คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จัดซื้อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อความเสียหายจากการอนุมัติจัดซื้อที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ
จำเลยที่ 9 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ลงนามอนุมัติจัดซื้อหนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นหนังสือประกอบหลักสูตรเท่านั้น โดยวิธีกรณีพิเศษ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อและซื้อจากร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ซึ่งมิใช่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ อันเป็นการขัดระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2522 แม้หนังสือที่ขออนุมัติจัดซื้อได้ผ่านการตรวจสอบของจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำเลยร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นปลัดจังหวัด และจำเลยร่วมที่ 3 ซึ่งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นก็ตาม แต่จำเลยที่ 9 เป็นผู้อนุมัติชั้นสุดท้ายต้องไตร่ตรองให้ละเอียดรอบคอบ ไม่ใช่เพียงแต่ลงนามอนุมัติผ่านไปตามความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น เมื่อการอนุมัติจัดซื้อเป็นเหตุให้โจทก์ซื้อหนังสือพิพาทแพงไป การกระทำของจำเลยที่ 9 จึงเป็นความประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ส่วนที่จำเลยที่ 9 ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ คดีสำหรับจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 9 ไม่อาจแก้อุทธรณ์เพื่อให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 9 มานั้น เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยที่ 9 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6338/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดซื้อโดยมิชอบตามระเบียบพัสดุ การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และความเสียหายต่อโจทก์
ร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายหนังสือพิพาทโดยตรง อีกทั้งหนังสือพิพาทไม่ใช่หนังสือภาคบังคับตามหลักสูตรของโจทก์ เพียงแต่เป็นหนังสือเสริมการเรียนการสอนเท่านั้น จึงถือได้ว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อหนังสือพิพาทหากมีการล่าช้าในการจัดซื้อก็ไม่น่าจะทำให้ทางราชการเสียหาย การจัดซื้อหนังสือพิพาทจึงไม่ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2521 แม้การจัดซื้อดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือเวียนที่มีถึงส่วนราชการต่าง ๆ หนังสือดังกล่าวก็มิใช่คำสั่ง แต่เป็นเพียงข้อเสนอแนะชักชวนให้สนับสนุนกิจการด้านสหกรณ์กลาโหม จำกัดเท่านั้น ไม่ได้บังคับให้ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น การที่จำเลยที่ 5 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 10 ได้ร่วมกันจัดทำบันทึกเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อขออนุมัติจัดซื้อหนังสือพิพาท จำเลยที่ 9 ในฐานะรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติและแต่งตั้งให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 เป็นกรรมการจัดซื้อหนังสือพิพาทโดยวิธีพิเศษ ซึ่งเป็นการผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ และเป็นการเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้โดยไม่มีมูลหนี้อันเกิดจากการจัดซื้อที่เกินมูลค่าความเสียหาย
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญารับสภาพหนี้จำนวนเงิน 662,935 บาท อันมีมูลหนี้เดิมมาจากการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยดำเนินการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆในการฝึกอาชีพและเครื่องใช้สำนักงาน จัดซื้อและจัดสร้างอาคารและสนามเด็กเล่นจากร้านค้าต่าง ๆ โดยไม่มีอำนาจและขัดต่อระเบียบของทางราชการ เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 เป็นเหตุให้โจทก์ถูกฟ้องและโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแก่ร้านค้าเหล่านั้นเป็นเงิน 662,935 บาท ทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้าที่จำเลยจัดซื้อจัดสร้างขึ้นนั้นมีมูลค่าก่อนฟ้องคิดเป็นเงิน 715,452.80 บาท มากกว่าค่าเสียหายของโจทก์เป็นเงินจำนวนถึง 52,517.80 บาท โจทก์ย่อมไม่ได้รับความเสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยทำสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ จึงเป็นการรับสภาพหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่มีผลบังคับแก่กันจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8341/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดซื้อพัสดุโดยมิชอบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย การกระทำละเมิดของข้าราชการและการรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2522 ข้อ 14 ระบุว่าการซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า 10,000 บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (3) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น(5) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง แต่หนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นั้น มิใช่แบบเรียนที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเพียงแต่เป็นหนังสือเสริมการเรียนการสอนเท่านั้น ดังนั้นแม้ทางโรงเรียนจะเปิดเรียนถึงเทอมที่ 2 ก็ไม่ใช่กรณีเร่งด่วนเพราะเป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนเท่านั้น แม้จะล่าช้าไปบ้างก็ไม่น่าจะทำให้ทางราชการเสียหาย และแม้ว่าเป็นช่วงปลายปีงบประมาณก็ไม่ใช่เป็นเหตุเร่งด่วนที่จะต้องจัดซื้อตามระเบียบดังกล่าวอีกทั้งร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ก็ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรงตามข้อ 14(5) แห่งระเบียบดังกล่าวนั้น การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มต้นเสนอเรื่องขออนุมัติจัดซื้อหนังสือดังกล่าวจากร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด โดยผ่านจำเลยที่ 2 ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้อนุมัติเมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องซื้อหนังสือพิพาทแพงไป ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8291/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การใช้สิทธิอุทธรณ์เกินกำหนด, การแก้ไขราคาเวนคืน, และสิทธิในการจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติให้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ผู้ใดที่ไม่พอใจในราคาของ อสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตาม มาตรา 9 หรือมาตรา 23 กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนดังกล่าว ซึ่งมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี ดังนี้ ระยะเวลาหกสิบวันที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ถูกเวนคืนแล้วผู้นั้นไม่พอใจ การที่ในตอนแรกคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าว และผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 ให้มา รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2533ต่อมาผู้นั้นได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2533 แม้การอุทธรณ์ดังกล่าวจะเกินกำหนดหกสิบวันแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าต่อมาได้มีประกาศ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้ บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2534 อันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530โดยเพิ่มเติมมาตรา 10 ทวิ ด้วย ซึ่งมาตรา 10 ทวิ ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ และให้ถือว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิมและราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่คือคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ เพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นได้แก้ไขใหม่นี้ จึงเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตาม มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ดังนั้น เมื่อผู้มีสิทธิดังกล่าวข้างต้นไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่แก้ไขใหม่ ได้อีก เมื่อ ผู้มีสิทธิฯ ไม่พอใจ และได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อยังไม่เกินกำหนด ระยะเวลาหกสิบวัน อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 ดังกล่าวแล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังไม่วินิจฉัย อุทธรณ์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ผู้มีสิทธิย่อมมีสิทธิฟ้องคดีได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่ต้องเวนคืนที่ดินแปลงใดแต่เพียงบางส่วน ถ้าเนื้อที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นน้อยกว่ายี่สิบห้าตารางวา หรือด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่าห้าวาและที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นมิได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงอื่นของเจ้าของเดียวกัน หากเจ้าของ ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือด้วยนั้นกฎหมายมาตราดังกล่าวบัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของที่ดินเพราะที่ดินส่วนที่เหลือนั้นเหลืออยู่น้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไป โดยกำหนดให้เจ้าของ ที่ดินร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนเสียก่อน เพื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนจะได้พิจารณาว่ากรณีต้องตามกฎหมายมาตรา ดังกล่าวหรือไม่ การที่โจทก์เคยเสนอขายที่ดินส่วนที่เหลือ ดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 แต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ให้ราคาต่ำกว่าราคาประเมิน โจทก์จึงไม่ขาย แม้การกระทำดังกล่าวจะถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนตามมาตรา 20 วรรคหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ถ้าโจทก์ทั้งหกไม่พอใจก็ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินโจทก์ทั้งหกในส่วนที่เหลือจากการเวนคืน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่จัดซื้อที่ดินโจทก์ทั้งหกในส่วนที่เหลือได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7989/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการจัดซื้อหนังสือพิพาทโดยไม่ชอบ คดีไม่ขาดอายุความนับจากวันที่ทราบผู้กระทำละเมิด
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 9 และ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ.2534 มาตรา 9 ต่างก็บัญญัติว่า กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน และตามระเบียบของทางราชการ กระทรวงการคลังมีอำนาจทำความเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดฐานละเมิด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์เสนอความเห็นไปหรือไม่ และโจทก์มีอำนาจฟ้องตามความเห็นของกระทรวงการคลังได้ แม้เลขาธิการของโจทก์เคยมีความเห็นว่าไม่มีผู้รับผิดชอบทางแพ่งก็ตาม และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
หนังสือพิพาทไม่มีความจำเป็นต้องจัดซื้อโดยเร่งด่วน เนื่องจากได้จัดซื้อตอนกลางปีการศึกษา และไม่ใช่หนังสือภาคบังคับ ไม่จำเป็นตามหลักสูตรเพราะครูสามารถสอนนักเรียนได้โดยใช้คู่มือ จึงถือได้ว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อหนังสือ หากมีการล่าช้าในการจัดซื้อก็ไม่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอีกทั้งร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ฯ แต่ไม่เป็นหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิที่จะซื้อจากร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด แม้ผู้บังคับบัญชาของจำเลยทั้งสี่เคยมีหนังสือสั่งการไว้ว่าร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด เป็นหน่วยราชการให้สนับสนุนกิจการร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ก็ตาม แต่ก็เป็นเพราะความผิดพลาดและเข้าใจผิด ทั้งหนังสือสั่งการดังกล่าวเป็นการแนะนำเท่านั้น ไม่ได้บังคับให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจัดซื้อหนังสือพิพาทโดยวิธีกรณีพิเศษตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2522 ข้อ 16 จึงไม่ชอบ เป็นการผิดระเบียบและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
การที่โจทก์ได้มีหนังสือสอบถามไปยังผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรีว่าได้ซื้อหนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หรือไม่ โดยจังหวัดราชบุรีได้ตอบโจทก์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2524ก็เพื่อต้องการทราบเกี่ยวกับการจัดซื้อหนังสือเท่านั้น ยังไม่ทราบผู้ทำละเมิด ซึ่งจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนอีกชั้นหนึ่ง จึงนับอายุความจากวันที่จังหวัดราชบุรีแจ้งการจัดซื้อหนังสือดังกล่าวไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือจากกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 10 กันยายน 2533 ระบุชื่อผู้ทำละเมิดให้โจทก์ทราบและโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28 เดือนเดียวกัน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7989/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดซื้อโดยมิชอบ การทำละเมิดต่อโจทก์ และการฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 9 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 มาตรา 9ต่างก็บัญญัติว่า กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน และตามระเบียบของทางราชการ กระทรวงการคลังมีอำนาจทำความเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดฐานละเมิดตามที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์เสนอความเห็นไปหรือไม่ และโจทก์มีอำนาจฟ้องตามความเห็นของกระทรงการคลังได้ แม้เลขาธิการของโจทก์เคยมีความเห็นว่าไม่มีผู้รับผิดชอบทางแพ่งก็ตาม และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง หนังสือพิพาทไม่มีความจำเป็นต้องจัดซื้อโดยเร่งด่วนเนื่องจากได้จัดซื้อตอนกลางปีการศึกษา และไม่ใช่หนังสือภาคบังคับ ไม่จำเป็นตามหลักสูตรเพราะครูสามารถสอนนักเรียนได้โดยใช้คู่มือ จึงถือได้ว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อหนังสือ หากมีการล่าช้าในการจัดซื้อก็ไม่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอีกทั้งร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ แต่ไม่เป็นหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิที่จะซื้อจากร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด แม้ผู้บังคับบัญชาของจำเลยทั้งสี่เคยมีหนังสือสั่งการไว้ว่าร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด เป็นหน่วยราชการให้สนับสนุนกิจการร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด ก็ตาม แต่ก็เป็นเพราะความผิดพลาดและเข้าใจผิดทั้งหนังสือสั่งการดังกล่าวเป็นการแนะนำเท่านั้น ไม่ได้บังคับให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจัดซื้อหนังสือพิพาทโดยวิธีกรณีพิเศษตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2522 ข้อ 16 จึงไม่ชอบ เป็นการผิดระเบียบและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ การที่โจทก์ได้มีหนังสือสอบถามไปยังผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรีว่าได้ซื้อหนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หรือไม่โดยจังหวัดราชบุรีได้ตอบโจทก์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2524ก็เพื่อต้องการทราบเกี่ยวกับการจัดซื้อหนังสือเท่านั้นยังไม่ทราบผู้ทำละเมิด ซึ่งจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนอีกชั้นหนึ่ง จึงนับอายุความจากวันที่จังหวัดราชบุรีแจ้งการจัดซื้อหนังสือดังกล่าวไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือจากกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 10 กันยายน 2533 ระบุชื่อผู้ทำละเมิดให้โจทก์ทราบ และโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28เดือนเดียวกัน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานจัดซื้อย่อมไม่มีความผิดฐานมีส่วนได้เสีย หากการจัดซื้อเป็นไปตามระเบียบและเป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการ
ผู้ที่จะมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 152 จะต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น เมื่อปรากฏว่าในการจัดซื้อดินถมพร้อมบดอัดแน่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.นั้น เทศบาลได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและราคาที่ตกลงซื้อก็ต่ำกว่าราคาที่เทศบาลตั้งงบประมาณไว้ แสดงว่าการจัดซื้อดินดังกล่าวจำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีได้กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของตนไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์อย่างอื่นนอกจากประโยชน์ของเทศบาลเป็นสำคัญ แม้จำเลยที่ 1จะเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ก็ตาม กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 152 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดหน้าที่ราชการ ผู้จัดการโรงพิมพ์ปกปิดราคาจัดซื้อ ทำให้มหาวิทยาลัยเสียหาย
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยและเป็นส่วนราชการ จำเลยต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ที่ไม่ควร จำเลยเป็นผู้จัดการโรงพิมพ์ของโจทก์ และจำเลยเป็นผู้เสนอให้โจทก์จัดซื่อเครื่องไสสันทากาวเพื่อใช้ในโรงพิมพ์ ส.ประธานกรรมการบริหารโรงพิมพ์เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยก็ได้มีคำสั่งให้จำเลยเป็นผู้แนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดซื้อเครื่องไสสันทากาวจำเลยย่อมต้องให้คำแนะนำและความเห็นโดยสุจริตในทางที่เป็นประโยชน์แก่โรงพิมพ์ที่จำเลยเป็นผู้จัดการอยู่ และเป็นผลดีแก่โจทก์ด้วย การที่จำเลยไม่บอกให้คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาของโจทก์ทราบว่าเครื่องไสสันทากาวที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เสนอในการประกวดราคาเป็นราคาถึง 490,000 บาท ความจริงห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.เป็นผู้แทนจำหน่ายและขายในราคาเพียง 180,000 บาทเศษเท่านั้น และจำเลยยังบอกแก่ ฆ.ประธานกรรมการเปิดซองประกวดราคาว่าราคาที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เสนอเป็นราคาเหมาะสมอีกดังนี้ นอกจากจะไม่ช่วยให้คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาได้พิจารณาจัดซื้อเครื่องไสสันทากาวในทางที่เป็นผลดีแก่โจทก์อันส่อไปในทางไม่สุจริตของจำเลยแล้ว ยังเป็นการช่วยให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ได้รับประโยชน์ที่ไม่ควรอีกด้วย นับว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ซึ่งมีต่อโจทก์ หากจำเลยบอกความจริงแก่คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาโจทก์ก็คงไม่ทำสัญญาซื้อเครื่องไสสันทากาวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เพราะราคาที่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเสนอสูงกว่าราคาท้องตลาดมาก และเป็นการขัดกับมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามมิให้หน่วยราชการซื้อสินค้าผ่านคนกลาง และโจทก์ก็จะไม่ต้องถูกห้างหุ้นส่วนดังกล่าวฟ้องร้องเอาจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี แม้จะไม่มีพยานหลักฐานพอฟังว่าจำเลยร่วมทุจริตกับห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.แต่การกระทำดังกล่าวเป็นผลให้โจทก์เสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์และค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์คือค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ต้องเสียไปในการต่อสู้คดีกับห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ส่วนดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าเครื่องไสสันทากาวที่โจทก์ได้จ่ายให้บริษัท บ.ตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นดอกเบี้ยที่ต้องชำระดังกล่าวก็เฉพาะในระยะเวลาที่โจทก์ยังไม่ได้ชำระต้นเงินซึ่งโจทก์ก็ได้รับประโยชน์จากเงินดังกล่าวอยู่ โจทก์จึงไม่มีค่าเสียหายในส่วนนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดหน้าที่ของลูกจ้างผู้จัดการโรงพิมพ์ ที่ปกปิดราคาจัดซื้อ ทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยและเป็นส่วนราชการจำเลยต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ที่ไม่ควรจำเลยเป็นผู้จัดการโรงพิมพ์ของโจทก์และจำเลยเป็นผู้เสนอให้โจทก์จัดซื่อเครื่องไสสันทากาวเพื่อใช้ในโรงพิมพ์ส.ประธานกรรมการบริหารโรงพิมพ์เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยก็ได้มีคำสั่งให้จำเลยเป็นผู้แนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดซื้อเครื่องไสสันทากาวจำเลยย่อมต้องให้คำแนะนำและความเห็นโดยสุจริตในทางที่เป็นประโยชน์แก่โรงพิมพ์ที่จำเลยเป็นผู้จัดการอยู่และเป็นผลดีแก่โจทก์ด้วยการที่จำเลยไม่บอกให้คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาของโจทก์ทราบว่าเครื่องไสสันทากาวที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.เสนอในการประกวดราคาเป็นราคาถึง490,000บาทความจริงห้างหุ้นส่วนจำกัดช.เป็นผู้แทนจำหน่ายและขายในราคาเพียง180,000บาทเศษเท่านั้นและจำเลยยังบอกแก่ฆ.ประธานกรรมการเปิดซองประกวดราคาว่าราคาที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.เสอนเป็นราคาเหมาะสมอีกดังนี้นอกจากจะไม่ช่วยให้คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาได้พิจารณาจัดซื้อเครื่องไสสันทากาวในทางที่เป็นผลดีแก่โจทก์อันส่อไปในทางไม่สุจริตของจำเลยแล้วยังเป็นการช่วยให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.ได้รับประโยชน์ที่ไม่ควรอีกด้วยนับว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ซึ่งมีต่อโจทก์หากจำเลยบอกความจริงแก่คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาโจทก์ก็คงไม่ทำสัญญาซื้อเครื่องไสสันทากาวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.เพราะราคาที่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเสนอสูงกว่าราคาท้องตลาดมากและเป็นการขัดกับมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามมิให้หน่วยราชการซื้อสินค้าผ่านคนกลางและโจทก์ก็จะไม่ต้องถูกห้างหุ้นส่วนดังกล่าวฟ้องร้องเอาจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแม้จะไม่มีพยานหลักฐานพอฟังว่าจำเลยร่วมทุจริตกับห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.แต่การกระทำดังกล่าวเป็นผลให้โจทก์เสียหายแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์และค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์คือค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ต้องเสียไปในการต่อสู้คดีกับห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.ส่วนดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าเครื่องไสสันทากาวที่โจทก์ได้จ่ายให้บริษัทบ.ตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นดอกเบี้ยที่ต้องชำระดังกล่าวก็เฉพาะในระยะเวลาที่โจทก์ยังไม่ได้ชำระต้นเงินซึ่งโจทก์ก็ได้รับประโยชน์จากเงินดังกล่าวอยู่โจทก์จึงไม่มีค่าเสียหายในส่วนนี้.
of 3