คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8612/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการบังคับคดีต้องยื่นคำร้องในคดีเดิม ไม่ใช่ฟ้องคดีใหม่
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้น ดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากโจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพียง 360,000 บาท นอกนั้นไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยตามข้อตกลงครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเสีย แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์มาด้วยก็ตาม แต่โจทก์มิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญา โดยเพียงแต่ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในคดีเดิมเท่านั้น คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปโดยครบถ้วนและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2), 302 วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลในคดีเดิม มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
ตามคำร้องโจทก์ที่ยื่นในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องที่อ้างว่าการดำเนินการบังคับคดีเดิมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะนัดพร้อมเพื่อสอบถามคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนที่จะได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยมิได้นัดพร้อมหรือนัดไต่สวน โจทก์มิได้อุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นในกรณีดังกล่าวอีกได้ เพราะเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8612/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเกี่ยวกับการบังคับคดีต้องยื่นต่อศาลเดิม ไม่ใช่ฟ้องคดีใหม่ แม้เคยมีคำสั่งยกคำร้องแล้ว
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากโจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพียง 360,000 บาท นอกนั้นไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิบังคับคดีกับโจทก์ ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเสีย แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์มาด้วย แต่โจทก์มิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญา คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลในคดีเดิม มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
ตามคำร้องของโจทก์ที่ยื่นในคดีเดิมเป็นเรื่องที่อ้างว่าการดำเนินการบังคับคดีในคดีเดิมไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์ เป็นคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปโดยครบถ้วนและถูกต้องและได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในคดีเดิมซึ่งเป็นศาลที่ได้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะนัดพร้อมเพื่อสอบถามคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนที่จะได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยมิได้นัดพร้อมหรือนัดไต่สวน โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นในกรณีดังกล่าวอีกได้เพราะเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีตามมาตรา 148 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ป.วิ.พ. กรณีคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด
คำว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง" ของบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรคคสี่ หมายถึง หากมีกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แล้ว คำสั่งใด ๆ ของศาลที่เกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง" ในบทบัญญัติวรรคสี่นี้ทั้งสิ้น การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ย่อมเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังการขายเสร็จสิ้น ผู้ร้องไม่มีสิทธิ
ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ เนื่องจากผู้ร้องมิได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 และมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับหนี้ของจำเลยทั้งสอง การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าว จึงมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้อง อันเป็นกรณีที่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนที่ได้เอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด คดีนี้ได้ความว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินแปลงดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 โดยผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อได้ในราคา 200,000 บาท แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งล่วงเลยการเอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาการยื่นคำร้องคัดค้านการส่งหมาย
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายกล่าวอ้างว่าการส่งหมายนัดไต่สวนคำร้องของธนาคารผู้รับจำนองที่ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างพฤติการณ์การไม่ปฏิบัติตามบทบัญญติในข้อที่ว่าด้วยการส่งคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวได้ แม้เป็นระยะเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งแล้ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อตามคำร้องผู้ร้องยอมรับว่าได้ทราบว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 การที่ผู้ร้องเพิ่งยื่นคำร้องยกข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 อันเป็นเวลาเกินกว่า 8 วัน จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น: การยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมหรือไม่ชอบตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ มีเจตนารมณ์ที่ให้อำนาจการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ตั้งแต่เริ่มจัดการการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้ที่ร้องในคดีนี้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่านาย ย. เสียสิทธิในการรับสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย เนื่องจากขาดคุณสมบัติไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งอันเป็นการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นฯ มาตรา 50 ประกอบมาตรา 49 ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้บัญญัติให้ยื่นต่อศาลยุติธรรมการที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลยุติธรรมจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องคัดค้านคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น: ต้องยื่นต่อ กกต. เท่านั้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 144 และ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มีเจตนารมณ์ที่ให้การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่เริ่มจัดการการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ย. เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย เนื่องจากขาดคุณสมบัติไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 50 ประกอบมาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้ให้ยื่นต่อศาลยุติธรรม การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรมจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน, การประเมินภาษี, สิทธิในการโต้แย้ง, การยื่นคำร้อง
จำเลยได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเก็บภาษีสำหรับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2535 และ 2536 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2537 จำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องนำค่าภาษีไปชำระภายใน 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 38 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และมิได้ชำระค่าภาษีตามการประเมินดังกล่าวภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2537 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินดังกล่าว จึงเป็นค่าภาษีค้างชำระอันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยได้ นับแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 จึงยังอยู่ภายในระยะเวลา 10 ปี สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีโรงเรือนประจำปีภาษี 2535 และ 2536 ยังไม่ขาดอายุความ (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2538)
เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยไม่พอใจ กฎหมายกำหนดให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ จำเลยย่อมไม่อาจโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในชั้นศาลได้ เพราะปัญหาดังกล่าวยุติไปในชั้นการประเมิน (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2530, 705/2531)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการอายัดทรัพย์สินจากบุคคลภายนอก และหน้าที่ของศาลในการพิจารณาคำร้อง
ภายใต้บังคับบทบัญญัติ แห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดีฯ เมื่อศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาวาง ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจรวบรวมเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยวิธีอายัดเงินเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 278 และมาตรา 282 (3) หรือในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลจะกำหนดไว้ในหมายบังคับคดีระบุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการยึดอายัดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้ตามมาตรา 311 วรรคสอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินค่าเช่าที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิจะได้รับจากผู้คัดค้านไปยังผู้คัดค้าน จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการได้ ทั้งนี้ไม่ว่าหนี้ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะมีข้อโต้แย้ง ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขใด ส่วนผู้คัดค้านมีสิทธิปฏิเสธหรือโต้แย้งได้โดยการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 312 วรรคหนึ่ง ถ้าคำสั่งอายัดไม่มีการคัดค้านหรือศาลมีคำสั่งรับรองตามวรรคหนึ่งแล้วผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่ผู้คัดค้านและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าผู้คัดค้านเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามมาตรา 312 วรรคสอง มิใช่หน้าที่ของโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกกรรมการบริษัทผู้คัดค้านมาไต่สวนและมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านส่งเงินค่าเช่าที่อายัดไปยังเจ้าพนักงานบังคดีหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านส่งเงินค่าเช่าที่อายัดและศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้จำนวนเงินที่ให้ผู้คัดค้านส่งเงินที่อายัดไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอนาถา: ลำดับการพิจารณาคำร้อง และผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์
การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้เฉพาะบางส่วน หรือมีคำสั่งให้ยกคำขอ ผู้ขอมีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หรืออาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเช่นว่านี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ซึ่งเป็นวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่บัญญัติเป็นลำดับไว้แล้ว คดีนี้ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าแล้ว ภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งห้านำค่าธรรมเนียมศาลมาวาง จำเลยทั้งห้าไม่ได้ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอนั้นใหม่ แต่ได้ใช้สิทธิทำคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งห้าไปแล้ว เช่นนี้จำเลยทั้งห้าจะย้อนไปร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของตนนั้นใหม่อีกหาได้ไม่ เพราะคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดแล้ว
of 50