พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลางาน: คำสั่งห้ามเฉพาะพื้นที่โรงแรมชอบด้วยกฎหมาย
ประกาศคำสั่งของจำเลยที่ห้ามมิให้โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง แม้จะมีข้อความห้ามพนักงานของโรงแรมซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลาทำงานตามปกติก็ตาม แต่ประกาศดังกล่าวได้ระบุถึงเขตพื้นที่ไว้โดยเฉพาะคือบริเวณโรงแรมของจำเลยเท่านั้น จึงเป็นอำนาจของจำเลยที่จะออกประกาศคำสั่งเช่นนั้นได้ เพราะมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนประกาศคำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งคนสวน และโจทก์ใช้เวลานอกเวลาทำงานไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเสียหายอันมีสาเหตุมาจากการขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างดังกล่าว แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์รับจ้างจะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลย ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์ของจำเลยเสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งกรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แก่โจทก์
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งคนสวน และโจทก์ใช้เวลานอกเวลาทำงานไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเสียหายอันมีสาเหตุมาจากการขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างดังกล่าว แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์รับจ้างจะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลย ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์ของจำเลยเสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งกรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามขับรถจักรยานยนต์รับจ้างของนายจ้างชอบธรรมได้ หากไม่กระทบธุรกิจ แต่เลิกจ้างเพราะเหตุนี้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ประกาศคำสั่งของจำเลยที่ห้ามมิให้โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างแม้จะมีข้อความห้ามพนักงานของโรงแรมซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลาทำงานตามปกติก็ตาม แต่ประกาศดังกล่าวได้ระบุถึงเขตพื้นที่ไว้โดยเฉพาะคือบริเวณโรงแรมของจำเลยเท่านั้น จึงเป็นอำนาจของจำเลยที่จะออกประกาศคำสั่งเช่นนั้นได้ เพราะมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนประกาศคำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งคนสวน และโจทก์ใช้เวลานอกเวลาทำงานไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเสียหายอันมีสาเหตุมาจากการขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างดังกล่าว แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์รับจ้างจะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลย ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์ของจำเลยเสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งกรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้าง โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องบอกกล่าวลวงหน้าและต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) แก่โจทก์
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งคนสวน และโจทก์ใช้เวลานอกเวลาทำงานไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเสียหายอันมีสาเหตุมาจากการขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างดังกล่าว แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์รับจ้างจะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลย ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์ของจำเลยเสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งกรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้าง โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องบอกกล่าวลวงหน้าและต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดการดัดแปลงอาคารและการแนบคำสั่งห้าม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้าจำเลยใช้อาคารพิพาทที่ได้มีการดัดแปลงโดยมิได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40(2)ซึ่งมีโทษตามมาตรา 67 และ 70 เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทเพื่อพาณิชยกรรมและพักอาศัยที่ได้มีการดัดแปลงโดยมิได้รับอนุญาต ได้รับแจ้งคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใด ๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคารที่ดัดแปลงแล้ว จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวโดยใช้อาคารที่ดัดแปลงตั้งแต่วันดังกล่าวจนถึงวันฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 40(2)ประกอบมาตรา 67 และ 70 ดังนี้คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำของจำเลย มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิด ทั้งสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว การที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยดัดแปลงอาคารอย่างไรหรือมิได้แนบคำสั่งห้ามของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาท้ายฟ้องหาทำให้คำฟ้องของโจทก์กลายเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้ การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มิได้ให้บทนิยามอธิบายความหมายของคำว่า โครงสร้างอาคาร ไว้แต่เมื่อพิจารณาความหมายในทางวิศวกรรมก่อสร้างและเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ตาม โครงสร้างอาคารหมายถึงส่วนประกอบที่สำคัญของอาคารซึ่งได้แก่ ฐานราก เช่นคานคอดิน ตอม่อ เสา หรือส่วนกลางของอาคาร เช่น คานพื้น หรือส่วนบนของอาคาร เช่น โครงหลังคา หลังคา เป็นต้น คานลอยแม้มิได้เชื่อมติดกับเสา แต่ก็มีไว้สำหรับรองรับน้ำหนักและกำลังต้านทานเช่นเดียวกับคานโครงสร้างนับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร จึงเป็นโครงสร้างของอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522เมื่อจำเลยกระทำต่อลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนน้ำหนัก หรือเนื้อที่แห่งโครงสร้างของอาคารและเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่มิให้ถือว่าเป็นการตัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2528) ข้อ 1(1)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 4 และมาตรา 5(3) การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และการที่จำเลยเปลี่ยนโครงหลังคาจากไม้เป็นเหล็ก ย่อมเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยมิได้ใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 1(1) แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวการกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยดัดแปลงอาคารอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตามมาตรา 40(2) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522คำสั่งห้ามของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบด้วยกฎหมายและเมื่อจำเลยฝ่าฝืนจึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้วแม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้มีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขแบบแปลนและเพิ่มรายการคำนวณตามที่จำเลยแจ้งขอดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ก็ตาม ก็หาทำให้คำสั่งห้ามที่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำสั่งห้ามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน 23 แปลง ของจำเลยที่ 2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตาม แต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่น จึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไว้ต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้
การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมา ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา57 (1) กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว
การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมา ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา57 (1) กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว
แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตาม แต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันนั้นศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่น จึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไว้ต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดดังกล่าวและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 แต่เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ผู้ร้องซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ไม่มีเหตุตามกฎหมายใดในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนที่ดินหลังการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมจากคดีแพ่ง ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนคำสั่ง
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน 23 แปลง ของจำเลยที่ 2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จำชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นจึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไวต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้ การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนโอนที่ดินหลังถูกยึดขายทอดตลาด: คำสั่งห้ามทำนิติกรรมของศาลและการบังคับคดี
แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นจะมีผลจนกว่าจำเลยที่2จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ที่ดินที่จำเลยที่2นำมาเป็นหลักประกันนั้นศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่นจึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่2ที่นำมาเป็นหลักประกันไว้ต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดดังกล่าวและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300แต่เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวผู้ร้องซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)ไม่มีเหตุตามกฎหมายใดในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนที่ดินหลังการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมจากศาลคดีแพ่ง
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน23แปลงของจำเลยที่2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่2ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้นแม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่2จำชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ที่ดินที่จำเลยที่2นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่นจึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่2ที่นำมาเป็นหลักประกันไวต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้ การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้องแต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำสั่งห้ามเผยแพร่เอกสาร/นัดชุมนุมในสถานประกอบการ และระยะเวลาการฟ้องร้องฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน
นายจ้างออกคำสั่งห้ามลูกจ้างชุมนุมและเผยแพร่เอกสารในบริเวณที่ทำการของนายจ้างโดยมิได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อน เมื่อปรากฏจากคำปรารภของคำสั่งนั้นว่าการเผยแพร่เอกสารหรือการนัดชุมนุมของพนักงานลูกจ้างได้เคยกระทำมาก่อนแล้ว ซึ่งเอกสารที่เผยแพร่หรือการนัดชุมนุมที่เคยมีบางครั้งทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่พนักงานและก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบริเวณที่ทำการของนายจ้าง ดังนี้เห็นได้ว่า นายจ้างประสงค์จะห้ามมิให้ลูกจ้างกระทำการดังกล่าวอีกต่อไป หากกระทำจะถือเป็นความผิดทุกครั้ง จึงเป็นคำสั่งที่มีผลต่อเนื่องตลอดเวลา ตราบใดที่นายจ้างยังห้ามอยู่ สหภาพแรงงาน ฯ ของลูกจ้างย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องกล่าวหาว่านายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ได้อยู่ตราบนั้น การนับเวลาหกสิบวันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 จะเริ่มนับแต่วันที่ออกคำสั่งเป็นวันเริ่มต้นเพียงวันเดียวเป็นยุติไม่ได้
สหภาพแรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน การเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวย่อมเป็นสิทธิขั้นมูลฐาน แต่การที่สหภาพแรงงานจะกระทำกิจกรรมสองประการนั้นในสถานที่ประกอบกิจการหรือบริเวณสถานประกอบกิจการของนายจ้างควรจะมีข้อกำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าควรเผยแพร่ในเรื่องใด ลักษณะใด เมื่อไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ การที่นายจ้างผู้เป็นเจ้าของอาคารสถานที่ประกอบกิจการออกคำสั่งให้ส่งข้อความในเอกสารหรือแจ้งเรื่องลักษณะให้นายจ้างพิจารณาอนุญาตก่อนจึงเป็นวิธีการที่ดี เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงาน ฯ โจทก์กับนายจ้างให้ดียิ่งขึ้น คำสั่งของนายจ้างจึงเป็นคำสั่งที่ชอบ ไม่เป็นการขัดขวางการดำเนินการของโจทก์ ไม่เป็นการเข้าไปแทรกในกิจการของโจทก์ เพราะถ้าโจทก์กระทำในที่อื่นนอกสถานที่บริเวณของนายจ้างย่อมทำได้ การออกคำสั่งของนายจ้างจึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความหมายในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(4) (5) ไม่
สหภาพแรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน การเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวย่อมเป็นสิทธิขั้นมูลฐาน แต่การที่สหภาพแรงงานจะกระทำกิจกรรมสองประการนั้นในสถานที่ประกอบกิจการหรือบริเวณสถานประกอบกิจการของนายจ้างควรจะมีข้อกำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าควรเผยแพร่ในเรื่องใด ลักษณะใด เมื่อไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ การที่นายจ้างผู้เป็นเจ้าของอาคารสถานที่ประกอบกิจการออกคำสั่งให้ส่งข้อความในเอกสารหรือแจ้งเรื่องลักษณะให้นายจ้างพิจารณาอนุญาตก่อนจึงเป็นวิธีการที่ดี เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงาน ฯ โจทก์กับนายจ้างให้ดียิ่งขึ้น คำสั่งของนายจ้างจึงเป็นคำสั่งที่ชอบ ไม่เป็นการขัดขวางการดำเนินการของโจทก์ ไม่เป็นการเข้าไปแทรกในกิจการของโจทก์ เพราะถ้าโจทก์กระทำในที่อื่นนอกสถานที่บริเวณของนายจ้างย่อมทำได้ การออกคำสั่งของนายจ้างจึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความหมายในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(4) (5) ไม่