คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฆ่าผู้อื่น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายและการฆ่าเพื่อความสะดวกในการกระทำผิด ศาลพิจารณาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง
จำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนขู่บังคับให้ผู้ตายขึ้นรถยนต์กระบะไปกับจำเลยกับพวก อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย เมื่อถึงที่เปลี่ยวจำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์ผู้ตายโดยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย แสดงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตายเพื่อความสะดวกแก่การชิงทรัพย์และฆ่าผู้ตายในขณะที่การชิงทรัพย์และฆ่าผู้ตายยังไม่ขาดตอนจากกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยใช้อาวุธปืน และฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิด เพื่อจะเอาและเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยกับพวกได้กระทำความผิด เพื่อปกปิดความผิดและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ได้กระทำนั้นเอง จึงมิใช่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตายอีกกรรมหนึ่งต่างหาก
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 โดยไม่ระบุวรรคไม่ถูกต้อง รวมทั้งเมื่อฟังว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 289 (6) (7) แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 288 อีก นอกจากนี้โจทก์ขอให้ริบหัวกระสุนปืน 2 หัว และกระสุนปืนหัวตะกั่ว 1 นัด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ริบหัวกระสุนปืนทั้งหมดรวม 3 หัว ก็ไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8041/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าผู้อื่นโดยเหตุบันดาลโทสะ: การบุกรุกยามวิกาลและการข่มเหงทางจิตใจ
ป. อายุ 18 ปี เป็นบุตรสาวและอยู่ในความปกครองดูแลของจำเลยซึ่งเป็นบิดา แม้ผู้ตายจะเป็นคนรักของ ป. แต่ก็ลักลอบคบหาไปมาหาสู่กันโดยจำเลยและ ม. ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่เคยทราบเรื่องมาก่อน ขณะเกิดเหตุเป็นยามวิกาล เวลาถึง 1 นาฬิกาเศษ ผู้ตายแอบเข้ามาในบ้านทางช่องหน้าต่างห้องนอนของ ป. ชั้นบนของบ้านซึ่งอยู่ติดกับห้องนอนของจำเลยและอยู่กันลำพังเพียงสองต่อสอง ย่อมเป็นการกระทำที่อุกอาจผิดแบบธรรมเนียมประเพณีขัดต่อศีลธรรมอันดี ขาดความเคารพยำเกรงกระทบกระเทือนต่อจิตใจของจำเลยผู้เป็นบิดา ป. และเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุอย่างร้ายแรง นับได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยใช้อาวุธปืนสั้นติดตัวไปในขณะนั้นเนื่องจากได้ยินเสียงดังผิดปกติในห้องนอนของ ป. ยิงผู้ตายในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นการกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเหตุบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าผู้อื่นโดยไม่ใช่บันดาลโทสะ แม้ถูกยั่วยุ แต่การกระทำเกิดจากความเจ็บแค้นใจเดิม
วันเกิดเหตุตอนเช้า จำเลยไปขอคืนดีกับ ภ. ภรรยา แต่ ภ. ไม่ยอม ต่อมาเวลาประมาณ 12 นาฬิกา จำเลยไปหาผู้ตายที่บริษัทที่เกิดเหตุโดยพกพามีดปลายแหลมติดตัวไปด้วย จำเลยถามผู้ตายว่า "มึงเล่นชู้กับเมียกูทำไม" ผู้ตายตอบว่า "มึงไม่มีน้ำยา กูเลยเล่น" ทำให้จำเลยโมโหจึงชักมีดออกมาเกิดต่อสู้กันและจำเลยใช้มีดแทงผู้ตาย แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ตายได้พูดถ้อยคำดังกล่าวจริง แต่จำเลยเป็นฝ่ายไปหาผู้ตายที่ทำงานของผู้ตาย และจำเลยเป็นฝ่ายถามผู้ตายถึงเรื่องชู้สาวขึ้นก่อน มิใช่ว่าผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุ ที่ผู้ตายพูดว่ามึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่น นั้น ก็เป็นการที่ผู้ตายพูดตอบจำเลย แม้จะพูดในทำนองยั่วยุ แต่ไม่ถึงขนาดว่าจะเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างรุนแรง ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะทำให้จำเลยได้รับความอับอายขายหน้าผู้อื่น จึงไม่น่าทำให้จำเลยเกิดโทสะถึงกับต้องฆ่าผู้ตาย ตามรูปการณ์มูลเหตุที่จูงใจให้จำเลยกระทำความผิดน่าจะเกิดจากความเจ็บแค้นใจที่มีอยู่เดิม เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9126/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาพิจารณาจากพยานหลักฐานบาดแผลของผู้ตาย
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 15)ฯ มาตรา 6 ยกเลิกความในมาตรา 30 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยกฎหมายที่แก้ไขใหม่ให้กักขังแทนค่าปรับในอัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวันกรณีจึงไม่อาจบังคับคดีให้กักขังจำเลยที่ 1 แทนค่าปรับจำนวน 75 บาท ในความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามกฎหมายเดิมต่อไปได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในความผิดดังกล่าวว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 30 ด้วยนั้นไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3955/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะจากความขัดแย้งชู้สาว ลดโทษรอการลงโทษ และปรับ
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเนื่องจากผู้ตายกับ น. ภริยาจำเลยอยู่ด้วยกันภายในห้องนอนตามลำพังสองต่อสอง และจำเลยพบเห็นเหตุการณ์โดยไม่คาดคิดมาก่อนจำเลยเกิดความโมโหหรือมีอารมณ์โกรธ จึงยิงไปในขณะนั้นทันทีที่พบเห็น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 68 แต่เป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยิงทำให้ถึงแก่ความตาย แม้เกิดภาวะแทรกซ้อนแต่เป็นผลโดยตรงจากการถูกยิง ถือเป็นความผิดสำเร็จ ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จากการตรวจชันสูตรพลิกศพผู้ตาย ผู้ตายมีภาวะปอดบวมแทรกซ้อจนถึงแก่ความตาย เหตุที่ทำให้มีภาวะปอดบวมแทรกซ้อนก็เนื่องมาจากสาเหตุที่ผู้ตายได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิง เห็นได้ว่า แม้ผู้ตายจะตายเนื่องจากมีอาการปอดบวมแทรกซ้อน แต่การแทรกซ้อนดังกล่าวก็สืบเนื่องโดยตรงจากบาดแผลที่ถูกยิง การตายของผู้ตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการยิง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จมิใช่เป็นเพียงความพยายามกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าผู้อื่น ร่วมกันกระทำผิด การรับฟังพยานหลักฐาน และการระงับคดีเนื่องจากการตายของผู้ต้องหา
พยานโจทก์ทุกปากไม่มีสาเหตุกับจำเลยที่ 1 ทั้งเบิกความและให้การได้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นในขณะเกิดเหตุว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ร่วมชิงทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ก่อนเกิดเหตุมีชาย 2 คน ซึ่งคล้ายจำเลยทั้งสองว่าจ้างผู้ตายขับรถยนต์รับจ้างออกไปจากโรงแรม ร. หลังจากนั้นไม่นานผู้ตายถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตาย และทิ้งศพไว้ในที่เกิดเหตุ และต่อมาในวันเดียวกันจำเลยทั้งสองได้นำรถยนต์ของผู้ตายไปใช้เป็นยานพาหนะในการชิงทรัพย์ร้านทอง ทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ว่าจ้างผู้ตายให้ขับรถยนต์รับจ้างจากกรุงเทพมหานครไปส่งที่จังหวัดสระบุรี เมื่อไปถึงก็ได้ร่วมกันชิงทรัพย์รถยนต์คันดังกล่าวและฆ่าผู้ตาย เพียงแต่จำเลยที่ 1 บ่ายเบี่ยงว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเท่านั้น บ่งชี้ชัดว่า จำเลยที่ 1 ร่วมเป็นคนร้ายรายนี้จริง ที่จำเลยที่ 1 นำสืบต่อสู้ว่าไม่เคยไปพักที่โรงแรม ร. กับได้ลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การโดยไม่ได้อ่านข้อความเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายนั้น เมื่อพิจารณาคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ตามบันทึกคำให้การแล้ว ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ให้การกล่าวถึงการกระทำโดยละเอียดและยังนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพตามบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ ข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 จึงไม่น่าเชื่อ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายร่วมกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าผู้ตายตามฟ้อง ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จากบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง โดยการแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงสิทธิของผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบ ไม่ควรรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้นั้น เห็นว่า การแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ทั้งจำเลยที่ 1 เพิ่งยกเรื่องการไม่แจ้งสิทธิดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้จำเลยที่ 1 ทราบ อันจะเป็นเหตุให้การสอบสวนไม่ชอบและไม่อาจรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 เป็นพยานหลักฐานได้
อนึ่ง คดีนี้ จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงเป็นที่สุด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา: การวิ่งไล่ตามผู้ตายพร้อมคนร้ายถืออาวุธถือเป็นเล็งเห็นผล
จำเลยเป็นพวกเดียวกับคนร้ายอีกสองคนซึ่งเป็นผู้วิ่งไล่ถืออาวุธคล้ายมีดเป็นของมีคมยาวประมาณ 1 ศอก แทงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย การที่จำเลยชกต่อยผู้ตายก่อนเมื่อผู้ตายวิ่งหนีจำเลยก็วิ่งไล่ตามผู้ตายไปพร้อมๆ กับคนร้ายทั้งสองที่ถืออาวุธไปด้วย สภาพอาวุธเห็นได้ชัดเจนว่าอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ หากจำเลยไม่มีเจตนาร่วมกับคนร้ายทั้งสอง เมื่อจำเลยชกต่อยผู้ตายครั้งแรกแล้ว จำเลยอาจหยุดกระทำโดยไม่วิ่งไล่ตามผู้ตายไปก็ได้ แต่จำเลยหากระทำไม่ การที่จำเลยวิ่งไล่ตามไปทำร้ายผู้ตายกับพวกของจำเลยซึ่งวิ่งถืออาวุธดังกล่าวไปด้วย จึงย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจมีการทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตายได้ ทั้งเป็นการที่อยู่ในภาวะที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ พฤติการณ์การกระทำของจำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดกับคนร้ายทั้งสอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12060/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม คดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ให้ประหารชีวิต คำให้การรับสารภาพของจำเลยชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 (1) คงจำคุกตลอดชีวิต โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษายืนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายืน ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จำเลยไม่อาจจะฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาว่าการกระทำเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ โดยพิจารณาจากสภาพจิตใจและเหตุการณ์ขณะกระทำความผิด
หลังจากที่จำเลยกับผู้เสียหายโต้เถียงกันแล้ว ผู้เสียหายกลับไปบ้านพักจำเลยกลัวว่าผู้เสียหายจะไปนำอาวุธปืนมายิงตน จำเลยจึงกลับไปนำเอาอาวุธปืนที่บ้านตน เมื่อกลับมาที่บ้านผู้ตาย จำเลยเห็นบริเวณเอวของผู้เสียหายมีสิ่งของซึ่งเชื่อว่ามีอาวุธปืนพกอยู่ จำเลยจึงยิงผู้เสียหาย 1 นัด กระสุนปืนถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เมื่อคำนึงถึงระยะทางและระยะเวลาตลอดทั้งสภาพของตัวจำเลยที่อยู่ในอาการมึนเมา ประกอบกับจำเลยมีอารมณ์โกรธที่ไก่ของจำเลยหลายตัวตายเพราะกินข้าวคลุกยาเบื่อซึ่งจำเลยเชื่อว่าผู้เสียหายเป็นผู้ใช้ข้าวคลุกยาเบื่อให้ไก่ของจำเลยกิน ทำให้จำเลยมีความเครียดและสับสน ทั้งต้องมาโต้เถียงกับผู้เสียหายอย่างรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอีก ด้วยสภาวะการณ์เช่นนี้จำเลยไม่สามารถที่จะคิดใคร่ครวญหรือวางแผนในการฆ่าผู้เสียหาย เพราะการยิงผู้อื่นในลักษณะที่มีผู้คนที่รู้จักคุ้นเคยอยู่ล้อมรอบย่อมเป็นข้อชี้ชัดว่าจำเลยมิได้คิดทำการให้รอบคอบเพื่อมิให้ตนต้องมีความผิดได้รับโทษโดยง่าย เชื่อได้ว่าจำเลยมิได้คิดไตร่ตรองไว้ก่อนแต่อย่างใด ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่เมื่อจำเลยยิงผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 60 อันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
of 35