พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการพิจารณาคำแก้อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงิน 177,561.50 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 93,600 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงิน 34,028 บาท แก่โจทก์ โจทก์ฎีกาขอให้ชำระเงินตามฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยต้องรับผิดชำระตามฟ้องแก่โจทก์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 93,600 บาท โจทก์อุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ขอให้หักจำนวนเงินที่ต้องชำระลดลง หรือยกฟ้องโจทก์ เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาชั้นต้น จำเลยต้องกระทำโดยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 จำเลยจะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 34,028 บาท ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมฎีกาได้ว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยมาพิจารณาแล้วพิพากษาแก้ดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นฎีกาในข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 93,600 บาท โจทก์อุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ขอให้หักจำนวนเงินที่ต้องชำระลดลง หรือยกฟ้องโจทก์ เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาชั้นต้น จำเลยต้องกระทำโดยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 จำเลยจะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 34,028 บาท ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมฎีกาได้ว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยมาพิจารณาแล้วพิพากษาแก้ดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นฎีกาในข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ แม้ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลยังคงมีอำนาจกำหนดค่าทนายความได้ หากทนายโจทก์ได้ปฏิบัติในการว่าคดี
ทนายโจทก์เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์ แต่ทนายโจทก์ได้ปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์หลังจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ จำเป็นต้องฟังจำเลยก่อน
โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เมื่อจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว จะต้องฟังจำเลยก่อน มิฉะนั้นห้ามมิให้ศาลอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องกล่าวคัดค้านคำตัดสินในคำร้องโดยชัดเจน การกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ใช้ไม่ได้
การขอให้พิจารณาคดีใหม่เป็นกระบวนพิจารณาซึ่งคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดและแพ้คดีจะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้น ดังนั้นคู่ความดังกล่าวจะต้องกล่าวคำคัดค้านคำตัดสินของศาลในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยชัดแจ้ง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จะไปกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องย่อมเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำรุนแรงในคำแก้อุทธรณ์ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท ศาลใช้ดุลพินิจได้
คู่ความและทนายความยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลเป็นข้อความที่เกี่ยวโยงกับพฤติการณ์แห่งคดี เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจลงโทษอีกฝ่ายหนึ่ง แม้จะมีลักษณะฟุ่มเฟือยและใช้ถ้อยคำรุนแรงต่อโจทก์ไปบ้างก็ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกเงินจากบัญชีที่ไม่ถูกต้อง และการโต้แย้งบัญชีในคำแก้อุทธรณ์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งให้ผู้ร้องชำระเงินที่ขาดบัญชีไป ผู้ร้องจึงร้องต่อศาล ศาลชั้นต้นเห็นว่าบัญชีเงินที่ขาดถูกต้อง แต่เมื่อพิจารณาประเด็นข้ออื่นแล้วสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่สั่งให้ผู้ร้องชำระเงินรายนี้เสีย ผู้ร้องจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอุทธรณ์ต่อไปอีก เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผุ้แพ้คดีเป็นฝ่ายอุทธรณ์และผู้ร้องได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์โต้แย้งเกี่ยวกับบัญชีนี้ว่าไม่ถูกต้องดังที่ได้ร้องคัดค้านไว้แล้วในศาลชั้นต้น ดังนี้ ย่อมมีประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงบัญชีนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ได้ โยผู้ร้องไม่ต้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นใหม่จากคำแก้อุทธรณ์: เงินกินเปล่า
จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินกินเปล่า โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่าไม่เคยเรียกเงินจากจำเลย ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์เรียกเงินกินเปล่าจากจำเลยจริง แต่จำเลยได้ใช้ห้องพิพาทสมควรแก่เงินค่ากินเปล่าแล้วพิพากษาให้ยกฟ้องแย้ง ดังนี้ เมื่อจำเลยอุทธรณ์ให้โจทก์คืนเงินกินเปล่าที่ศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ได้เรียกจากจำเลยจริง และโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ของจำเลยให้ปรากฏไว้ด้วยว่า โจทก์ไม่เคยรับเงินกินเปล่าดังกล่าวนี้แล้วศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่า โจทก์เคยรับเงินกินเปล่ารายนี้หรือไม่เพราะประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยนั้นมิใช่ว่าจะมีอยู่ในคำฟ้องอุทธรณ์เท่านั้นในคำแก้อุทธรณ์ของอีกฝ่ายหนึ่ง ก็อาจตั้งประเด็นขึ้นมาให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งคำร้องเพิ่มเติมคำให้การ และการไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยว่าจะรับเป็นคำให้การเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งคำร้องเพิ่มเติมคำให้การนี้เสียก่อน แล้วจึงให้ดำเนินการพิจารณาต่อไปได้
การที่โจทก์โต้แย้งในชั้นฎีกา โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ถือว่า ไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
หากศาลชั้นต้นได้สั่งให้รับคำให้การเพิ่มเติม ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะสั่งว่า จะให้สืบให้ข้อต่อสู้นั้นหรือไม่
การที่โจทก์โต้แย้งในชั้นฎีกา โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ถือว่า ไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
หากศาลชั้นต้นได้สั่งให้รับคำให้การเพิ่มเติม ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะสั่งว่า จะให้สืบให้ข้อต่อสู้นั้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายแก้ต่างโดยอ้างเหตุผลในคำแก้อุทธรณ์ ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท หากเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นในคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยเป็นทนายเขียนคำแก้อุทธรณ์เสียดสีใส่ความโจทก์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นพนักงานอัยการให้เสียชื่อเสียง เมื่อศาลฟังว่าข้อความที่จำเลย เขียนเป็นเรื่องในฟ้องและเกี่ยวกับประเด็นแล้ว จำเลยย่อมไม่ต้องรับโทษตาม ก.ม. ลักษณะอาญา มาตรา 285
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: กรรมสิทธิ์ที่ดิน - ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยจากคำแก้อุทธรณ์
คดีก่อนจำเลยฟ้องสามีโจทก์ขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิและขับไล่สามีโจทก์และบริวารออกจากที่พิพาท สามีโจทก์ต่อสู้คดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้รับมรดกมาในระหว่างที่สามีโจทก์กับโจทก์เป็นสามีภรรยากันแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นสินสมรสระหว่างสามีโจทก์กับโจทก์ เมื่อศาลพิพากษาขับไล่สามีโจทก์และบริวารออกจากที่พิพาทแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยขอให้แสดงกรรมสิทธิในที่พิพาทว่าเป็นของโจทก์และให้เพิกถอนคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นโดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้รับมรดกมาในในระหว่างเป็นสามีภรรยากันถือเป็นสินสมรส อย่างที่สามีโจทก์เคยให้การต่อสู้ไว้ในคดีก่อนเช่นนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148จะถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามความหมายแห่งมาตรา 145(2) ไม่ได้ต้องถือว่าโจทก์เป็นบริวารของสามี
โจทก์จำเลยโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ฟ้องซ้ำด้วย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำแต่ฟังข้อเท็จจริงว่า เป็นที่ของจำเลย จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยจึงไม่อยู่ที่จะเป็นผู้อุทธรณ์คดี แต่จำเลยกล่าวแก้อุทธรณ์โจทก์ ได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้อ้างอิงข้อกฎหมายนี้ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์จำเลยโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ฟ้องซ้ำด้วย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำแต่ฟังข้อเท็จจริงว่า เป็นที่ของจำเลย จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยจึงไม่อยู่ที่จะเป็นผู้อุทธรณ์คดี แต่จำเลยกล่าวแก้อุทธรณ์โจทก์ ได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้อ้างอิงข้อกฎหมายนี้ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้