คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าจ้างล่วงหน้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7869/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันการชำระเงินค่าจ้างล่วงหน้าเกินกว่าวงเงินค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ยอมค้ำประกันการจ่ายเงินล่วงหน้าของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าเต็มจำนวนหรือบางส่วนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายคืนเงินดังกล่าว จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นแทนในวงเงิน 500,000 บาท จึงเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระเงินล่วงหน้าคืนเท่านั้น มิใช่เรื่องค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างแต่คิดคำนวณเนื้องานที่ทำไปแล้วเป็นเงิน 683,077 บาท ดังนั้น เมื่อผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไปคำนวณเป็นเงินเกินกว่า 500,000 บาท จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวจึงพ้นจากความรับผิด
แม้ตามสัญญาจะกำหนดไว้ว่า โจทก์อาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเมื่อใดก็ได้ว่า วงเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาได้หักลดด้วยจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้จ่ายชดใช้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ไปแล้ว และในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างโจทก์มิได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังจำเลยที่ 2 ว่าวงเงิน 500,000 บาท ได้หักด้วยจำนวนเงินตามผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกได้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับล่วงหน้าไปแล้วและผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำได้ไว้ในฟ้องก็ถือว่าเป็นการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าและการส่งเงินสมทบประกันสังคมเพื่อสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร
แม้นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ล่วงหน้าก่อนวันสิ้นเดือนอันเป็นกำหนดจ่ายตามปกติของนายจ้างก็ตาม แต่ก็เพื่อความสะดวกที่โจทก์จะนำเงินไปใช้จ่ายในระหว่างคลอดบุตรซึ่งไม่ปรากฏว่ามีเจตนาทุจริตแต่อย่างใด เมื่อมีการจ่ายค่าจ้างนายจ้างก็มีหน้าที่ต้องหักค่าจ้างส่งเป็นเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคม และถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันที่นายจ้างหักค่าจ้าง เมื่อนับรวมกับเงินสมทบที่ส่งไปก่อนหน้านั้นแล้ว โจทก์ได้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบเจ็ดเดือนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองการชำระเงินไม่ถือเป็นการยอมรับว่าจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินงานที่เหลือต่อไป โดยชำระค่าจ้างล่วงหน้าจำนวน 500,000 บาท จำเลยให้การว่าไม่เคยตกลงว่าจ้างโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ ฟ้องโจทก์โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยรับว่าชำระค่าจ้างล่วงหน้าจำนวน500,000 บาท แก่โจทก์ คงถือได้เพียงว่าจำเลยรับว่าจำเลยชำระเงิน 500,000บาท แก่โจทก์เท่านั้น แต่ไม่ใช่ค่าจ้างล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังชี้สองสถาน, การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, และการคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้า
คำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขจากคำว่า 'เงินมัดจำ' เป็น'เงินที่จ่ายล่วงหน้า' เป็นถ้อยคำที่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายขึ้นแตกต่างกัน ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้โจทก์แก้
ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะดำเนินการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้วให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนี้เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในระหว่างพิจารณาเว้นแต่คู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านไว้ คู่ความที่โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
ประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์ได้ขยายเวลาให้แก่จำเลยนั้นไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งชี้สองสถานของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับประเด็นข้อนี้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อกำหนดประเด็นดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำในการจ้างทำของคืนแล้วขอแก้ฟ้องอ้างว่าเป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้าซึ่งศาลไม่อนุญาตแม้ขอใหม่ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้า ก็พิพากษาให้คืนได้ไม่เป็นการนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังชี้สองสถาน, การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, และการคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้า
คำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขจากคำว่า 'เงินมัดจำ' เป็น'เงินที่จ่ายล่วงหน้า' เป็นถ้อยคำที่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายขึ้นแตกต่างกัน ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้โจทก์แก้
ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะดำเนินการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้วให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนี้เป็นคำสั่งในระหว่าง พิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในระหว่างพิจารณา เว้นแต่คู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านไว้ คู่ความที่โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่ วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
ประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์ได้ขยายเวลาให้แก่จำเลยนั้นไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งชี้สองสถานของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับประเด็นข้อนี้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อกำหนดประเด็นดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำในการจ้างทำของคืนแล้วขอแก้ฟ้องอ้างว่าเป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้าซึ่งศาลไม่อนุญาตแม้ขอใหม่ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้า ก็พิพากษาให้คืนได้ไม่เป็นการนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าจากค่าจ้างล่วงหน้า: ประเมินถูกต้องเมื่อยังไม่ได้คืนเงิน แต่ไม่มีผลบังคับเมื่อคืนเงินแล้ว
โจทก์ได้รับเงินค่าจ้างล่วงหน้าจากกรมทางหลวงในการรับเหมาสร้างทาง และโจทก์มีรายได้อย่างอื่นอีก แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีการค้า เจ้าพนักงานประเมินจึงแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ โจทก์อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงวินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับลงบางส่วน ปรากฏว่า หลังจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ตกลงคืนเงินค้าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวงไป ดังนี้ ขณะที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีการค้านั้น โจทก์กับกรมทางหลวงยังไม่ได้เลิกสัญญากัน และโจทก์ยังไม่ตกลงคืนค่าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวง เงินค่าจ้างล่วงหน้าดังกล่าวยังเป็นรายรับของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีการค้า จึงเป็นการประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจะพิพากษาให้เพิกถอนการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ได้ แต่ต่อมาเมื่อโจทก์และกรมทางหลวงตกลงเลิกสัญญาจ้างเหมาสร้างทางกัน และโจทก์ตกลงคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวงแล้ว โจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้าดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้าจึงไม่มีผลบังคับให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าต่อไปอีก ศาลย่อมพิพากษาว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้ารวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เงินเพิ่ม และดอกเบี้ยปรับ ไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าจากเงินค่าจ้างล่วงหน้า: ประเมินชอบธรรมเมื่อยังไม่เลิกสัญญา แต่ไม่มีผลบังคับหลังคืนเงินแล้ว
โจทก์ได้รับเงินค่าจ้างล่วงหน้าจากกรมทางหลวงในการรับเหมาก่อสร้างทางและโจทก์มีรายได้อย่างอื่นอีก แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีการค้าเจ้าพนักงานประเมินจึงแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล เงินเพิ่มและเบี้ยปรับ โจทก์อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงวินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับลงบางส่วนปรากฏว่าหลังจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ตกลงคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวงไป ดังนี้ ขณะที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีการค้านั้น โจทก์กับกรมทางหลวงยังไม่ได้เลิกสัญญากัน และโจทก์ยังไม่ได้ตกลงคืนค่าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวง เงินค่าจ้างล่วงหน้าดังกล่าวยังเป็นรายรับของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีการค้าจึงเป็นการประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจะพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ได้ แต่ต่อมาเมื่อโจทก์และกรมทางหลวงตกลงเลิกสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างทางกัน และโจทก์ตกลงคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวงแล้ว โจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้าดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้าจึงไม่มีผลบังคับให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าต่อไปอีก ศาลย่อมพิพากษาว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้ารวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ ไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาที่ไม่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา, การคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้า, ความรับผิดของห้างหุ้นส่วน
โจทก์ตกลงจ้างจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้มีการรับอนุญาตจากเทศบาล ถ้าหากจำเลยทำการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตเสียก่อน ข้อสัญญานี้ก็หาคุ้มครองให้จำเลยพ้นความผิดในฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ไม่ เหตุนี้ การที่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างตามกำหนด เพราะมิได้รับอนุญาตจากเทศบาล โจทก์จะอ้างว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะไม่ชำระหนี้ตามเวลากำหนดหาได้ไม่ เพราะตามข้อกำหนดมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่จำเลยต้องจัดให้ได้รับอนุญาตเพื่อทำการก่อสร้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไม่ก่อสร้างตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่ทำการก่อสร้าง เพราะไม่มีใบอนุญาต จำเลยจะเอาเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ไม่ได้ ต้องคืนให้โจทก์ผู้ว่าจ้าง แต่จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตั้งแต่วันฟ้อง มิใช่ตั้งแต่วันที่รับเงินนั้นไปจากโจทก์ เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยทำผิดสัญญา อันโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาล จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่ พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16349/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างล่วงหน้า สัญญาจ้างทำของ บอกเลิกสัญญาแล้วคืนเงินได้ อายุความ 2 ปี
โจทก์ฎีกาว่า เงินจำนวน 344,250 บาท ที่จำเลยทั้งสองรับไปจากโจทก์เป็นเงินค่าจ้างล่วงหน้าและจำเลยทั้งสองจะต้องคืนแก่โจทก์หรือไม่ สัญญาซื้อขายอุปกรณ์ไฟฟ้าและสัญญาจ้างเหมาค่าแรงงานติดตั้งระบบไฟฟ้า แบ่งการทำงานและการชำระเงินเป็น 6 งวด แต่เงินจำนวน 344,250 บาท ที่จำเลยทั้งสองรับไปจากโจทก์นั้น เป็นการรับไปตามสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า ข้อ 1 และสัญญาจ้างเหมาค่าแรงงานติดตั้งระบบไฟฟ้างวดที่ 1 ซึ่งเงินงวดนี้ไม่ได้ระบุถึงเนื้องานว่าจำเลยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จเพียงใด ซึ่งต่างจากการดำเนินการในงวดงานที่ 2 ถึงงวดที่ 6 เพียงแต่มีข้อความว่าชำระเงินจำนวนร้อยละ 10 ของราคาวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงทั้งหมด ในวันเซ็นสัญญาหรือเมื่อผู้ซื้อออกหนังสือสัญญาว่าจะจ้างให้แก่ผู้ขาย และผู้ขายจะนำหนังสือค้ำประกันธนาคารจำนวนเงินเท่ากันมาเป็นหลักค้ำประกัน อันเป็นการสอดคล้องกับเนื้อความในข้อสัญญาที่ว่าโจทก์ได้จ่ายให้แก่จำเลยในวันลงนามสัญญา เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์จ่ายให้แก่จำเลยในวันเริ่มลงนามสัญญาโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลการดำเนินงานที่จำเลยรับจ้างทำงานให้แก่โจทก์ เงินจำนวน 344,250 บาท ที่จำเลยทั้งสองรับไปจากโจทก์จึงเป็นเงินค่าจ้างล่วงหน้า
ตามสัญญาจ้างเหมาค่าแรงงาน งวดที่ 2 จำเลยจะต้องดำเนินการสกัดแนวท่อ ฝังบล็อก วางท่อ ร้อยสายไฟฟ้า ต่อสาย ระบบไฟฟ้า ระบบโทรศัพท์และระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ พร้อมทั้งปิดฝากล่องเชื่อมสายไฟให้เรียบร้อย ทั้งจะต้องจัดทำระบบสายใต้ดินให้แล้วเสร็จร้อยละ 90 ของงาน จำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างพยานโจทก์ จึงรับฟังได้ว่าจำเลยมิได้ส่งมอบงานและดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามสัญญางวดที่ 2 โจทก์จึงชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว สัญญาย่อมเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยทั้งสองจำต้องให้ฝ่ายโจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โดยต้องใช้เงินค่าจ้างล่วงหน้าที่รับไปคืนแก่โจทก์
สัญญาทั้งสองฉบับเป็นสัญญาจ้างทำของ เงินค่าจ้างล่วงหน้าที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจากจำเลยทั้งสอง ถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงานเรียกเอาคืนซึ่งเงินทดรองที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) จึงมีอายุความ 2 ปี หาใช่เรื่องที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะอันจะมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว สัญญาจึงเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงสิ้นสุดลงในวันนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าที่รับไปจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่สัญญาสิ้นสุดดังกล่าว เมื่อคิดถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี การอายัดเงินจากผู้คัดค้านในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษา เงินค่าจ้างล่วงหน้าและเงินค่าเค
จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากผู้คัดค้านร้อยละ 15 ของค่าจ้างตามสัญญาโดยรับไปก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งการอายัดไปยังผู้คัดค้าน เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญา จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนให้แก่ผู้คัดค้านเฉพาะกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงมีสถานะเป็นลูกหนี้ของผู้คัดค้านและไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ แก่ผู้คัดค้าน เงินค่าจ้างล่วงหน้าที่จำเลยที่ 1 รับไปจึงไม่อยู่ที่ผู้คัดค้านอันอยู่ในวิสัยที่ผู้คัดค้านจะส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์ขออายัดได้ โจทก์ไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้คัดค้านในส่วนเงินค่าจ้างล่วงหน้าเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคารระบุว่า เป็นที่เข้าใจกันดีระหว่างคู่สัญญาว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันตามสัญญานี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังไม่แน่นอนว่าจะสามารถเรียกร้องเอาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผู้คัดค้านได้เป็นจำนวนเงินเท่าใด เนื่องจากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือการปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาผู้คัดค้านจึงไม่ถือว่าการโอนสิทธิเรียกร้องนี้เป็นการชำระหนี้ด้วยอย่างอื่นอันจะทำให้หนี้ที่ผู้โอนมีอยู่กับผู้รับโอนระงับลงบางส่วนหรือทั้งหมด และในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ได้รับเงินจากผู้คัดค้านหรือได้รับไม่พอชำระหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมด ผู้โอนยังคงผูกพันที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้รับโอนจนครบถ้วน ข้อความในสัญญาดังกล่าวแสดงว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันนั้นรวมถึงเงินค่าเคด้วย ทางปฏิบัติที่ผู้คัดค้านจ่ายเงินค่าเคให้แก่จำเลยที่ 1 จึงมีผลเป็นเพียงการสละสิทธิเรียกร้องของธนาคารที่มีต่อจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านเท่านั้น หาทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะอายัดเงินค่าเคที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่ธนาคารไปแล้วไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้คัดค้านสำหรับเงินค่าเคเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง
of 2