พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่ากระแสไฟฟ้า: การพิจารณาฐานะผู้ประกอบการค้าของรัฐวิสาหกิจ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการกิจการสาธารณูปโภคตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวงฯ โจทก์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการดำเนินการตามวัตถุประสงค์จะได้รับเงินงบประมาณแผ่นดินเป็นเงินทุนตามมาตรา 12 (3) ด้วยหรือไม่ เป็นความสัมพันธ์ของโจทก์กับรัฐ ส่วนการที่ทรัพย์สินของโจทก์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามมาตรา 14 เป็นนิติสัมพันธ์ของโจทก์ฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่เหนือเอกชนเฉพาะการบังคับคดีเอากับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น สำหรับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการจัดหาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนของโจทก์นั้น เป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันโดยเฉพาะคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าตามวัตถุประสงค์ โจทก์จึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) เมื่อจำเลยผิดนัดซึ่งโจทก์อาจทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2540 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2540 คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้ชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้ผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าตามปกติ อันเป็นการเรียกร้องค่าการงานที่ได้ทำให้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2543 ย่อมเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าตามฟ้องจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6683/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของผู้ประกอบการค้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) สิทธิของโจทก์ในการเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่ค้างชำระจึงมีอายุความ 2 ปี
ตามสัญญาซื้อขายกระแสไฟฟ้า จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือน ค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระในเดือนพฤษภาคม2538 ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2538 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระเมื่อวันที่ 28มกราคม 2542 เกินกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดได้
ตามสัญญาซื้อขายกระแสไฟฟ้า จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือน ค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระในเดือนพฤษภาคม2538 ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2538 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระเมื่อวันที่ 28มกราคม 2542 เกินกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8340-8341/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องคดีค่ากระแสไฟฟ้า, ลักษณะหนี้, ดอกเบี้ยผิดนัด, และการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า
โจทก์และจำเลยต้องปรับปรุงสัญญาขุดขนดินและถ่านลิกไนต์ในประเด็นราคาค่าจ้าง เพราะมีการยกเลิกระบบภาษีการค้ามาเป็นระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงจำเป็นต้องหักภาษีการค้าซึ่งเดิมรวมอยู่ในราคาค่าจ้างออกจากราคาค่าจ้างเดิม เพื่อให้เหลือราคาค่าจ้างที่แท้จริง การที่โจทก์และจำเลยไม่ได้แก้ไขสัญญาในเรื่องการจ่ายกระแสไฟฟ้าเหมือนดังที่แก้ไขราคาค่าจ้างเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยยังคงยึดถือข้อตกลงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ คือมีหน้าที่ชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ในอัตรากิโลวัตต์- ชั่วโมงละ 1.20 บาท การที่โจทก์แยกคิดกระแสไฟฟ้าจากจำเลยโดยแยกเป็นค่ากระแสไฟฟ้ากิโลวัตต์ - ชั่วโมงละ 1.121495 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 0.078505 บาทนั้น ทำให้โจทก์ได้รับเงินค่ากระแสไฟฟ้าไม่ครบ โดยขาดหายไปเท่ากับจำนวนค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเลยจึงต้องชำระเงินจำนวนนี้แก่โจทก์
โจทก์ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่บุคคลทั่วไป ดังเช่นการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคการที่โจทก์จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยโดยคิดค่ากระแสไฟฟ้าในราคาที่ต่ำมาก แสดงว่าโจทก์ไม่ได้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยในเชิงการค้าหากแต่เป็นการจ่ายกระแสไฟฟ้าตามเงื่อนไขของสัญญาจ้างเหมาขุดขนดินและถ่านลิกไนต์ระหว่างโจทก์และจำเลย ซึ่งนอกจากโจทก์จะต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังต้องจัดหาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วส่งถึงบริเวณถังน้ำมันของเหมืองแม่เมาะให้แก่จำเลยตามสัญญาด้วยข้อตกลงเรื่องกระแสไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยตามเงื่อนไขของสัญญาจึงเป็นเรื่องเฉพาะกิจ ไม่ได้ทำเป็นปกติธุระเช่นจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไปถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ประกอบกับหนี้คดีนี้เกิดจากโจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนจำเลย จึงคิดค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยขาดตกบกพร่องเท่ากับจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อหนี้ส่วนนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30
ตามสัญญาจ้างเหมาขุดขนดินและถ่านลิกไนต์ โจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยเป็นงวด ตามงวดของการทำงานที่จำเลยส่งมอบให้แก่โจทก์ และจำเลยจะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์หลังจากได้รับแจ้งจากโจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน ถ้าผิดนัดจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เสียให้แก่ธนาคาร แต่หนี้ในคดีนี้ไม่ใช่ค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยตามงวดของการทำงานดังที่ระบุไว้ในสัญญา หากแต่เป็นหนี้ที่เกิดจากโจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนจำเลย ทำให้คิดค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยขาดจำนวนไป จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามอัตราที่โจทก์เสียให้แก่ธนาคารตามสัญญา แต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
โจทก์ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่บุคคลทั่วไป ดังเช่นการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคการที่โจทก์จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยโดยคิดค่ากระแสไฟฟ้าในราคาที่ต่ำมาก แสดงว่าโจทก์ไม่ได้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยในเชิงการค้าหากแต่เป็นการจ่ายกระแสไฟฟ้าตามเงื่อนไขของสัญญาจ้างเหมาขุดขนดินและถ่านลิกไนต์ระหว่างโจทก์และจำเลย ซึ่งนอกจากโจทก์จะต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังต้องจัดหาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วส่งถึงบริเวณถังน้ำมันของเหมืองแม่เมาะให้แก่จำเลยตามสัญญาด้วยข้อตกลงเรื่องกระแสไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยตามเงื่อนไขของสัญญาจึงเป็นเรื่องเฉพาะกิจ ไม่ได้ทำเป็นปกติธุระเช่นจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไปถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ประกอบกับหนี้คดีนี้เกิดจากโจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนจำเลย จึงคิดค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยขาดตกบกพร่องเท่ากับจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อหนี้ส่วนนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30
ตามสัญญาจ้างเหมาขุดขนดินและถ่านลิกไนต์ โจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยเป็นงวด ตามงวดของการทำงานที่จำเลยส่งมอบให้แก่โจทก์ และจำเลยจะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์หลังจากได้รับแจ้งจากโจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน ถ้าผิดนัดจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เสียให้แก่ธนาคาร แต่หนี้ในคดีนี้ไม่ใช่ค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยตามงวดของการทำงานดังที่ระบุไว้ในสัญญา หากแต่เป็นหนี้ที่เกิดจากโจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนจำเลย ทำให้คิดค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยขาดจำนวนไป จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามอัตราที่โจทก์เสียให้แก่ธนาคารตามสัญญา แต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9787/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่ากระแสไฟฟ้ากับหลักประกัน และหน้าที่ในการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าตามสัญญา
โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ให้ไว้ต่อจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิหักหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าจากพันธบัตรที่โจทก์วางเป็นประกันไว้ได้ การหักกลบลบหนี้ต้องเป็นกรณีที่บุคคลสองคนต่างมีหนี้ผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันและหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดชำระแล้วคดีนี้ได้ความว่าโจทก์เป็นหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าจำเลยฝ่ายเดียว ส่วนจำเลยหาได้เป็นหนี้โจทก์ไม่ เพราะโจทก์เพียงนำพันธบัตรไปวางเป็นหลักประกันการชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าแก่จำเลยเท่านั้นกรณีจึงไม่ต้องด้วยลักษณะการหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9787/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่ากระแสไฟฟ้ากับการวางประกันการชำระหนี้: สิทธิของจำเลยในการนำหลักประกันมาชำระหนี้แม้มีข้อต่อสู้
โจทก์ไม่ชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวงจำเลยจำเลยจึงมีสิทธินำมูลค่าพันธบัตรที่โจทก์วางประกันการชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้ามาชำระแทนตามที่ตกลงกันไว้ได้ แม้หนี้ค่ากระแสไฟฟ้ายังมีข้อต่อสู้อยู่ก็ตามเพราะมิใช่การหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตร 341เนื่องจากโจทก์เป็นหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าจำเลยเพียงฝ่ายเดียวส่วนจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์เพียงแต่นำพันธบัตรไปวางเป็นประกันการชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าแก่จำเลยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีค่ากระแสไฟฟ้า, ความสุจริตในการสู้คดี, และการใช้ดุลพินิจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเนื่องจากเครื่องวัดหน่วยกระแสไฟฟ้าแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าไม่ถูกต้องจึงต้องคำนวณหน่วยการใช้ไฟฟ้าใหม่โดยใช้ค่าตัวประกอบภาระไฟฟ้าในช่วงที่ใช้กระแสไฟฟ้าตามความเป็นจริงคำนวณได้เท่ากับ 0.7369 แล้วใช้ค่าตัวประกอบนี้เป็นฐานในการหาหน่วยกระแสไฟฟ้าที่ใช้ไปแต่ละเดือนคำฟ้องส่วนนี้แม้จะใช้ศัพท์ทางเทคนิคแต่เป็นการบรรยายวิธีคำนวณตามหลักวิชาการไม่ถือว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการใช้ไฟฟ้าของจำเลยที่1หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่ากระแสไฟฟ้าแล้วจำเลยที่ 3 ยอมชำระแทนทันทีไม่มีข้อโต้แย้งถึงแม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับใดแต่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันเองย่อมจะตรวจสอบสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับและให้การต่อสู้คดีได้อยู่แล้วคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาครบถ้วนแล้วไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระค่ากระแสไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 รวม 3 ฉบับฉบับที่ 1 ค้ำประกันวงเงินไม่เกิน 260,000 บาทมีผลตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2530 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 ฉบับที่ 2 ขยายเวลาอีก 1 ปีไปจนถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 และฉบับที่ 3 วงเงินไม่เกิน 400,000 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2532 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 แม้หนังสือสัญญาสองฉบับหลังจะสิ้นสุดในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532พร้อมกันแต่ออกจากธนาคารเดียวกันข้อความฉบับที่ 3 ระบุว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับผิดชำระค่ากระแสไฟฟ้าแทนในจำนวนไม่เกิน 400,000 บาทอันเป็นการจำกัดวงเงินที่ต้องรับผิดไว้ไม่มีข้อความตกลงยอมรับผิดในวงเงินเพิ่มขึ้นจากฉบับอื่นอีกจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในต้นเงินเพียง 400,000 บาท เท่านั้น โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภคโจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 (1) เดิม แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดเพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าบกพร่องไปมิใช่ฟ้องเรียกหนี้อันเกิดจากละเมิดจึงฟ้องร้องได้ภายใน 10 ปี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงเมื่อโจทก์ชนะคดีบางข้อและแพ้คดีบางข้อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับแก่ทุกฝ่ายจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6971/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้า: การต่อสายไฟฟ้าผิดพลาดไม่ใช่ละเมิด แต่เป็นหนี้ค่าไฟฟ้า
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้า โดยอ้างว่า การต่อสายไฟฟ้าผิดพลาดเป็นเหตุให้เครื่องวัดไฟฟ้าแสดง หน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าความเป็นจริง จึงเรียกส่วนที่ยัง ขาดอยู่ ไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยว่าละเมิดต่อโจทก์และไม่มี กฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ อายุความทั่วไปบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6971/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากการติดตั้งมิเตอร์ผิดพลาด ใช้หลักอายุความทั่วไป 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าโดยอ้างว่าการต่อสายไฟฟ้าผิดพลาดเป็นเหตุให้เครื่องวัดไฟฟ้าแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าความเป็นจริงจึงเรียกส่วนที่ยังขาดอยู่ไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยว่าละเมิดต่อโจทก์และไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมซึ่งมีอายุความ10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ากระแสไฟฟ้า: ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องชำระตามปริมาณการใช้จริง แม้เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่
พนักงานของโจทก์ต่อสายไฟฟ้าขาเข้าและขาออกสลับกันเป็นเหตุให้มาตรวัดกระแสไฟฟ้าของจำเลยหมุนช้าไปกว่าปกติร้อยละ 65.5 แม้การต่อสายไฟฟ้าดังกล่าวจะเกิดจากการกระทำผิดพลาดของพนักงานโจทก์จำเลยมิได้มีส่วนผิดด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์เต็มจำนวน จำเลยจึงเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์อยู่ ต้องรับผิดชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้โจทก์เต็มจำนวน โจทก์ได้ติดตั้งมาตรวัดกระแสไฟฟ้าให้จำเลยเพื่อใช้วัดกระแสไฟฟ้าประกอบการคิดค่ากระแสไฟฟ้า แสดงว่าโจทก์คิดค่ากระแสไฟฟ้าตามหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าตามมาตราวัดกระแสไฟฟ้าและอัตรากระแสไฟฟ้าที่จำเลยสามารถตรวจสอบดูได้ มิใช่ว่าโจทก์จะคิดค่ากระแสไฟฟ้ามากน้อยเพียงใดก็ได้ตามความพอใจของโจทก์ข้อสัญญาที่ว่าจำเลยจะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่โจทก์เรียกเก็บภายในเวลาที่กำหนดนี้จึงมีความหมายเพียงว่า เมื่อโจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าแล้ว จำเลยต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้านั้นภายในกำหนดมิใช่ข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าตามความพอใจไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, อายุความค่ากระแสไฟฟ้า, และการรับฟังพยานหลักฐานจากเอกสาร
โจทก์ส่งสำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของโจทก์ต่อศาล แต่จำเลยมิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วศาลรับฟังได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 โจทก์ฟ้องคดีนี้โดย ว. ผู้ว่าการของโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทน การที่โจทก์นำสืบว่าว. เป็นผู้ว่าการของโจทก์ตามสำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้ว่าการและโจทก์โดย ว.ทำหนังสือมอบอำนาจให้ส. ดำเนินคดีแทน ตามหนังสือมอบอำนาจที่ส่งต่อศาล ย่อมแสดงว่า ว. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์อยู่ในตัวเพราะการดำเนินกิจการของนิติบุคคลย่อมปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลการที่ศาลอุทธรณ์นำมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 ที่บัญญัติให้ผู้ว่าการทำการแทนโจทก์มากล่าวเป็นเพียงระบุให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น มิใช่รับฟังข้อเท็จจริงนอกจากที่โจทก์นำสืบ โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์ไปถึงหน่วยเลขที่ 5636 แต่จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าเพียงหน่วยเลขที่ 3717จึงขาดอยู่อีก 1919 หน่วย เป็นเงิน 2,965.43 บาท ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับแล้ว และโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าเมื่อเดือนเมษายน 2526 โจทก์ได้ตรวจพบว่า จ. พนักงานของโจทก์ละทิ้งหน้าที่ไม่ไปจดหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าของลูกค้าซึ่งรวมทั้งจำเลยด้วย โจทก์ได้ส่งพนักงานคนใหม่ไปจดหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าที่เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าบ้านจำเลย จึงพบว่าจำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าขาดไป อันเป็นการแสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนการที่จำเลยค้างชำระค่ากระแสไฟฟ้าตั้งแต่เมื่อใดเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าอยู่ที่หน่วยใด จำเลยค้างชำระเดือนละเท่าใดคิดอัตราค่ากระแสไฟฟ้าอย่างใด เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ. 2503 มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นการสาธารณูปโภค จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้า เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164