พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6036/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในชั้นบังคับคดี: การขอสวมสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 25 สิงหาคม 2548 เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่ เมื่อพิจารณาเนื้อหาของคำร้องทั้งสองฉบับประกอบกันแล้ว เห็นว่า เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอสวมสิทธิโจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้รายเดียวกันเพื่อผู้ร้องจะได้บังคับคดีต่อ จึงมีประเด็นที่ศาลต้องพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีแทนโจทก์หรือไม่เช่นเดียวกันทั้งสองฉบับ หาใช่ประเด็นแห่งคดีของคำร้องทั้งสองฉบับแตกต่างกันดังที่ผู้ร้องอุทธรณ์ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องฉบับลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2548 อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องการขอเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์ในการขอบังคับคดีต่อผู้ร้องแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 25 สิงหาคม 2548 ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องเดียวกันอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำเพื่อขอให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
จำเลยยื่นคำร้องฉบับแรก ขอให้ศาลคำมีสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ศาลมีคำสั่งโดยไม่ได้ไต่สวนว่า ตามคำร้องยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียม ให้ยกคำร้อง แม้ศาลจะมิได้ล่าวถึงกรณีโจทก์ไม่มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักร แต่คำสั่งดังกล่าวก็เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่ง จำเลยมิได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องฉบับหลังว่า ศาลสมควรจะมีคำสั่งให้รับคำร้องของจำเลยฉบับแรกไว้พิจารณาไต่สวนแล้วมีคำสั่ง ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น โดยอ้างข้อเท็จจริงและเหตุผลเหมือนกับคำร้องฉบับแรก เพียงแต่เพิ่มเติมว่ามีคดีอื่นที่โจทก์ฟ้องจำเลยและบัดนี้ศาลในคดีดังกล่าวเพิ่งมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำร้องของจำเลยไว้แล้ว ซึ่งแม้ส่วนที่อ้างเพิ่มเติมเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ก็ยังเป็นเพียงข้อที่อ้างเพื่อสนับสนุนว่าหากโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เสียไปอันควรที่จะสั่งให้โจทก์วางเงินเหมือนคำร้องฉบับแรก จึงมีข้ออ้างอันเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยชี้ชาดเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้ำ/ซ้อน ผู้จัดการมรดก: เหตุผลต่างกัน ไม่เป็นการรื้อฟ้องเดิม
คดีก่อนมีเพียงรู้ผู้ร้องที่ 5 เท่านั้น ที่เป็นคู่ความกับผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้ร้องที่ 5 เป็นผู้คัดค้านและขอเป็นผู้จัดการมรดกเช่นกัน ปรากฏว่าคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยกคำร้องและคำคัดค้าน มีเพียงผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีก่อนอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนจึงถึงที่สุดสำหรับผู้ร้องที่ 5 แล้ว การที่ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ในคดีนี้ จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง
คดีก่อนผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอจัดการมรดกผู้ตายอ้างว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ศาลชั้นต้นยกคำร้องและคำคัดค้านให้เหตุผลว่าผู้ตายได้ตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้แล้ว ไม่มีเหตุจะตั้งผู้จัดการมรดกอีก คดีนี้ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 2 คน แต่การจัดการมรดกมีข้อขัดข้องเพราะผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่กรรมและอีกคนหนึ่งไม่ประสงค์จะจัดการมรดก เหตุที่อ้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนอันเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นคำร้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไม่ได้เป็นคู่ความกับผู้คัดค้านในคดีก่อนจึงไม่ใช่คู่ความรายเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ที่ยื่นเข้ามาร่วมกับผู้ร้องที่ 5 จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนและคำร้องซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอจัดการมรดกผู้ตายอ้างว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ศาลชั้นต้นยกคำร้องและคำคัดค้านให้เหตุผลว่าผู้ตายได้ตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้แล้ว ไม่มีเหตุจะตั้งผู้จัดการมรดกอีก คดีนี้ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 2 คน แต่การจัดการมรดกมีข้อขัดข้องเพราะผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่กรรมและอีกคนหนึ่งไม่ประสงค์จะจัดการมรดก เหตุที่อ้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนอันเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นคำร้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไม่ได้เป็นคู่ความกับผู้คัดค้านในคดีก่อนจึงไม่ใช่คู่ความรายเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ที่ยื่นเข้ามาร่วมกับผู้ร้องที่ 5 จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนและคำร้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้อน/ซ้ำ ผู้จัดการมรดก: เหตุผลต่างกัน ไม่ถือว่าเป็นการรื้อฟ้องซ้ำ
คดีก่อนผู้คัดค้านเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้ร้องที่ 5 เป็นผู้คัดค้านและขอให้เป็นผู้จัดการมรดกเช่นกัน ศาลชั้นต้นยกคำร้องและคำคัดค้าน มีเพียงผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีก่อนอุทธรณ์ ส่วนผู้ร้องที่ 5 ซึ่งเป็นผู้คัดค้านในคดีนั้นไม่อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุดสำหรับผู้ร้องที่ 5 แล้ว การที่ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ในคดีนี้จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง
คดีก่อนผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย โดยอ้างว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ซึ่งศาลชั้นต้นยกคำร้องขอและคำคัดค้านโดยให้เหตุผลว่าผู้ตายได้ตั้งผู้จัดการตามพินัยกรรมไว้แล้วจึงไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้จัดการมรดกอีก แต่คดีนี้ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมและตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 2 คน แต่การจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องเพราะผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่กรรมและผู้จัดการอีกคนหนึ่งไม่ประสงค์จะจัดการมรดก เหตุที่อ้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนอันเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นคำร้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง สำหรับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไม่ได้เป็นคู่ความกับผู้คัดค้านในคดีก่อน กรณีจึงมิใช่คู่ความรายเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ที่ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 5 จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนและคำร้องซ้ำกับคดีดังกล่าวเช่นกัน
คดีก่อนผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย โดยอ้างว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ซึ่งศาลชั้นต้นยกคำร้องขอและคำคัดค้านโดยให้เหตุผลว่าผู้ตายได้ตั้งผู้จัดการตามพินัยกรรมไว้แล้วจึงไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้จัดการมรดกอีก แต่คดีนี้ผู้ร้องที่ 5 ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมและตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 2 คน แต่การจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องเพราะผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่กรรมและผู้จัดการอีกคนหนึ่งไม่ประสงค์จะจัดการมรดก เหตุที่อ้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนอันเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นคำร้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง สำหรับผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไม่ได้เป็นคู่ความกับผู้คัดค้านในคดีก่อน กรณีจึงมิใช่คู่ความรายเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ที่ยื่นคำร้องขอร่วมกับผู้ร้องที่ 5 จึงไม่เป็นคำร้องซ้อนและคำร้องซ้ำกับคดีดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6506/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ ผู้ร้องไม่มีอำนาจเนื่องจากไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ การยื่นคำร้องซ้ำจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อกฎหมาย
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบ ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีอำนาจ ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง ให้ยกคำร้องและคดีถึงที่สุด แล้วผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาใหม่ขอให้ศาลยกคำร้องขึ้นไต่สวนและมีคำสั่งใหม่โดยอ้างเหตุเดียวกันว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในของกลางซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายล้มละลาย
ผู้บริหารของลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งมีข้อความเหมือนกับคำร้องฉบับลงวันที่เดียวกันที่ยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง โดยขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งผู้ทำแผนและมีคำสั่งว่าแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นโมฆะ และให้ยกเลิกแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว โดยขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งบริษัท ท. เป็นผู้ทำแผนแทน ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเป็นคำสั่งคำร้องศาลฎีกาว่า "คดีนี้ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว และประเด็นตามคำร้องได้มีการวินิจฉัยในคำพิพากษาดังกล่าวแล้ว ให้ยกคำร้อง..." การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้บริหารของลูกหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางมีข้อความทำนองเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกาในวันเดียวกัน กับทั้งประเด็นเดียวกับที่มีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน อันเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้ำเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ทำแผนและแผนฟื้นฟูที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำที่กฎหมายห้าม
ในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ผู้บริหารของลูกหนี้ยื่นข้อคัดค้านว่าผู้ทำแผนไม่มีคุณสมบัติและไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้บริหารแผน ทั้งแผนมีรายละเอียดที่ขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นธรรม ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า บริษัทอ. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดสามารถเป็นผู้บริหารแผนได้ ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการชอบด้วยกฎหมายจึงพิพากษายืนตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่เห็นชอบด้วยแผน ต่อมาวันที่ 5 กันยายน2544 ผู้บริหารของลูกหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งมีข้อความเหมือนกับคำร้องฉบับลงวันที่เดียวกับที่ยื่นต่อศาลล้มละลายกลางขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนและมีคำสั่งว่าแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นโมฆะ และให้ยกเลิกแผนฟื้นฟูกิจการ และเนื่องจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้เลือกบริษัท ท. เป็นผู้ทำแผนอันดับ 2 เมื่อบริษัท อ. ไม่สามารถเป็นผู้ทำแผนได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งบริษัท ท. เป็นผู้ทำแผนแทนอันเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาซ้ำ ศาลมีสิทธิยกคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ยื่นต่อศาลครั้งที่ 3 มีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับที่จำเลยยื่นในครั้งแรกและครั้งที่ 2 ซึ่งคำร้องทั้งสองฉบับดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง แม้จะเป็นการยกคำร้องเพราะจำเลยไม่ได้นำพยานมาสืบก็ถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีกย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6601/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์ซ้ำโดยไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ เป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำที่ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรกของผู้ร้องเพราะผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลย ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะบังคับคดีเอาชำระหนี้ได้ ข้อที่ผู้ร้องอ้างเป็นที่สุดไปแล้วเพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับหลังอีกโดยมีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรก และไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มเติมอีกเลย นอกจากจำนวนหนี้ที่คำนวณดอกเบี้ยถึงวันยื่นคำร้องฉบับหลังซึ่งมีจำนวนมากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว แม้เป็นขั้นตอนชั้นบังคับคดีก็ตาม ก็ต้องห้ามตามมาตรา 144 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ศาลพิจารณาคำร้องซ้ำหลังมีคำวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว และการเพิกถอนการบังคับคดีที่ต้องดำเนินการตามลำดับชั้น
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาท 11 ห้องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุในคำร้องว่าการส่งมอบไม่ถูกต้องเพราะคดียังไม่ถึงที่สุดและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้แล้วการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องรวมทั้งทรัพย์สินให้แก่โจทก์แล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาและไต่สวนคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้ยกคำร้องนั้น เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาทแล้ว หากผู้ร้องไม่พอใจอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ การที่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ แต่กลับมายื่นคำร้องต่อมาว่าการส่งมอบห้องพิพาทไม่ถูกต้อง ผู้ร้องยังครอบครองห้องพิพาทอีก4 ห้อง การบังคับคดีคดียังไม่เสร็จสิ้น และการด่วนคืนห้องพิพาทให้แก่โจทก์ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้อง จึงขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกของผู้ร้อง และคืนห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องให้แก่ผู้ร้อง ต่อไปนั้น คำร้องฉบับหลังมีข้ออ้างเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรก แม้จะมีคำขอต่างกันโดยขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกและขอให้คืนห้องพิพาททั้งสิบห้าห้อง ก็สืบเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องว่ากล่าวมาตามลำดับชั้นศาลมิใช่เพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องว่ากล่าวมาตามลำดับชั้นศาลมิใช่เพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา