฉนดจากจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แบ่งที่ดินสองโฉนดตามขอ ส่วนที่ดินอีกโฉนดหนึ่งที่โจทก์ขอแบ่งนั้น จำเลยให้การว่าหมายเลขโฉนดมิใช่หมายเลขดั่งที่โจทก์ระบุมาในฟ้อง โจทก์ทราบแล้วมิได้ขอแก้ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยอย่างไร ศาลชั้นต้นจึงไม่พิพากษาให้แบ่งเพราะจะเป็นการเกินคำขอ โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อนี้ ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขึ้นอีกขอให้แบ่งที่ดินตามหมายเลขโฉนดที่จำเลยให้การระบุไว้ไม่ตรงกับที่โจทก์ระบุในฟ้องคดีแรกโดยอ้างว่าคดีก่อนโจทก์อ้างเลขโฉนดผิดไปและมิได้ขอแก้ฟ้อง เช่นนี้ถือว่าฟ้องของโจทก์ในคดีเป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนและคดีนี้คู่ความเป็นคนคนเดียวกัน พิพาทกันเรื่องขอแบ่งมรดกที่ดินแปลงพิพาทนี้แปลงเดียวกันนั่นเอง หากโจทก์ฟ้องอ้างเลขโฉนดผิดไป ศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษาเด็ดขาดในเรื่องการแบ่งไม่ได้ เพราะศาลชั้นต้นพิพากษาไม่แบ่งนั้นเป็นคำพิพากษาแล้วและถ้าไม่เป็นที่พอใจของคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายนั้นย่อมอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปได้ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องอีกตาม ป.วิ.แพ่ง ม.148.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญาหลังศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องไม่ระบุรายละเอียดสำคัญ ทำให้เกิดคำพิพากษาเด็ดขาด
เดิมโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยหาว่าสมคบกันทำร้ายร่างกายโจทก์มีบาดเจ็บสาหัสศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องคดีนั้นโดยเห็นว่าฟ้องของโจทก์มิได้ระบุรายละเอียดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำผิด รุ่งขึ้นโจทก์จึงมายื่นฟ้องใหม่อีก โดยกล่าวในฟ้องระบุวันเวลากระทำผิดนอกนั้นคงมีข้อความอย่างเดียวกับฟ้องเดิม เช่นนี้ถือว่าการกระทำผิดเป็นข้อสำคัญที่โจทก์จะต้องกล่าวมาในฟ้องเพราะเป็นข้อเท็จจริงในเรื่องความผิดที่จำเลยกระทำลง จึงได้ชื่อว่าศาลได้ยกฟ้องในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) คือได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง แม้คดีนี้จะเป็นคดีราษฎรฟ้องกันเองซึ่งศาลยังมิได้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ดีเพียงข้อความที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายของจำเลย ศาลก็อาจวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องอุทธรณ์แล้ว ถือเป็นคำพิพากษาเด็ดขาด ไม่รับพิจารณาคดีซ้ำ
เมื่อได้มีการถอนฟ้องอุทธรณ์คำพิพากษาแล้วฟ้องถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นอันเด็ดขาดถึงที่สุด+มาร้องขอให้ดำเนินการพิจารณาอีกไม่ได้