พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงใหม่เกินเลย
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี ริบของกลางและให้จำเลยใช้เงินจำนวน 8,770,000 บาท แก่โจทก์ร่วม เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมกันใช้เงินจำนวน 7,760,000 บาท แก่โจทก์ร่วม เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้ร่วมกระทำความผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยคดีโดยอาศัยการหยิบยกสรุปข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่อันเป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำเบิกความของพยานนั้น เป็นการฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มีลักษณะบิดเบือนเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้ร่วมกระทำความผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยคดีโดยอาศัยการหยิบยกสรุปข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่อันเป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำเบิกความของพยานนั้น เป็นการฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มีลักษณะบิดเบือนเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8480/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เกินเลยฟ้อง - การสนับสนุนความผิด
ในชั้นอุทธรณ์มีปัญหาแต่เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 368 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยลงโทษจำเลยข้อหาสนับสนุน ด. กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 15 เม็ด ไว้ในครอบครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ฟ้องว่าจำเลยแต่เพียงผู้เดียวที่กระทำความผิด มิได้ฟ้องว่าจำเลยร่วมกับ ด. กระทำความผิดแล้วข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุน ด. ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 15 เม็ด ไว้ในครอบครองหรือเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสนับสนุน ด. ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกขึ้นวินิจฉัยย่อมเป็นข้อเท็จจริงนอกจากที่กล่าวในฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดการบังคับชำระหนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง ศาลไม่อาจพิพากษาเกินจำนวนที่ระบุ แม้หนี้จริงจะมากกว่า
แม้หนี้ทั้งห้ารายการ ตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเป็นเงินเพียง 12,357,821.97 บาท ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการคำนวณผิดพลาดก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการขอแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้อง ถือว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ตามจำนวนหนี้ที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องดังกล่าว ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 12,357,821.97 บาท เท่าที่ศาลเห็นชัดแจ้งแล้วว่า จำนวนหนี้ในคดีนี้ที่รวมเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ก็ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวได้เพราะเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 142 ที่ห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอ จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในกรอบแห่งกระบวนพิจารณามิใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่งที่โจทก์จะขอให้แก้ไขได้ แต่โจทก์ชอบที่จะต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ให้สิทธิไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8645/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์จำกัด ศาลอุทธรณ์ชอบที่วินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่จำเลยขอให้แก้ไข
คดีมีประเด็นข้อพิพาท 4 ประเด็น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้ในประเด็นที่ 1 ถึงที่ 3 และชนะในประเด็นที่ 4 จำเลยอุทธรณ์โดยบรรยายฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับสามประเด็นที่แพ้ แต่มีคำขอท้ายอุทธรณ์เพียงขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ประเด็นที่ 2 เพียงประเด็นเดียว นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาในประเด็นที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ของจำเลยเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 ซึ่งมาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ 2 เพียงข้อเดียว โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงิน 126,580.79 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 111,596.30 บาท นับถัดจากฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลมาในชั้นฎีกาในจำนวนทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้น 277,298.06 บาท ก็ตาม แต่ทุนทรัพย์ที่แท้จริงที่พิพาทในชั้นฎีกาเป็นเงินจำนวน 126,580.79 บาท ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องร่วมและการพิพากษาคดีเช็ค: การจำกัดความรับผิดเฉพาะผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็ครวม 3 ฉบับ และได้มอบเช็คสองฉบับ ให้แก่ ศ. ส่วนเช็คอีกฉบับ มอบให้แก่ พ. เพื่อชำระหนี้ที่จำเลยได้ยักยอกเงินของผู้เสียหายทั้งสองไป ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เมื่อ ศ. ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จึงหมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตามเช็คเพียงสองฉบับ ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงเช็คอีกหนึ่งฉบับซึ่งโจทก์ร่วมมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ร่วมฎีกาแต่เพียงฝ่ายเดียวคดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมเฉพาะสองฉบับที่โจทก์ร่วมเป็นผู้ได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: สิทธิฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นการมีหนี้สินล้นพ้นตัว ห้ามฟ้องแย้งประเด็นอื่น
คดีล้มละลายเป็นคดีที่ฟ้องให้จัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้น การพิจารณาคดีล้มละลายไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะชี้ขาดหรือพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยเฉพาะจึงย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะประเด็นสำคัญในคดี
ล้มละลายมีอยู่ว่าจำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ หากศาลพิจารณาได้ความจริงเช่นนั้นก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด หากพิจารณาไม่ได้ความจริงหรือแม้ได้ความจริงแต่จำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการ คือ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษายกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เท่านั้น โดยไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้อีกเพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์อ้างให้รับผิดตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะสัญญาดังกล่าวปลอม จึงมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบถึงหนี้สินตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยให้การต่อสู้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม
ล้มละลายมีอยู่ว่าจำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ หากศาลพิจารณาได้ความจริงเช่นนั้นก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด หากพิจารณาไม่ได้ความจริงหรือแม้ได้ความจริงแต่จำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการ คือ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษายกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เท่านั้น โดยไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้อีกเพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์อ้างให้รับผิดตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะสัญญาดังกล่าวปลอม จึงมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบถึงหนี้สินตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยให้การต่อสู้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดทางสัญญา: ศาลพิพากษาเกินขอบเขตคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่รับฟัง
คำฟ้องของโจทก์แสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 เพียง 2 ข้อว่า ข้อหนึ่งจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ อันเป็นความรับผิดตามสัญญาซื้อขาย และข้อสองจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้ากับจำเลยที่ 1 เพราะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (3) เท่านั้น ไม่มีข้อหาว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว อุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามมาตรา 1490 (1) เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้านธีระพร การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านธีระพรซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตร ตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันตามมาตรา 1490 (1) แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในเรื่องที่นอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 249 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และในการประกอบกิจการของร้านธีระพร จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10468/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดในสัญญาร่วมทุน และการแต่งตั้งกรรมการบริษัทตามกฎหมาย
สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์กับพวกฝ่ายหนึ่ง และบริษัท อ. อีกฝ่ายหนึ่ง จัดตั้งบริษัทจำเลยขึ้นมาให้มีฐานะเป็นบริษัทร่วมทุน และกำหนดให้จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาทุกประการ แต่จำเลยหามีฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาร่วมลงทุนไม่ ดังนั้น แม้ในสัญญามีข้อกำหนดว่า ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับข้อกำหนดแห่งสัญญานี้หรือเกี่ยวกับการปฏิบัติสัญญานี้และคู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ ให้เสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาชี้ขาด ก็เป็นข้อบังคับใช้ระหว่างโจทก์กับพวกและบริษัท อ. เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องเสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการจักต้องอยู่ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1151 ซึ่งระบุเฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเท่านั้นจึงจะกระทำได้ รวมตลอดทั้งหากตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ กรรมการที่ยังมีอยู่แห่งนิติบุคคลนั้นมีสิทธิเลือกผู้อื่นตั้งขึ้นใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างได้ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1155 บัญญัติไว้ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมทุน และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในเหตุนี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2546
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการจักต้องอยู่ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1151 ซึ่งระบุเฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเท่านั้นจึงจะกระทำได้ รวมตลอดทั้งหากตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ กรรมการที่ยังมีอยู่แห่งนิติบุคคลนั้นมีสิทธิเลือกผู้อื่นตั้งขึ้นใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างได้ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1155 บัญญัติไว้ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมทุน และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในเหตุนี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2546
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม: การอุทธรณ์ต้องจำกัดเฉพาะความเสียหายที่ตนเองได้รับ
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใด ก็ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุก โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของจำเลย
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุก โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของจำเลย