คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค้างชำระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนค้างชำระ: เจ้าของใหม่ร่วมรับผิดเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ แม้พ้น 4 เดือน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 45 บัญญัติว่า "ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นเจ้าของคนใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม ท่านว่าเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน" การที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงเป็นเงินภาษีค้างชำระ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 โอนให้แก่จำเลยที่ 4 เป็นทอดๆ ไป ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงตกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ อันต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันกับจำเลยที่ 1 โดยมิพักต้องคำนึงว่าการโอนกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้มีขึ้นก่อนหรือภายหลังจากครบกำหนด 4 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินค้างชำระ & ดอกเบี้ย - ศาลจำกัดการเพิ่มดอกเบี้ยเกินคำฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจากจำเลย แต่จำเลยมิได้ก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จตามสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 30 วัน หากพ้นกำหนดถือเป็นการบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยเห็นว่าระยะเวลาดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้ จำเลยชอบที่จะขอขยายระยะเวลาการก่อสร้างอาคารจากโจทก์ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเช่นนั้น ดังนั้น เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยยังไม่สามารถส่งมอบอาคารให้โจทก์ได้ สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายนั้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(6) เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดาวน์และเงินค่างวดคืนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยไม่มีข้อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่สุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเพิ่มอากรคิดจากค่าอากรที่แท้จริงเท่านั้น ไม่รวมเงินเพิ่มที่ค้างชำระ
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา เป็นเงินที่เรียกเก็บจากค่าอากรที่แท้จริงเท่านั้น มิได้เรียกเก็บจากเงินเพิ่มซึ่งถือเป็นเงินอากรด้วย เมื่อจำเลยนำเงินค่าอากรขาเข้าและค่าภาษีมาชำระครบถ้วนแล้ว แม้จะยังชำระเงินเพิ่มไม่ครบถ้วน โจทก์ก็ไม่อาจคิดเงินเพิ่มได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7176/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุความค่าเช่าที่ดิน เริ่มนับจากวันที่ค้างชำระ
การนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 (เดิม 169)ให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
ค่าเช่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน เมื่อจำเลยค้างชำระค่าเช่าที่ดินในเดือนใด สิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินที่ค้างชำระในเดือนนั้นก็เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยค้างชำระอันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินนั้นได้เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าที่ดิน: นับเริ่มเมื่อค้างชำระรายเดือน ไม่นับจากวันเริ่มสัญญา
การนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12(เดิม 169) ให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
ค่าเช่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนเมื่อจำเลยค้างชำระค่าเช่าที่ดินในเดือนใด สิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินที่ค้างชำระในเดือนนั้นก็เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยค้างชำระอันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินนั้นได้เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5255/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยึดสมุดคู่ฝากเงินของผู้รับสัมปทาน เมื่อค้างชำระค่าปลูกป่าและบำรุงรักษาตามสัญญา
โจทก์ได้นำเงินค่าปลูกป่าและบำรุงป่าไปฝากธนาคารในนามโจทก์ตามคำสั่งของกรมป่าไม้จำเลยที่2และโจทก์นำสมุดคู่ฝากเงินไปเก็บรักษาไว้ที่ป่าไม้จังหวัดน่านจำเลยที่4ซึ่งตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานนั้นในการขอรับสมุดคู่ฝากเงินโจทก์ต้องเสนอแผนการปฏิบัติงานโดยย่อให้ป่าไม้เขตแพร่จำเลยที่3ทราบเมื่อได้รับความเห็นชอบจากจำเลยที่3แล้วจึงขอรับสมุดคู่ฝากเงินไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทานเมื่อสิ้นสุดสัมปทานแล้วโจทก์ไม่เข้าไปปลูกป่าจำเลยที่2เข้าไปตรวจสอบเนื้อที่ที่โจทก์ค้างปลูกและค้างบำรุงรักษาป่าเป็นเงิน7,919,438.76บาทซึ่งปรากฏว่าสัมปทานทั้ง5ฉบับข้อ17และข้อ19กำหนดให้โจทก์ปลูกป่าและบำรุงป่าป้องกันไฟป่าและบำรุงรักษาต้นไม้ที่ขึ้นอยู่แล้วภายในระยะเวลาสัมปทานที่จำเลยที่2กำหนดด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์เองหลังจากโจทก์ได้รับสัมปทานทั้ง5ฉบับได้มีการทำบันทึกต่อท้ายสัมปทานโจทก์ชำระค่าปลูกป่าแล้วเพราะหากไม่ชำระโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ชำระค่าภาคหลวงโจทก์ได้รับสัมปทานตั้งแต่ปี2516โจทก์ลงมือตัดไม้ตั้งแต่ปี2517การปลูกป่าเมื่อปลูกแล้วจะต้องบำรุงรักษาต่อไปอีก5ปีเป็นเช่นนี้เรื่อยไปทุกครั้งที่มีการปลูกป่าประกอบกับบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ3ผูกพันโจทก์กล่าวคือโจทก์จะต้องปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวโดยเสนอแผนการปฏิบัติงานโดยย่อให้จำเลยที่3ทราบเมื่อได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3แล้วจึงขอรับสมุดคู่ฝากเงินไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทานได้อีกประการหนึ่งตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวข้อ4ระบุด้วยว่าถ้าผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือปฏิบัติผิดไปจากบันทึกที่ให้ไว้นี้ให้ถือว่าผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ17และยินยอมให้ผู้ให้สัมปทานสั่งพักราชการทำไม้ไว้หรือสั่งเพิกถอนสัมปทานทำไม้เสียก็ได้และผู้รับสัมปทานยินยอมนำเงินค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าที่คำนวณได้จากไม้ที่ทำออกและตรวจวัดตีตราเก็บเงินค่าภาคหลวงแล้วส่งมอบให้จำเลยที่2หรือผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2จนครบถ้วนด้วยดังนั้นแม้สัมปทานถูกเพิกถอนแล้วหากโจทก์ไม่ดำเนินการปลูกป่าจำเลยที่2มีสิทธิที่จะบังคับให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวต่อไปได้เมื่อโจทก์ค้างปลูกป่าและค้างค่าบำรุงป่าเป็นเงิน7,919,438.76บาทโจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ3จำเลยทั้งสี่จึงมีสิทธิที่จะยึดสมุดคู่ฝากเงินของโจทก์ไว้เพื่อปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวข้อ4ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากผู้ซื้อค้างชำระราคา และสิทธิในการเรียกคืนที่ดิน
สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ซื้อขายกันได้โอนไปยังจำเลยแล้ว แต่หากจำเลยยังชำระราคาที่ดินให้โจทก์ไม่ครบถ้วน ก็เป็นเรื่องที่จำเลย ไม่ชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้จำเลยชำระราคาที่ยังค้างชำระให้โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลานั้นได้ และถ้าจำเลยยังไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 และเมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกที่ดินคืนจากจำเลยตามมาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6153/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความระยะเวลาค้างชำระดอกเบี้ยเงินกู้ และการทบต้นดอกเบี้ย
ข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กับข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี มีความหมายแตกต่างกัน หามีความหมายเหมือนกันไม่ กล่าวคือ ข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นั้น หมายความว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยระยะเวลาตั้งแต่วันครบ 1 ปี เป็นต้นไป ส่วนข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปีหมายความว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยระยะเวลาถัดจากวันครบ 1 ปี เป็นต้นไปดังนั้น ที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองผิดนัดค้างชำระงวดที่สามและงวดที่สี่มาทบต้นในวันครบกำหนด 1 ปี พอดี จึงถือได้ว่าโจทก์ได้นำดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองผิดนัดค้างชำระเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี มาทบต้นเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาแล้ว ดอกเบี้ยหาตกเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3341/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าวิทยุติดตามตัว: การค้างชำระค่าเช่า, การระงับบริการ, และข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาการเช่าใช้บริการวิทยุติดตามตัวระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทยโจทก์กับจำเลยผู้เช่าข้อ 2.6 วรรคท้าย ที่ว่า การระงับบริการอันเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้เช่าเอง ผู้เช่าต้องชำระค่าเช่าระหว่างระงับบริการนั้น การที่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าใช้บริการถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเนื่องจากความผิดของจำเลยเช่นเดียวกันจำเลยจึงต้องชำระค่าเช่าระหว่างระงับบริการนั้นด้วย ตามสัญญาเช่าใช้บริการวิทยุติดตามตัวข้อ 2.5 ระบุว่าหากผู้เช่าไม่ประสงค์จะใช้บริการผู้เช่าต้องแจ้งบอกเลิกค่าเช่าให้ผู้ให้เช่าทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 15 วัน ดังนั้น การที่ผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าติดกัน 2 เดือน แต่มิได้บอกเลิกการเช่าเป็นลายลักษณ์อักษรจึงถือไม่ได้ว่าสัญญาเลิกกันแล้ว สัญญาการเช่าใช้บริการวิทยุติดตามตัว ข้อ 2.5ที่ระบุว่า ถ้าครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่าไม่บอกเลิกสัญญาให้ถือว่าผู้เช่าได้ตกลงเช่าต่อไปก็ดีและข้อ 2.6 ที่ระบุว่าการระงับบริการอันเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้เช่าเองผู้เช่าต้องชำระค่าเช่าระหว่างระงับบริการนั้นก็ดีมิใช่เป็นข้อสัญญาที่เอาเปรียบไม่เป็นธรรมแก่จำเลยเพราะเป็นเพียงกำหนดสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาอันจะพึงปฏิบัติต่อกันและกันเท่านั้น จำเลยเป็นฝ่ายเลือกใช้บริการหากเห็นว่าข้อสัญญาของโจทก์เอาเปรียบก็เลือกใช้บริการที่อื่นได้ การที่จำเลยไม่ใช่บริการของโจทก์ แต่ก็มีได้บอกเลิกสัญญานำเครื่องวิทยุติดตามตัวไปคืนโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถนำเครื่องวิทยุดังกล่าวไปให้ผู้อื่นเช่าต่อไปได้ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ แล้วจะมิให้โจทก์เรียกค่าเช่าใช้บริการจากจำเลยได้อย่างไรข้อสัญญาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นธรรม หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าค้างชำระ ไม่ใช่ฟ้องละเมิด อายุความเป็นไปตามสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ตรวจพบว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าถูกทำการแก้ไขให้แสดงค่าหน่วยน้อยกว่าที่มีการใช้ไฟฟ้าจริงเป็นเหตุให้จำเลยในฐานะผู้ใช้ไฟฟ้าชำระเงินค่าไฟฟ้าแก่โจทก์น้อยไปกว่าที่เป็นจริงทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2525ถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2528 จำเลยชำระเงิน ค่าไฟฟ้าให้โจทก์ไม่ถูกต้องโดยชำระเพียง 74,104.64 บาท หากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงค่าหน่วยไฟฟ้าถูกต้อง จำเลยจะต้องชำระค่าไฟฟ้าให้โจทก์ในช่วงดังกล่าวเป็นเงิน 203,178.10 บาท จำเลยได้รับประโยชน์จากการใช้ไฟฟ้า ที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าถูกทำการแก้ไขให้แสดงหน่วยไฟฟ้า น้อยกว่าที่เป็นจริง จึงต้องรับผิดชำระเงินค่าไฟฟ้าเพิ่ม ย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2525 ถึงวันที่ 6 สิงหาคม2528 แก่โจทก์คิดเป็นเงิน 129,073.46 บาท คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหารวมทั้งรายละเอียดและคำขอบังคับโดยชัดแจ้งพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าถูกแก้ไขอย่างไรใครเป็นผู้แก้และแก้เมื่อใด รวมทั้งการอ้างสิทธิ ที่ จะ เรียกเก็บค่าไฟฟ้าเพิ่มย้อนหลัง และการคิดค่าไฟฟ้า โดยอาศัยหลักเกณฑ์ใด เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าที่จำเลยใช้ตามที่ได้ใช้ไปจริงและจำเลยชำระขาดไป จึงเป็นการฟ้องจำเลยให้ชำระค่าไฟฟ้าที่ยังขาดอยู่ตามสัญญามิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จาก การ ทำละเมิดอันมีอายุความ 1 ปี
of 5