พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งและประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ยกขึ้นสู่การพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ย่อมเป็นเหตุให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินนั้น โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก ผ.ตั้งแต่ปี 2495 ต่อมาจำเลยได้ขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินพิพาท แต่หากศาลรับฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่าที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาท จำเลยก็ได้แย่งการครอบครองและได้บอกกล่าวถึงเจตนาครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อโจทก์รวมระยะเวลากว่า 1 ปี ก่อนโจทก์ฟ้อง ดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยและขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นพิพาทว่าที่ดินตามคำฟ้องเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินหรือไม่ ส่วนฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาที่จำเลยบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครอง ซึ่งเป็นการฎีกาว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองเป็นการไม่ชอบนั้น คดีนี้จำเลยให้การว่าที่ดินเป็นของจำเลยมาแต่ต้นโดยครอบครองมากว่า 10 ปี และโดยผลคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น กรณีจึงไม่เป็นการที่จำเลยได้ แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่เช่นกัน ซึ่งศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นทั้งสองข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยโดยเหตุที่เป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยอ้างว่าในคดีแพ่ง ของศาลชั้นต้น ที่ จ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิ ครอบครองที่ดินพิพาท โดยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วนั้น แม้จะมีผลว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพัน จ. และ จำเลย ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่หาได้ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม มาตรา 145 วรรคสอง (2) ไม่
ที่จำเลยอ้างว่าในคดีแพ่ง ของศาลชั้นต้น ที่ จ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิ ครอบครองที่ดินพิพาท โดยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วนั้น แม้จะมีผลว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพัน จ. และ จำเลย ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่หาได้ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม มาตรา 145 วรรคสอง (2) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง และผลกระทบต่อประเด็นข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177
แม้การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ก็ย่อมกระทำได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (3) แต่เนื่องจากคำให้การของจำเลยที่ 1 กับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันเอง กลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้งอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม ศาลไม่อนุญาต เพราะทำให้ขาดประเด็นพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(3) มิได้บัญญัติว่า ข้อความที่ขอแก้ไขคำให้การจำเลยใหม่จะต้องเกี่ยวกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิมของจำเลยคงบัญญัติห้ามเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้นแม้การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ก็ย่อมกระทำได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขภายหลังจากวันสืบพยานโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180
จำเลยที่ 1 ให้การไว้ว่า โจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยโดยสั่งจ่ายเช็คและจำเลยที่ 2ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์แล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วคำให้การดังกล่าวจำเลยที่ 1 รับว่า โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับจำเลยที่ 2และเงินที่จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเป็นเงินของโจทก์ ส่วนคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มเติมว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ในขณะที่นำมาทำสัญญาประกันภัยไว้แก่จำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ได้โอนและส่งมอบการครอบครองรถยนต์ให้เป็นทรัพย์สินส่วนกลางของ ท. แล้ว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่มีผลผูกพันคู่กรณีเงินค่าเบี้ยประกันภัยไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้น คำให้การกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1จึงขัดแย้งกันเอง หากศาลอนุญาตแล้วย่อมจะทำให้กลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง จึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขภายหลังจากวันสืบพยานโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180
จำเลยที่ 1 ให้การไว้ว่า โจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยโดยสั่งจ่ายเช็คและจำเลยที่ 2ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์แล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วคำให้การดังกล่าวจำเลยที่ 1 รับว่า โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับจำเลยที่ 2และเงินที่จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเป็นเงินของโจทก์ ส่วนคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มเติมว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ในขณะที่นำมาทำสัญญาประกันภัยไว้แก่จำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ได้โอนและส่งมอบการครอบครองรถยนต์ให้เป็นทรัพย์สินส่วนกลางของ ท. แล้ว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่มีผลผูกพันคู่กรณีเงินค่าเบี้ยประกันภัยไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้น คำให้การกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1จึงขัดแย้งกันเอง หากศาลอนุญาตแล้วย่อมจะทำให้กลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง จึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งกันเองไม่ก่อให้เกิดประเด็นใหม่ ศาลไม่วินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยและบุตรจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและบุตร จำเลยและบุตรไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ขัดกับคำให้การในตอนแรก จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำให้การขัดแย้งเดิม ไม่สร้างประเด็นใหม่ ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จำเลยไม่เคยขายให้โจทก์แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คำให้การจำเลยในตอนหลังจึงขัดกับคำให้การตอนแรกเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดเป็นประเด็นไว้ก็ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5957/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งกันเองทำให้ไม่มีประเด็นครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยมิได้ปลูกโรงเรือนรุกล้ำ หากจำเลยปลูกโรงเรือนรุกล้ำไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 และหากที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ดังนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5332/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อจากผู้ไม่มีอำนาจ & คำให้การขัดแย้ง
โจทก์ฟ้องและให้การแก้ฟ้องแย้งตอนแรกว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก ป. จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยรับมรดกจาก ส. คดีคงมีประเด็นพิพาทเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งตอนหลังว่าจำเลยเพิ่งโต้แย้งคัดค้านสิทธิครอบครองของโจทก์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 1 ปี สิทธิของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 1375 วรรคสอง ก็เป็นคำให้การแก้ฟ้องแย้งที่ขัดกับคำฟ้องของโจทก์และเป็นคำให้การแก้ฟ้องแย้งไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514-3515/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้ง ศาลไม่ตั้งประเด็นอำนาจฟ้อง ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร ตกลงชำระค่าจ้างเป็นงวดรวม 9 งวด การชำระเงินจำเลยจะหักเงินประกันผลงานไว้เป็นจำนวนร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่โจทก์เบิกแต่ละงวดเมื่อโจทก์ก่อสร้างเสร็จและส่งมอบอาคารให้จำเลยแล้ว จำเลยไม่ยอมคืนเงินประกันผลงานให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลย จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้ทำการก่อสร้างอาคารให้เสร็จสมบูรณ์ตามสัญญา และโจทก์ได้ละทิ้งงานทำให้จำเลยเสียหายจึงขอนำค่าเสียหายมาหักกลบลบหนี้กับหนี้เงินประกันผลงานที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยได้ให้การอีกว่า จำเลยไม่ได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามคำให้การของจำเลยเป็นที่เข้าใจว่าจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารจริง ดังนั้นประเด็นที่ว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารหรือไม่ จึงขัดกับคำให้การโดยรวมของจำเลยทั้งหมด คำให้การส่วนนี้จึงไม่ชัดแจ้งถือว่าไม่มีประเด็นข้อพิพาท ที่ศาลชั้นต้นไม่ตั้งประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องและศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการขัดแย้งในคำให้การ จำเลยไม่อาจสืบพยานได้ ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่กำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่คู่ความแถลงร่วมกันเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทส่วนปัญหาที่ว่าคำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในประเด็นที่ยกขึ้นต่อสู้ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 หรือไม่นั้น ไม่เป็นประเด็นแห่งคดี เมื่อไม่มีประเด็นดังกล่าวขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อนี้ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองโดยวินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยขัดแจ้งกันเอง จำเลยไม่มีสิทธิที่จะนำสืบตามคำให้การ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การที่ขัดแย้งกันเองและประเด็นการปฏิเสธหนี้: ผลต่อการนำสืบพยาน
คำให้การที่ขัดแย้งกันเองได้แก่คำให้การที่ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทาง ไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นเป็นไปในทางหนึ่งทางใด
คดีนี้ตอนแรกจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยรู้จักหรือไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ จำเลยไม่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้อง ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอม จำเลยไม่เคยกู้เงินและไม่เคยรับเงินจำนวน 150,000 บาทจากโจทก์ แม้ตอนต่อมาจำเลยจะให้การว่า สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้เกิดจากภรรยาจำเลยเคยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อปี 2530 และภรรยาจำเลยได้ชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนไปแล้ว หากแต่โจทก์ไม่ได้คืนต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความและให้โจทก์ยึดถือไว้ในการที่ภรรยาจำเลยกู้ยืมเงิน โจทก์จึงกรอกข้อความในสัญญากู้ยืมเงินโดยที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันแล้วนำมาเป็นหลักฐานในการฟ้องคดีนี้ก็ตาม คำให้การของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์และหนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม เพียงแต่เหตุแห่งการปฏิเสธขัดแย้งกันไม่ชัดแจ้งว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมเพราะเหตุใดเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีประเด็นนำสืบตามคำให้การ แต่คดียังมีประเด็นข้อพิพาทและโจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องโจทก์จึงจะชนะคดีได้
คดีนี้ตอนแรกจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยรู้จักหรือไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ จำเลยไม่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้อง ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอม จำเลยไม่เคยกู้เงินและไม่เคยรับเงินจำนวน 150,000 บาทจากโจทก์ แม้ตอนต่อมาจำเลยจะให้การว่า สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้เกิดจากภรรยาจำเลยเคยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อปี 2530 และภรรยาจำเลยได้ชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนไปแล้ว หากแต่โจทก์ไม่ได้คืนต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความและให้โจทก์ยึดถือไว้ในการที่ภรรยาจำเลยกู้ยืมเงิน โจทก์จึงกรอกข้อความในสัญญากู้ยืมเงินโดยที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันแล้วนำมาเป็นหลักฐานในการฟ้องคดีนี้ก็ตาม คำให้การของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์และหนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม เพียงแต่เหตุแห่งการปฏิเสธขัดแย้งกันไม่ชัดแจ้งว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมเพราะเหตุใดเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีประเด็นนำสืบตามคำให้การ แต่คดียังมีประเด็นข้อพิพาทและโจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องโจทก์จึงจะชนะคดีได้