พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9090/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางที่ถูกริบ ผู้ร้องต้องพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำผิดของผู้กระทำความผิด ไม่ใช่การต่อสู้คดีอาญา
คดีร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องมีเพียงว่า เมื่อศาลมีคำสั่งให้ริบรถยนต์ของกลางแล้วศาลจะสั่งคืนให้แก่เจ้าของซึ่งอ้างว่ามิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยตามคำร้องของผู้ร้องหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ แม้ฟังได้ว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็เป็นเรื่องการต่อสู้คดีของจำเลยว่าผลคดีถึงที่สุดจะเป็นประการใด หาได้เกี่ยวข้องกับผู้ร้องแต่อย่างใดไม่ ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนรถยนต์ของกลางหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางหลังศาลมีคำสั่งริบทรัพย์แล้วเกิน 1 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 36
การขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ซึ่งเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ย่อมมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น คำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" หมายความถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์ ข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ของศาลชั้นต้นในคดีก่อนกับคดีนี้ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางเป็นกรณีเดียวกัน ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกันทรัพย์สินต่างๆ รวมทั้งธนบัตรของกลางจึงเป็นของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบไปแล้วในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ของศาลชั้นต้น ก่อนคดีนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลาง ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีหลังที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจะพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2542 ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนธนบัตรของกลางเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 จึงเป็นการยื่นคำร้องภายหลังวันที่คำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี จึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการร้องขอคืนของกลาง: แม้ใบมอบอำนาจระบุศาลผิดพลาด แต่หากยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาถูกต้อง ก็ถือว่ามีอำนาจดำเนินการได้
ใบมอบอำนาจของผู้ร้องมีข้อความว่าผู้ร้องขอมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์ที่ถูกริบต่อศาลแขวงนครสวรรค์ในความผิด พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ โดยให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนผู้ร้องได้ แต่มิได้มีการระบุเลขคดีและชื่อคู่ความในคดีว่าเป็นผู้ใด ซึ่งในเรื่องนี้ ส. เบิกความตอบคำถามติงของทนายผู้ร้องรับว่าผู้ร้องมีคดีร้องขอคืนของกลางทั้งที่ศาลชั้นต้นและศาลแขวงนครสวรรค์ ผู้ร้องมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนของกลางโดยกระทำพร้อมกันหลายคดี ข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องคดีนี้โดยระบุชื่อศาลในใบมอบอำนาจผิดพลาด และการร้องขอคืนของกลางก็เป็นสาขาคดีที่เจ้าของทรัพย์จะต้องยื่นต่อศาลที่มีคำสั่งให้ริบทรัพย์นั้นในคดีหลัก ดังนั้น แม้ใบมอบอำนาจที่ระบุชื่อศาลผิดพลาดไปแต่ได้มายื่นที่ศาลชั้นต้นที่มีอำนาจไต่สวนพิจารณาคำร้องของผู้ร้องตรงตามเจตนาที่แท้จริงของผู้ร้องว่ามอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางคดีนี้แล้ว ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องคืนของกลางโดยไม่สุจริต แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระหนี้ได้ ผู้ร้องก็ยังต้องการรถยนต์ ทำให้สิทธิในการเรียกร้องคืนเป็นโมฆะ
ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อจากผู้ให้เช่าซื้อยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลาง ซึ่งมีราคามากกว่าราคาค่าเช่าซื้อที่ยังเหลืออยู่จำนวนมาก เมื่อผู้เช่าซื้อจะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ผู้ร้องก็ปฏิเสธ แสดงเจตนาว่าผู้ร้องต้องการรถยนต์บรรทุกของกลาง ซึ่งมีราคามากกว่าที่ตนควรจะได้ การยื่นคำร้องขอคืนของกลางจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอคืนของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6582/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญาต้องมีเหตุพยานหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าผู้ต้องหาไม่ได้กระทำความผิด และต้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางก่อน
ตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 บัญญัติว่า "คดีใดที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลใดต้องรับโทษอาญาในคดีนั้นแล้ว อาจมีการร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ เมื่อปรากฏว่า (1)? (2)? (3) มีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบในคดีอันถึงที่สุดนั้น จะแสดงว่าบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นไม่ได้กระทำความผิด" จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคดีที่จะได้รับการรื้อฟื้นขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้จะต้องเป็นคดีที่ได้มีการนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ความผิดนั้นแล้ว แม้ผู้ร้องจะเป็นบุคคลที่ต้องรับโทษอาญา เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางในคดีดังกล่าว ตาม ป.อ. มาตรา 36 เพื่อศาลชั้นต้นจะได้ทำการไต่สวนพยานหลักฐานตามคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลาง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจริงหรือไม่เสียก่อน เมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องขอคืนของกลางเพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่ง กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่โดยอ้างว่าผู้ร้องมีพยานหลักฐานใหม่ที่จะแสดงว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยการกระทำความผิดของจำเลย เพราะในคดีเดิมซึ่งถึงที่สุดศาลมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ทำความเห็นส่งไปให้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 สั่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ย่อมไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งคำร้องดังกล่าว อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลาง: ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นริบของกลางซ้ำ หากคำสั่งริบในคดีหลักถึงที่สุดแล้ว
ในคดีร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบนั้น ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องมีเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนเรือของกลางให้แก่เจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่า ศาลจะสั่งริบเรือของกลางได้หรือไม่ยุติไปตามคำสั่งศาลในคดีหลักซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนเรือของกลางต่อไปอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2547)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถบรรทุกไม่รู้เห็นการกระทำผิดฐานขนย้ายสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต สิทธิในการขอคืนของกลาง
จำเลยว่าจ้างให้ ท. ขับรถยนต์บรรทุกของผู้ร้องบรรทุกช้าง2เชือก ผ่านบริเวณด่านกักสัตว์ จึงถูกจับกุมดำเนินคดีฐานไม่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ มาตรา 4,34,49 ในชั้นร้องขอคืนของกลางจำเลยเบิกความเป็นพยานผู้ว่า จำเลยเป็นผู้ว่าจ้าง ท. เอง ผู้ร้องมิได้รู้เห็นในการว่าจ้างบรรทุกช้างของจำเลย ซึ่งจำเลยเป็นพยานคนกลางไม่มีส่วนได้เสียกับการยึดรถยนต์บรรทุกของกลาง จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ อีกทั้งความผิดคดีนี้อยู่ที่จำเลยไม่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายช้าง หาใช่ความผิดอยู่ที่การเคลื่อนย้ายไม่ กรณีจึงเชื่อได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ต้องคืนรถยนต์บรรทุกของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์-เบื่อสุนัข: พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลย, การรับสารภาพ & การคืนของกลาง
แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานเห็นขณะจำเลยทั้งสองลักทรัพย์ของผู้เสียหายก็ตาม แต่หลังเกิดเหตุไม่นานเจ้าพนักงานตามไปจับกุมจำเลยทั้งสองได้พร้อมของกลางซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของผู้เสียหาย ทั้งยังยึดเศษปลาที่อยู่ในกระทะ ซึ่งเมื่อตรวจพิสูจน์แล้วพบว่ามีสารพิษชนิดเม็ทโธมิลติดอยู่และเป็นสารพิษชนิดเดียวกับที่ติดอยู่ที่เศษปลาทอดในปากสุนัขของผู้เสียหายที่ตาย อันเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการนำอาหารผสมสารพิษดังกล่าวเบื่อสุนัขในบ้านของผู้เสียหาย เพื่อความสะดวกแก่การเข้าไปลักทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ทั้งในชั้นจับกุมจำเลยทั้งสองก็ให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ทันที พยานหลักฐานของโจทก์มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงสอดคล้องและใกล้ชิดกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองมาตลอดจึงบ่งชี้ได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนร้ายที่ร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลาง และการพิสูจน์ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. และ ธ. กระทำการแทนผู้ร้อง โดยให้มีอำนาจยื่นคำร้องขอรับรถของกลางในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1769/2542 ของศาลจังหวัดนราธิวาสคืน อันเป็นการแสดงว่าผู้ร้องได้แต่งตั้งให้ ป. และ ธ. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องได้ ซึ่งหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องไม่ได้จำกัดว่าผู้รับมอบอำนาจแต่ละคนจะต้องกระทำการร่วมกันตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งจึงสามารถยื่นคำร้องขอคืนของกลางได้
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อรถยนต์ เมื่อผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์กระบะที่เช่าซื้อจากผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของผู้เช่าซื้อ ทั้งโจทก์มิได้นำพยานเข้าสืบให้เห็นแตกต่างเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงต้องคืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อรถยนต์ เมื่อผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์กระบะที่เช่าซื้อจากผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของผู้เช่าซื้อ ทั้งโจทก์มิได้นำพยานเข้าสืบให้เห็นแตกต่างเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงต้องคืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9088/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้คำร้องขอคืนของกลางไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ประเภทบริษัทจำกัด ช.เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจทำการแทนผู้ร้อง และผู้ร้องโดย ช.มอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีแทนผู้ร้องตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย ร.2 แต่หนังสือรับรองของสาธารณรัฐปานามาที่ผู้ร้องอ้างส่งต่อศาล กลับมีข้อความระบุว่าบริษัทผู้ร้องก่อตั้งเป็นบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฉบับที่ 32 ค.ศ. 1927 ของสาธารณรัฐปานามา ไม่ใช่ประเทศสิงคโปร์ดังที่ ส.ผู้รับมอบอำนาจเบิกความ นอกจากนี้จากหนังสือดังกล่าวกรรมการผู้จัดการใหญ่ซึ่งมีอำนาจทำการแทนผู้ร้องตามกฎหมายคือ อ.ไม่ใช่ ช. การที่ช.ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีแทนผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย ร.2 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 1998มีนายเตียว เอง เหลียง (TEO ENG LEONG) โนตารีปับลิก (NOTARY PUBLIC)ประเทศสิงคโปร์รับรองว่าบุคคลที่มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจได้ทำหนังสือมอบอำนาจด้วยความสมัครใจ ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 1998 (พ.ศ.2541)ไม่ปรากฏข้อความตอนใดที่แสดงว่าได้ทำการมอบอำนาจกันที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ แม้หนังสือรับรองของโนตารีปับลิกจะมีตราสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสิงคโปร์ประทับอยู่ ก็เป็นการประทับรับรองว่านายเตียว เอง เหลียง เป็นโนตารีปับลิกเท่านั้น ไม่ได้รับรองหนังสือมอบอำนาจว่าถูกต้องใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่
ช.ลงลายมือในหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีแทนผู้ร้อง โดยช.ไม่มีอำนาจทำการแทนผู้ร้อง ส.ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจแต่งทนายความยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้อง ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย โจทก์จึงยกขึ้นอ้างได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นก็ตาม
คดีนี้เป็นสาขาคดีที่เจ้าของทรัพย์ร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบในคดีหลัก ประเด็นในคดีจึงมีเพียงว่าศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่เจ้าของที่แท้จริงหรือไม่เท่านั้น สำหรับประเด็นที่ผู้ร้องฎีกาว่าศาลสั่งริบของกลางไม่ได้นั้น ได้ยุติไปแล้วตามคำสั่งของศาลในคดีหลัก ผู้ร้องจึงฎีกาในประเด็นนี้ไม่ได้
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย ร.2 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 1998มีนายเตียว เอง เหลียง (TEO ENG LEONG) โนตารีปับลิก (NOTARY PUBLIC)ประเทศสิงคโปร์รับรองว่าบุคคลที่มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจได้ทำหนังสือมอบอำนาจด้วยความสมัครใจ ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 1998 (พ.ศ.2541)ไม่ปรากฏข้อความตอนใดที่แสดงว่าได้ทำการมอบอำนาจกันที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ แม้หนังสือรับรองของโนตารีปับลิกจะมีตราสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสิงคโปร์ประทับอยู่ ก็เป็นการประทับรับรองว่านายเตียว เอง เหลียง เป็นโนตารีปับลิกเท่านั้น ไม่ได้รับรองหนังสือมอบอำนาจว่าถูกต้องใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่
ช.ลงลายมือในหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีแทนผู้ร้อง โดยช.ไม่มีอำนาจทำการแทนผู้ร้อง ส.ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจแต่งทนายความยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้อง ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย โจทก์จึงยกขึ้นอ้างได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นก็ตาม
คดีนี้เป็นสาขาคดีที่เจ้าของทรัพย์ร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบในคดีหลัก ประเด็นในคดีจึงมีเพียงว่าศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่เจ้าของที่แท้จริงหรือไม่เท่านั้น สำหรับประเด็นที่ผู้ร้องฎีกาว่าศาลสั่งริบของกลางไม่ได้นั้น ได้ยุติไปแล้วตามคำสั่งของศาลในคดีหลัก ผู้ร้องจึงฎีกาในประเด็นนี้ไม่ได้