คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดความรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่ง, อายุความฟ้องร้อง, และการจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่สินค้าได้เสียหายและสูญหายไปในระหว่างการขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างประเทศไทยไปยังประเทศสเปนอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในฐานะตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนดังกล่าวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศร่วมรับผิด โดยผลของ ป.พ.พ. มาตรา 824 จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศตามมาตรา 5 และมาตรา 7 (5) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ แม้ใบตราส่งจะระบุว่าต้องใช้กฎหมายของเมืองฮ่องกง แต่กรณีพิพาทเป็นการขนส่งทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งในราชอาณาจักรไปยังที่อีกแห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักร และปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ส่งของเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญารับขนของทางทะเลจึงต้องเป็น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะลฯ ตามมาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องรับผิดเกินจำนวนที่ลงหุ้นได้ต่อเมื่อมีการสอดเข้าไปจัดการงานของห้างหุ้นส่วน และต้องมีการบรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยมิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 3 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญที่ทำให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิด จึงถือไม่ได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเนื่องจากสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จำสืบว่าจำเลยที่ 3 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการนำสืบนอกเหนือไปจากคำฟ้อง ศาลไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: ประมาทเลินเล่อธรรมดา vs. ประมาทเลินเล่อร้ายแรง และการกำหนดอายุความ
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 ที่กำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งนั้นอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 58 ที่บัญญัติให้จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ แต่การจำกัดความรับผิดก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 60 ด้วย เหตุที่ไม่นำข้อจำกัดความรับผิดมาใช้ในกรณีตามมาตรา 60 ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งมีความบกพร่องอย่างร้ายแรง ซึ่งไม่รวมถึงการประมาทเลินเล่อธรรมดา กล่าวคือ ต้องเป็นการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในลักษณะละเลยไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบล่าช้าอาจเกิดขึ้นได้เท่านั้น จึงจะไม่ได้รับประโยชน์จากการจำกัดความรับผิด ส่วนกรณีประมาทเลินเล่อธรรมดา อันรวมถึงละเมิดด้วยนั้น ผู้ขนส่งก็ต้องรับผิดตามมาตรา 39 กล่าวคือต้องรับผิดในความสูญเสีย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้า ภายใต้จำนวนจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58
การขนส่งสินค้าคดีนี้เป็นการขนส่งภายใต้เงื่อนไขให้ผู้ส่งนำสินค้าไปมอบให้แก่ผู้ขนส่ง จากนั้นผู้ขนส่งเป็นผู้บรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์เอง โดยนำสินค้าของผู้ส่งหลายรายรวมไว้ในตู้เดียวกัน เมื่อถึงปลายทางผู้ขนส่งเป็นผู้เปิดตู้คอนเทนเนอร์เอง แล้วนำสินค้าของผู้ส่งแต่ละรายไปเก็บไว้ในคลังสินค้ารอผู้รับตราส่งมารับสินค้า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2543 บริษัท ท. ได้นำใบสั่งปล่อยสินค้าไปดำเนินพิธีทางศุลกากรและออกของ และไปติดต่อขอรับสินค้าของคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย และได้รับแจ้งว่าสินค้าได้รับความเสียหาย ซึ่งเจ้าหน้าที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ออกใบรายการสำรวจสินค้า จึงต้องถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่ผู้ขนส่งได้มอบสินค้าที่แท้จริงให้แก่ผู้รับตราส่ง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 (1) ของ พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 กรณีไม่ใช่เป็นการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ทั้งตู้ให้แก่ผู้รับตราส่งที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์เพื่อรับตู้ไปเปิดเอง ซึ่งจะนับอายุความตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 40 (3) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2543 จึงเป็นฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล การฟ้องขาดอายุความ และการแบ่งแยกมูลละเมิดกับมูลการรับขน
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 อันเป็นบทมาตราที่กำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งบัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 58 ที่บัญญัติให้จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้โดยเฉพาะ ส่วนที่มาตรา 58 บัญญัติให้การจำกัดความรับผิดต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 60 (1) ที่จะไม่นำข้อจำกัดความรับผิดมาใช้นั้นต้องเป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งมีความบกพร่องอย่างร้ายแรง เมื่อความเสียหายของสินค้าเกิดจากการขนถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่ระมัดระวังทำให้เกิดการกระแทกเป็นเหตุให้ลังไม้ที่บรรจุสินค้า 1 ลัง แตกหัก สินค้าหลุดออกมาจากลังไม้ได้รับความเสียหาย จำเลยหรือตัวแทนไม่ได้กระทำหรืองดเว้นกระทำการประการใด โดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการเสียหายหรือโดยละเลยหรือไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าการเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 60 (1) ดังนี้ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามมาตรา 58
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ขนส่งทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักรมายังที่อีกแห่งหนึ่งในราชอาณาจักร จึงต้องนำ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ประกอบด้วยมาตรา 58 และ 60 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ขนส่งที่รวมถึงกรณีละเมิดด้วยแล้วไว้โดยเฉพาะมาใช้บังคับ จะนำลักษณะละเมิดของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้
การขนส่งสินค้าครั้งพิพาทเป็นการขนส่งภายใต้เงื่อนไขให้ผู้ส่งนำสินค้าไปมอบให้แก่ผู้ขนส่ง จากนั้นผู้ขนส่งเป็นผู้บรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์เอง โดยนำสินค้าของผู้ส่งหลายรายรวมไว้ในตู้เดียวกัน เมื่อถึงปลายทางผู้ขนส่งเป็นผู้เปิดตู้คอนเทนเนอร์เอง แล้วนำสินค้าของผู้ส่งแต่ละรายไปเก็บไว้ในคลังสินค้ารอผู้รับตราส่งมารับสินค้า บริษัท ท. นำใบสั่งปล่อยสินค้าไปดำเนินวิธีทางศุลกากรและออกของ และไปติดต่อขอรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย จึงได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยว่า สินค้าได้รับความเสียหาย จึงต้องถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่แท้จริงให้แก่ผู้รับตราส่ง ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (1) กรณีไม่ใช่เป็นการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ทั้งตู้ให้แก่ผู้รับตราส่งที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์เพื่อรับตู้ไปเปิดเอง ซึ่งจะเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือตามมาตรา 40 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: ความเสียหายสินค้า, การหักค่าซาก, และการคำนวณค่าเสียหายที่แท้จริง
ข้อความในใบตราส่ง เอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับสินค้า โจทก์จึงเป็นผู้รับใบตราส่งโดยไม่ต้องมีการสลักหลังแต่อย่างใด ทั้งในใบกำกับสินค้าหรือใบแจ้งราคาสินค้าก็มีข้อความที่บริษัทผู้ขายแจ้งมายังโจทก์ จึงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อสินค้าตามคำฟ้องจากบริษัทผู้ขาย เมื่อผู้ขายได้รับชำระราคาสินค้าแล้วได้มีการส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งเพื่อขนส่งมามอบให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิในสินค้านี้ เมื่อสินค้าได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายของสินค้าจากผู้ขนส่งโดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์จะได้จ่ายเงินค่าสินค้าหรือไม่
ขณะที่เรือ ฮ. เดินทางอยู่ในทะเลจีนใต้จากไต้หวันมายังประเทศไทยปรากฏว่าท้องทะเลมีลมแรงจัด ความเร็วลมประมาณ 27 ถึง 44 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นจัดมาก ความสูงของคลื่นเฉลี่ยประมาณ 5 เมตร ซึ่งลักษณะเช่นนั้นเป็นเหตุตามธรรมชาติในท้องทะเลอยู่แล้ว ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องเกินความคาดหมาย และยังอยู่ในวิสัยที่ยังเดินเรือได้ ประกอบกับความเสียหายของสินค้าทั้งหมดเกิดขึ้นจากการที่มีน้ำทะเลเข้าไปในระวางที่เก็บสินค้า มิได้เกิดจากการบุบงอโดยการกระแทกกันของสินค้าเนื่องจากการโคลงตัวอย่างรุนแรงของเรือ แม้สภาพของท้องทะเลที่มีคลื่นจัดและมีน้ำทะเลซัดขึ้นมาบนดาดฟ้าเรือตลอดเวลา แต่สภาวะเช่นนี้ผู้ประกอบวิชาชีพในการเดินเรือย่อมพึงคาดหมายได้และย่อมต้องเตรียมการป้องกันมิให้น้ำทะเลเข้าไปทำให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในระวางเรือได้ ทั้งหลังสภาพอากาศดังกล่าวผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ามีชิ้นส่วนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของเรือ ฮ. ได้รับความเสียหายจากสภาพแห่งท้องทะเลเช่นว่านั้น จึงเชื่อได้ว่าความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากผู้ขนส่งมิได้ใช้ความระมัดระวังเพื่อป้องกันมิให้น้ำทะเลเข้าไปในระวางที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าที่ตนรับขนส่งได้ดีเพียงพอสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรับขนสินค้า พยานหลักฐานของผู้ขนส่งยังไม่เพียงพอพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดจากภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 52 (2) ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าดังกล่าว
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 ให้จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งสำหรับสินค้าที่รับขนส่งเสียหายไว้เพียง 10,000 บาท ต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือกิโลกรัมละ 30 บาท ต่อน้ำหนักสุทธิแห่งสินค้านั้น แล้วแต่เงินจำนวนใดจะมากกว่า เมื่อสินค้าที่เสียหายจำนวน 112 หีบห่อ ซึ่งตามรายงานการสำรวจความเสียหายระบุว่ามีน้ำหนักรวม 178,795 กิโลกรัม แต่สินค้า 1 หีบห่อ ที่เสียหายเป็นส่วนที่จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด จึงต้องนำไปหักออก ซึ่งสินค้าดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าตามใบกำกับสินค้าเลขที่ ดีที 3/99 ที่มีสินค้ารวม 65 หีบห่อ น้ำหนักรวม 98,795 กิโลกรัม ราคารวม 130,252.28 ดอลลาร์สหรัฐ ดังนี้ สินค้า 1 หีบห่อดังกล่าว คิดเป็นน้ำหนัก 1,515 กิโลกรัม และมีราคา 2,003.88 ดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่เสียหายจำนวน 111 หีบห่อ จึงมีน้ำหนักสุทธิรวม 176,980 กิโลกรัม เมื่อคำนวณจำนวนจำกัดความรับผิดตามหน่วยการขนส่ง 111 หีบห่อ จะเป็นเพียง 1,110,000 บาท แต่คำนวณตามน้ำหนักสุทธิของสินค้า 176,980 กิโลกรัม จะเป็นเงิน 5,309,400 บาท ซึ่งมากกว่า จึงต้องถือจำนวน 5,309,400 บาท เป็นจำนวนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางทะเล: การคำนวณค่าเสียหายตามน้ำหนักและอัตราจำกัด, การจำกัดความรับผิดตาม พ.ร.บ.รับขนของทางทะเล
ข้อตกลงระหว่างบริษัท ท. ผู้ส่ง กับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งผ่านทางจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับเงื่อนไขในการขนส่งกำหนดว่า ผู้ส่งมีหน้าที่เพียงหีบห่อและผูกมัดสินค้าม้วนเหล็กไว้บนฐานรองไม้ให้เรียบร้อยแล้วส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งที่ท่าเรือ โดยต้องชำระเงินทั้งค่าระวางและค่ารัดตรึงสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งไปในคราวเดียวกัน จากนั้นทางฝ่ายผู้ขนส่งตามสัญญารับขนระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ท. จะเป็นผู้ดำเนินการต่อไปทั้งในเรื่องการบรรจุ การรัดตรึงสินค้าและการขนส่ง และตามใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 2 ออกให้ไว้แก่บริษัท ท. อันถือเป็นหลักฐานแห่งการรับสินค้า ระบุไว้ว่าผู้ขนส่งสินค้ารับสินค้าไว้ในสภาพเรียบร้อยดีและไม่มีการบันทึกข้อสงวนเกี่ยวกับสภาพสินค้าและการหีบห่อเมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการขนส่ง จึงถือไม่ได้ว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของบริษัท ท. ผู้ส่ง หากแต่เป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญาที่ทำกับบริษัท ท. ที่ไม่ได้บรรจุและรัดตรึงสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ และไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าขณะอยู่ในความดูแลของตนเองให้ดีพอ เมื่อความเสียหายไม่ได้เกิดจากความผิดของผู้ส่ง ผู้ขนส่งจึงไม่อายปฏิเสธความรับผิดชอบ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 52 (9) ได้ เมื่อผู้ขนส่งต้องรับผิดแล้ว จำเลยที่ 2 ผู้ตกลงทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จึงต้องรับผิดตามสัญญาด้วย เมื่อ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ ไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดระบุข้อยกเว้นให้ตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศไม่ต้องรับผิดโดยลำพังตนเอง ความรับผิดของจำเลยที่ 2 จึงต้องเป็นไปตามมาตรา 824 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งบังคับใช้กับสัญญาโดยทั่วไป
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายของสินค้าม้วนเหล็กระบุจำนวนสินค้าม้วนเหล็กและเลขที่ของสินค้าม้วนเหล็กรวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 31,676.40 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นเงินบาทจำนวน 1,369,154.01 บาท และปรากฏตามเอกสารซึ่งโจทก์นำสืบว่าเป็นรายงานการสำรวจความเสียหายพร้อมคำแปลระบุรายละเอียดค่าเสียหายเป็นดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทจำนวนตรงกัน โดยมีรายละเอียดของสินค้าม้วนเหล็กและเลขที่ของสินค้าม้วนเหล็กนอกเหนือจากที่ระบุในฟ้องแต่ตรงกับที่โจทก์ระบุขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง แสดงให้เห็นว่าโจทก์ระบุในคำฟ้องผิดพลาดไป การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์เพื่อขอเพิ่มเติมจำนวนสินค้าม้วนเหล็กที่ได้รับความเสียหายเป็นการแก้ไขรายละเอียดให้ตรงตามยอดค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ระบุไว้ตั้งแต่แรก จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังจากที่โจทก์ได้สืบพยานไปแล้ว 1 ปาก ก็ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้ว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 60 ในกรณีที่ของซึ่งผู้ขนส่งได้รับมอบหมายสูญหายหรือเสียหายไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เพียงหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือกิโลกรัมละสามสิบบาทต่อน้ำหนักสุทธิแห่งของนั้นแล้วแต่เงินจำนวนใดจะมากกว่า" ส่วนมาตรา 60 บัญญัติว่า การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามมาตรา 58 มิให้ใช้บังคับแก่กรณีดังกล่าวไปนี้... (4) ผู้ส่งของได้แจ้งราคาของที่ขนส่งให้ผู้ขนส่งทราบและผู้ขนส่งยอมรับโดยแสดงราคาของนั้นไว้ในใบตราส่ง เมื่อพิจารณาใบตราส่งไม่ปรากฏว่าใบตราส่งได้ระบุราคาของหรือสินค้าเหล็กม้วนพิพาทไว้ กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่มิให้ใช้มาตรา 58 บังคับตามความในมาตรา 60 ดังกล่าว จึงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้เพียงหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือกิโลกรัมละสามสิบบาทต่อน้ำหนักสุทธิแห่งของนั้นแล้วแต่เงินจำนวนใดจะมากกว่า แต่ในกรณีที่คำนวณราคาของหรือสินค้าที่สูญหายหรือเสียหายได้มาตรา 61 แล้ว ปรากฏว่าของนั้นราคาต่ำกว่าที่จำกัดความรับผิดไว้ดังกล่าวข้างต้นให้ถือเอาตามราคาที่คำนวณได้นั้น การคำนวณราคาของที่สูญหายหรือเสียหายมีหลักเกณฑ์ตามมาตรา 61 ในกรณีของสูญหายหรือเสียหายทั้งหมด ให้คำนวณเท่ากับราคาที่ของนั้นจะพึงมีในเวลาที่พึงส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง ถ้าของนั้นสูญหายหรือเสียหายบางส่วนให้คำนวณตามส่วนโดยเทียบกับราคาของอย่างเดียวกันและคุณภาพเท่าเทียมกันที่ยังเหลืออยู่ในเวลาส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง ข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความว่า สินค้าที่เสียหายเป็นแผ่นเหล็กสแตนเลสมีลักษณะม้วนเป็นวงกลมทบกันหลายชั้น แต่ละม้วนมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นการระบุจำนวนสินค้าเป็นม้วนที่บรรจุในตู้สินค้าแต่ละตู้ ดังนั้น แผ่นเหล็กสแตนเลส 1 ม้วน ย่อมถือเป็น 1 หน่วยการขนส่ง และเนื่องจากแผ่นเหล็กสแตนเลสดังกล่าวแต่ละม้วนมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจึงต้องคำนวณเป็นจำนวนเงินตามน้ำหนักสุทธิของแต่ละม้วนที่เสียหายในอัตรากิโลกรัมละ 30 บาท ซึ่งมีจำนวนเงินมากกว่าการคำนวณจากหน่วยการขนส่งในอัตราม้วนละ 10,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้แทน: การฟ้องผู้แทนต้องระบุฐานความรับผิดให้ชัดเจน หากมิได้ระบุฐานตัวการ ผู้แทนไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นผู้ขนส่งซึ่งมีบริษัท ท. เป็นตัวแทน โจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนของทะเลกับโจทก์แทนบริษัท ท. ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศอันจะทำให้จำเลยต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 กรณีจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยต้องรับผิดตามบทบัญญัติมาตรา 824 ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจำกัดเฉพาะตำแหน่งเดิม หากมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งโดยมิได้รับความยินยอม จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ อ. ตามสัญญาข้อ 1 ระบุว่า ตามที่โจทก์ตกลงรับ อ. เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานขาย หาก อ. ได้ก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นแก่โจทก์หรือกระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยยินยอมรับผิดชอบชดใช้หนี้สินและค่าเสียหายทั้งหมดที่ อ. ได้ก่อขึ้นโดยจะไม่อ้างเหตุผลใด ๆ มาปัดความรับผิดชอบเป็นอันขาด ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีข้อความจำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งพนักงานขายและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวแสดงว่าจำเลยค้ำประกันการทำงานของ อ. ในตำแหน่งพนักงานขายเท่านั้น เมื่อโจทก์เลื่อนตำแหน่งให้ อ. เป็นผู้จัดการสาขาอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยมากขึ้นโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบและจำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในความเสียหายที่ อ. ได้กระทำขึ้นในขณะดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดในตั๋วสัญญาใช้เงิน การสลักหลังห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยขัดต่อกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 899 บัญญัติว่า "ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่" อันเป็นบทบัญญัติเบ็ดเสร็จทั่วไปใช้บังคับกับตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็ค ส่วนมาตรา 915 บัญญัติว่า "ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินและผู้สลักหลังคนใด ๆ ก็ดีจะจดข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้คือ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรงตั๋วเงิน?" ซึ่งเป็นบทบัญญัติในเรื่องตั๋วแลกเงินไม่ได้บัญญัติไว้ในบทเบ็ดเสร็จทั่วไปเช่นเดียวกับมาตรา 899 และ มาตรา 985 ซึ่งบทบัญญัติในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 915 มาใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความว่า ห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังนั้นเป็นข้อความที่ขัดต่อมาตรา 983 (2) หาเป็นผลบังคับแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินตามมาตรา 899 ไม่ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางอากาศ & อายุความการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับฝากทรัพย์
ใบรับขนทางอากาศแสดงให้เห็นว่าผู้ส่งสินค้าได้แสดงเจตนาตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงอ้างข้อจำกัดความรับผิดไม่เกิน 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม สำหรับสินค้าที่ขนส่งซึ่งได้สูญหายไปตามที่ระบุไว้ในใบรับขนทางอากาศนั้นได้
ตามคำฟ้องโจทก์ โจทก์เรียกค่าเสียหายตามมูลค่าหรือราคาทรัพย์ที่สูญหายไปจากผู้รับฝากทรัพย์ หาใช่เป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 671 ไม่ กรณีดังกล่าวนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
of 13