คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
งานชำรุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงค่าจ้างของผู้รับจ้างเมื่องานชำรุด และขอบเขตความรับผิดของผู้รับจ้างในการแก้ไขงาน
จำเลยซื้อแผ่นพลาสติกพร้อมติดตั้งจากโจทก์เพื่อใช้ปูบ่อบำบัดน้ำเสียของจำเลยโจทก์ส่งมอบงานปูแผ่นพลาสติกในบ่อบำบัดน้ำเสียให้จำเลยเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นจำเลยใช้บ่อบำบัดน้ำเสียได้ประมาณ 2 ถึง 3 เดือน แผ่นพลาสติกที่ปูไว้ได้โป่งพองลอยขึ้นอันเป็นความบกพร่องซึ่งไม่พึงพบได้ในขณะเมื่อส่งมอบ โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 598 โดยจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างไว้ได้แต่เพียงเพื่อให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องดังกล่าวเท่านั้น เมื่อโจทก์ติดต่อกับจำเลยขอเข้าไปแก้ไขซ่อมแซมหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ยอมโดยอ้างถึงความจำเป็นที่ต้องใช้บ่อบำบัดน้ำเสียดังกล่าว ไม่สามารถสูบน้ำออกจากบ่อได้เพราะจะทำให้เสียรายได้ ถือเป็นข้ออ้างที่ไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้รับจ้างจะสามารถดำเนินการได้โดยลำพัง ดังนั้นการที่โจทก์ไม่สามารถแก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องของงานได้จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างที่ค้างชำระอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง: การยึดหน่วงค่าจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหายจากงานชำรุด และผลของการไม่ถือกำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างได้ระบุไว้ว่า กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานคือวันที่ 31 สิงหาคม 2538 โจทก์ได้ส่งมอบงานครั้งสุดท้ายคือวันที่ 31 สิงหาคม 2538 ขณะที่มีการส่งมอบงานงวดสุดท้ายนั้น งานตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ เหตุที่โจทก์ขอส่งมอบงานก่อนโดยมีเงื่อนไขว่าจะรับผิดชอบในงานส่วนที่เหลือ และจำเลยตกลงรับมอบงานไว้นั้นก็เพื่อมิให้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาอันจะทำให้ถูกปรับและเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หลังจากที่มีการส่งมอบงานงวดสุดท้ายแล้ว โจทก์ยังคงทำงานตามสัญญาจ้างรับเหมาก่อสร้างต่อไป จนกระทั่งงานเสร็จ หลังจากนั้นทางฝ่ายจำเลยได้ออกใบรับรองการจ่ายเงินให้โจทก์เป็นค่าจ้างงวดสุดท้าย และต่อมาจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่ง พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ได้ปฏิบัติต่อกันดังกล่าว เห็นได้ว่าต่างก็ไม่ถือกำหนดระยะเวลาเป็นสาระสำคัญของสัญญาอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตามโจทก์ยังคงต้องดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จตามสัญญาอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีข้อชำรุดบกพร่อง โจทก์จึงจะได้รับค่าจ้างครบถ้วนตามสัญญา การที่โจทก์ดำเนินการก่อสร้างแล้วชำรุดบกพร่อง โจทก์จึงยังคงต้องรับผิดค่าเสียหายในส่วนที่ชำรุดบกพร่องนี้ เมื่อโจทก์ยังคงต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างอยู่ การที่จำเลยใช้สิทธิไม่ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายไว้ จึงเป็นการใช้สิทธิยึดหน่วงสินจ้างเป็นค่าเสียหายในการก่อสร้างตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีค่าเสียหายจากสัญญาจ้างเหมา และสิทธิการแก้ไขงานชำรุด
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายจำนวน 31,500 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1โจทก์อุทธรณ์ ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์โจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ คดีสำหรับจำเลยที่ 1จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาแม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยที่ 1 ได้ สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างฉบับพิพาท ข้อ 20 ระบุว่าถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันในสัญญาข้อ 3 ปรากฏว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานแล้วเสร็จเรียบร้อยและโจทก์ได้รับมอบงานจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาแล้วถือว่าจำเลยที่ 1 ทำงานครบถ้วนตามสัญญาแล้วโจทก์ย่อมหมดสิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดชอบต่องานที่โจทก์ได้รับมอบไปแล้วถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาข้อ 6 วรรคหนึ่งซึ่งหากจำเลยที่ 1 บิดพลิ้วเพิกเฉย โจทก์มีสิทธิว่าจ้างผู้อื่นทำงานนั้นหรือทำการแก้ไขเองโดยจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อค่าแก้ไขซ่อมแซมเท่านั้น ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากงานเหมาที่ชำรุด และการผิดสัญญาจ้างเหมาซ่อมแซม
ในวันส่งมอบงานมีการโต้แย้งกันเรื่องค่าจ้าง จึงมิใช่โจทก์รับมอบงานโดยไม่อิดเอื้อน และบันทึกที่จำเลยที่ 1ส่งมอบงานให้โจทก์ระบุว่าค่าปรับจำเลยที่ 1 ขอผัดผ่อนไปก่อนโจทก์ขอสงวนสิทธิไว้เพื่อจะเรียกร้องต่อไป ดังนี้จึงฟังได้ว่า โจทก์ได้สงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลาชำระหนี้แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ทำงานผิดพลาดบกพร่อง โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1มาจัดการซ่อมแซม แต่จำเลยที่ 1 ไม่มาทำ โจทก์ต้องไปจ้างช่างอื่นมาทำให้ใหม่ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์รวมเป็นเงิน67,650 บาท ซึ่งเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ารายการเกี่ยวกับการทาสีบ้าน บันไดหลุดหลวม ก๊อกน้ำโถส้วม ปูนฉาบบ้านร้าวขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์ว่ารายการดังกล่าวไม่ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจึงไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับความเสียหายดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง และศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายในรายการดังกล่าวหรือไม่โดยไม่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)ประกอบมาตรา 247 บ้านโจทก์ชำรุดบกพร่อง โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 มาทำการซ่อมแซมแล้วแต่จำเลยที่ 1 ไม่มา โจทก์จึงมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 ได้และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำการซ่อมแซม จำเลยที่ 1จึงผิดสัญญาข้อ 6 แม้โจทก์จะยังไม่ได้จ้างบุคคลอื่นซ่อมแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างบุคคลอื่นทำแทนจำเลยที่ 1 จากจำเลยทั้งสองได้ แต่ตามสัญญาก่อสร้างไม่ได้ระบุว่า ช่องหลังคาต้องป้องกันค้างคาวได้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับรายการดังกล่าว เมื่อปัญหาได้ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าซ่อมรางน้ำฝนและเพดานโดยกำหนดให้จำนวน2,500 บาท ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยอีกว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรางน้ำฝนและเพดาน และถือว่าปัญหานี้เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผิดสัญญาจ้าง: ใช้ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปี หากสัญญาตกลงเรื่องการแก้ไขงานชำรุด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันไว้เป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความหนึ่งปีตาม มาตรา 601 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานที่ชำรุด และผลกระทบต่อสิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้ว่าจ้าง
แม้สัญญาจ้างก่อสร้างข้อหนึ่งระบุว่า ถ้าผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาข้อต่อไปได้ระบุว่าผู้รับจ้างสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและจัดทำงานที่ไม่ได้ทำไปโดยความซื่อสัตย์สุจริตและปรากฏว่าไม่ประณีตเรียบร้อยให้เรียบร้อยดีภายใน 15 วัน ดังนี้ หมายความว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อสัญญากำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้ถูกต้องไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขการก่อสร้างส่วนที่ผิดสัญญาให้ถูกต้องตรงตามสัญญาจนโจทก์ตรวจรับงานและชำระเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดนั้นแล้ว โจทก์จึงไม่สามารถหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียวเมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบงานชำรุดจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน แม้จำเลยจะรับมอบงานบางส่วน
โจทก์รับจ้างสร้างรั้ว แต่สร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชา เป็นเหตุให้รั้วพังล้มลง แม้โจทก์จะอ้างว่า จำเลยรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ ถือว่าโจทก์ทำงานให้จนเสร็จเรียบร้อยตามทางการจ้างแล้วนั้น โจทก์ก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 โจทก์ยังต้องรับผิดแก่จำเลยจากงานที่ชำรุดบกพร่องตามที่ปรากฏขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับจ้างต้องรับผิดจากงานชำรุดบกพร่อง แม้จำเลยจะรับมอบงานบางส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600
โจทก์รับจ้างสร้างรั้ว แต่สร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาเป็นเหตุให้รั้วพังล้มลงแม้โจทก์จะอ้างว่าจำเลยรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ ถือว่าโจทก์ทำงานให้จนเสร็จเรียบร้อยตามทางการจ้างแล้วนั้นโจทก์ก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 600โจทก์ยังต้องรับผิดแก่จำเลยจากงานที่ชำรุดบกพร่องตามที่ปรากฏขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างจากงานชำรุดบกพร่อง แม้จำเลยจะรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้าง
โจทก์รับจ้างสร้างรั้วแต่สร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาเป็นเหตุให้รั้วพังล้มลงแม้โจทก์จะอ้างว่าจำเลยรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ถือว่าโจทก์ทำงานให้จนเสร็จเรียบร้อยตามทางการจ้างแล้วนั้นโจทก์ก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา600โจทก์ยังต้องรับผิดแก่จำเลยจากงานที่ชำรุดบกพร่องตามที่ปรากฏขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงค่าจ้างจากงานที่ชำรุด: จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างจนกว่าโจทก์แก้ไขงานให้เรียบร้อย
โจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2550 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 รับมอบงานดังกล่าว สำหรับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ปรากฏตามใบแจ้งหนี้ว่าเป็นรายการชำระงวดสุดท้าย ซึ่งเป็นการเรียกเก็บในเวลาภายหลังการส่งมอบงานของโจทก์ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานไม่เรียบร้อยชำรุดบกพร่อง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างในงวดสุดท้ายเพื่อให้โจทก์ทำการแก้ไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 599 กรณีมิใช่การยึดหน่วงค่าสินค้าและค่าแรงที่โจทก์ทำเสร็จเรียบร้อยและถึงกำหนดชำระแล้วดังที่โจทก์ฎีกา
of 2