พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าโดยปริยาย: การไม่ปฏิบัติตามสัญญาและการเพิกเฉยเป็นระยะเวลานาน ทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงและคืนสู่ฐานะเดิม
ก่อนทำสัญญาเช่านั้นจำเลยได้ก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จแล้วเพียงแต่ยังมิได้ตบแต่งเท่านั้น โจทก์ตกลงจะชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่จำเลยเป็นเงิน 1,000,000 บาท โดยโจทก์จะจ่ายให้ในวันจดทะเบียนการเช่า แม้ตามสัญญาเช่าไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าเมื่อใดแต่โจทก์กับจำเลยยอมรับกันว่าได้ตกลงกันจะไปจดทะเบียนการเช่าในวันที่ 5มกราคม 2535 ซึ่งในวันดังกล่าวโจทก์จะต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าอีก 100,000บาท กับเงินช่วยค่าก่อสร้างจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่จำเลย ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาเช่า แต่ปรากฏว่าในวันนัดจดทะเบียนการเช่าดังกล่าว โจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้าที่ค้างชำระอยู่ 100,000 บาท และเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่จำเลย และจำเลยเองก็ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ ตามพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า โจทก์และจำเลยไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามสัญญาเช่ากันอีกต่อไป ทั้งหลังจากนั้นโจทก์และจำเลยต่างปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการเช่าและมิได้เรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญา จนเวลาผ่านไปเนิ่นนานจนถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2535 โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าขอบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้ากับค่าใช้จ่ายในการลงทุนให้แก่โจทก์ กรณีเช่นนี้แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันกันต่อไปฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ ดังนั้น โจทก์และจำเลยต้องคืนสู่ฐานะดังเดิมที่เป็นอยู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391
สัญญาเช่าได้เลิกกันโดยปริยายและโจทก์กับจำเลยต้องคืนสู่ฐานะดังเดิมที่เป็นอยู่ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่เวลาที่รับไว้ และจำเลยยังต้องใช้ค่าก่อสร้างตบแต่ง ซึ่งโจทก์ได้ใช้เงินไปในการงานนั้น แต่ค่าเสียหายอื่น ๆ นอกจากนี้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ เพราะจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
สัญญาเช่าได้เลิกกันโดยปริยายและโจทก์กับจำเลยต้องคืนสู่ฐานะดังเดิมที่เป็นอยู่ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่เวลาที่รับไว้ และจำเลยยังต้องใช้ค่าก่อสร้างตบแต่ง ซึ่งโจทก์ได้ใช้เงินไปในการงานนั้น แต่ค่าเสียหายอื่น ๆ นอกจากนี้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ เพราะจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความ: การผูกพันของกรรมการบริษัท และการใช้สิทธิคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อเลิกสัญญา
บริษัทใช้ชื่อจำเลยเป็นชื่อบริษัท ตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนระบุว่า บริษัทมีกรรมการ 4 คน จำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทและเป็นหัวหน้าสำนักงานกฎหมาย
สัญญารับมอบงานเป็นสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของมีข้อความว่า โจทก์ได้มอบให้จำเลยและทนายความในสำนักงานฟ้องคดี จำเลยรับจะดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ว.ผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ลงชื่อและประทับตราโจทก์ในช่องผู้มอบงาน ส่วนจำเลยลงชื่อในช่องผู้รับมอบงานแต่ผู้เดียวไม่ได้ประทับตราของบริษัท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ทั้งข้อความในสัญญาแสดงชัดอยู่ว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยและหรือทนายความในสำนักงานของจำเลยให้ฟ้องคดีโดยจำเลยตกลงเป็นผู้รับจ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัท แม้สัญญารับมอบงานได้กระทำที่บริษัท แต่ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานได้ทำสัญญารับจ้างว่าความกับโจทก์โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความซึ่งมีชื่อบริษัทที่หัวกระดาษทำสัญญากับโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างว่าความได้เลิกกันด้วยการตกลงยินยอมของทั้งสองฝ่ายคู่สัญญาจึงมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ โดยเฉพาะในวรรคสาม โจทก์ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นโดยคิดค่าจ้างตามรูปคดี หาใช่จำเลยต้องคืนค่าจ้างทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าเสียหายของโจทก์ตามที่โจทก์เรียกร้องไม่
สัญญารับมอบงานเป็นสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของมีข้อความว่า โจทก์ได้มอบให้จำเลยและทนายความในสำนักงานฟ้องคดี จำเลยรับจะดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ว.ผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ลงชื่อและประทับตราโจทก์ในช่องผู้มอบงาน ส่วนจำเลยลงชื่อในช่องผู้รับมอบงานแต่ผู้เดียวไม่ได้ประทับตราของบริษัท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ทั้งข้อความในสัญญาแสดงชัดอยู่ว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยและหรือทนายความในสำนักงานของจำเลยให้ฟ้องคดีโดยจำเลยตกลงเป็นผู้รับจ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัท แม้สัญญารับมอบงานได้กระทำที่บริษัท แต่ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานได้ทำสัญญารับจ้างว่าความกับโจทก์โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความซึ่งมีชื่อบริษัทที่หัวกระดาษทำสัญญากับโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างว่าความได้เลิกกันด้วยการตกลงยินยอมของทั้งสองฝ่ายคู่สัญญาจึงมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ โดยเฉพาะในวรรคสาม โจทก์ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นโดยคิดค่าจ้างตามรูปคดี หาใช่จำเลยต้องคืนค่าจ้างทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าเสียหายของโจทก์ตามที่โจทก์เรียกร้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5473/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของสัญญาซื้อขาย: สิทธิเรียกร้องนอกเหนือจากคืนสู่ฐานะเดิม พิจารณาตามลาภมิควรได้
นิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติถึงการให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมคู่กรณีจะมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมหรือสัญญาอย่างใดเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตามลักษณะลาภมิควรได้อีกชั้นหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายผิดนัด และผลกระทบของการบอกเลิกสัญญา
จำเลยตกลงขายที่ดินและบ้านแก่โจทก์ในราคา 2,000,000 บาทแม้ไม่มีหนังสือสัญญาซื้อขายเป็นหลักฐาน แต่โจทก์ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วเป็นเงิน900,000 บาท ตามเช็คเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านที่บังคับได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง
จำเลยตกลงขายที่ดินและบ้านแก่โจทก์ และโจทก์ชำระหนี้บางส่วนแล้ว โดยไม่ได้กำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านไว้แน่นอน การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งกำหนดวันเวลาให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้ และให้รับเงินค่าที่ดินและบ้านส่วนที่เหลือ ณ สำนักงานที่ดิน หากจำเลยไม่ไปตามนัดขอบอกเลิกสัญญา จำเลยได้รับหนังสือแล้ว แต่ไม่ไปตามนัด ส่วนโจทก์ได้ไปตามนัด และได้เขียนเช็คเพื่อชำระราคาที่ดินที่เหลือไปพร้อมแล้ว เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยผิดนัดผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเลิกกัน คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินและบ้านที่รับไว้พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันรับไว้จนกว่าจะชำระเสร็จ
ค่าเสียหายที่โจทก์อาจนำที่ดินและบ้านไปขายต่อได้กำไรหากจำเลยไม่ผิดสัญญาจะซื้อขาย เพราะที่ดินและบ้านนั้นราคาสูงขึ้น เป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 222
จำเลยตกลงขายที่ดินและบ้านแก่โจทก์ และโจทก์ชำระหนี้บางส่วนแล้ว โดยไม่ได้กำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านไว้แน่นอน การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งกำหนดวันเวลาให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้ และให้รับเงินค่าที่ดินและบ้านส่วนที่เหลือ ณ สำนักงานที่ดิน หากจำเลยไม่ไปตามนัดขอบอกเลิกสัญญา จำเลยได้รับหนังสือแล้ว แต่ไม่ไปตามนัด ส่วนโจทก์ได้ไปตามนัด และได้เขียนเช็คเพื่อชำระราคาที่ดินที่เหลือไปพร้อมแล้ว เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยผิดนัดผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเลิกกัน คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินและบ้านที่รับไว้พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันรับไว้จนกว่าจะชำระเสร็จ
ค่าเสียหายที่โจทก์อาจนำที่ดินและบ้านไปขายต่อได้กำไรหากจำเลยไม่ผิดสัญญาจะซื้อขาย เพราะที่ดินและบ้านนั้นราคาสูงขึ้น เป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 222
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์: ความรับผิดเมื่อรถหายและการคืนสู่ฐานะเดิม
ในสัญญาซื้อขายระบุเงื่อนไขว่า 'แม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใด ๆ หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสีย เสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ 'ฯลฯ' ข้อความที่ว่ายานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียนั้น ย่อมมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วย จำเลยที่ 1 ชำระค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วน จึงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์ก็ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขสิ้นสุดลง คู่สัญญาจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยที่ 1 ต้องคืนรถยนต์ให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งคืนได้เพราะรถยนต์ถูกลักไป จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ราคารถแทนเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบ
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าเมื่อจำเลยผิดนัดแล้วต้องมีหน้าที่ส่งมอบรถคืนให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการที่ไม่ส่งมอบรถคืนให้แก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์ก็ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขสิ้นสุดลง คู่สัญญาจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยที่ 1 ต้องคืนรถยนต์ให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งคืนได้เพราะรถยนต์ถูกลักไป จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ราคารถแทนเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบ
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าเมื่อจำเลยผิดนัดแล้วต้องมีหน้าที่ส่งมอบรถคืนให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการที่ไม่ส่งมอบรถคืนให้แก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาสื้อขายโดยปริยายจากการกระทำของคู่กรณีและการคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลย จำเลยยังมิได้ส่งมอบ ต่อมาโจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย แทนที่จำเลยจะเสนอขอส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ จำเลยกลับขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นไป พฤติการณ์เช่นนี้แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์จำเลยต้องคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญา, การคืนสู่ฐานะเดิม, และการชดใช้ค่าก่อสร้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
โจทก์ทำสัญญาตกลงกับจำเลย ให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์และตึกแถวลงในที่ดินของโจทก์ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเองโดยโจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่ามีกำหนด 20 ปี จำเลยผิดสัญญาในการก่อสร้างตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยโดยชอบแล้ว ดังนี้ สัญญาและข้อผูกพันต่าง ๆ ในสัญญาก่อสร้างต้องสิ้นสุดลงจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเช่าหรือครอบครองโรงภาพยนตร์และตึกแถวตามสัญญานั้นอีกต้องคืนที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้โจทก์ส่วนโจทก์ก็ต้องชดใช้ค่าก่อสร้างอันเป็นผลงานที่จำเลยสร้างลงไปให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: สิทธิเลิกสัญญาและการคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อผิดสัญญา
การทีจำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินมือเปล่าจากสามีโจทก์ โดยได้วางมัดจำและได้เข้าครอบครองที่ดินมากว่า 10 ปีแล้วก็ตาม เมื่อยังไม่ได้โอนขายกัน ก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองโดยอาศัยสิทธิของฝ่ายโจทก์ ฝ่ายโจทก์ย่อมขอให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้
เมื่อจำเลยผู้จะซื้อผิดสัญญา ฝ่ายโจทก์ผู้จะขายก็ขอเลิกสัญญาได้ เมื่อใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม คือ โจทก์คืนเงินที่รับชำระให้จำเลย จำเลยก็ต้องคืนที่พิพาทให้โจทก์
เมื่อจำเลยผู้จะซื้อผิดสัญญา ฝ่ายโจทก์ผู้จะขายก็ขอเลิกสัญญาได้ เมื่อใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม คือ โจทก์คืนเงินที่รับชำระให้จำเลย จำเลยก็ต้องคืนที่พิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การเลิกสัญญาและการคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อผิดสัญญา
การที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินมือเปล่าจากสามีโจทก์โดยได้วางมัดจำและได้เข้าครอบครองที่ดินมากว่า 10 ปี แล้วก็ตาม เมื่อยังไม่ได้โอนขายกัน ก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองโดยอาศัยสิทธิของฝ่ายโจทก์ฝ่ายโจทก์ย่อมขอให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้
เมื่อจำเลยผู้จะซื้อผิดสัญญาฝ่ายโจทก์ผู้จะขายก็ขอเลิกสัญญาได้เมื่อใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมคือโจทก์คืนเงินที่รับชำระให้จำเลย จำเลยก็ต้องคืนที่พิพาทให้โจทก์
เมื่อจำเลยผู้จะซื้อผิดสัญญาฝ่ายโจทก์ผู้จะขายก็ขอเลิกสัญญาได้เมื่อใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมคือโจทก์คืนเงินที่รับชำระให้จำเลย จำเลยก็ต้องคืนที่พิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมโมฆะไม่คืนสู่ฐานะเดิม สิทธิเรียกร้องต้องฟ้องลาภมิควรได้
นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่ต้น กฎหมายหาได้บัญญัติถึงการให้คู่กรณีกลับคืนฐานะเดิมเหมือนเรื่องโมฆียะกรรมที่ถูกบอกล้างแล้วไม่ ฐานะของคู่กรณีแห่งนิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นมิได้มีการเปลี่ยนแปลง คู่กรณีจะมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมหรือสัญญาอย่างใดเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามลักษะลาภมิควรได้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งขอมา เพียงแต่สัญญาปรากฏว่าเป็นโมฆะ จะขอให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์หรือราคากันด้วยหาได้ไม่