พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าทรัพย์ - ลักษณะของสัญญา การโอนสิทธิ และการพิจารณาค่าก่อสร้าง
ตึกแถวพิพาทมีมาแต่เดิมแล้ว อ. ไม่ได้ช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์แม้ อ. ได้จ่ายเงินให้ ส. ซึ่งเป็นผู้เช่าจำนวน 1,400,000 บาท ก็ดีหรือผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกเก็บเงินค่าดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจาก ส. ก็ดี ก็เป็นเพียงเงินที่จ่ายให้แก่กันเพื่อรับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทจากบุคคลที่มีสิทธิก่อนตน คือจาก ส. มาเป็น อ. หรือจากผู้รับเหมาก่อสร้างมาเป็น ส. เท่านั้น หาใช่เงินค่าก่อสร้างไม่ จึงไม่ทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ อ. มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าทรัพย์ธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าทรัพย์: การจ่ายเงินไม่ใช่ค่าก่อสร้าง แต่เป็นการโอนสิทธิการเช่า
ตึกแถวพิพาทมีมาแต่เดิมแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาให้ อ. เช่าตึกแถวพิพาทดังกล่าวพร้อมที่ดิน อ. ไม่ได้ช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์ ดังนี้ แม้ อ. ได้จ่ายเงินให้ ส. ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ขายตึกแถวพิพาทและสิทธิการเช่าที่ดินให้แก่ อ. เป็นเงินจำนวน 1,400,000 บาทก็ดี หรือ บ. ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกเก็บเงินค่าดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจาก ส. และ ส. จ่ายเงินค่าก่อสร้างให้ บ. ก็ดี ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงเงินที่จ่ายให้แก่กันเพื่อรับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทจากบุคคลที่มีสิทธิก่อนตน คือจาก ส. มาเป็น อ. หรือจาก บ. มาเป็น ส. เท่านั้น หาใช่เงินค่าก่อสร้างไม่ และไม่ทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ อ. มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าทรัพย์ธรรมดาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างครอบคลุมถึงเงินทดรองค่าวัสดุ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยลอกคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาทั้งหมดชนิดคำต่อคำ และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ถูกศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเสียแล้ว โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไรซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยเป็นประเด็นแต่ละเรื่องแต่ละราวไว้ชัดแจ้งแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้รับเงินทดรองจ่ายจากโจทก์แล้วเป็นเงิน 35,894,081.80 บาท และจำเลยส่งมอบวัสดุก่อสร้างให้แก่โจทก์แล้วเป็นเงิน 10,786,461 บาท ซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และนำสืบว่าจำเลยได้ส่งมอบวัสดุก่อสร้างมากกว่าจำนวนดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้องว่า ได้รับวัสดุเมื่อใด จำนวนเท่าใดมีการส่งมอบเมื่อใด จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 มีความประสงค์จะรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท สาระสำคัญของหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงอยู่ที่ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 รับเงินล่วงหน้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินทดรองค่าวัสดุก่อสร้างบ้านและก่อสร้างงานสาธารณูปโภคแก่จำเลยที่ 1 รวมเป็นเงิน35,894,081.80 บาท และการรับเงินล่วงหน้าดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้าซึ่งหมายความถึงเงินทดรองที่จำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และกรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสาร อันจักต้องห้ามมิให้โจทก์นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่า จำเลยที่ 4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ ป.พ.พ.มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4 และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์จากการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 4
จำเลยที่1ทำสัญญาจ้างจำเลยที่4ก่อสร้างอาคารและจำเลยที่4ทำสัญญากู้เงินโจทก์โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์และโจทก์กับจำเลยที่4มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่2และที่3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้างจึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่4ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคหนึ่งและมาตรา306บัญญัติไว้แล้วสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่4ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้นส่วนจำเลยที่4ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยที่1จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่4เมื่อจำเลยที่2และที่3ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที1ที่2และที่3ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินและอาคารพร้อมเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้าง ไม่ถือเป็นบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์ได้ทำสัญญาให้บริการจัดหาศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัทท. ตามบันทึกช่วยจำซึ่งแม้ตามข้อ 3.1 จะมีข้อความระบุว่า "ระยะเวลาของข้อตกลงนี้สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการผ่อนชำระค่าก่อสร้างและส่วนของการเช่าที่ดินในเวลา 4 ปี" ซึ่งทำให้เห็นว่าโจทก์ได้รับเงินในวันทำบันทึกช่วยจำในส่วนค่าก่อสร้าง อาคารก็จริง แต่เมื่อนำมาพิจารณาประกอบข้อความ ที่ระบุไว้ในบันทึกช่วยจำข้อ 3.2 วรรคสุดท้าย ที่ว่า "หลังจากผ่อนชำระค่าก่อสร้างครบ 4 ปี แล้ว ค่าเช่าจะเปลี่ยนเป็น 50,000 บาท ต่อเดือน และค่าเช่านี้จะปรับเพิ่ม 5% ทุก ๆ 12 เดือน" แล้วจะเห็นได้ว่าหลังจากก่อสร้างอาคารศูนย์ฝึกอบรมลงบนที่ดินที่ได้ทำการเช่า จากโจทก์เสร็จแล้ว ตัวอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์ทำการก่อสร้างก็มิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทท. แต่อย่างใดเพราะบริษัทดังกล่าวยังต้องเช่าจากโจทก์อยู่ต่อไป ดังจะเห็นได้จากที่บริษัทดังกล่าวต้องเสียค่าเช่าอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์สร้างเสร็จพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มทุกปีลักษณะเช่นนี้จึงเห็นได้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าที่ดินและอาคารศูนย์ฝึกอบรมโดยบริษัทดังกล่าวต้องออกเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า เมื่อคำว่า "บริการ" ประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1(10) ให้หมายความถึงการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า การให้เช่าทรัพย์สินจึงถือเป็นการให้บริการอย่างหนึ่ง แต่เป็นการให้บริการที่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 81(1)(ต)ได้บัญญัติให้ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและเป็นกิจการที่ไม่มีสิทธิขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 81/3 ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำที่โจทก์ได้ทำไว้กับบริษัทท.และทำให้โจทก์ไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีและนำส่งภาษีขายเงินค่าก่อสร้าง ตามใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกิจการหลายประเภทได้แก่ การซ่อมแซมสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจและบริการส่วนบุคคลอื่น ๆแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทัน ภายใน 3 วันทำการนั้นเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ ได้รับตามบันทึกช่วยจำ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งตามบัญชีรายงานภาษีขายของเดือนเมษายน 2537 ก็ไม่ปรากฏว่าภาษีขายดังกล่าวเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าวจึงฟังไม่ได้ว่าภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทันภายใน 3 วันทำการเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าว แต่ฟังได้ว่าเป็นภาษีขายของค่าบริการอื่นซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ลงรายงานภาษีขายภายใน 3 วันทำการ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ที่โจทก์นำสืบถึงเหตุที่ลงรายงานภาษีขายดังกล่าวไม่ทันภายใน 3 วันทำการ ว่าเป็นเพราะพนักงานที่มีหน้าที่ลงรายงาน มีเพียงคนเดียว แต่ลาป่วยเป็นเวลา 5 วัน ไม่อาจลงรายการได้ จึงลงรายการต่อท้ายภายในเดือนเมษายน 2537 นั้น ไม่ถือเป็นข้อแก้ตัวให้โจทก์พ้นความรับผิดที่จะต้องเสีย เบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(10) เพราะเป็น เรื่องการบริหารงานภายในของโจทก์เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าก่อสร้าง: เริ่มนับจากวันส่งมอบงานตามสัญญา แม้ไม่มีกำหนดจ่ายเงินที่แน่นอน
แม้ตามสัญญาจ้างเหมาจะได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและหลักเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างไว้ว่าวิธีการจ่ายค่าจ้างให้ถือเอาความแล้วเสร็จของงานจ้างเหมาแต่ละชุดเป็นเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างแต่ละงวด โดยให้คิดเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จก็ตาม แต่ในการจ่ายค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ในแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนและจำนวนเงินที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ทางฝ่ายจำเลยซึ่งมีทั้งขอผัดชำระและมีการหักไว้บางส่วน โดยอ้างว่าจะจ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว แสดงว่าโจทก์กับจำเลยต่างมิได้ยึดถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าจ้างแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ แต่ยึดถือเมื่องานเสร็จตามโครงการแล้วจะต้องชำระให้หมดสิ้น โจทก์ได้ทำงานเสร็จทั้งโครงการและส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยรับไปในวันที่ 27 เมษายน 2532 อายุความเรียกค่าก่อสร้างและค่าจ้างจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างของโจทก์ เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 26 เมษายน 2534 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเรียกค่าก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงานโครงการทั้งหมด ไม่ใช่รายงวด
แม้ตามสัญญาจ้างเหมาจะได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและหลักเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างไว้ว่าวิธีการจ่ายค่าจ้างให้ถือเอาความแล้วเสร็จของงานจ้างเหมาแต่ละชุดเป็นเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างแต่ละงวด โดยให้คิดเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จก็ตรา แต่ในการจ่ายค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ในแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนและจำนวนเงินที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ทางฝ่ายจำเลยซึ่งมีทั้งขอผัดชำระและมีการหักไว้บางส่วน โดยอ้างว่าจะจ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว แสดงว่าโจทก์กับจำเลยต่างมิได้ยึดถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าจ้างแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ แต่ยึดถือเมื่องานเสร็จตามโครงการแล้วจะต้องชำระให้หมดสิ้น โจทก์ได้ทำงานเสร็จทั้งโครงการและส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยรับไปในวันที่ 27 เมษายน 2532 อายุความเรียกค่าก่อสร้างและค่าจ้างจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างของโจทก์ เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 26 เมษายน 2534 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงานทั้งหมด ไม่ใช่รายงวด แม้สัญญาระบุการชำระรายงวด
แม้ตามสัญญาจ้างเหมาจะได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและหลักเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างไว้ว่าวิธีการจ่ายค่าจ้างให้ถือเอาความแล้วเสร็จของงานจ้างเหมาแต่ละชุดเป็นเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างแต่ละงวดโดยให้คิดเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จก็ตราแต่ในการจ่ายค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ในแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนและจำนวนเงินที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ทางฝ่ายจำเลยซึ่งมีทั้งขอผัดชำระและมีการหักไว้บางส่วนโดยอ้างว่าจะจ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้วแสดงว่าโจทก์กับจำเลยต่างมิได้ยึดถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าจ้างแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญแต่ยึดถือเมื่องานเสร็จตามโครงการแล้วจะต้องชำระให้หมดสิ้นโจทก์ได้ทำงานเสร็จทั้งโครงการและส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยรับไปในวันที่27เมษายน2532อายุความเรียกค่าก่อสร้างและค่าจ้างจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างของโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่26เมษายน2534เป็นระยะเวลาไม่เกิน2ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ