พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิจำเลยร่วม: เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การของตน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างก่อสร้างแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาโจทก์ได้ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) จึงต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามมาตรา 58 วรรคสอง ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นคำให้การจนศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การของตนเข้ามาอันเป็นการใช้สิทธินอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการผิดหลง ศาลชั้นต้นชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การของจำเลยที่ 2 แล้วสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องได้ ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการชำระหนี้ค่าก่อสร้างให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความในคดีด้วยหรือไม่ ไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่กระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ในการต่อสู้คดีรวมทั้งไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการชำระหนี้ค่าก่อสร้างให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความในคดีด้วยหรือไม่ ไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่กระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ในการต่อสู้คดีรวมทั้งไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8806/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชน เมื่อศาลแก้ไขโทษและระยะเวลาฝึกอบรมเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง, 340 ตรี ประกอบมาตรา 83 จำคุก 6 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมแทน มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 337 วรรคสอง (2) ประกอบมาตรา 83 ให้ส่งจำเลยไปฝึกและอบรมแทน มีกำหนดขั้นต่ำ 6 เดือน ขั้นสูง 1 ปี กรณีเป็นการแก้ไขเฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 ที่จำเลยฎีกาว่า พยานโจทก์มีส่วนได้เสียในคดี รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4973/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในคดีเยาวชน กรณีศาลกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
ในคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104 ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักหรืออบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้วย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 และคู่ความจะอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อดังกล่าวตามมาตรา 122 เท่านั้น สำหรับการฎีกา มาตรา 124 บัญญัติว่าคดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 121 ซึ่งมีความหมายว่าคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้น ย่อมต้องห้ามฎีกาด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่น กรณีอุทธรณ์ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ด้วย และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีขับไล่และการแสดงอำนาจพิเศษเมื่อมูลค่าเช่าที่ดินต่ำกว่าเกณฑ์
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดิน ซึ่งขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าชั้นนี้เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการบังคับผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นบริวารของจำเลยถูกฟ้องขับไล่ และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นว่าผู้ร้องทั้งสามไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษได้ ที่ผู้ร้องทั้งสามฎีกาว่า ผู้ร้องทั้งสามมิใช่บริวารของจำเลย เนื่องจากผู้ร้องที่ 3 ได้รับโอนที่ดินมาจากเจ้าของเดิมและครอบครองโดยสุจริต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และฎีกาไม่ชัดแจ้ง
โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย อันเป็นเหตุให้คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หมายถึงเฉพาะโทษจำคุกในความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน มีกำหนด 4 ปี แม้จะมีการเพิ่มโทษหนึ่งในสามเนื่องจากกระทำความผิดซ้ำ ตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน ก็เป็นการเพิ่มโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษในความผิดที่โจทก์ฟ้องเกิน 5 ปี จึงยังถือว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงว่าขอให้ศาลฎีกาหยิบยกเรื่องเวลาจับกุม และการที่โจทก์ไม่ขอหมายเรียกพยานบางปากมาเบิกความขึ้นพิจารณาอีกครั้ง โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 คลาดเคลื่อนอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 ส่วนนี้จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงว่าขอให้ศาลฎีกาหยิบยกเรื่องเวลาจับกุม และการที่โจทก์ไม่ขอหมายเรียกพยานบางปากมาเบิกความขึ้นพิจารณาอีกครั้ง โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 คลาดเคลื่อนอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 ส่วนนี้จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6453/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกไม่เกินห้าปี และการโต้เถียงดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 2 ปี 6 เดือน จำนวน 26 กระทง และกระทงละ 6 เดือน จำนวน 6 กระทง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แม้เมื่อรวมโทษจำคุกจำเลยทุกกระทงแล้วศาลล่างทั้งสองให้จำคุกจำเลย 50 ปี ก็เป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) ไม่มีผลต่อข้อจำกัดในการฎีกาของจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6217/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ: ความจำเป็นและหลักความเท่าเทียม
มูลหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการผู้ร้องจึงได้รับการคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 อยู่แล้ว ทั้งหนี้ของผู้ร้องเกิดจากการชำระเงินซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากการประกาศขายของลูกหนี้ แต่ไม่มีการส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ให้ซึ่งเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ โดยมีเจ้าหนี้อีกหลายรายที่อยู่ในฐานะเดียวกับผู้ร้องที่ต้องจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้เดียวกันและตามมาตรา 90/42 ทวิ และมาตรา 90/42 ตรี สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน การยกเลิกข้อจำกัดสิทธิให้แก่ผู้ร้องจึงก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหนี้รายอื่นในกลุ่มเดียวกัน การจำกัดสิทธิของผู้ร้องจึงยังมีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีของบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อบุพการี: การตีความมาตรา 1562 ป.พ.พ.
จำเลยที่ 1 กับมารดาโจทก์ทั้งสองอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2480 อันเป็นเวลาภายหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม และไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเพียงบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 บทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงต้องถือว่าข้อห้ามดังกล่าวเป็นการห้ามเฉพาะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น ฉะนั้น โจทก์ทั้งสองซึ่งไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5244/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ ทำให้จำกัดสิทธิในการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 คงจำคุกกระทงละ 5 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน ริบเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามเป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามโจทก์มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีนอีก 1 เม็ด ที่พบข้างโถส้วมเป็นของจำเลยด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ฟังว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเมทแอมเฟตามีนอีก 1 เม็ด ที่พบข้างโถส้วมเป็นของจำเลย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลาย: ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์และข้อเท็จจริง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา?" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย เว้นแต่? (3) คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน?" เช่นนี้ การอุทธรณ์คำสั่งในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 24 วรรคสองดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. ว่าด้วยการฎีกา เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นนี้ไม่เกินสองแสนบาท ประกอบกับอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ในปัญหาว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้หรือไม่เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 และไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะรับคดีนี้ไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 วรรคสี่ อีกด้วย