พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4053/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่กับคดีที่กระทำผิดก่อนการแก้ไข กฎหมายที่ใช้ต้องเป็นคุณแก่จำเลย
ศาลชั้นต้นลงโทษประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 3,000,000 บาท เป็นการแก้เฉพาะโทษ ซึ่งเป็นกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก และจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐาน ขอให้ลงโทษประหารชีวิต เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
ขณะจำเลยกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตตามมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมี พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 5 และมาตรา 66 และให้ใช้ข้อความใหม่ซึ่งแตกต่างจากเดิมโดยมีผลให้การกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) (ที่แก้ไขใหม่) และต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต ตามมาตรา 66 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งระวางโทษหนักกว่าระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) เนื่องจากมีระวางโทษปรับเพิ่มมาด้วย กรณีจึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดที่เป็นคุณแก่จำเลยบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 การที่ศาลล่างทั้งสองใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว แม้คู่ความจะไม่ฎีกาในปัญหานี้และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เพราะต้องห้ามตามกฎหมายก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ขณะจำเลยกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตตามมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมี พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 5 และมาตรา 66 และให้ใช้ข้อความใหม่ซึ่งแตกต่างจากเดิมโดยมีผลให้การกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) (ที่แก้ไขใหม่) และต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต ตามมาตรา 66 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งระวางโทษหนักกว่าระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) เนื่องจากมีระวางโทษปรับเพิ่มมาด้วย กรณีจึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดที่เป็นคุณแก่จำเลยบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 การที่ศาลล่างทั้งสองใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว แม้คู่ความจะไม่ฎีกาในปัญหานี้และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เพราะต้องห้ามตามกฎหมายก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4534/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเคยติดคุก โทษกักขังแทนที่ศาลอุทธรณ์แก้ให้ เป็นคุณแก่จำเลยแล้ว ศาลฎีกาไม่แก้โทษ
จำเลยรับว่าเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 504/2542 ของศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยจึงเป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 ที่ศาลฎีกาจะรอการลงโทษให้แก่จำเลย และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยเป็นกักขังแทนนับว่าเป็นคุณแก่จำเลยมากแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข
เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมิใช่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยเป็นกักขังแทน จึงไม่ชอบ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ 225
เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมิใช่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยเป็นกักขังแทน จึงไม่ชอบ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9105/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่กับคดีเดิม: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกตามกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยมีเฮโรอีนจำนวน 1 ถุง หนัก 347.340 กรัม ซึ่งมีน้ำหนักสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าคำนวณเป็นปริมาณสารบริสุทธิ์ได้ทั้งหมดเท่าใด จึงฟังได้เพียงว่า เฮโรอีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 20 กรัม โทษจำคุกต้องด้วย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ การปรับบทลงโทษ และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ ก่อนที่ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 35 ยกเลิกความในมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ (เดิม) และให้ใช้ความใหม่แทน แต่ตามมาตรา 100 ของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ได้บัญญัติเพิ่มเติมฐานความผิดกรณีที่กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ (เดิม) หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำความผิดหรือสนับสนุนในการกระทำความผิด ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ให้รวมถึงความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษด้วย กฎหมายที่ใช้ในภายหลังจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
มาตรา 100 ของ พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ (เดิม) เป็นกรณีต้องระวางโทษสามเท่าเฉพาะการกระทำความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 100 ของกฎหมายเดิมที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าได้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 ซึ่งระวางโทษเป็นสามเท่าในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาตรานี้ การที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 อีกบทหนึ่งให้ถูกต้อง ข้อหาตามมาตราดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยกับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 110 เม็ด น้ำหนัก 10.887 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด กรณีความผิดต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
มาตรา 100 ของ พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ (เดิม) เป็นกรณีต้องระวางโทษสามเท่าเฉพาะการกระทำความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 100 ของกฎหมายเดิมที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าได้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 ซึ่งระวางโทษเป็นสามเท่าในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาตรานี้ การที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 อีกบทหนึ่งให้ถูกต้อง ข้อหาตามมาตราดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยกับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 110 เม็ด น้ำหนัก 10.887 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด กรณีความผิดต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษลักทรัพย์: ศาลยืนตามโทษเดิม เนื่องจากพฤติการณ์ร้ายแรงและจำเลยได้รับคุณมากแล้ว
ทรัพย์ที่จำเลยลักไปนั้นมีจำนวน 4 รายการ โดยเฉพาะบุหรี่มีจำนวนถึง 29 ห่อมีราคาถึง 8,700 บาท นับเป็นพฤติการณ์ที่ร้ายแรงการที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยเพียง 2 เดือน โดยไม่รอการลงโทษนั้น นับเป็นคุณแก่จำเลยและเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายอาคารและการใช้บทบัญญัติที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
จำเลยก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุมาก่อนวันที่ 6 มิถุนายน 2535อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับ โดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 21, 65 วรรคหนึ่ง, 70 แต่ต่อมามี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 22 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และมาตรา 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 70แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทนบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับส่วนมาตรา 70 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ อันเป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดอันมีทั้งส่วนที่เป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่ง ป.อ.มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลย และยังคงใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขใหม่ มาใช้บังคับแก่จำเลย จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสองเดิม มิได้บัญญัติให้ระวางโทษปรับรายวันแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21ด้วย จึงลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
การก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 นั้น จะลงโทษปรับเป็นรายวัน ตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้ว และผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน หรือจนกว่าจะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสองเดิม มิได้บัญญัติให้ระวางโทษปรับรายวันแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21ด้วย จึงลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
การก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 นั้น จะลงโทษปรับเป็นรายวัน ตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้ว และผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน หรือจนกว่าจะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี และการปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท2คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์0.773กรัมเกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯต้องรับโทษตามมาตรา106ทวิระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท1ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯเท่านั้นจึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวนเป็นสารบริสุทธิ์เพียง0.773กรัมไม่ถึง20กรัมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษมาตรา67ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯอีกต่อไปและเมื่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา67ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา106ทวิซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา67ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา225ประกอบมาตรา195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน ทำให้โทษจำคุกของผู้ต้องหาลดลงตามกฎหมายยาเสพติดให้โทษ
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เดิมทุกฉบับ และให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวไม่มีระบุว่าเมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์อีกต่อไป แต่ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ดังนั้นขณะศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ อีกต่อไป แต่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติดใหม่ แม้กระทำผิดก่อนประกาศใช้กฎหมายใหม่ ศาลต้องใช้กฎหมายที่เบากว่า
ขณะจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 1.507 กรัม เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 6(7ทวิ) ต้องรับโทษตาม มาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ต่อมาเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เท่านั้น จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็น สารบริสุทธิ์เพียง 1.507 กรัม ไม่ถึง20 กรัม เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อีกต่อไปเมื่อ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทลงโทษกฎหมายเลือกตั้ง: การใช้บทกฎหมายที่มีผลต่อจำเลยมากที่สุด แม้กฎหมายจะมีการแก้ไข
บทกำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35 นั้นปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 84แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือมาตรา 91ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535มาตรา 22 ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 84 กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี แต่อัตราโทษตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ผู้กระทำความผิดมากกว่าตามมาตรา 84 เดิม ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ จึงต้องใช้มาตรา 91ที่แก้ไขเป็นบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้