คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดทะเบียนสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของบิดามารดา ทำให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิมรดก
บันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรส เจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำที่ผู้คัดค้านและผู้ตายให้ไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยทั้งผู้คัดค้านและผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ทั้งบันทึกด้านหลังทะเบียนสมรสนายทะเบียนได้ทำในวันและเวลาเดียวกันต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนสมรสด้านหน้า จึงถือว่าผู้คัดค้านและผู้ตายได้ให้ถ้อยคำและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่ผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสในเรื่องลายมือชื่อผู้ร้องขอจดทะเบียนยังไม่เป็นเหตุถึงกับทำให้การจดทะเบียนสมรสนั้นไม่สมบูรณ์และตกเป็นโมฆะ
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) และ 1585 (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 22 ที่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดานั้น มิได้บังคับว่า ความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ม. ซึ่งเป็นมารดาของเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. ได้ให้ความยินยอมในการที่ผู้ตายจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. เป็นบุตรบุญธรรม แม้ ม. จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมของผู้ตายก็ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
เด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1586 (เดิม) หรือ 1598/28 (ใหม่) และถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (1) ตามมาตรา 1629 ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (3) จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีอำนาจร้องขอจัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสและรับบุตรบุญธรรม: ความยินยอมของบิดามารดาและการสืบสันดาน
แม้ตามสำเนาทะเบียนการสมรสจะปรากฏลายมือชื่อฝ่ายชายคือ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องขอจดทะเบียนแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ในบันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรสดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำที่จำเลยที่ 1 และผู้ตายให้ไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยทั้งจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน บันทึกดังกล่าวได้ทำในวันและเวลาต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนสมรสด้านหน้า จึงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ให้ถ้อยคำและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่ผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุถึงทำให้การจดทะเบียนสมรสไม่มีผลสมบูรณ์เป็นโมฆะแต่อย่างไร
ในการรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญญัติว่า ถ้าผู้ที่บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดา ถ้าไม่มีบิดามารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมก็ได้ และมาตรา 1585 (เดิม) บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย เมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 22 แล้วจะเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดแต่เพียงว่า การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาเท่านั้น มิได้บังคับว่าคำยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างไร ดังนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 กับ ม. ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จดทะเบียนหย่าและแยกกันอยู่โดยมีบันทึกหลังทะเบียนหย่าว่าให้จำเลยที่ 1 รับเลี้ยงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่วน ม. รับเลี้ยงบุตรคนเล็ก และต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายและผู้ตายได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งจำเลยที่ 4 ในฐานะนายทะเบียนได้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้แก่ผู้ตายโดยที่ให้เฉพาะจำเลยที่ 1 บิดาเป็นผู้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแต่เพียงผู้เดียว โดยเห็นว่าตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่ามีผลทำให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียว แม้ข้อความในบันทึกหลังทะเบียนหย่ามิอาจถือได้ว่า ม. ตกลงยินยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ปรากฏว่านับแต่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นเวลากว่า 29 ปี ม. ก็มิได้ว่ากล่าวคัดค้านการรับบุตรบุญธรรม และยังทำหนังสือยืนยันว่าทราบเรื่องและให้ความยินยอมมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และเหตุที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ก็เพราะขณะที่จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 ม. ตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในการเลี้ยงดูของจำเลยที่ 1 นั้น หมายถึงการให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียวด้วยและไม่ขอคัดค้าน รวมทั้งยังขอร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยยืนยันการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม พฤติการณ์จึงฟังได้ว่า ม. ได้ให้ความยินยอมด้วยแล้วในการรับบุตรบุญธรรมของผู้ตาย การรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4443/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีหย่า: สถานที่มูลคดีเกิดคือสถานที่เกิดเหตุหย่า ไม่ใช่สถานที่จดทะเบียนสมรส
คำว่า "มูลคดีเกิด" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1)หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาของคำฟ้อง โจทก์ฟ้องหย่าจำเลย ต้นเหตุของคำฟ้องคือเหตุหย่า ส่วนการจดทะเบียนสมรสเป็นต้นเหตุของความเป็นสามีภริยากัน สถานที่จดทะเบียนสมรสจึงมิใช่เป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าเกิด เมื่อโจทก์จำเลยพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกันที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำเลยได้กระทำการเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โดยทำร้ายร่างกายโจทก์และขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน อันเป็นเหตุฟ้องหย่า จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าเกิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายเนื่องจากขาดลายมือชื่อพยานครบถ้วน ส่งผลต่อการเป็นผู้จัดการมรดก
ตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว มาตรา 6 วรรคสอง คู่สมรสจะต้องลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญในทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนและต่อหน้าพยานสองคนซึ่งต้องลงลายมือชื่อไว้ในทะเบียนในขณะนั้นด้วย แต่ตามทะเบียนการสมรสปรากฏว่ามีลายมือชื่อพยานเพียงคนเดียว จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานสองคน เป็นการมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด การจดทะเบียนสมรสจึงไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสซ้ำโดยแจ้งข้อมูลเท็จ ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย จึงไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. ในวันที่ 10 สิงหาคม 2531 จำเลยไม่มีคู่สมรสเพราะจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน ค. ไปก่อนแล้วจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1452
จำเลยไม่มีคู่สมรสอยู่ในขณะที่จดทะเบียนสมรส แม้จำเลยจะแจ้งว่าจำเลยเคยสมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลอย่างเดียวกัน การที่นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้จำเลยกับ ส. โดยเชื่อว่า จำเลยไม่เคยสมรสมาก่อน จึงไม่อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย และไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จประวัติคู่สมรส จดทะเบียนสมรสได้ หากไม่มีคู่สมรสขณะจดทะเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. ในวันที่ 10 สิงหาคม2531 จำเลยไม่มีคู่สมรสเพราะจำเลยจดทะเบียนหย่ากับ ค. แล้วตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2515 จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 การที่จำเลยไม่มีคู่สมรสอยู่ในขณะที่จดทะเบียนสมรส แม้จำเลยจะแจ้งว่าจำเลยเคยสมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลอย่างเดียวกันว่าจำเลยไม่มีคู่สมรสในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. นั่นเองการที่นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้จำเลยกับ ส. โดยเชื่อว่าจำเลยไม่เคยสมรสมาก่อนจึงไม่อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายและไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสที่สมบูรณ์ แม้ไม่มีตราประทับนายทะเบียน และผลของการสมรสซ้อน
แม้ใบทะเบียนการสมรสมิได้ประทับตรานายทะเบียน ก็หาทำให้ทะเบียนการสมรสไม่สมบูรณ์หรือเป็นโมฆะ เพราะพระราชบัญญัติการจดทะเบียนครอบครัวฯ กำหนดเพียงให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ มิได้มีบทบัญญัติว่าต้องประทับตรานายทะเบียนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้น, การไม่จดทะเบียนสมรส, และผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องสินสอด
ภายหลังจากโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาหมั้น และแต่งงานตามประเพณีแล้ว ได้อยู่กินร่วมหลับนอนกันที่บ้านของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาจำเลยที่ 1 นานถึง 8 เดือนโดยโจทก์มิได้ประกอบอาชีพใด เอาแต่เที่ยวเตร่และเล่นการพนัน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้รังเกียจในตัวโจทก์นอกจาก ความประพฤติ การที่ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจอยู่กิน ด้วยกันเป็นเวลานาน โดยมิได้ไปจดทะเบียนสมรส จึงเกิด จากการละเลยของทั้งสองฝ่ายที่มิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรส เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณี เท่านั้น จึงมิอาจกล่าวโทษได้ว่าการที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรส เกิดจากความผิดของฝ่ายใด แม้ต่อมามีการทำบันทึกตกลงกัน ว่าทั้งสองฝ่ายจะไปจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้ปลูกบ้านในที่ดินของจำเลยที่ 2 ตาม ข้อตกลงการที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรส กับโจทก์ จึงยังไม่อาจถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของคำฟ้องกรณีผิดสัญญาหมั้น: โจทก์ไม่ต้องบรรยายเจตนาจดทะเบียนสมรส
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำพิธีหมั้นกันโดยฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้มอบของหมั้นเป็นแหวนพลอยจำนวน 1 วง ในการหมั้นจำเลยที่ 1 สัญญาว่าหลังจากหมั้นแล้วจะทำพิธีแต่งงานอยู่กินร่วมกันฉันสามีภรรยาตามประเพณีกันต่อไป ต่อมาจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นโดยไปสมรสกับจำเลยที่ 2 ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ ดังนี้ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 กับโจทก์มิได้มีการหมั้นกันและจำเลยที่ 1 มิได้ผิดสัญญาหมั้น แสดงว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจฟ้องโจทก์และต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ทั้งสาระสำคัญของคำฟ้องก็อยู่ที่ว่าได้มีการทำสัญญาหมั้นกันและมีการผิดสัญญาหมั้นหรือไม่ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อแสดงให้เห็นว่าการหมั้นนั้นจะมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวมาในคำฟ้องด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินหลังจดทะเบียนสมรส: การแบ่งสินสมรสและสิทธิเจ้าของร่วม
แม้จำเลยที่1จะซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจดทะเบียนสมรสกับโจทก์แต่โจทก์กับจำเลยที่1ไม่เคยอยู่กินฉันสามีภริยากันเลยจำเลยที่1เป็นผู้ซื้อที่ดินและนำไปจำนองผ่อนชำระหนี้ฝ่ายเดียวส่วนจำเลยที่2อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่1มีส่วนในการชำระเงินดาวน์และผ่อนชำระราคาค่าที่ดินและบ้านพิพาทจึงมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทด้วยและที่จำเลยที่1ไปเอาเงินจากโจทก์มาไถ่ถอนที่ดินนำไปจำนองใหม่แล้วนำเงินไปปลูกบ้านโจทก์จึงมีส่วนร่วมในที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเช่นกันโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาทแต่ตามพฤติการณ์ไม่อาจหยั่งทราบได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีส่วนเป็นเจ้าของคนละเท่าใดจึงต้องสันนิษฐานว่าแต่ละคนมีส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357จำเลยที่2มีส่วนหนึ่งในสามส่วนส่วนที่เหลืออีกสองในสามส่วนเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ซึ่งต้องแบ่งให้ได้ส่วนเท่ากัน
of 16