พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่านายหน้า - การชำระหนี้ค่าซื้อขาย - เลิกสัญญโดยปริยาย - สิทธิในการรับเงินค่านายหน้าคืน
ตามสัญญานายหน้าจำเลยตกลงจ่ายค่านายหน้าให้แก่โจทก์ไว้ 2 กรณี ในกรณีแรก ตามสัญญาข้อ 3 ถ้าโจทก์ชี้ช่องให้จำเลยขายอาคารพาณิชย์ได้ในราคาไม่ต่ำกว่าห้องละ 6,500,000 บาท จำเลยทั้งสองตกลงจ่ายค่านายหน้าห้องละ 300,000 บาท ในกรณีที่สอง ตามสัญญาข้อ 4 หากโจทก์สามารถชี้ช่องให้จำเลยขายอาคารพาณิชย์ได้ในราคาสูงกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ 3 จำเลยทั้งสองตกลงให้จำนวนเงินส่วนที่เกินเป็นของโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ชี้ช่องให้จำเลยขายอาคารพาณิชย์ห้อง เอ. 9 และ เอ. 10 ได้ตามราคาที่กำหนดโจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่านายหน้าห้องละ 300,000 บาท และโจทก์ชี้ช่องให้จำเลยขายอาคารพาณิชย์ห้อง เอ. 2, เอ. 6 ถึง เอ. 8 ในราคาสูงกว่าที่กำหนด โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่านายหน้าที่ชี้ช่องให้จำเลยทั้งสองขายอาคารพาณิชย์ได้ในราคาไม่ต่ำกว่าที่กำหนดตามสัญญาข้อ 3 และมีสิทธิได้รับเงินในส่วนที่สามารถชี้ช่องให้จำเลยทั้งสองขายในราคาสูงกว่าที่กำหนดตามสัญญาข้อ 4 อีกด้วย
ตามสัญญานายหน้าข้อ 5 ระบุไว้ชัดว่า โจทก์และจำเลยตกลงกันให้ถือว่าค่านายหน้าที่โจทก์พึงได้รับส่วนหนึ่งเป็นการชำระค่าซื้อห้อง เอ. 1 ส่วนที่เหลือโจทก์จะชำระให้แก่จำเลยเป็นเงินสดภายใน 150 วัน นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อขายกัน แต่นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นต้นมา โจทก์และจำเลยยังคงโต้เถียงพิพาทกันถึงจำนวนเงินค่านายหน้าที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับจากจำเลยทั้งสองตามสัญญานายหน้าซึ่งย่อมส่งผลให้ไม่สามารถคำนวณจำนวนหนี้ค่าซื้อห้อง เอ. 1 ส่วนที่เหลือได้ว่าเท่าไร ดังนั้น การที่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ค่าซื้อห้อง เอ. 1 ให้แก่จำเลยเพราะพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตกเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยไม่มีสิทธิเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ทำให้สัญญาจะซื้อจะขายห้อง เอ. 1 ระงับลงเพราะไม่มีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาตามกฎหมาย
จำเลยได้นำห้อง เอ. 1 ที่ตกลงขายให้แก่โจทก์ไปขายให้แก่บุคคลอื่น โดยโจทก์มิได้ทักท้วงหรือเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายห้อง เอ. 1 โดยปริยาย โจทก์และจำเลยต้องยอมให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่านายหน้าจำนวน 3,000,000 บาท ที่จำเลยหักไว้เป็นการชำระค่าซื้อห้อง เอ. 1 คืน พร้อมดอกเบี้ยตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระค่านายหน้าเพียง 2,500,000 บาท โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้ง จึงเป็นอันยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษา
ตามสัญญานายหน้าข้อ 5 ระบุไว้ชัดว่า โจทก์และจำเลยตกลงกันให้ถือว่าค่านายหน้าที่โจทก์พึงได้รับส่วนหนึ่งเป็นการชำระค่าซื้อห้อง เอ. 1 ส่วนที่เหลือโจทก์จะชำระให้แก่จำเลยเป็นเงินสดภายใน 150 วัน นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อขายกัน แต่นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นต้นมา โจทก์และจำเลยยังคงโต้เถียงพิพาทกันถึงจำนวนเงินค่านายหน้าที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับจากจำเลยทั้งสองตามสัญญานายหน้าซึ่งย่อมส่งผลให้ไม่สามารถคำนวณจำนวนหนี้ค่าซื้อห้อง เอ. 1 ส่วนที่เหลือได้ว่าเท่าไร ดังนั้น การที่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ค่าซื้อห้อง เอ. 1 ให้แก่จำเลยเพราะพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตกเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยไม่มีสิทธิเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ทำให้สัญญาจะซื้อจะขายห้อง เอ. 1 ระงับลงเพราะไม่มีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาตามกฎหมาย
จำเลยได้นำห้อง เอ. 1 ที่ตกลงขายให้แก่โจทก์ไปขายให้แก่บุคคลอื่น โดยโจทก์มิได้ทักท้วงหรือเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายห้อง เอ. 1 โดยปริยาย โจทก์และจำเลยต้องยอมให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่านายหน้าจำนวน 3,000,000 บาท ที่จำเลยหักไว้เป็นการชำระค่าซื้อห้อง เอ. 1 คืน พร้อมดอกเบี้ยตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระค่านายหน้าเพียง 2,500,000 บาท โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้ง จึงเป็นอันยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196-1218/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าเสียหายจากค่านายหน้าลูกจ้าง และการจ่ายค่าเสียหายตามหลักเกณฑ์ที่ตกลงกัน มิขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
การบอกเลิกสัญญาจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่สัญญาไม่มีสิทธิที่จะตกลงเกี่ยวกับการเลิกสัญญาจ้างเป็นอย่างอื่นได้ แม้จำเลยกับโจทก์ทั้งยี่สิบสามจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 17 จึงต้องใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง บังคับแทนเมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบสามได้ยื่นใบลาออกต่อจำเลย โดยประสงค์ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30วัน นับแต่วันยื่นใบลาออก แต่จำเลยกลับอนุมัติให้มีผลเป็นการลาออกในวันที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามยื่นใบลาออกก่อนกำหนดที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามประสงค์จะให้มีผลเป็นการลาออก จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานจนถึงวันที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามประสงค์จะลาออกพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 บัญญัติห้ามนายจ้างหักค่าจ้างค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เพื่อชำระหนี้ที่ลูกจ้างเป็นหนี้นายจ้าง เว้นแต่การชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1)-(5) โจทก์ที่ 10เป็นหัวหน้าพนักงานขาย มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากการขายตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่การตลาด ซึ่งข้อ 2 ระบุว่า ความผิดพลาดที่ทำให้เกิดความเสียหายของเจ้าหน้าที่การตลาด จะนำมาหักออกจากค่าตอบแทนของหัวหน้าส่วนที่ได้รับจากทีม ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธินำค่าเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดในส่วนความรับผิดชอบของโจทก์ที่ 10 มาหักออกจากค่านายหน้าที่โจทก์ที่ 10 มีสิทธิได้รับตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งการหักเงินดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์การคำนวณค่านายหน้าที่โจทก์ที่ 10 มีสิทธิได้รับ มิใช่เป็นการนำค่าจ้างที่โจทก์ที่ 10 ได้รับมาหักเพื่อชำระหนี้ที่โจทก์ที่ 10 เป็นหนี้จำเลย จึงไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 76
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 บัญญัติห้ามนายจ้างหักค่าจ้างค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เพื่อชำระหนี้ที่ลูกจ้างเป็นหนี้นายจ้าง เว้นแต่การชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1)-(5) โจทก์ที่ 10เป็นหัวหน้าพนักงานขาย มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากการขายตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่การตลาด ซึ่งข้อ 2 ระบุว่า ความผิดพลาดที่ทำให้เกิดความเสียหายของเจ้าหน้าที่การตลาด จะนำมาหักออกจากค่าตอบแทนของหัวหน้าส่วนที่ได้รับจากทีม ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธินำค่าเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดในส่วนความรับผิดชอบของโจทก์ที่ 10 มาหักออกจากค่านายหน้าที่โจทก์ที่ 10 มีสิทธิได้รับตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งการหักเงินดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์การคำนวณค่านายหน้าที่โจทก์ที่ 10 มีสิทธิได้รับ มิใช่เป็นการนำค่าจ้างที่โจทก์ที่ 10 ได้รับมาหักเพื่อชำระหนี้ที่โจทก์ที่ 10 เป็นหนี้จำเลย จึงไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าซื้อขาย/เช่าที่ดิน: การชี้ช่องและตกลงผลตอบแทน แม้มีข้อห้ามจากบริษัทผู้ซื้อ ก็ไม่กระทบสิทธิรับค่านายหน้า
โจทก์เป็นผู้เริ่มต้นติดต่อขอซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 และเจรจาติดต่อกับญาติพี่น้องของจำเลยที่ 1 หลายครั้ง รวมทั้งไปพบกันที่บ้านมารดาจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์เสนอขายที่ดินต่อบริษัท ค. แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทดังกล่าวรวมทั้งโจทก์ต่างก็มาดูที่ดินที่จะซื้อขายตลอดทั้งนำเจ้าหน้าที่ของบริษัท ค. มาเจรจาตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยทั้งสองและได้จดทะเบียนให้บริษัท ค. เช่าที่ดินเป็นผลสำเร็จนั้น จึงเกิดจากการที่โจทก์เป็นผู้ชี้ช่องให้ทั้งสองฝ่ายเข้าทำสัญญากัน การที่โจทก์เป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่ต้นโดยไม่เคยรู้จักกับบริษัท ค. และไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 1 กับเจ้าของที่ดินรายอื่น ๆ มาก่อนต้องเข้าร่วมเจรจาติดต่อกับเจ้าของที่ดินทั้งหลายก็เพื่อต้องการผลประโยชน์เป็นค่านายหน้าไม่ใช่ทำให้เปล่า หากโจทก์ไม่ได้ค่านายหน้าเป็นผลตอบแทนในการเจรจาติดต่อในครั้งแรกแล้ว การดำเนินการใด ๆ ต่อมาคงไม่เกิดขึ้น และการที่บริษัท ค. กำหนดข้อห้ามไม่ให้ ส. รับประโยชน์หรือค่านายหน้าจากจำเลยที่ 1 นั้น ก็เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบริษัท ค. กับ ส. ไม่เกี่ยวกับโจทก์ ทั้งไม่ได้ความว่าโจทก์ตกลงยกเลิกสัญญานายหน้ากับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะปฏิเสธไม่ชำระค่านายหน้าแก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงเรื่องค่านายหน้าโดยปริยาย แม้มิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือก็มีผลผูกพัน
โจทก์ติดต่อกับจำเลยและเจ้าของที่ดินทั้ง 4 แปลง เรื่องการเช่าและซื้อขายที่ดินดังกล่าว ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เจรจาติดต่อกันนั้นได้ใช้บ้าน ร. มารดาจำเลยเป็นสถานที่นัดพบเสมอทั้ง ร. ก็ร่วมเจรจาอยู่ด้วย แม้บางครั้งจำเลยไม่มาแต่ ร. ก็เป็นผู้จัดการแทนจำเลยเพื่อนำไปสู่การทำสัญญาในที่สุด ดังนั้น ข้อตกลงใด ๆ ที่อยู่ในกรอบของการเช่าหรือซื้อขายที่ดินของจำเลยย่อมเห็นเป็นปริยายว่าจำเลยได้เชิด ร. เป็นตัวแทนในการเจรจาตกลงกับโจทก์ ทำให้เจ้าของที่ดินอีก 4 แปลง ตกลงยินยอมให้เช่าและขายที่ดินเรื่องค่านายหน้าก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงด้วยแม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันจำเลยแล้ว ดังนั้น จำเลยต้องให้ค่านายหน้า และเงินค่าที่ดินที่ให้เช่าหรือขายเกินกว่าราคาที่กำหนดแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดในค่านายหน้าและการแบ่งผลประโยชน์ของกลุ่มนายหน้า
++ เรื่อง นายหน้า ++
++ ตามพยานเอกสารและข้อนำสืบของจำเลยรับฟังได้ว่า การเป็นนายหน้าคงมีแต่โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 และบุคคลอื่นร่วมกันทำการเป็นนายหน้าเท่านั้น โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นนายหน้าแต่อย่างใด ลักษณะการทำงานและการแบ่งผลประโยชน์กันของกลุ่มนายหน้า เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำงานในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนกัน ทั้งผลประโยชน์ที่จะได้จากการทำการเป็นนายหน้าก็ตกลงเป็นอัตราส่วนของยอดเงินที่ได้รับมา แม้โจทก์ที่ 2 จะไม่มีนิติสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก ก็รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้ว่าจ้าง และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงรับผิดชำระส่วนแบ่งค่านายหน้าให้โจทก์ที่ 2 ตามส่วนที่ตกลงจากยอดเงินที่จำเลยที่ 2 รับมาจากกลุ่มบริษัท ฮ. เท่านั้น หาใช่ต้องรับผิดชำระส่วนแบ่งจากยอดเงินร้อยละ 1 ของมูลค่าตามสัญญาไม่ และเมื่อข้อนำสืบของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าเงินค่านายหน้าที่จำเลยที่ 2 รับมาทั้งหมดมีการแบ่งให้กลุ่มนายหน้า ซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ 2 ครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่านายหน้าให้โจทก์ทั้งสองอีก ++
++ ตามพยานเอกสารและข้อนำสืบของจำเลยรับฟังได้ว่า การเป็นนายหน้าคงมีแต่โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 และบุคคลอื่นร่วมกันทำการเป็นนายหน้าเท่านั้น โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นนายหน้าแต่อย่างใด ลักษณะการทำงานและการแบ่งผลประโยชน์กันของกลุ่มนายหน้า เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำงานในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนกัน ทั้งผลประโยชน์ที่จะได้จากการทำการเป็นนายหน้าก็ตกลงเป็นอัตราส่วนของยอดเงินที่ได้รับมา แม้โจทก์ที่ 2 จะไม่มีนิติสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก ก็รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้ว่าจ้าง และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงรับผิดชำระส่วนแบ่งค่านายหน้าให้โจทก์ที่ 2 ตามส่วนที่ตกลงจากยอดเงินที่จำเลยที่ 2 รับมาจากกลุ่มบริษัท ฮ. เท่านั้น หาใช่ต้องรับผิดชำระส่วนแบ่งจากยอดเงินร้อยละ 1 ของมูลค่าตามสัญญาไม่ และเมื่อข้อนำสืบของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าเงินค่านายหน้าที่จำเลยที่ 2 รับมาทั้งหมดมีการแบ่งให้กลุ่มนายหน้า ซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ 2 ครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่านายหน้าให้โจทก์ทั้งสองอีก ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าตามผลงานเป็นค่าจ้าง: ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
แม้ค่านายหน้าที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนจะมีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากัน แต่จำเลยจ่ายค่านายหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน โดยคำนวณตามยอดขายสินค้าที่โจทก์ขายได้และยอดเงินที่จำเลยเก็บค่าสินค้าซึ่งโจทก์ขายได้จึงเป็นการจ่ายเป็นประจำทุกเดือน กรณีถือได้ว่าค่านายหน้าดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 จำเลยต้องนำค่านายหน้าดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง: คำนวณค่าชดเชยได้ แม้จำนวนไม่แน่นอน ศาลแก้ไขจำนวนเงินฟ้องเกินสิทธิ
ค่านายหน้าที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนแม้จะมีจำนวนไม่แน่นอน และไม่เท่ากัน แต่จำเลยจ่ายค่านายหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ ทุกวันสิ้นเดือน โดยคำนวณตามยอดขายสินค้าที่โจทก์ขายได้และยอดเงินที่จำเลยเก็บค่าสินค้าซึ่งโจทก์ขายได้จึงเป็น การจ่ายเป็นประจำทุกเดือน กรณีถือได้ว่าค่านายหน้าดังกล่าว เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงาน โดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 จำเลยต้องนำค่านายหน้าดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวม เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์ มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงิน ดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็น ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่านายหน้าและค่าตอบแทนพิเศษ: การซื้อขายไม่สำเร็จไม่ผูกพัน
ตามบันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ป. ผู้ขายกับจำเลย ผู้ซื้อระบุว่า จำเลยต้องการให้โจทก์เป็นนายหน้า หรือตัวแทนในการขายที่ดินให้กับบริษัทค. หากจำเลยขายให้กับทางบริษัทค.ได้ จำเลยสัญญาว่าจะจัดค่านายหน้าให้กับโจทก์20,000 บาท ต่อไร่ของที่ดินทุก ๆ แปลง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้า 3 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเงื่อนไขว่า จำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ในอัตราไร่ละ 20,000 บาท ต่อเมื่อโจทก์ดำเนินการให้จำเลยขายที่ดินดังกล่าวได้จนเป็นผลสำเร็จคือ ถ้าจำเลยขายที่ดินได้เงินมาในราคาไร่ละ 150,000 บาทก็จะจัดให้โจทก์ได้ราคาส่วนเกินจากราคาที่จำเลยต้องการขาย ในราคาไร่ละ 130,000 บาท โดยโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษไปในอัตรา 20,000 บาท ต่อไร่ ตามที่ขายได้เมื่อโจทก์เพียงแต่จัดให้จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับ พ.กรรมการบริษัทค.แต่ต่อมาพ. ผู้จะซื้อผิดสัญญา จนมีการเลิกสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวไปแล้ว กรณีจึงหาได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันจะทำให้จำเลยได้รับเงินตามราคาที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินส่วนเกินหรือค่าตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ในท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทบาทตัวแทนซื้อขายที่ดิน: สิทธิรับเงินส่วนเหลือขึ้นอยู่กับฐานะตัวแทน ไม่ใช่ค่านายหน้า
เมื่อตามหนังสือสัญญาการซื้อขายและสัญญายินยอมกับหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ มิได้มีข้อความระบุไว้แต่อย่างใดว่า จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้า โดยจะยกเงินส่วนที่เหลือเป็นค่าบำเหน็จในการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าว แต่ในสัญญาสองฉบับข้างต้นกลับเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำการแทนบริษัท ท.ซึ่งโจทก์ในฐานะกรรมการคนหนึ่งของบริษัทท.ดำเนินการเป็นตัวแทนของบริษัทดังกล่าวตกลงซื้อที่ดินจากจำเลย มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ทำหน้าที่เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยให้แก่บริษัท ท. ดังนั้น หากมีเงินส่วนที่เหลือที่จำเลยจะต้องคืน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิรับไว้เนื่องจากเงินดังกล่าว โจทก์ด้มาในฐานะที่ทำการแทนตัวการเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าสำเร็จจากการชี้ช่องผู้ซื้อ แม้มีผู้ประสานงานภายหลัง ก็ถือว่าจำเลยได้ประโยชน์จากนายหน้าเดิม
จำเลยให้โจทก์ทั้งสามเป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยและของบุตรสาวในราคา 13,650,000 บาท โดยเริ่มแรกโจทก์ทั้งสามติดต่อกับบริษัทผู้ซื้อเพื่อขายที่ดินของจำเลยในราคาดังกล่าว แต่ไม่ตกลงกันในเรื่องราคา ต่อมา ส.ซึ่งเป็นสามีของบุตรสาวจำเลยได้ติดต่อประสานงานจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาดังกล่าว ดังนี้แม้ ส.จะเป็นผู้ติดต่อประสานงานขายที่ดินสำเร็จในภายหลังแต่ก็คงขายให้แก่บริษัทผู้ซื้อซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ติดต่อไว้ก่อนในราคาเดิมซึ่งโจทก์ทั้งสามเคยเสนอไว้ เป็นกรณีที่จำเลยถือเอาประโยชน์จากการที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ติดต่อบอกขายที่ดินแก่บริษัทผู้ซื้อมาตั้งแต่ต้น ถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าชี้ช่องจัดการ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนานหน้าตามข้อตกลงร้อยละ 5 ของราคาที่ดินที่ขายได้แต่คดีนี้โจทก์ที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโดยโจทก์ที่ 3 ได้ถอนอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้วดังนี้ คดีสำหรับโจทก์ที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2สองในสามส่วนของค่านายหน้า