คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าเช่าบ้าน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าบ้านเป็นสวัสดิการ ไม่ใช่ค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และการคิดดอกเบี้ยจากเงินชดเชย
ค่าเช่าบ้านที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือนแม้จะมีจำนวนแน่นอนและจ่ายโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ค่าเช่าบ้านดังกล่าวจำเลยจ่ายเป็นค่าที่พักให้แก่ลูกจ้างของจำเลยที่ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงงานมาบตาพุดซึ่งเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่ลูกจ้างของจำเลยเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้าง เมื่อค่าเช่าบ้านดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นค่าจ้าง แม้จำเลยจะนำไปรวมกับเงินเดือนซึ่งเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณเป็นค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ ก็ไม่ทำให้ค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นสวัสดิการกลายเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกง, ปลอมแปลงเอกสาร, และเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านเท็จ
ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิของผู้ให้เช่าจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)
จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและเป็นเอกสารเท็จยื่นประกอบแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกเงินค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร อันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่คลังจังหวัดชุมพร ก.และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม มาตรา 268
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4)และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตามมาตรา 157 เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตามมาตรา 157 อีก
การที่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอม และมีข้อความเท็จโดยจำเลยได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
ตามเอกสารพิพาทเป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนแก่ทางราชการและตามใบเสร็จรับเงินของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับเงินจากจำเลย ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่จำเลยเบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง และในความผิดฐานอื่น
การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 265 นั้น จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และการที่จำเลยได้นำแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัด-ชุมพรอันเป็นความผิดตามมาตรา 341 และมาตรา 268 และการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความรับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) และการที่จำเลยในฐานะที่ดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 นั้นเป็นการกระทำคนละครั้งคนละคราวกัน แต่การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปใช้ประกอบการยื่นคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าวนั้น แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดประสงค์ในผลอันเดียวกัน คือมุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอ ตามมาตรา 90 เมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวรวม 12 เดือนเดือนละหนึ่งครั้งรวม 12 ครั้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 และในแต่ละกรรมต้องลงโทษในบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตาม ป.อ.มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายตามที่ทำการ - ข้อยกเว้น พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้าน
เดิมจำเลยรับราชการที่กรมวิเทศสหการ โดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่หน่วยงานในท้องที่กรุงเทพมหานคร และได้โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2526 ซึ่งขณะนั้นที่ทำการของโจทก์ตั้งอยู่ที่ทบวงมหาวิทยาลัย เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การที่โจทก์ย้ายสำนักงานหรือที่ทำการจากท้องที่ในกรุงเทพมหานครไปอยู่ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี โดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฏิบัติราชการประจำที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ มีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ในต่างท้องที่ และการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา 7 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) หรือมาตราอื่นใดแห่ง พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ จำเลยมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายที่ทำการ – การย้ายไปต่างท้องที่และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
เดิมที่ทำการของโจทก์อยู่ที่กรุงเทพมหานครส่วนจำเลยเป็นข้าราชการสังกัดของโจทก์โดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่กรุงเทพมหานครเช่นกันต่อมาโจทก์ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีโดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฎิบัติราชการประจำที่ที่ทำการใหม่ของโจทก์ด้วยมีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำที่ทำการของโจทก์ในต่างท้องที่และเมื่อการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่ทำการแห่งใหม่ของโจทก์ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา7วรรคหนึ่งหรือมาตราอื่นใดแห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯที่จะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านจำเลยจึงมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายที่ทำการ – ข้อยกเว้นตาม พ.ร.ก.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ
เดิมจำเลยรับราชการที่กรมวิเทศสหการโดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่หน่วยงานในท้องที่กรุงเทพมหานครและได้โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่16มกราคม2526ซึ่งขณะนั้นที่ทำการของโจทก์ตั้งอยู่ที่ทบวงมหาวิทยาลัยเขตพญาไทกรุงเทพมหานครต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ตำบลบางพูดอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีการที่โจทก์ย้ายสำนักงานหรือที่ทำการจากท้องที่ในกรุงเทพมหานครไปอยู่ในท้องที่จังหวัดนนทบุรีโดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฏิบัติราชการประจำที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์มีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ในต่างท้องที่และการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา7วรรคหนึ่ง(1)ถึง(4)หรือมาตราอื่นใดแห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการจำเลยมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีค่าเช่าบ้าน: จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน ผู้มีอำนาจคืออธิการบดีมหาวิทยาลัย
ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลย จำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดจำเลยเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารด้วยกัน เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งความเห็นของจำเลยไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงเรียกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่เบิกไปแล้วคืนจากโจทก์ทั้งเจ็ดและไม่เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกต่อไป จำเลยมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีค่าเช่าบ้าน: จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน หรือโต้แย้งสิทธิโจทก์
ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่อนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงการคลังจำเลยมิได้เบิกจ่ายจากจำเลยโดยตรงจำเลยมิใช่ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดจำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินและการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการจากเงินงบประมาณรายจ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดในคดีนี้จำเลยเข้าเกี่ยวข้องเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้นซึ่งการตอบข้อหารือของจำเลยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินนั้นเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารระหว่างส่วนราชการของรัฐด้วยกันจำเลยจึงมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเรียกร้องค่าเช่าบ้านข้าราชการ จำเลยไม่มีหน้าที่อนุมัติจ่ายเงินโดยตรง
ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยจำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดจำเลยเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้นซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารด้วยกันเมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งความเห็นของจำเลยไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าโจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงเรียกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่เบิกไปแล้วคืนจากโจทก์ทั้งเจ็ดและไม่เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกต่อไปจำเลยมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าเช่าบ้านข้าราชการ: จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน ผู้มีอำนาจคืออธิการบดีมหาวิทยาลัย
ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยจำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดจำเลยเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้นซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารด้วยกันเมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งความเห็นของจำเลยไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าโจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงเรียกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่เบิกไปแล้วคืนจากโจทก์ทั้งเจ็ดและไม่เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกต่อไปจำเลยมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การย้ายที่ทำการถือเป็นการได้รับคำสั่งให้เดินทาง
ตาม พ.ร.ฎ. ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2527 มาตรา 7ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการคือข้าราชการที่ทางราชการได้มีคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ แต่กรณีคดีนี้ ทางราชการได้ย้ายที่ทำการใหม่อันเป็นการก่อให้เกิดสภาพการณ์เช่นเดียวกันกับการมีคำสั่งให้เดินทาง กล่าวคือข้าราชการจำต้องเดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ ซึ่งเป็นผลเช่นเดียวกันกับการมีคำสั่งของทางราชการนั่นเอง ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ทำให้ถ้อยคำตามตัวอักษรที่ว่า "ได้รับคำสั่งให้เดินทาง" ไม่ชัดแจ้งว่าจะมีความหมายครอบคลุมถึงกรณีที่มีสภาพการณ์เช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทางหรือไม่ ชอบที่ศาลจะต้องค้นหาความหมายของบทบัญญัตินี้ว่ามีขอบเขตแห่งความมุ่งหมายแค่ไหนเพียงใด เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาแล้ว จะพบว่าพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ทางราชการมีเจตนารมณ์ที่จะช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือนร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุ จึงเห็นได้ว่าการย้ายที่ทำการใหม่ของโจทก์ซึ่งทำให้ข้าราชการของโจทก์ต้องเดินทางไปทำงานประจำสำนักงานใหม่นี้ก็เนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุเช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทางและทำให้ข้าราชการได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัย ดังนั้น ถ้อยคำตามตัวอักษรที่ว่า"ได้รับคำสั่งให้เดินทาง" ย่อมมีขอบเขตแห่งความมุ่งหมายครอบคลุมถึงกรณีย้ายที่ทำการใหม่ไปต่างท้องที่ด้วย ดังนั้นกรณีเช่นคดีนี้ ย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้จำเลยมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
of 4