พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำสั่งอายัดเงินชั่วคราวเมื่อจำเลยเปลี่ยนแปลงบัญชีเงินฝาก ศาลชอบที่จะแก้ไขเพื่อให้คำสั่งสัมฤทธิ์ผล
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยพร้อมกับยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งห้ามจำเลยจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากประจำหลายบัญชี แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากไปยังธนาคาร จำเลยถอนเงินจากบัญชีและปิดบัญชีดังกล่าวทั้งหมดแล้วนำเงินฝากไปเปิดบัญชีเงินฝากประจำใหม่ที่ธนาคารอื่นนั้นเมื่อการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของธนาคารซึ่งปิดบัญชีแล้วเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ทำให้ศาลชั้นต้นสั่งไปโดยหลงผิด ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริงเพื่อให้คำสั่งนั้นสัมฤทธิผลในทางปฏิบัติได้โดยโจทก์ทั้งสามหาจำต้องยื่นคำร้องขอให้คุ้มครองชั่วคราวอีกครั้งหนึ่งไม่ทั้งศาลชั้นต้นก็ไม่จำต้องไต่สวนแต่ประการใดอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลให้รอไต่สวนคดีละเมิดลิขสิทธิ์ชั่วคราว ไม่ใช่คำสั่งจำหน่ายคดีเด็ดขาด โจทก์ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนจนกว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.36/2540 ของศาลดังกล่าวจะถึงที่สุดและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว โดยให้โจทก์แถลงต่อศาลภายใน1 เดือน นับแต่ทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาคดีดังกล่าว เพื่อจะได้พิจารณาคดีนี้ต่อไปนั้นไม่ใช่เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีโดยเด็ดขาด เพียงแต่เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไปแต่อย่างใด เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามกรีดยางชั่วคราวเกี่ยวข้องกับการฟ้องละเมิดหรือไม่? ศาลพิจารณาจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยเข้ากรีดยางพาราในที่พิพาทด้วย ดังนั้นการขอให้ห้ามจำเลยกรีดยางพาราในที่พิพาทก่อนศาลมีคำพิพากษาจึงเป็นการห้ามมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว: พิจารณาจากวันที่ศาลอ่านคำสั่ง ไม่ใช่วันที่ร่างคำสั่งยังอยู่ที่อธิบดี
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้น แต่มาตรา 153 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา 140 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่าเมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งคดีนั้น จึงต้องถือว่าวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 เป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ไม่ใช่วันที่ 17 ตุลาคม 2531 ซึ่งร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้ตามที่นัดไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดไต่สวนพยานและคำสั่งชั่วคราวก่อนพิพากษา: การโต้แย้งสิทธิอุทธรณ์และการสิ้นสุดของคำสั่ง
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังจะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม)แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าว ย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่ เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าคำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการไม่ขอหมายบังคับคดีต่อคำสั่งวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามคำขอของโจทก์ต่อมาศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวไว้ซึ่งวิธีการชั่วคราวที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา และออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน จำเลยมิได้ขอทุเลาการบังคับ เมื่อโจทก์มิได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับ คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2)
ป.วิ.พ. มาตรา 260 เป็นบทบัญญัติในชั้นขอให้คุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างคดี ก่อนมีคำพิพากษาในแต่ละชั้นศาล เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) บัญญัติให้คำสั่งนั้นมีผลไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ศาลในชั้นนี้ย่อมหมายถึงศาลชั้นต้นหาใช่หมายถึงศาลที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่
ป.วิ.พ. มาตรา 260 เป็นบทบัญญัติในชั้นขอให้คุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างคดี ก่อนมีคำพิพากษาในแต่ละชั้นศาล เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) บัญญัติให้คำสั่งนั้นมีผลไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ศาลในชั้นนี้ย่อมหมายถึงศาลชั้นต้นหาใช่หมายถึงศาลที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามชั่วคราวต้องมีหลักฐานจากพยานตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ยื่นไว้ตามมาตรา 254 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องฟังพยานที่ผู้ขอนำมาสืบหรือที่ศาลเรียกมาสืบให้ได้ความตามที่มาตรา 255 บัญญัติไว้เสียก่อน จะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอโดยเพียงแต่สอบถามโจทก์จำเลยแล้วบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาทั้งที่ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอตามมาตรา 255 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามชั่วคราวสิ้นผลเมื่อศาลตัดสินคดีถึงที่สุด การบังคับตามคำสั่งเดิมจึงไม่อาจทำได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามชั่วคราว ให้จำเลยระงับการก่อสร้างชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ต่อมาจำเลยฝ่าฝืน โจทก์ขอให้ออกหมายจับจำเลยมาคุมขังและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วฟังว่า จำเลยมิได้ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามชั่วคราว ยกคำร้อง และต่อมาพิพากษายกฟ้องของโจทก์ โดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวที่ได้สั่งไว้ในระหว่างพิจารณา ถือว่าคำสั่งกำหนดวิธีการ(หมายห้ามชั่วคราว) เป็นอันยกเลิกไปในตัวการที่จะจับและจำขังจำเลยเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายชั่วคราวที่ยกเลิกไปแล้ว ไม่อาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งศาลชั่วคราว: คำพิพากษาศาลฎีกาเป็นเกณฑ์สูงสุด
แม้ในคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีจะได้กล่าวไว้ว่า ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายไปจนกว่า โจทก์จะได้ขอถอนคำสั่งห้ามชั่วคราวก็ตาม แต่ในคำพิพากษาศาลฎีกาได้พิพากษาว่า ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายจนกว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ห้ามชั่วคราวนั้นสิ้นสุดลง ดังนี้ ต้องถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาและกรณีเช่นนี้ คำสั่งห้ามชั่วคราวนั้นย่อมสิ้นสุดลงวันวันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260 (1) โดยโจทก์ไม่ต้องร้องขอให้ถอนคำสั่งห้ามชั่วคราวนั้นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาเป็นอันยกเลิกเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกคำฟ้องของโจทก์คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่กำหนดวิธีการชั่วคราวก่อนคำพิพากษาก็เป็นอันยกเลิกไปในตัว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260(1)