พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966-2406/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างมีสิทธิหยุดกิจการชั่วคราวเพื่อแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจได้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้จะยังไม่ได้รับค่าชดใช้เสียหายเต็มจำนวน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 ให้สิทธิแก่นายจ้างที่ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจสามารถหยุดการดำเนินกิจการไว้ชั่วคราวเพื่อให้โอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไปหรือบรรเทาลงได้ ฉะนั้น เมื่อลูกค้าของจำเลยยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าจากจำเลยเป็นจำนวนมาก หากจำเลยยังคงผลิตสินค้าต่อไปก็ไม่แน่นอนว่าจำเลยจะจำหน่ายสินค้าได้หรือไม่และในการผลิตต้องมีเงินลงทุนทั้งในด้านวัตถุดิบและค่าแรงงานย่อมเสี่ยงต่อการขาดทุนอันจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสถานะทางการเงินและความคงอยู่ของกิจการจำเลยซึ่งอยู่ในระหว่างฟื้นฟูกิจการ ถือได้ว่าเป็นความจำเป็นตามความหมายของมาตรา 75 แล้วการที่จำเลยประกาศให้ลูกจ้างรวมทั้งโจทก์หยุดงานชั่วคราว เพื่อรอคำสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหรือหาลูกค้ารายใหม่ทดแทน โดยจำเลยจ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานแก่โจทก์แล้ว จึงชอบด้วยมาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5226-5227/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษฐานฉ้อโกงจัดหางาน แม้ไม่เข้าฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าชดใช้
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี เป็นบทบัญญัติที่กำหนดลักษณะการกระทำผิดและโทษไว้เป็นการเฉพาะ มิได้อาศัยฐานความผิดอื่นฐานใดฐานหนึ่งในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 91 ตรี ได้แม้จำเลยมิได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,80
โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งสองคนละ 80,000 บาทศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในเรื่องนี้จึงไม่มีอำนาจสั่งคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองนั้นแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งสองคนละ 80,000 บาทศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในเรื่องนี้จึงไม่มีอำนาจสั่งคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองนั้นแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3245/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตตั้งแต่แรกเป็นสำคัญ: ลักทรัพย์ vs ฉ้อโกง และการพิจารณาลดโทษจากค่าชดใช้
จำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกมีเจตนาทุจริตที่จะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปตั้งแต่เบื้องต้น ส่วนการหลอกลวงว่าจะรับซื้อที่ดินจำนวนมากก็ดี หรือการหลอกลวงว่าจะพาไปซื้อรถยนต์ราคาถูกก็ดี ล้วนเป็นการสร้างกลอุบายเพื่อให้บรรลุผลเอาเงินสดของผู้เสียหายไปโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าชดใช้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายและได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันไปแล้ว ซึ่งตามสัญญาระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 ก. รวม 3 ฉบับ เนื้อที่ 92 ไร่ และได้กำหนดไว้ในสัญญาว่า เนื้อที่ 92 ไร่ ถ้าทำการรังวัดแล้วน้อยกว่า 90 ไร่ ผู้ขายจะยอมชดใช้ให้ครบตามจำนวนที่แจ้งไว้โดยจ่ายเป็นค่าชดใช้ไร่ละ 43,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าที่ดินที่ขาดไป จึงเป็นการฟ้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนตามสัญญานี้ กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 สัญญาจะซื้อจะขายทำเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2533 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2536 ยังไม่เกิน10 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าชดใช้จากสัญญาซื้อขายที่ดิน: ใช้มาตรา 193/30 วางหลักเกณฑ์ 10 ปี
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขาย และได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันไปแล้ว ซึ่งตามสัญญาระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. รวม 3 ฉบับ เนื้อที่ 92 ไร่ และได้กำหนดไว้ในสัญญาว่า เนื้อที่ 92 ไร่ ถ้าทำการรังวัดแล้วน้อยกว่า 90 ไร่ ผู้ขายจะยอมชดใช้ให้ครบตามจำนวนที่แจ้งไว้โดยจ่าย เป็นค่าชดใช้ไร่ละ 43,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องจำเลย ให้ชดใช้ค่าที่ดินที่ขาดไป จึงเป็นการฟ้องให้ปฏิบัติ ตามข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิฟ้องเรียกเงินคืน ตามสัญญานี้ กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30สัญญาจะซื้อจะขายทำเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2533โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2536 ยังไม่เกิน10 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8358/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดใช้ค่าจัดการศพ/ขาดไร้อุปการะ: ศาลรับฟังเอกสารแม้ไม่ส่งก่อนสืบพยาน, ผู้ตายประมาทเลินเล่อ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 27,033.33 บาท และให้จำเลยที่ 2ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 192,000 บาท ซึ่งเท่ากับให้ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์คนละ 96,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประมาทเลินเล่อหรือหากมีส่วนประมาทเลินเล่อก็เพียง 1 ใน 4 ส่วน ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพไม่เกิน 20,000 บาท ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองรวมกันไม่เกิน 1,200 บาทต่อเดือน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทั้งสองได้ระบุอ้างบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายไว้ในบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว แม้มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 90 (เดิม)วรรคแรก แต่โจทก์ทั้งสองก็อ้างส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานนัดแรกซึ่งโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่นำสืบก่อน เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 มีโอกาสจะซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวและมีโอกาสที่จะนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เสียเปรียบแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
แม้ผู้ตายมิได้ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถยนต์โดยสารก็ตาม แต่การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นมาด้วยความเร็วสูงผ่านโค้งก่อนถึงที่เกิดเหตุและไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อรถสวนกันก็ไม่ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจึงเกิดชนกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา ถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ถ้าหากเคยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจริงก็นำมาพิจารณาประกอบด้วย ส่วนระยะเวลาในอนาคตที่จะคำนวณค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวนเดียวนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าตามความหวังที่มีเหตุผลหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใด และเป็นเวลานานเท่าใด
โจทก์ทั้งสองได้ระบุอ้างบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายไว้ในบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว แม้มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 90 (เดิม)วรรคแรก แต่โจทก์ทั้งสองก็อ้างส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานนัดแรกซึ่งโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่นำสืบก่อน เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 มีโอกาสจะซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวและมีโอกาสที่จะนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เสียเปรียบแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
แม้ผู้ตายมิได้ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถยนต์โดยสารก็ตาม แต่การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นมาด้วยความเร็วสูงผ่านโค้งก่อนถึงที่เกิดเหตุและไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อรถสวนกันก็ไม่ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจึงเกิดชนกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา ถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ถ้าหากเคยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจริงก็นำมาพิจารณาประกอบด้วย ส่วนระยะเวลาในอนาคตที่จะคำนวณค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวนเดียวนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าตามความหวังที่มีเหตุผลหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใด และเป็นเวลานานเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันค่าชดใช้สัญญาการศึกษาและการกลับเข้ารับราชการ: หลักเกณฑ์การตีความ 'ส่วนราชการเดิม'
มติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1.4 ที่ผ่อนผันให้ผู้ผิดสัญญาไม่ต้องชดใช้เงินฐานผิดสัญญาซึ่งระบุว่า ผู้ผิดสัญญาตามข้อ 1.1 พ้นจากการเป็นข้าราชการการเมืองแต่ยังไม่พ้นระยะเวลาที่ผู้นั้นจะต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาแล้ว ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวนั้น เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องผิดสัญญาเกี่ยวกับการศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และการศึกษาภายในประเทศ หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับผู้ผิดสัญญาการศึกษาวิชาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และการศึกษาภายในประเทศ คำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ 1.4 จึงหมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่เป็นคู่สัญญาหรือที่ผู้ผิดสัญญารับราชการอยู่เดิม คือ มหาวิทยาลัยโจทก์ หาใช่หมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการในภายหลังไม่ เพราะส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการภายหลังมิใช่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ภายใน 6 เดือนนับจากวันพ้นสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สอง จำเลยที่ 1จึงไม่ได้รับการผ่อนผันให้ชดใช้เงินฐานผิดสัญญาตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สามตั้งแต่วันที่11 กุมภาพันธ์ 2530 จึงมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าว
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 นั้น ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1 วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุน กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 หรือไม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าปรับตามสัญญา โจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่ 1 และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่ 1เหลืออยู่อีก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญา ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 นั้น ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1 วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุน กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 หรือไม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าปรับตามสัญญา โจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่ 1 และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่ 1เหลืออยู่อีก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญา ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิดำเนินคดีอาญา vs. กรรโชก: การเสนอค่าชดใช้เพื่อเลิกคดีไม่เป็นความผิด
จำเลยเชื่อ โดยสุจริตว่าผู้เสียหายลักสติกเกอร์ ราคา 1 บาท ของห้างฯ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ดูแล กิจการอยู่ไป การที่จำเลยเรียกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับแก่ห้างฯ จำนวน 30 บาท มิฉะนั้นจะส่งตัวให้เจ้าพนักงานตำรวจนั้น เป็นกรณีที่จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายในทางอาญาได้ คำพูดของจำเลยดังกล่าวเท่ากับเป็นข้อเสนอให้ชดใช้ค่าเสียหายเพื่อตกลงเลิกคดีตามที่ห้างฯถือปฏิบัติ จึงไม่เป็นการข่มขืนใจหรือขู่เข็ญผู้เสียหาย จำเลยไม่มีความผิดฐานกรรโชก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของเพื่อหาทนายความ: ราคาชดใช้คำนวณจากราคาที่ดินขณะขาย
การที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้หาทนายความที่มีความซื่อสัตย์และมีความสามารถให้ แต่จำเลยไม่มีเงิน จึงตกลงจ่ายค่าจ้างเป็นที่ดินจำนวน 2 ไร่ ดังนี้ เป็นสัญญาจ้างทำของ และสัญญาดังกล่าวไม่เป็นการว่าจ้างให้ไปกระทำการอันผิดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือใช้สิทธิเกี่ยวกับการดำเนินคดี หรือแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความ ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เป็นโมฆะ และเมื่อจำเลยขายที่ดินนั้นไปเสียก่อน จำเลยต้องใช้ราคาที่ดินในขณะที่ขายมิใช่ขณะทำสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าประกันชีวิตกรณีตายจากอุบัติเหตุ: การล้มแล้วศีรษะกระแทกพื้นถือเป็นอุบัติเหตุตามกรมธรรม์
สามีโจทก์เอาประกันชีวิตไว้กับจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิต มีเงื่อนไขว่า ถ้าสามีโจทก์ถึงแก่ความตายโดยอุบัติเหตุจำเลยจะใช้เงินเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนที่เอาประกัน ระหว่างอายุสัญญา สามีโจทก์เป็นลมล้มลงศีรษะฟาดพื้นสมองได้รับความกระทบกระเทือนถึงแก่ความตายดังนี้เห็นได้ว่าที่ผู้ตายเป็นลมหกล้มเป็นเรื่องเกิดขึ้นโดยบังเอิญปราศจากเจตนาและความคาดหมายของผู้ตาย จึงถือได้ว่าผู้ตายตายเพราะอุบัติเหตุตามกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์สองเท่าตามสัญญา