พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุครบ 60 ปี ไม่ใช่เหตุเลิกจ้างอัตโนมัติ นายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้าง การคำนวณเงินชดเชยและสิทธิประโยชน์หลังเลิกจ้าง
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 9 และมาตรา 11 เป็นบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือเป็นแนวเดียวกัน มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว การจ้างเป็นอันระงับไปในตัวทันที รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย การจ้างจึงจะระงับ ดังนั้น แม้โจทก์มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 9 เมษายน 2538 ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติเนื่องจากเกษียณอายุในวันที่ 30 เมษายน 2538 แต่จำเลยก็ยังมิได้ดำเนินการให้โจทก์พ้นจากตำแหน่ง จำเลยเพิ่งมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2540 การจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงระงับไปในวันที่ 30 กันยายน 2540 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินสวัสดิการต่างๆ ที่เคยได้รับตลอดจนการปรับขึ้นเงินเดือนจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2540 และต้องถือว่าโจทก์มีอายุการทำงานจนถึงวันดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาจากค่าจ้างสุดท้าย และการยกเหตุเลิกจ้างนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างทำไม่ได้
การคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 นั้น ให้ถือค่าจ้างอัตราสุดท้ายของลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ก็ต้องถือตามจำนวนสินจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับในระยะเวลาที่นายจ้างเลิกสัญญาจ้างนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกเอาเหตุที่โจทก์ยักยอกเงินของจำเลยขึ้นอ้างในคำสั่งเลิกจ้าง ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าโจทก์ยักยอกเงินของจำเลยไป จึงเป็นเหตุหรือข้ออ้างที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง หากไม่ตรง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
เหตุที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างโจทก์ปรากฏตามคำสั่งของโจทก์เรื่องเลิกจ้างพนักงานแล้ว การที่จำเลยอ้างเหตุต่าง ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างนั้นมาในคำให้การ จึงมิใช่เหตุที่จำเลยจะนำมาใช้อ้างในการเลิกจ้างโจทก์ได้ ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อเหตุที่จำเลยอ้างในคำสั่งเลิกจ้างนั้น มิใช่เหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง หากไม่ตรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
เหตุที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างโจทก์ปรากฏ ตามคำสั่งของโจทก์เรื่องเลิกจ้างพนักงานแล้ว การที่จำเลย อ้างเหตุต่าง ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างนั้นมาใน คำให้การ จึงมิใช่เหตุที่จำเลยจะนำมาใช้อ้างในการเลิกจ้าง โจทก์ได้ ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็น สาระแก่คดี ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อเหตุที่ จำเลยอ้างในคำสั่งเลิกจ้างนั้น มิใช่เหตุที่จำเลยจะ เลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องใช้เหตุเลิกจ้างตามที่ระบุในคำสั่งเท่านั้น และค่าน้ำมันรถถือเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ไว้ในคำสั่งเลิกจ้าง เมื่อจำเลยถูกฟ้องจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเป็นเงินจำนวนแน่นอนมีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน ถือว่าเป็นเงินที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติค่าน้ำมันรถดังกล่าวจึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ชอบที่จะต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง และค่าน้ำมันรถเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยระบุในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยอยู่ในระหว่างปรับปรุงกิจการ มีงานน้อย จึงมีความจำเป็นเพื่อลดค่าใช้จ่ายและให้พนักงานอื่นมีงานทำ ขอปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานเท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างเพียงประการเดียว ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างนั้นเป็นข้อต่อสู้ จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างเดือนละ 5,000 บาทเป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอน มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ จึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3156/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลิกจ้างของนายจ้างไม่ต้องระบุเหตุในคำสั่งเลิกจ้าง เหตุผลสามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้
การที่ นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้าง เป็นเรื่องที่ นายจ้าง ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับว่าจะต้องระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้นด้วย เมื่อลูกจ้างนำคดีมาฟ้อง นายจ้างก็มีสิทธิที่จะอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในคำให้การ ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้ทบทวนการกระทำของลูกจ้าง ไม่ถือเป็นคำสั่งเลิกจ้าง แม้มีข้อความตำหนิ
คำสั่งของจำเลยที่ 2 มีข้อความกล่าวถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และให้โจทก์ทบทวนการกระทำของโจทก์และวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดถูกอย่างไร แล้วรายงานให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด มิฉะนั้นจะรายงานผู้บังคับบัญชาชั้นสูงต่อไปไม่มีข้อความที่สั่งให้โจทก์ออกจากงาน ปลดโจทก์ออกจากงานหรือไล่โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโจทก์ แม้ในคำสั่งจะมีข้อความตำหนิการกระทำของโจทก์จะถือว่าเมื่ออ่านประกอบข้อความที่ให้โจทก์วินิจฉัยตนเองแล้วเป็นการไล่โจทก์ออกจากงานโดยใช้ถ้อยคำสุภาพไม่ได้ คำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นคำสั่งเลิกจ้างโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ศาลไม่อาจสั่งให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังได้ ผู้ร้องต้องออกคำสั่งเลิกจ้าง
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดเมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2529 ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2529 ขออนุญาตเลิกจ้าง ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง โดยให้มีผลเลิกจ้างผู้คัดค้านย้อนหลังไปถึง วันที่ 19 พฤษภาคม 2529 กรณีเช่นนี้ผู้ร้องมีเหตุที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่ง ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านมีผลย้อนหลังไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816-2822/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้างแล้ว นายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้าง และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว
คำสั่งของศาลแรงงานตามมาตรา52แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ที่อนุญาตให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้มีผลเป็นเพียงคำอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างได้เท่านั้นมิใช่เป้นคำสั่งแทนนายจ้างให้เลิกจ้างกันได้โดยทันทีแต่เป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างได้และนายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้างตามที่ศาลแรงงานได้อนุญาตแล้วสัญญาจ้างจึงจะเป็นอันสิ้นสุดลงส่วนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยตรงต่อลูกจ้างว่านายจ้างมีความประสงค์จะเลิกจ้างลูกจ้างนั้นการยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงานกลางเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์มิใช่เป็นการแสดงเจตนาต่อโจทก์การที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ต่อมาตามคำสั่งของศาลแรงงานโดยโจทก์มิได้กระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา583จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างคดีอยู่ระหว่างพิจารณาจำเลยได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีโดยกำหนดให้หยุดตั้งแต่วันที่กำหนดให้เป็นต้นไปย่อมถือได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ10แล้วและเป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาให้โจทก์พิจารณาเลือกวันหยุดเอาเองตามความสะดวกและเหมาะสมเมื่อโจทก์ไม่ยอมหยุดตามที่จำเลยกำหนดไว้จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์.