พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนคำสั่งชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และการกระทำผิดซ้ำคำเตือน
คำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ย้ายที่นั่งทำงานของโจทก์ซึ่งอยู่ในห้องเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าทำให้เกิดอุปสรรคหรือข้อขัดข้องในการทำงานของโจทก์จนไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยผู้เป็นนายจ้างที่จะสั่งได้ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ย้ายที่นั่งทำงานกับเพื่อนร่วมงานภายในห้องเดียวกัน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว แต่โจทก์ฝ่าฝืนไม่ยอมย้ายที่นั่งทำงานจนจำเลยต้องออกคำตักเตือนเป็นหนังสือถึง 3 ครั้ง โจทก์ก็ยังเพิกเฉย การกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนแล้ว เมื่อเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนที่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำผิด จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ย้ายที่นั่งทำงานกับเพื่อนร่วมงานภายในห้องเดียวกัน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว แต่โจทก์ฝ่าฝืนไม่ยอมย้ายที่นั่งทำงานจนจำเลยต้องออกคำตักเตือนเป็นหนังสือถึง 3 ครั้ง โจทก์ก็ยังเพิกเฉย การกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนแล้ว เมื่อเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนที่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำผิด จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่เป็นคำสั่ง นายจ้างมีสิทธิไม่ปฏิบัติตาม และไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำเตือน
พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนให้นายจ้างจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 77 ซึ่งคำเตือน ดังกล่าวไม่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงมีผลเป็นคำเตือนตามประกาศดังกล่าว ข้อ 77 และใช้บังคับได้ต่อไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 166 ทั้งคำเตือนดังกล่าวมิใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่บัญญัติให้นายจ้างต้องปฏิบัติตาม แต่มีผลเพียงเป็นการชี้แนะเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น ถ้านายจ้างเห็นว่าไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้โดยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 146 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 8 การที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนและลูกจ้างขอหยุดพักผ่อนประจำปีตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน ยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ทั้งนายจ้างมิได้ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานหรืออธิบดีกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานเป็นจำเลย นายจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานและขอให้ สั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนนายจ้าง: เป็นเพียงการแนะนำ ไม่ใช่คำสั่งทางกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 77 มีความว่า เมื่อปรากฏว่านายจ้างได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจออกคำเตือนให้นายจ้างที่กระทำการฝ่าฝืนนั้นปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ได้
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างนำเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้าง ณ สถานที่กำหนดภายใน 7 วัน เป็นการให้โจทก์ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นเพียงการชี้แนะเพื่อจะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ และการไม่ปฏิบัติตามคำเตือนในกรณีนี้ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างนำเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้าง ณ สถานที่กำหนดภายใน 7 วัน เป็นการให้โจทก์ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นเพียงการชี้แนะเพื่อจะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ และการไม่ปฏิบัติตามคำเตือนในกรณีนี้ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย มิใช่คำสั่งทางกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 77มีความว่า เมื่อปรากฏว่านายจ้างได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามพนักงานตรวจแรงงาน มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจออกคำเตือนให้นายจ้างที่กระทำการฝ่าฝืนนั้น ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ได้
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างนำเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้าง ณ สถานที่กำหนดภายใน 7 วัน เป็นการให้โจทก์ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเป็นเพียงการชี้แนะเพื่อจะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1ที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ และการไม่ปฏิบัติตามคำเตือนในกรณีนี้ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างนำเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้าง ณ สถานที่กำหนดภายใน 7 วัน เป็นการให้โจทก์ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเป็นเพียงการชี้แนะเพื่อจะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1ที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ และการไม่ปฏิบัติตามคำเตือนในกรณีนี้ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, อุทธรณ์ไม่สุจริต, คำเตือนพนักงานตรวจแรงงาน, การเลิกจ้าง, ทุจริตต่อหน้าที่
โจทก์แพ้คดีและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานจำเลยตามคำพิพากษาศาลแรงงานในคดีนี้ แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์เสียเองว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องอันจะมีผลให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำพิพากษาศาลแรงงาน จึงเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จะอ้างความไม่สุจริตมาอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแรงงานโดยไม่สุจริต ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องข้อนี้ของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ที่บัญญัติให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นั้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า"โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) กรณีจึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ หมายความว่า ความประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาท ละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ ส. ละทิ้งงาน แต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรงจึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่
โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแรงงานโดยไม่สุจริต ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องข้อนี้ของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ที่บัญญัติให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นั้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า"โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) กรณีจึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ หมายความว่า ความประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาท ละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ ส. ละทิ้งงาน แต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรงจึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่ใช่คำสั่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
เมื่อปรากฏว่านายจ้างได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามพนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจเตือนให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 77 แต่คำเตือนดังกล่าวมีผล เพียงเป็นการชี้แนะของเจ้าหน้าที่เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่าง นายจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยที่กฎหมายบัญญัติ ให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้านายจ้างเห็นว่าคำเตือนนั้น ไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็น การกระทบกระเทือนต่อสิทธิหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นการโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5633/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนเจ้าพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำสั่งทางกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราชสีมา อยู่ในบังคับบัญชาของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สอบสวนตามที่ ป. ร้องเรียนว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าจ้างตามข้อตกลง ผลการสอบสวนของจำเลยที่ 2 และที่ 3ปรากฏว่าโจทก์ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฉบับลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 29 จึงออกคำเตือนแก่โจทก์โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 77 แห่งประกาศดังกล่าวให้โจทก์จ่ายค่าจ้างแก่ ป. ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำเตือนนั้น คำเตือนดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการชี้แนะของเจ้าหน้าที่เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิหน้าที่ของโจทก์ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5633/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่ใช่คำสั่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอเพิกถอน
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ออกตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ77มีผลเพียงเป็นการชี้แนะของเจ้าหน้าที่เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างลูกจ้างมิใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้การที่จำเลยที่2และที่3ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนแก่โจทก์ย่อมไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องพิสูจน์ความผิดซ้ำของลูกจ้างหลังการเตือน หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลแรงงานพิพากษาให้จ่ายค่าชดเชยและค่าสินจ้าง
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยมีสิทธิที่จะบอกเลิกการจ้างต่อโจทก์ได้ซึ่งจำเลยก็ได้บอกกล่าวต่อโจทก์เป็นหนังสือแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในเงินค่าชดเชยและค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต่อโจทก์นั้นคดีนี้ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่ได้ระบุว่าโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือนเรื่องใดและจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าหลังจากมีหนังสือเตือนแล้วโจทก์ยังได้กระทำผิดซ้ำในเรื่องที่มีหนังสือเตือนอีกข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งได้เตือนเป็นหนังสือแล้วและฟังไม่ได้ว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณดังนี้เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยคงกล่าวอ้างเพียงว่าโจทก์ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยโดยไม่ได้คัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดซ้ำในเรื่องที่มีหนังสือเตือนแล้วและโจทก์ไม่ได้จงใจขัดคำสั่งของจำเลยหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์อย่างไรหรือไม่อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง การวินิจฉัยพยานหลักฐาน และการพิจารณาคำเตือนซ้ำ ศาลฎีกาเห็นว่าการลากิจไม่ถือเป็นความผิดซ้ำคำเตือน
การลากิจตามเอกสารหมาย ร.16 ของผู้คัดค้านนั้นผู้ร้องมิได้บรรยายหรือกล่าวไว้ในคำร้องว่าผู้คัดค้านได้ขาดงานโดยฝ่าฝืนระเบียบการลาซึ่งผู้ร้องไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ การที่ศาลแรงงานนำมาฟังเป็นโทษแก่ผู้คัดค้านจึงเป็นการไม่ชอบ ส่วนเอกสารหมาย ร.21 เป็นการลากิจซึ่งผู้คัดค้านได้ยื่นใบลาล่วงหน้าจึงไม่ผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง แต่เป็นการลาเกินกำหนด 4 วันเป็นกรณีไม่ได้รับค่าจ้างตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งผู้ร้องก็ไม่ได้อนุมัติการลา แต่ผู้ร้องได้หมายเหตุไว้ว่าในกรณีนี้ผู้จัดการบุคคลได้เรียกมาว่ากล่าวตักเตือนให้นำไปปรับปรุง ผู้คัดค้านรับปากว่าขอเป็นครั้งสุดท้ายในครั้งนี้ ซึ่งหากมีอีกจะยอมถือเป็นขาดงานและลงชื่อผู้จัดการไว้ ตามข้อความดังกล่าวผู้ร้องไม่ติดใจเอาโทษแก่ผู้คัดค้านและไม่ถือว่าเป็นความผิดแล้วผู้ร้องจะนำการลากิจครั้งนี้มากล่าวโทษผู้คัดค้านอีกหาได้ไม่ผู้คัดค้านจึงมิได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน ที่ศาลแรงงานรับฟังเอกสารหมาย ร.16 ที่ผู้ร้องอ้างเป็นการฟังพยานนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้องและรับฟังเอกสารหมาย ร.21 ซึ่งผู้คัดค้านไม่ผิดเป็นว่าผู้คัดค้านมีความผิด เป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานเป็นอย่างอื่นนอกสำนวนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้