คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมคบกันค้าเฮโรอีน - พยานแวดล้อมประกอบคำรับสารภาพ เชื่อได้ว่าจำเลยร่วมธุรกิจกับผู้ต้องหาอื่น
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดบางกรณีจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีบุคคลสองฝ่ายมาตกลงร่วมคบคิดกัน เช่น การจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจะต้องมีผู้ขายฝ่ายหนึ่งกับผู้ซื้ออีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายมีเจตนาคนละอย่างกัน ผู้ขายมีเจตนาที่จะขายผู้ซื้อมีเจตนาที่จะซื้อ เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันที่จะขายและจะซื้อยาเสพติดให้โทษต่อกัน ก็ถือว่าได้สมคบโดยการตกลงร่วมคบคิดกันที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแล้วตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าจะต้องมีเจตนาเดียวกันหรือเจตนาร่วมกันไม่
จากการสอบสวนพยานหลักฐานต่าง ๆ พนักงานสอบสวนเชื่อว่าจำเลยและ ล. กระทำความผิดในข้อหาสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงเสนอต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขออนุมัติแจ้งข้อหาดังกล่าวเพิ่มเติมและได้รับอนุมัติแล้ว พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย แต่จำเลยให้การปฏิเสธ แม้โจทก์จะมิได้อ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยาน แต่จำเลยก็มิได้นำสืบปฏิเสธข้อเท็จจริงดังกล่าว ทั้งยังยอมรับว่าได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยว่าร่วมสมคบกับผู้อื่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเพราะได้มีการสมคบกันแล้ว จึงฟังได้ว่าได้มีการสอบสวนจำเลยในข้อหาสมคบกันตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การซื้อเพื่อค้า vs. การซื้อเพื่ออยู่อาศัย และอำนาจการประเมินราคา
โจทก์ซื้อที่ดินมาดำเนินการแบ่งแยกโฉนดเป็น 9 โฉนดแล้วปลูกสร้างตึกแถวบนที่ดินที่แบ่งแยก จากนั้นทยอยขายไปจนหมด เช่นนี้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าในประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์จึงต้องนำรายรับมาเสียภาษีการค้า และต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินและตึกแถวนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย โจทก์มิได้ขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างไปในราคาที่ปรากฏตามหนังสือสัญญาขายที่ดิน เมื่อราคาที่ประเมินโดยใช้หลักเกณฑ์ของกรมโยธาธิการสามารถแสดงถึงราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ ดังนั้น ราคาขายที่ดินที่เจ้าพนักงานประเมินใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อราคาที่ดินและอาคารที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดเป็นราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าราคาที่พึงได้รับตามปกติเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามราคาที่โจทก์พึงได้รับจากการขายตามปกติได้ ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้นั้นถือได้ว่าราคาดังกล่าวเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามความหมายในมาตรา 49 ทวิ โจทก์จึงต้องนำรายรับดังกล่าวไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ครึ่งปี) หากมีเงินได้ตามมาตรา 40(8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนเมื่อยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ตามมาตรา 19 และ 20แห่งประมวลรัษฎากร เงินที่โจทก์ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณและชำระภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้นำมารวมคำนวณเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียก และประเมินภาษีที่ต้องชำระได้ตามมาตรา 19 และมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์มีหน้าที่ต้องนำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์มาเสียภาษีการค้าและต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและมิได้นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงต้องเสียภาษีที่ชำระขาดพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้คงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายนั้นเหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อจัดสรรเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เงินได้จากการขายที่ดินโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 48 (4) หรือไม่นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย ที่ดินที่โจทก์ได้มาทั้งสามแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงใหญ่หลังจากนั้นก็ได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 70 แปลง โดยที่ดินทุกแปลงต่างมีถนนตัดผ่าน ลักษณะที่โจทก์กระทำเช่นนั้นย่อมมิใช่จุดประสงค์ที่จะนำที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อไปทำนา โจทก์ยอมรับว่า เหตุที่กระทำไปก็เพื่อจะนำที่ดินไปขายง่ายขึ้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีกหลายแปลงเพื่อนำไปจัดสรรขายและให้ผู้อื่นเช่าทำนา แสดงให้เห็นว่าโจทก์หาได้มีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวไม่ แต่ได้ประกอบอาชีพเป็นผู้จัดสรรที่ดินไว้เพื่อขายด้วย และเมื่อตรวจดูสัญญาซื้อขายที่ดินก็มีข้อสัญญาชี้ชัดให้เห็นได้ว่าการขายที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นเชิงธุรกิจโดยมีการวางเงินมัดจำ ผ่อนชำระเป็นงวด และต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าที่ดินที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมด และแม้ว่าปัจจุบันนี้โจทก์ยังถือครองที่ดินอยู่หลายแปลงก็ตาม เมื่อโจทก์มีที่ดินจำนวนมาก ก็เป็นการยากที่จะขายให้หมดในชั่วระยะเวลาอันสั้น ที่ดินแปลงใดอยู่ในที่ทำเลดีกว่าก็ย่อมขายได้ก่อน ที่ดินเปล่าที่อยู่ห่างไกลออกไปย่อมขายได้ช้ากว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติ หาได้บ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เก็บที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อทำนา โจทก์เลิกทำนามานานร่วม 20 ปีแล้ว ประกอบกับในระหว่างที่โจทก์ขายที่ดินในปีภาษีที่ถูกประเมินนั้น โจทก์ยังประกอบการค้าโดยจดทะเบียนการค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์อยู่ ดังนั้น แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานนับสิบปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงการได้มาที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ กับพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวและลักษณะในการขายที่ดินเข้าด้วยกันแล้ว เงินได้ที่โจทก์ได้มาจากการขายที่ดินจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในการค้าหรือกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เพราะเงินได้ของโจทก์ที่ได้รับมามิใช่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 48 (4) และกรณีเช่นนี้โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 165)พ.ศ.2529 ตามมาตรา 48 (4) (ข) ไม่ได้เช่นกัน
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ป.รัษฏากร มาตรา 46 ประกอบกับ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความ เพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อจัดสรรเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เงินได้จากการขายที่ดินโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) หรือไม่นั้นมุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย ที่ดินที่โจทก์ได้มาทั้งสามแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงใหญ่หลังจากนั้นก็ได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 70 แปลง โดยที่ดินทุกแปลงต่างมีถนนตัดผ่าน ลักษณะที่โจทก์กระทำเช่นนั้นย่อมมิใช่จุดประสงค์ที่จะนำที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อไปทำนา โจทก์ยอมรับว่าเหตุที่กระทำไปก็เพื่อจะนำที่ดินไปขายง่ายขึ้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีกหลายแปลงเพื่อนำไปจัดสรรขายและให้ผู้อื่นเช่าทำนา แสดงให้เห็นว่าโจทก์หาได้มีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวไม่ แต่ได้ประกอบอาชีพเป็นผู้จัดสรรที่ดินไว้เพื่อขายด้วยและเมื่อตรวจดูสัญญาซื้อขายที่ดินก็มีข้อสัญญาชี้ชัดให้เห็นได้ว่าการขายที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นเชิงธุรกิจโดยมีการวางมัดจำผ่อนชำระเป็นงวด และต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าที่ดินที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมด และแม้ว่าปัจจุบันนี้โจทก์ยังถือครองที่ดินอยู่หลายแปลงก็ตาม เมื่อโจทก์มีที่ดินจำนวนมาก ก็เป็นการยากที่จะขายให้หมดในชั่วระยะเวลาอันสั้นที่ดินแปลงใดอยู่ในที่ทำเลดีกว่าก็ย่อมขายได้ก่อน ที่ดินเปล่าที่อยู่ห่างไกลออกไปย่อมขายได้ช้ากว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติหาได้บ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เก็บที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อทำนา โจทก์เลิกทำนามานานร่วม 20 ปีแล้ว ประกอบกับในระหว่างที่โจทก์ขายที่ดินในปีภาษีที่ถูกประเมินนั้น โจทก์ยังประกอบการค้าโดยจดทะเบียนการค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์อยู่ ดังนั้น แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานนับสิบปีก็ตามแต่เมื่อพิจารณาถึงการได้มาที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ กับพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว และลักษณะในการขายที่ดินเข้าด้วยกันแล้ว เงินได้ที่โจทก์ได้มาจากการขายที่ดินจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในการค้าหรือกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เพราะเงินได้ของโจทก์ที่ได้รับมามิใช่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) และกรณีเช่นนี้โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 165)พ.ศ.2529 ตามมาตรา 48(4)(ข) ไม่ได้เช่นกัน อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 46 ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 29 เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วยย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความเพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้สำนักงานตรวจสอบบัญชี ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2522เพื่อใช้ทำเป็นสำนักงานตรวจสอบบัญชี โจทก์ได้ชำระราคาบางส่วนและกู้เงินจากธนาคารบางส่วน โดยเอาที่ดินและตึกแถวพิพาทจำนองไว้กับธนาคารเป็นจำนวนเงิน 952,000 บาท แล้วผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่ธนาคารเดือนละ 13,659 บาท จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินและตึกพิพาทโดยประสงค์จะตั้งเป็นสำนักงานตรวจบัญชีเท่านั้น ต่อมาโจทก์ขายที่ดินและตึกพิพาทดังกล่าวไปเมื่อวันที่10 เมษายน 2524 แม้ก่อนหน้านี้โจทก์เคยขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแปลงอื่น ๆ เจ้าพนักงานได้เรียกโจทก์ไปทำการตรวจสอบผลการตรวจสอบปรากฏว่าการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ในครั้งก่อน ๆ มิได้ขายเพื่อการค้า หรือหากำไรแต่อย่างใด ดังนี้การที่โจทก์ซื้อที่ดินและตึกพิพาทมาแล้วขายไป มิใช่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร หรือขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นสำนักงาน ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ซื้อ ที่ดินและตึกแถวพิพาทมาทำเป็นสำนักงานตรวจสอบบัญชีโดย ชำระราคาบางส่วนและกู้เงินจากธนาคารบางส่วน โดย นำที่ดินและตึกแถวพิพาทจำนองไว้แก่ธนาคารแล้วผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่ธนาคาร โจทก์มิได้ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การที่โจทก์ได้ มาซึ่ง ที่ดินและตึกแถวพิพาทแล้วขายไป จึงมิใช่การขายทรัพย์สินซึ่งได้ มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร และไม่ได้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อทาวน์เฮาส์เพื่อขายเก็งกำไร ถือเป็นการค้า ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ซื้อทาวน์เฮาส์ พิพาทไว้เพื่อจะขายต่อเอากำไร และได้ชำระเงินค่าทาวน์เฮาส์ ให้แก่ผู้ขายครบถ้วนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกัน การที่โจทก์ให้บริษัทผู้ขายโอนทาวน์เฮาส์ ให้แก่บริษัท ย.โดยตรงโดยโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากอ. แม้มิได้ทำสัญญาซื้อขายก็มีความหมายเช่นเดียวกับการขายทาวน์เฮาส์ มิใช่เป็นการขายสิทธิในการซื้อทาวน์เฮาส์ ตามที่โจทก์อ้าง และถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77,78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติไว้เป็นหลักทั่วไปว่า ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ดังนั้น ศาลย่อมมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามกฎหมายอยู่แล้วแม้จำเลยจะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีหน้าที่ต้องสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าหุ้นส่วนค้าและความรับผิดในหนี้สินของสหกรณ์ร้านค้าที่ไม่จดทะเบียน
สหกรณ์ร้านค้าของโรงเรียน ศ. ตั้ง ขึ้นเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทชุด นักเรียนให้นักเรียนและผู้ปกครอง แต่ มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ฯ จำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นครูใหญ่ได้ ตั้ง ให้จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 10 เป็นกรรมการซื้อ ขาย โดย ไม่ได้รับความเห็นชอบจากจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 10 ก่อน และจำเลยที่ 2ถึง ที่ 10 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ทั้งไม่ปรากฏว่ามีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันเกิดจากการตั้ง ร้านค้านั้น ดังนี้จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 10 มิได้เข้าหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1012 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าของสหกรณ์ร้านค้าให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินเพื่อแบ่งแยกและขายตึกแถวถือเป็นการค้าเพื่อหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
โจทก์ซื้อที่ดินมาดำเนินการแบ่งแยกโฉนดเป็น 11 โฉนดและจดทะเบียนแบ่งแยก แล้วปลูกสร้างตึกแถวบนที่ดินที่แบ่งแยกจำนวน 11 คูหาจากนั้นทยอยขายไปจนหมดภายใน 8 เดือน เช่นนี้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีนั้น ทั้งการที่โจทก์แบ่งแยกและขายที่ดินพร้อมตึกแถวไปดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้า ประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องนำรายรับมาเสียภาษีการค้าด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อแลกกับหุ้นถือเป็นการค้าและต้องเสียภาษีการค้า แม้จะไม่มีกำไรหรือขาดทุน
การที่โจทก์ขายที่ดินให้บริษัท ท. แล้วเอาเงินทั้งหมดไปซื้อหุ้นของบริษัท ท. ก็เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่าเช่น เงินปันผล หรือราคาหุ้นที่จะสูงขึ้น ถือได้ว่าโจทก์ได้ขายที่ดินให้แก่บริษัท ท. เป็นทางค้าหรือหากำไรจึงต้องเสียภาษีการค้าตามรายรับ โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ขายที่ดินไปมีกำไรหรือขาดทุน โจทก์โอนที่ดินให้บริษัท อ. แทนการชำระค่าหุ้น เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีผลประโยชน์ตอบแทน จึงเป็นการขายตามความหมายในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากร และการตั้งบริษัท อ. ขึ้นมาก็มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้ จากกิจการนั้น อันเป็นการค้าตามความหมายของมาตราดังกล่าว เช่นกัน ดังนั้น การที่โจทก์โอนที่ดินเพื่อแลกกับหุ้น ที่ได้รับโอนมา จึงเป็นการขายที่ดินในทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
of 5