คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าขาดแรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน: อำนาจฟ้องของผู้รับแรงงาน
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 445 และ 1567ย่อมแสดงให้เห็นว่า หากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้มอบหน้าที่ให้บุตรทำการงานอันใดอันหนึ่งในครัวเรือนแล้วปรากฏว่ามีบุคคลใดทำละเมิดต่อบุตรซึ่งมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้แก่บิดามารดาจนถึงแก่ความตาย ผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่บิดามารดาที่ต้องขาดแรงงานอันนั้นด้วย และการฟ้องเรียกค่าขาดแรงงานดังกล่าวมิใช่การฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะตามมาตรา 443 วรรคสาม ซึ่งเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตรานี้มีความมุ่งหมายว่าหากมีการทำละเมิดจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย บิดาหรือมารดาของผู้ตายก็ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะได้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ตายจะมีรายได้หรือได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาหรือไม่
ขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่โจทก์ทั้งสองได้ให้ผู้ตายช่วยดำเนินกิจการของบริษัท ว. ที่โจทก์ทั้งสองได้จัดตั้งขึ้นและโจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ดังนี้ บริษัท ว.เป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์ทั้งสองการที่ผู้ตายช่วยดำเนินกิจการของบริษัท ว.จะถือว่าผู้ตายช่วยดำเนินกิจการของโจทก์ทั้งสองหาได้ไม่ และเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายโจทก์ทั้งสองต้องจ้างบุคคลภายนอกมาทำงานแทนผู้ตาย ก็เป็นการจ้างมาทำงานให้แก่บริษัท ว.ดังนั้น หากเป็นกรณีที่ต้องขาดแรงงาน บริษัท ว.ก็คือบุคคลที่ต้องขาดแรงงานหาใช่โจทก์ทั้งสองไม่ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าขาดแรงงานจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงาน: อำนาจฟ้องของบิดามารดาเมื่อบุตรช่วยเหลือการดำเนินงานบริษัท
ค่าขาดแรงงานนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445ประกอบมาตรา 1567(1),(3) หากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้มอบหน้าที่ให้บุตรทำการงานอันใดอันหนึ่งในครัวเรือนแล้วปรากฏว่ามีบุคคลใดทำละเมิดต่อบุตรซึ่งมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้แก่บิดามารดาจนถึงแก่ความตาย ผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่บิดามารดาที่ต้องขาดแรงงานอันนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงาน: ความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุตรกับบิดามารดา และการสูญเสียแรงงานในครัวเรือน
ค่าขาดแรงงานนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา445ประกอบมาตรา1567(1),(3)หากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้มอบหน้าที่ให้บุตรทำการงานอันใดอันหนึ่งในครัวเรือนแล้วปรากฏว่ามีบุคคลใดทำละเมิดต่อบุตรซึ่งมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้แก่บิดามารดาจนถึงแก่ความตายผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่บิดามารดาที่ต้องขาดแรงงานอันนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดแรงงานเมื่อบุตรเสียชีวิต: ความแตกต่างระหว่างค่าขาดแรงงานในครัวเรือนและค่าอุปการะ
ค่าขาดแรงงานนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา445ประกอบมาตรา1567(1),(3)หากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้มอบหน้าที่ให้บุตรทำการงานอันใดอันหนึ่งในครัวเรือนแล้วปรากฏว่ามีบุคคลใดทำละเมิดต่อบุตรซึ่งมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้แก่บิดามารดาจนถึงแก่ความตายผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่บิดามารดาที่ต้องขาดแรงงานอันนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงานกรณีบุตรช่วยเหลือการงานของบิดามารดา: อำนาจฟ้องและบุคคลที่ขาดแรงงาน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา445และมาตรา1567แสดงให้เห็นว่าหากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้มอบหน้าที่ให้บุตรทำการงานอันใดอันหนึ่งในครัวเรือนแล้วปรากฏว่ามีบุคคลใดทำละเมิดต่อบุตรซึ่งมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้แก่บิดามารดาจนถึงแก่ความตายผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่บิดามารดาที่ต้องขาดแรงงานนั้นด้วยและการฟ้องเรียกค่าขาดแรงงานดังกล่าวมิใช่การฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะตามมาตรา443วรรคสาม ขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาผู้ตายได้ให้ผู้ตายช่วยดำเนินกิจการของบริษัทว.ที่โจทก์ทั้งสองได้จัดตั้งขึ้นและโจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทแต่บริษัทว. เป็นนิติบุคคลต่างหากการที่ผู้ตายช่วยดำเนินกิจการของบริษัทว. จะถือว่าผู้ตายช่วยดำเนินกิจการของโจทก์ทั้งสองหาได้ไม่และเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายโจทก์ทั้งสองต้องจ้างบุคคลภายนอกมาทำงานแทนผู้ตายก็เป็นการจ้างมาทำงานให้แก่บริษัทว.หากเป็นกรณีที่ต้องขาดแรงงานบริษัทว. ก็คือบุคคลที่ต้องขาดแรงงานหาใช่โจทก์ทั้งสองไม่โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าขาดแรงงานจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทิ้งฟ้องฎีกาจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และสิทธิเรียกร้องค่าขาดแรงงานครัวเรือนที่ซ้ำซ้อนกับคดีอื่น
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่2และให้โจทก์ที่2นำส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยภายใน5วันไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน15วันนับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องฎีกา ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ที่2ให้นำฎีกามายื่นลงชื่อทราบคำสั่งแล้วถือว่าโจทก์ที่2ได้ทราบคำสั่งแล้วต่อมาพนักงานเดินหมายนำหมายส่งสำเนาฎีกาไปส่งให้แก่จำเลยที่1แต่ส่งไม่ได้โจทก์ที่2ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน15วันจึงเป็นการ ทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2) ค่าขาดแรงงานในครอบครัวที่ภริยาโจทก์ที่1ถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำละเมิดของจำเลยทั้งสามเมื่อโจทก์ที่2ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่1กับผู้ตายอาศัยอยู่บ้านเดียวกับโจทก์ที่1การที่โจทก์ที่1จ้างบุคคลอื่นมาทำงานแทนผู้ตายโจทก์ที่2ย่อมได้รับประโยชน์จากการทำงานของบุคคลอื่นนี้ด้วยทั้งโจทก์ที่2ก็มิได้จ้างบุคคลอื่นมาช่วยทำงานอีกเมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ที่1แล้วความเสียหายของโจทก์ที่2ในส่วนนี้ย่อมหมดไปโจทก์ที่2ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงานในครอบครัวเป็นค่าเสียหายจากการขาดไร้อุปการะ, ค่าใช้จ่ายงานศพจำเป็น, ดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่ง ก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับ ป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานในครอบครัวได้ด้วย
ค่าอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดแรงงานจากผู้รับประกันภัยและผู้กระทำละเมิด
ประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยเมื่อเห็นสมควรศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาเหล่านั้นไปได้โดยไม่ต้องย้อนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใหม่ ข. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1และที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่ ส.ขับทำให้ส.ได้รับบาดเจ็บต้องพักรักษาตัวไม่สามารถไปประกอบหน้าที่การงานให้โจทก์ได้ตามปกติ การกระทำละเมิดของ ช. ดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากแรงงานของ ส. ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ ส. ในระหว่างนั้น โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 ประกอบด้วยมาตรา 425 และ มาตรา 887 แม้จำเลยที่ 3 จะจ่ายค่าขาดประโยชน์แรงงานให้ ส. ไปแล้วและระหว่างที่ ส.พักรักษาตัวเนื่องจากถูกรถชนส. มีสิทธิลาป่วยได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ส.ที่จะฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากแรงงานจากจำเลยอีก โจทก์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนไว้ จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 โดยตรง เกิดเหตุละเมิดเมื่อเวลา 20 นาฬิกาเศษของวันศุกร์ ที่ 22กรกฎาคม 2526 ซึ่งเป็นช่วงนอกเวลาราชการ ที่จังหวัดนครสวรรค์ส. ได้รับบาดเจ็บมากคงไม่สามารถไปรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาทราบได้ในวันนั้นจึงเชื่อว่าโจทก์ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพมหานครคงไม่รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยที่ 2ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันนั้น อย่างเร็วที่สุดโจทก์จะรู้ในวันเปิดทำการคือวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2526 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์มิใช่ผู้ต้องเสียหายโดยตรง แต่เป็นเพียงนายจ้างที่ต้องขาดแรงงานไปเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่เวลาที่ทำละเมิดและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงานจากพนักงานเสียชีวิต: สัญญาจ้างสิ้นสุด, นายจ้างไม่ต้องชดใช้
การที่ลูกจ้างของโจทก์ต้องเสียชีวิต เพราะการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลยนั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ต้องขาดแรงงาน เพราะเมื่อลูกจ้างโจทก์เสียชีวิต การจ้างแรงงานย่อมเป็นอันเลิกกัน โจทก์ไม่ได้แรงงาน แต่ขณะเดียวกันโจทก์ก็ไม่ต้องให้สินจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงานเมื่อลูกจ้างเสียชีวิต: สัญญาจ้างสิ้นสุด นายจ้างไม่ต้องชดใช้
การที่ลูกจ้างของโจทก์ต้องเสียชีวิต เพราะการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลยนั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ต้องขาดแรงงาน เพราะเมื่อลูกจ้างโจทก์เสียชีวิต การจ้างแรงงานย่อมเป็นอันเลิกกัน โจทก์ไม่ได้แรงงานแต่ขณะเดียวกันโจทก์ก็ไม่ต้องให้สินจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย
of 2