พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงกรรมสิทธิ์งานก่อสร้างเมื่อบอกเลิกสัญญา: เบี้ยปรับและการหักกลบลบหนี้
ตามสัญญาจ้างกำหนดว่า โจทก์ต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จทุกรายการในงวดที่ 3 จึงจะมีสิทธิรับค่าจ้าง แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แม้ตามปกติโจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้คืนค่าผลงานที่โจทก์ได้ทำการก่อสร้างระบบประปาให้จำเลยแล้วบางส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคสาม ก็ตาม แต่ตามสัญญาข้อ 22 ระบุว่า เมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วบรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้นและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำมาไว้ ณ สถานที่ทำงานจ้างนั้น โดยเฉพาะเพื่องานจ้างดังกล่าวผู้รับจ้างยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้เลยข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นอันมิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 382 แก่จำเลยผู้ว่าจ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์เป็นเงิน 900,000 บาท เพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้นำหนี้ที่โจทก์ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำนวน 163,200 บาท และจำเลยจะต้องชำระค่าการงานมาหักกลบลบหนี้กัน คงเหลือหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นเงิน 736,800 บาท
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์เป็นเงิน 900,000 บาท เพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้นำหนี้ที่โจทก์ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำนวน 163,200 บาท และจำเลยจะต้องชำระค่าการงานมาหักกลบลบหนี้กัน คงเหลือหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นเงิน 736,800 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยลูกจ้าง: งานก่อสร้างปกติ ไม่เข้าข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศ มท.
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคท้าย ได้กำหนดเงื่อนไขในการที่ลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าชดเชยเพราะเหตุที่เป็นลูกจ้างที่มีกำหนดเวลาการจ้างไว้แน่นอน จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างได้จ้างลูกจ้างเพื่อทำงานประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้คือ
1. ทำงานตามโครงการเฉพาะซึ่งมิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างโดยมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
2. ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวซึ่งมีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
3. ทำงานที่เป็นไปตามฤดูกาลโดยได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น
ซึ่งงานทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ลูกจ้างจึงจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย แต่บริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างมีวัตถุประสงค์ทำการก่อสร้าง รับงานโครงการไว้ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 1 แห่งจังหวัดขอนแก่น 1 แห่ง และจังหวัดสมุทรสงคราม 1 แห่ง งานก่อสร้างของจำเลยตามโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวจึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยในการที่จะไปรับจ้างก่อสร้าง ทั้งงานที่จำเลยจ้างโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่ามีความเกี่ยวข้องกับระยะเวลาการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานแต่อย่างใด จำเลยจ้างโจทก์ 1 ปีและจ้างติดต่อไปอีก 6 เดือน การจ้างงานในกรณีดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
จำเลยจ้างโจทก์ติดต่อกันมาตามสัญญาจ้างสองฉบับโดยมิได้มีการเลิกจ้าง การนับระยะเวลาจึงต้องนับต่อเนื่องกัน
1. ทำงานตามโครงการเฉพาะซึ่งมิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างโดยมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
2. ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวซึ่งมีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
3. ทำงานที่เป็นไปตามฤดูกาลโดยได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น
ซึ่งงานทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ลูกจ้างจึงจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย แต่บริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างมีวัตถุประสงค์ทำการก่อสร้าง รับงานโครงการไว้ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 1 แห่งจังหวัดขอนแก่น 1 แห่ง และจังหวัดสมุทรสงคราม 1 แห่ง งานก่อสร้างของจำเลยตามโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวจึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยในการที่จะไปรับจ้างก่อสร้าง ทั้งงานที่จำเลยจ้างโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่ามีความเกี่ยวข้องกับระยะเวลาการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานแต่อย่างใด จำเลยจ้างโจทก์ 1 ปีและจ้างติดต่อไปอีก 6 เดือน การจ้างงานในกรณีดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
จำเลยจ้างโจทก์ติดต่อกันมาตามสัญญาจ้างสองฉบับโดยมิได้มีการเลิกจ้าง การนับระยะเวลาจึงต้องนับต่อเนื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: งานก่อสร้างปกติ ไม่ใช่โครงการเฉพาะ
จำเลยประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง เคยทำการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่หลายแห่ง ได้แก่โครงการต่อท่อน้ำมันที่จังหวัดสระบุรีโครงการก่อสร้างท่าเรือและติดตั้งท่อน้ำมันที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และโครงการติดตั้งเครื่องมือผลิตเม็ดพลาสติกของบริษัท ม.ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นงานที่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานอยู่ด้วย การที่จำเลยประกอบธุรกิจในการรับเหมาก่อสร้าง เคยรับเหมาก่อสร้างท่าเรือและโรงงานต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง รวมทั้งรับเหมาติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัท ม.อันเป็นงานพิพาทในคดีนี้ด้วย งานติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกถือได้ว่าเป็นงานก่อสร้างอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติธุระ การที่จำเลยรับจ้างทำงานดังกล่าวให้แก่บริษัท ม.จึงเป็นการรับจ้างทำงานในกิจการอันเป็นปกติธุรกิจของจำเลย และไม่ว่าจำเลยจะรับจ้างทำงานนั้นมากน้อยเพียงใดและเป็นระยะเวลาเท่าใด งานนั้นก็ย่อมไม่เป็นงานโครงการเฉพาะซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานดังกล่าวไม่ว่าจำเลยจะทำสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาเท่าใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานก่อสร้างปกติธุรกิจ ไม่เป็นงานโครงการเฉพาะ ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
จำเลยประกอบธุรกิจในการรับเหมาก่อสร้างเคยรับเหมาก่อสร้างท่าเรือและโรงงานต่างๆมาแล้วหลายแห่งรวมทั้งรับเหมาติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัทม. อันเป็นงานพิพาทในคดีนี้ด้วยงานติดตั้งเครื่องจักรพลาสติกถือได้ว่าเป็นงานก่อสร้างอย่างหนึ่งเมื่อจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติธุระการที่จำเลยรับจ้างทำงานดังกล่าวให้แก่บริษัทม.จึงเป็นการรับจ้างทำงานในกิจการอันเป็นปกติธุระของจำเลยนั่นเองดังนั้นแม้จำเลยจะรับจ้างทำงานนั้นมากน้อยเพียงใดเป็นระยะเวลาเท่าใดงานนั้นก็ย่อมไม่เป็นงานโครงการเฉพาะซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสี่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานดังกล่าวไม่ว่าจะทำสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาเท่าใดเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานก่อสร้างปกติธุรกิจ ไม่ใช่โครงการเฉพาะ ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
จำเลยประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างเคยทำการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่หลายแห่งได้แก่โครงการต่อท่อน้ำมันที่จังหวัดสระบุรีโครงการก่อสร้างท่อเรือและติดตั้งท่อน้ำมันที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีและโครงการติดตั้งเครื่องมือผลิตเม็ดพลาสติกของบริษัทม. ที่จังหวัดระยองซึ่งเป็นงานที่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานอยู่ด้วยการที่จำเลยประกอบธุรกิจในการรับเหมาก่อสร้างเคยรับเหมาก่อสร้างท่าเรือและโรงงานต่างๆมาแล้วหลายแห่งรวมทั้งรับเหมาติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัทม. อันเป็นงานพิพาทในคดีนี้ด้วยงานติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกถือได้ว่าเป็นงานก่อสร้างอย่างหนึ่งเมื่อจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติธุระการที่จำเลยรับจ้างทำงานดังกล่าวให้แก่บริษัทม. จึงเป็นการรับจ้างทำงานในกิจการอันเป็นปกติธุรกิจของจำเลยและไม่ว่าจำเลยจะรับจ้างทำงานนั้นมากน้อยเพียงใดและเป็นระยะเวลาเท่าใดงานนั้นก็ย่อมไม่เป็นงานโครงการเฉพาะซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสี่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานดังกล่าวไม่ว่าจำเลยจะทำสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาเท่าใดเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: งานก่อสร้างเกิน 2 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย แม้สัญญาจ้างระบุเวลาสั้นกว่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสี่ ข้อความที่ว่า "การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2 ปี" ข้อความที่ว่า งานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี ย่อมหมายความว่า เป็นงานทั้งหมดที่นายจ้างต้องกระทำให้แล้วเสร็จใน 2 ปี หาใช่หมายถึงเฉพาะระยะเวลาการจ้างที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างสำหรับลูกจ้างแต่ละคนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: งานก่อสร้างเกิน 2 ปี แม้สัญญาจ้างระบุไม่เกิน 2 ปี ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสี่ข้อความที่ว่า"การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปี"ข้อความที่ว่างานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีย่อมหมายความว่าเป็นงานทั้งหมดที่นายจ้างต้องกระทำให้แล้วเสร็จใน2ปีหาใช่หมายถึงเฉพาะระยะเวลาการจ้างที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างสำหรับลูกจ้างแต่ละคนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยลูกจ้าง: งานก่อสร้างปกติ ไม่ใช่ครั้งคราว แม้มีกำหนดสัญญา และต่อสัญญาได้
จำเลยมีอาชีพรับเหมางานก่อสร้างทั่วไปเป็นปกติโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่จำเลยประมูลได้จึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยจำเลยจ้างโจทก์ทำงานในโครงการดังกล่าวแม้จะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้แต่ตามสัญญาจ้างระบุว่าในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครง>การยังไม่แล้วเสร็จจำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงานทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นรายๆไปจึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างในงานก่อสร้างปกติ แม้มีสัญญาจ้างระยะเวลาแน่นอน
จำเลยรับเหมางานก่อสร้างทั่วไปตามที่จะประมูลได้ต้องหมายความว่าการรับเหมางานก่อสร้างทุกชนิดเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยโครงการก่อสร้างท่าเรือนำลึกเกาะสีชังที่จำเลยประมูลได้เป็นงานก่อสร้างจึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย ตามสัญญาจ้างเอกสารหมายจล.1ถึงจล.9จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชังระยะที่1ซึ่งแม้ตามสัญญาจ้างจะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้แต่ตามสัญญาจ้างข้อ15การต่อสัญญาจ้างมีข้อความว่าในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครงการยังไม่แล้วเสร็จจำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงานทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นรายๆไปสัญญาจ้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นการว่าจ้างให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชังระยะที่1ทั้งโครงการและเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างหากโครงการยังไม่เสร็จก็มีการต่อสัญญากันได้อีกเช่นนี้จึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, และการรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมในสัญญาจ้างก่อสร้าง
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงงานที่โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1ก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีตโดยมีสัญญาว่าจ้างพร้อมทั้งรายละเอียดข้อกำหนดการก่อสร้างคลองและแบบรูปคลอง ซึ่งถือว่าแบบรูปและรายละเอียดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่คู่สัญญาถือไว้คนละฉบับ โจทก์ได้แนบสัญญาว่าจ้างมาท้ายฟ้องด้วย โดยเฉพาะโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้โดยตรงว่า จำเลยที่ 1ผิดสัญญาในงวดที่ 3 และที่ 4 โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วและได้ว่าจ้างผู้อื่นทำงานส่วนที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าคำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมทราบดีถึงขนาดของคลองส่งน้ำที่จำเลยที่ 1 รับจ้างก่อสร้าง โจทก์หาต้องบรรยายขนาด กว้าง ยาว ลึกของคลองส่งน้ำมาด้วยไม่ ส่วนงานที่โจทก์ว่าจ้าง พ.ให้ทำงานต่อจากจำเลยที่ 1 มีอะไรบ้างนั้นเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบและโจทก์ได้รับมอบงานงวดที่ 2หลังจากสิ้นสุดการต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2 แล้วก็ตาม แต่ในการรับมอบงานงวดที่ 2นั้น เนื่องจากล่วงเลยกำหนดเวลาส่งมอบงานตามที่ขอต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2โจทก์ได้สงวนสิทธิในการคิดเบี้ยปรับและได้หักเบี้ยปรับจากสินจ้างงวดที่ 2ที่จ่ายให้จำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากนี้หลังจากโจทก์ไม่รับมอบงานงวดที่ 3และที่ 4 เพราะงานไม่เสร็จตามที่จำเลยที่ 1 ขอส่งมอบแล้ว โจทก์ก็ได้มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างอีก แสดงว่าโจทก์ยังมีเจตนายึดถือระยะเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานงวดที่ 3 และที่ 4ไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามสัญญา การที่โจทก์มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำงานว่า ถ้าไม่ทำงานภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ โจทก์จะบอกเลิกสัญญานั้น เป็นการให้โอกาสจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญาทันทีเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใดโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องและทิ้งงานไป โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้ว
ส่วนเรื่องดอกเบี้ยนั้น สัญญาว่าจ้างได้กำหนดว่าจำเลยที่ 1ต้องเสียเบี้ยปรับหากไม่ทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเท่านั้น หาใช่กำหนดวันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น วันผิดนัดชำระเบี้ยปรับที่โจทก์จะพึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันครบกำหนดทวงถาม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดน้อยกว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 จำเลยที่ 4 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่จำเลยที่ 4ต้องรับผิดเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 4มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 4
แม้จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบและโจทก์ได้รับมอบงานงวดที่ 2หลังจากสิ้นสุดการต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2 แล้วก็ตาม แต่ในการรับมอบงานงวดที่ 2นั้น เนื่องจากล่วงเลยกำหนดเวลาส่งมอบงานตามที่ขอต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2โจทก์ได้สงวนสิทธิในการคิดเบี้ยปรับและได้หักเบี้ยปรับจากสินจ้างงวดที่ 2ที่จ่ายให้จำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากนี้หลังจากโจทก์ไม่รับมอบงานงวดที่ 3และที่ 4 เพราะงานไม่เสร็จตามที่จำเลยที่ 1 ขอส่งมอบแล้ว โจทก์ก็ได้มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างอีก แสดงว่าโจทก์ยังมีเจตนายึดถือระยะเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานงวดที่ 3 และที่ 4ไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามสัญญา การที่โจทก์มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำงานว่า ถ้าไม่ทำงานภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ โจทก์จะบอกเลิกสัญญานั้น เป็นการให้โอกาสจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญาทันทีเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใดโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องและทิ้งงานไป โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้ว
ส่วนเรื่องดอกเบี้ยนั้น สัญญาว่าจ้างได้กำหนดว่าจำเลยที่ 1ต้องเสียเบี้ยปรับหากไม่ทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเท่านั้น หาใช่กำหนดวันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น วันผิดนัดชำระเบี้ยปรับที่โจทก์จะพึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันครบกำหนดทวงถาม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดน้อยกว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 จำเลยที่ 4 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่จำเลยที่ 4ต้องรับผิดเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 4มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 4