พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, สัญญาการก่อสร้าง, การผิดสัญญาเช่า, การคืนเงินค่าก่อสร้าง
สัญญาระหว่างจำเลยทั้งสองที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารพลาซ่า ตลาดและตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ตกลงจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้ว่าจ้างหรือผู้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างมีกำหนดระยะเวลา 30 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 มีสิทธิเรียกเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่า สัญญาระหว่างจำเลยทั้งสองถือเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก และยังถือว่าเป็นการร่วมกันทางการค้าเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน เมื่อโจทก์เข้าทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 2 สร้างตึกแถวถือว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะก่อสร้างอาคารพลาซ่าให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และปรับปรุงตกแต่งตึกแถวให้เรียบร้อยภายใน 3 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่สร้างอาคารพลาซ่า ไม่ตกแต่งตึกแถวให้เรียบร้อยจำเลยที่ 1 จึงผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วเป็นผลให้คู่กรณีต้องกลับสู่ฐานะเดิม จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินค่าช่วยก่อสร้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้แก่โจทก์และต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะก่อสร้างอาคารพลาซ่าให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และปรับปรุงตกแต่งตึกแถวให้เรียบร้อยภายใน 3 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่สร้างอาคารพลาซ่า ไม่ตกแต่งตึกแถวให้เรียบร้อยจำเลยที่ 1 จึงผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วเป็นผลให้คู่กรณีต้องกลับสู่ฐานะเดิม จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินค่าช่วยก่อสร้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้แก่โจทก์และต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8954/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงคืนเงินและทองในพิธีหมั้น การฟ้องละเมิดจากข่าวลือ และการพิสูจน์ความเสียหาย
การที่ศาลจะวินิจฉัยว่าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาหมั้นหรือไม่ จะต้องฟังให้ได้เสียก่อนว่า โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 หรือไม่ เพราะการหมั้นตามกฎหมายนั้นต้องมีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย มิใช่เมื่อมีการมอบของหมั้นแล้ว ก็มีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 1437
ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำพิธีหมั้นตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสต่อกัน ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้น และประกันว่าจะสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เงินสดจำนวน 1,444,000 บาท และทองคำรูปพรรณที่จำเลยที่ 1 นำไปมอบให้แก่ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องเรียกคืนฐานผิดสัญญาหมั้นได้
ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีข้อตกลงกันว่าโจทก์ทั้งสองจะคืนเงินสดและทองรูปพรรณที่ใช้ในพิธีหมั้นให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงาน ดังนั้น เงินสดและทองรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ที่ 2 แต่เป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่ายว่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาแสดงในวันหมั้นเพื่อให้เหมาะสมกับฐานะทั้งสองฝ่ายเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในเงินสดและทองคำรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นของโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 นำไปให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงานจึงเป็นการส่งคืนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลง มิใช่การฝากทรัพย์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน
ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำพิธีหมั้นตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสต่อกัน ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้น และประกันว่าจะสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เงินสดจำนวน 1,444,000 บาท และทองคำรูปพรรณที่จำเลยที่ 1 นำไปมอบให้แก่ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องเรียกคืนฐานผิดสัญญาหมั้นได้
ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีข้อตกลงกันว่าโจทก์ทั้งสองจะคืนเงินสดและทองรูปพรรณที่ใช้ในพิธีหมั้นให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงาน ดังนั้น เงินสดและทองรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ที่ 2 แต่เป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่ายว่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาแสดงในวันหมั้นเพื่อให้เหมาะสมกับฐานะทั้งสองฝ่ายเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในเงินสดและทองคำรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นของโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 นำไปให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงานจึงเป็นการส่งคืนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลง มิใช่การฝากทรัพย์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6785/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอชดเชยภาษีอากรเท็จ & สัญญาชดใช้ความเสียหาย: จำเลยต้องคืนเงินและชดใช้ดอกเบี้ยตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าออกทั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษีสำหรับใบขนสินค้าขาออกทั้งสองฉบับดังกล่าว เมื่อบัตรภาษีดังกล่าวจำเลยที่ 2 นำไปใช้ชำระภาษีอากรแล้ว จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนบัตรภาษีซึ่งขอรับโอนบัตรภาษีโดยให้สัญญาต่อโจทก์ว่าถ้าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี เนื่องจากมิได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกทั้งสองฉบับดังกล่าว ซึ่งเป็นกรณีเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 คืนเงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญา มิได้ฟ้องในลักษณะเรียกคืนลาภมิควรได้ ฉะนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรับโอนบัตรภาษีไว้โดยสุจริตหรือไม่และมีบัตรภาษีเหลืออยู่หรือไม่ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามสัญญา แต่สัญญามิได้กำหนดเวลาคืนเงินไว้ จึงถือว่าจำเลยที่ 2 ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยต่อเมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน แล้วจำเลยที่ 2 ไม่คืนให้ตามเวลาที่โจทก์กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และ 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 รับบัตรภาษีจากโจทก์
ตามป.พ.พ. และ พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวนี้ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการเรียกคืนลาภมิควรได้
ตามป.พ.พ. และ พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวนี้ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการเรียกคืนลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากบัตรภาษี: สุจริต, การคืนเงิน, และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
บัตรภาษีมีมูลค่าเป็นเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในบัตรภาษีนำไปใช้แทนเงินสดในการชำระภาษีแก่กรมศุลกากร กรมสรรพากร และกรมสรรพสามิตได้ หากการได้รับบัตรภาษีไว้เป็นลาภมิควรได้ก็ต้องถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไว้ดังกล่าวเป็นเงินจำนวนหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 412
กฎหมายบัญญัติหลักในการคืนเงินที่เป็นลาภมิควรได้ว่า ผู้ได้รับนั้นต้องคืนเงินเต็มจำนวน ส่วนการคืนลาภมิควรได้เพียงบางส่วนที่ยังคงมีอยู่ในขณะที่เรียกคืนเพราะได้รับมาโดยสุจริตเป็นข้อยกเว้น เมื่อจำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การของตน เพราะปัญหาว่าสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยรับเงินซึ่งเป็นลาภมิควรได้ไว้โดยสุจริตหรือไม่ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์และจำเลยไม่ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นการคำนวณและระบุจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรแก้ไขให้ถูกต้องได้
กฎหมายบัญญัติหลักในการคืนเงินที่เป็นลาภมิควรได้ว่า ผู้ได้รับนั้นต้องคืนเงินเต็มจำนวน ส่วนการคืนลาภมิควรได้เพียงบางส่วนที่ยังคงมีอยู่ในขณะที่เรียกคืนเพราะได้รับมาโดยสุจริตเป็นข้อยกเว้น เมื่อจำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การของตน เพราะปัญหาว่าสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยรับเงินซึ่งเป็นลาภมิควรได้ไว้โดยสุจริตหรือไม่ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์และจำเลยไม่ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นการคำนวณและระบุจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อและอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระเงินตามสัญญาขายทอดตลาดไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยเงินจำนวนดังกล่าวได้รวมภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องหักและนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ด้วยและต่อมาปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์ได้จ่ายภาษีเงินได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไปอีกทั้งที่ตนมิได้มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษี แต่มีหน้าที่เพียงหักภาษีเงินได้ ตามมาตรา (50) (5) (ข) เท่านั้น ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิที่จะขอเงินดังกล่าวคืน ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีหักเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้ผู้ซื้อทรัพย์ตามจำนวนภาษีที่ผู้ซื้อได้ทดรองจ่ายไปจึงเป็นการกระทำที่ชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ยกเลิกการหักเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาวงแชร์ นายวงแชร์มีหน้าที่คืนเงินให้ลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลจนกว่าจะได้รับเงินครบ
ระหว่างเล่นแชร์กัน ลูกวงแชร์แต่ละคนต้องชำระเงินให้นายวงแชร์เพื่อรวบรวมไปให้ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้ เมื่อมีการเลิกสัญญาเล่นแชร์กันแล้ว ทั้งนายวงแชร์และลูกวงแชร์ซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยในฐานะนายวงแชร์จึงยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินที่ลูกแชร์ผู้ประมูลได้แล้วคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ประมูลจนกว่าลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลจะได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่มีสิทธิได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับเงินคืนไม่ครบจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเจ็ด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญแชร์ และความรับผิดชอบในการคืนเงินให้แก่ลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้รับเงิน
ระหว่างเล่นแชร์กัน ลูกวงแชร์แต่ละคนต้องชำระเงินให้นายวงแชร์เพื่อรวบรวมไปให้ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้ เมื่อมีการเลิกสัญญาเล่นแชร์กันแล้ว ทั้งนายวงแชร์และลูกวงแชร์ซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้แล้วจะต้องคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ประมูล โดยนายวงแชร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินดังกล่าวจนกว่าลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลจะได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่มีสิทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899-4901/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้ทำแผนและหน้าที่คืนเงินค่าตอบแทนส่วนเกินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/25 โดยอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 90/12 (9) กล่าวคือหากผู้ทำแผนจะกระทำการจำหน่าย จ่าย โอนหรือชำระหนี้ ก่อหนี้หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินนอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้แล้วจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการก่อน เมื่อการขอเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ลดจำนวนเงินที่ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ลง แต่ผู้ทำแผนได้เบิกเงินเกินจำนวนที่ศาลมีคำสั่งไปก่อนแล้ว ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินส่วนที่เบิกเกินไปให้แก่ลูกหนี้ และถือได้ว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นคำสั่งซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีศาลจึงมีอำนาจออกคำบังคับให้ผู้ทำแผนปฏิบัติตามได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 272 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 14 หากผู้ทำแผนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าวผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินจากการฉ้อโกง: ผลกระทบของการถอนฟ้องคดีอาญาต่อคำขอทางแพ่ง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายความผิดฐานฉ้อโกงและหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจโจทก์ที่จะขอศาลให้สั่งจำเลยคืนเงินที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามได้ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกข้อหา ซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ด้วย แม้จะมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 341 ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท ที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามตามที่โจทก์ขอมาได้
ก่อนยื่นฎีกา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวโดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก คงขอให้บังคับได้เฉพาะผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ก่อนยื่นฎีกา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวโดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก คงขอให้บังคับได้เฉพาะผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินจากการฉ้อโกงและหลอกลวงคนหางาน สิทธิระงับเมื่อผู้เสียหายถอนฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341 พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และให้จำเลยคืนเงิน 220,000 บาท แก่ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นความผิดฐานหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศ ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี แล้ว ยังเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตาม ป.อ. มาตรา 341 อีกบทหนึ่งด้วย ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจโจทก์ที่จะขอศาลให้สั่งจำเลยคืนเงินที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายได้ ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ด้วย ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท ที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายตามที่โจทก์ขอมาได้ แม้จะมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวด้วยก็ตาม
ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว โดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก โดยคงขอให้บังคับได้เฉพาะส่วนของผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น
ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว โดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก โดยคงขอให้บังคับได้เฉพาะส่วนของผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น