คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จัดการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม, การจัดการมรดก, และผลกระทบต่อสิทธิบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทระบุสถานที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงความจริง วัน เดือน ปี ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นที่น่าสงสัยทั้งผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยพยานมิได้อยู่ในขณะนั้น การทำพินัยกรรมจึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. มีผลให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 จำเลยมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอันเป็นข้อเท็จจริงแม้ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกปัญหาว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่และได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ ผู้ตายเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริง และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตามวันเดือนปีที่แท้จริงนั้น ข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อ แม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม และการลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามฟ้อง
โจทก์มิได้ฟ้องผู้รับจำนองเข้ามาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนการจำนองกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เป็นการไม่ชอบ
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล แม้จำเลยจะโอนที่ดินเป็นของตนแล้วนำไปจำนองกับบุคคลภายนอกเป็นการโอนตามพินัยกรรมที่จำเลยเข้าใจว่าสมบูรณ์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องในการเป็นผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอันจะให้เพิกถอนผู้จัดการมรดก ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิจัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 โจทก์จึงไม่มีสิทธิห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินล้มละลาย: พนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
คดีล้มละลาย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว ก็เป็นอำนาจของพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลย ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายจำเลยจะมาขอให้ทุเลาการบังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 231 อย่างคดีแพ่งธรรมดาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและขอบเขตความรับผิดในการคืนเงินมัดจำ
โจทก์ฟ้องว่า ได้ตกลงซื้อรถทัวร์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดแต่ได้สอดเข้าไปจัดการงานของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกันในการคืนเงินมัดจำ จำเลยทั้งสามจึงเป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์ ดังนั้นจึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งไม่อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการและจำหน่ายสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส หากไม่ได้รับความยินยอม นิติกรรมไม่สมบูรณ์
ตามมาตรา 1476, 1477 และ 1480 แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้บัญญัติไว้มีใจความว่า นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายสินสมรสด้วยในการจัดการสินสมรส ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบัน เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีทำสัญญาจะขายที่ดินสินสมรสให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยา นิติกรรมย่อมไม่สมบูรณ์ โจทก์จึงไม่อาจจะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เพื่อหลักประกันการทำงานต่างประเทศ มิใช่การจัดการสินสมรส
โจทก์มอบเงินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ โดยไม่มีการมอบเงินตามสัญญากู้การทำสัญญากู้ดังกล่าวเป็นการทำนิติกรรมเพื่อเป็นหลักประกันการที่จำเลยจะส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสของโจทก์โดยเฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรส การที่โจทก์นำสัญญากู้มาฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายโจทก์มีหน้าที่จัดการวันนัดพิจารณาคดีเอง หากนัดชนกับคดีอื่นต้องรีบร้องขอเลื่อน
ในวันนัดพิจารณานัดก่อนทนายโจทก์มาศาลด้วยตนเอง จึงต้องถือว่าทนายโจทก์ได้ร่วมกำหนดวันนัดพิจารณาครั้งต่อไปด้วย ซึ่งโดยปกติก็ต้องนัดพิจารณาในวันว่างของทนายโจทก์ด้วย หากเกิดกรณีไปนัดซ้อนวันกันกับศาลอื่นก็ชอบที่ทนายโจทก์จะต้องรีบร้องขอเลื่อนคดีเสียแต่เนิ่น ๆ มิใช่เพิ่งให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีมายื่นต่อศาลในวันนัดพิจารณานัดหลัง ซึ่งห่างจากวันนัดพิจารณานัดก่อนถึง 48 วัน กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกและการจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมาย
คดีเดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ร.หาก ส. จะขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนโจทก์ ตามปกติย่อมกระทำได้โดยยื่นคำร้องในคดีเดิม หรืออาจฟ้องโจทก์แยกจากคดีเดิมได้โดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นแต่ให้สิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมก่อนการปัน มรดก เสร็จสิ้นลงเท่านั้น หาเป็นการตัดสิทธิมิให้ฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีใหม่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้ง ส.เป็นผู้จัดการมรดกของร. แทนนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของ ร. อีกต่อไป การที่ ส. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกทำตามมติที่ประชุมทายาทโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการจัดการตามอำนาจหน้าที่และมิใช่เป็นการทำนิติกรรมที่ตนมีส่วนได้เสียอันเป็นปรปักษ์ต่อกองมรดก นิติกรรมจึงมีผลสมบูรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าต้องเกิดขึ้นจากการชี้ช่องหรือจัดการที่ทำให้สัญญาสัมฤทธิ์ การเสนอราคาเองไม่ถือเป็นการชี้ช่อง
โจทก์เป็นนายหน้าให้จำเลยในการขายเครื่องมือวิเคราะห์ธาตุในอาหารให้แก่องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปโดยวิธีพิเศษ แต่ยังไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันทางองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป ก็ได้กำหนดให้มีการจัดซื้อใหม่โดยวิธีประกวดราคา จำเลยจึงได้ไปยื่นซองประกวดราคาและเจรจาต่อรองราคากับองค์การดังกล่าวเอง จนตกลงทำสัญญาซื้อขายกันได้ การซื้อขายรายนี้จึงสำเร็จลงได้เพราะการเข้าเสนอประกวดราคาของจำเลยเอง โดยโจทก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนการกระทำของโจทก์ในระหว่างที่เป็นนายหน้าให้จำเลยในตอนแรก ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการชี้ช่องหรือจัดการในส่วนสำคัญอันทำให้สัญญาซื้อขายได้ทำกันสำเร็จในตอนหลัง จำเลยไม่ต้องชำระค่านายหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าต้องเกิดจากการชี้ช่องหรือจัดการที่เป็นเหตุให้สัญญาสำเร็จ หากจำเลยดำเนินการเองจนสำเร็จ ค่านายหน้าจึงไม่เกิด
โจทก์เป็นนายหน้าให้จำเลยในการขายเครื่องมือวิเคราะห์ธาตุในอาหารให้แก่องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปโดยวิธีพิเศษ แต่ยังไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันทางองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป ก็ได้กำหนดให้มีการจัดซื้อใหม่โดยวิธีประกวดราคา จำเลยจึงได้ไปยื่นซองประกวดราคาและเจรจาต่อรองราคากับองค์การดังกล่าวเอง จนตกลงทำสัญญาซื้อขายกันได้ การซื้อขายรายนี้จึงสำเร็จลงได้เพราะการเข้าเสนอประกวดราคาของจำเลยเอง โดยโจทก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนการกระทำของโจทก์ในระหว่างที่เป็นนายหน้าให้จำเลยในตอนแรก ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการชี้ช่องหรือจัดการในส่วนสำคัญอันทำให้สัญญาซื้อขายได้ทำกันสำเร็จในตอนหลัง จำเลยไม่ต้องชำระค่านายหน้าให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการถอดถอนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด: หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีสิทธิโดยตรง
คดีนี้โจทก์จำเลยท้ากันให้ศาลชี้ข้อกฎหมายประเด็นเดียวว่าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะมีสิทธิร่วมประชุมถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการหรือไม่เท่ากับโจทก์จำเลยยอมสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้วโจทก์จะยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1032ขึ้นตั้งเป็นประเด็นใหม่อีกหาได้ไม่ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อโต้แย้งของโจทก์ข้อนี้อยู่นอกคำท้าไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาไดมีสิทธิและความรับผิดเท่าเทียมกันไม่การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้นหากห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวผู้นั้นก็เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโดยลำพังหากมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหลายคนต่างคนต่างก็มีสิทธิเข้าจัดการห้างหุ้นส่วนหรืออาจตกลงระหว่างกันเองให้ใครเป็นผู้จัดการก็ได้และเมื่อจะถอดถอนผู้จัดการก็จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอนทำนองเดียวกับกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนี้มีสิทธิและความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนั่นเองส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดหาได้มีสิทธิและความรับผิดอย่างผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นการนำมาตรา1036ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองของห้างหุ้นส่วนสามัญใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องใช้เฉพาะกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้นและที่มาตรา1088วรรคสองมิให้ถือว่าการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดออกความเห็นแนะนำหรือออกเสียงลงคะแนนในการตั้งและถอดถอนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของหุ้นส่วนนั้นก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาหุ้นส่วนเท่านั้นซึ่งเป็นข้อยกเว้นหาใช่กรณีทั่วไปไม่.
of 4