คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าไถ่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขู่เข็ญเรียกค่าไถ่ทรัพย์สินเข้าข่ายความผิดกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 337
จำเลยขู่เข็ญให้ผู้เสียหายที่ 1 นำเงินจำนวน 5,500 บาท มามอบให้เป็นค่าไถ่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 และหากไม่นำมาให้จะไม่ได้รับโทรศัพท์คืน จำเลยจะนำไปขายให้แก่บุคคลอื่น เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญคือขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 ไป ซึ่งทำให้ผู้เสียหายที่ 1 เกิดความกลัวและยินยอมจะนำเงินจำนวน 5,500 บาท ไปให้จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะความผิดฐานกรรโชก ตาม ป.อ. มาตรา 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3891/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กักขังเรียกค่าไถ่ด้วยความทารุณโหดร้าย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคสอง
จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไปที่เคหสถาน อันเป็นที่พักอาศัยของโจทก์ร่วม แล้วใช้อาวุธปืนขู่บังคับโจทก์ร่วมกับรื้อค้นเอาเงินจำนวน 3,000 บาท และนาฬิกาข้อมือราคา 150,000 บาทไป จากนั้นจำเลยเอาเสื้อคลุมศีรษะโจทก์ร่วมบังคับให้ขึ้นรถยนต์ที่ติดเครื่องรออยู่หน้าที่พักอาศัยของโจทก์ร่วมแล้วขับรถนำโจทก์ร่วมไปกักขังไว้ และส่งจดหมายเรียกค่าไถ่ไปยังภริยาและบุตรของโจทก์ร่วมซึ่งอยู่ในต่างประเทศ จนภริยาของโจทก์ร่วมตกลงจ่ายค่าไถ่ให้จำเลยจำนวน 275,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในระหว่างที่โจทก์ร่วมถูกกักขัง จำเลยได้มัดโจทก์ร่วมด้วยโซ่ที่มือ เท้าทั้งสองข้างและใส่กุญแจ และจำเลยควบคุมตัวโจทก์ร่วมอยู่ตลอดเวลา เมื่อโจทก์ร่วมจะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ จำเลยทั้งสองจะช่วยถอดกางเกงให้ โจทก์ร่วมถูกกักขังอยู่ในลักษณะดังกล่าวเป็นเวลา 133 วัน จึงหลบหนีออกไปได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ร่วมหมดอิสระในการเคลื่อนไหวร่างกายไปที่อื่นและไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ตลอดระยะเวลาดังกล่าว เป็นเหตุให้ไม่ได้รับประทานยาแก้โรคเบาหวาน ทำให้อาการกำเริบ มีเลือดปนออกมากับอุจจาระและปัสสาวะ การกระทำของจำเลยต่อโจทก์ร่วมจึงเป็นการกระทำโดยทรมานจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 313 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: พรากเด็กและกักขังเรียกค่าไถ่ ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักสุด
จำเลยทั้งสองร่วมกันพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปจากบิดามารดาผู้ปกครองและหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 313 และ 317 จำเลยทั้งสองมุ่งประสงค์เรียกค่าไถ่เป็นสำคัญ จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 313 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร: การเรียกค่าไถ่รถยนต์แต่ไม่สามารถส่งคืนได้ ทำให้เกิดความสงสัยในเจตนา
จำเลยเรียกเอาเงินค่าไถ่รถยนต์กระบะจากผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไป แต่ผู้เสียหายก็ไม่ได้รับรถยนต์กระบะคืนตามที่จำเลยนัดหมาย แต่ได้รับคืนเนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในท้องที่อื่นคนละท้องที่กับที่จำเลยนัดหมายให้ไปรับคืน ทั้งเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยนัดหมายไว้ประมาณ 10 วัน ไม่อาจสันนิษฐานว่าคนร้ายนำรถยนต์กระบะคันดังกล่าวไปจอดทิ้งไว้เพื่อให้ผู้เสียหายรับคืนไปได้ จำเลยอาจสวมรอยคนร้ายเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพียงลำพัง มิได้ช่วยคนร้ายจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายโดยวิธีให้ผู้เสียหายไถ่คืน พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: สันนิษฐานได้ว่าจำเลยเพียงเรียกค่าไถ่ ไม่ได้ช่วยจำหน่ายรถ ทำให้ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัย
แม้จำเลยจะเรียกเอาเงินค่าไถ่รถยนต์กระบะจากผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายก็ไม่ได้รับรถยนต์กระบะคืนตามที่จำเลยนัดหมาย หากแต่ได้รับคืนเนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในท้องที่คนละอำเภอกับที่จำเลยนัดหมายให้ไปรับคืน ทั้งเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยนัดหมายไว้นานถึงประมาณ 10 วัน ไม่อาจสันนิษฐานว่าคนร้ายนำรถยนต์กระบะคันดังกล่าวไปจอดทิ้งไว้เพื่อให้ผู้เสียหายรับคืนไปได้ จำเลยอาจสวมรอยคนร้ายเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพียงลำพัง ไม่ได้ช่วยคนร้ายจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายโดยวิธีให้ผู้เสียหายไถ่คืนก็ได้ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อชำระหนี้ ไม่ถือเป็นค่าไถ่ตามความหมายในกฎหมายอาญา
การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังตัวผู้เสียหาย ก็เพื่อให้ผู้เสียหายชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองเชื่อว่าสามารถกระทำได้ดังนั้นประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องให้ผู้เสียหายชำระหนี้จึงไม่ใช่ค่าไถ่ตามความหมายในบทนิยามคำว่า "ค่าไถ่" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(13) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยแจ้งความประสงค์เรียกค่าไถ่รถยนต์ที่ถูกลักยืม ไม่ได้มีส่วนได้ประโยชน์ จึงไม่มีความผิดฐานรับของโจร
พี่ชายจำเลยที่ 1 ลักรถยนต์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายที่ 2 ผู้เสียหายที่ 2 ได้บอกให้จำเลยที่ 1ช่วยติดตามรถยนต์คืนจำเลยทั้งสองได้พบ พ.และพ.ต้องการเงิน 30,000 บาท เป็นค่าไถ่รถยนต์คืนจำเลยทั้งสองจึงได้บอกให้ผู้เสียหายที่ 2 ทราบและให้โอนเงินไปให้จำเลยที่ 1ที่ธนาคาร จำเลยทั้งสองไปรับเงินที่ธนาคารและถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนจะได้รับประโยชน์จากเงินค่าไถ่รถยนต์ เพียงแต่จำเลยทั้งสองแจ้งความประสงค์ของ พ. ให้ผู้เสียหายที่ 2 ทราบ การจะตัดสินใจอย่างไรเป็นเรื่องของผู้เสียหายที่ 2 จำเลยทั้งสองได้จัดการสืบหารถยนต์ตามความประสงค์ของผู้เสียหายที่ 2และเมื่อผู้ที่ลักรถยนต์ไปต้องการค่าไถ่ จำเลยทั้งสองได้แจ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 ทราบ และได้มีการโอนเงินเพื่อเสียค่าใช้จ่ายผ่านจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองมิได้รับประโยชน์ด้วย จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความประสงค์เรียกค่าไถ่รถยนต์ที่ถูกลักยืม ไม่เข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร
พี่ชายจำเลยที่1ลักรถยนต์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายที่2ผู้เสียหายที่2ได้บอกให้จำเลยที่1ช่วยติดตามรถยนต์คืนจำเลยทั้งสองได้พบพ. และพ.ต้องการเงิน30,000บาทเป็นค่าไถ่รถยนต์คืนจำเลยทั้งสองจึงได้บอกให้ผู้เสียหายที่2ทราบและให้โอนเงินไปให้จำเลยที่1ที่ธนาคารจำเลยทั้งสองไปรับเงินที่ธนาคารและถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนจะได้รับประโยชน์จากเงินค่าไถ่รถยนต์เพียงแต่จำเลยทั้งสองแจ้งความประสงค์ของพ. ให้ผู้เสียหายที่2ทราบการจะตัดสินใจอย่างไรเป็นเรื่องของผู้เสียหายที่2จำเลยทั้งสองได้จัดการสืบหารถยนต์ตามความประสงค์ของผู้เสียหายที่2และเมื่อผู้ที่ลักรถยนต์ไปต้องการค่าไถ่จำเลยทั้งสองได้แจ้งให้ผู้เสียหายที่2ทราบและได้มีการโอนเงินเพื่อเสียค่าใช้จ่ายผ่านจำเลยที่1โดยจำเลยทั้งสองมิได้รับประโยชน์ด้วยจำเลยทั้งสองย่อมไม่มีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก: การเสนอค่าไถ่, เอกสารสำเนา, และการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน
จำเลยให้การว่า เนื่องจากสัญญาขายฝากเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องเสนอค่าสินไถ่เป็นเงินสด โจทก์มิได้ขอปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือข้อตกลงตามสัญญาขายฝากคำให้การดังกล่าวมิได้มีข้อความใดกล่าวถึงเลยว่าฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์สมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัย โจทก์อ้างว่าต้นฉบับเช็คอยู่ที่ธนาคาร ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกเอกสารจากธนาคารแต่ธนาคารได้มอบสำเนาเช็คให้แก่โจทก์นำมาส่งต่อศาลชั้นต้น โดยไม่มีผู้รับรองสำเนาถูกต้อง โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอส่งสำเนาเช็คต่อศาล ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้รวม สำเนาก่อนวันสืบพยานโจทก์ 1 เดือนและเมื่อโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวกับพยานโจทก์หลายปากเบิกความถึงเอกสารดังกล่าวจำเลยมิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนี้ปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาอกสารนั้นถูกต้องตรงกับต้นฉบับแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ภายใน 1 เดือนโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าไถ่ และหากไม่อาจจัดการโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ได้ก็ให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์แทนเป็นเงิน 550,000 บาทโดยไม่ได้หักค่าสินไถ่จำนวน 365,000 บาท ออกก่อนไม่ชอบด้วยการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 ปัญหาที่ว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5255/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อบังคับชำระหนี้ ไม่ถือเป็นค่าไถ่ตาม ป.อ.มาตรา 313
การที่จำเลยจับโจทก์ร่วมไปหน่วงเหนี่ยวกักขังแล้วบังคับให้เขียนจดหมายถึงมารดาโจทก์ร่วม ให้โอนที่ดินจำนองเพื่อชำระหนี้แก่แม่ยายจำเลยหรือจำเลยนั้น จำเลยมีเจตนาเพียงเพื่อจะบังคับให้มารดาโจทก์ร่วมชำระหนี้ โดยจำเลยเชื่อว่ากระทำได้ ดังนั้น ประโยชน์ที่จำเลยเรียกร้องเอาจึงไม่ใช่ค่าไถ่ ตาม ป.อ.มาตรา 1(13).
of 6