พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร เมื่อรวมโทษแล้วเกิน 20 ปี
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้และคดีอาญาอีก 32 คดี จำเลยเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ. มีเจตนาเบียดบังเอาเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน บ. ที่มอบหมายให้จำเลยนำไปชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน บ. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีนี้และคดีอาญาอีก 32 คดี จึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 111/2547 ของศาลชั้นต้น รวมแล้วเกิน 20 ปี จนคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ เป็นไม่นับโทษต่อจากโทษในคดีดังกล่าวได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลจะต้องออกหมายบังคับคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 111/2547 ของศาลชั้นต้น รวมแล้วเกิน 20 ปี จนคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ เป็นไม่นับโทษต่อจากโทษในคดีดังกล่าวได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลจะต้องออกหมายบังคับคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีความผิดหลายกรรมต่างกันที่เกี่ยวเนื่องกัน และจำกัดโทษรวมตามกฎหมาย
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้และคดีก่อนทั้งยี่สิบหกคดี จำเลยเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ. ซึ่งได้รับความเสียหายด้วยในทุกคดี โดยจำเลยถือโอกาสที่เป็นกรรมการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และเอกสาร โดยมีเจตนาเพื่อเบียดบังเอาเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน บ. ที่มอบหมายให้จำเลยนำไปชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน บ. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งความผิดปรากฏเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 พนักงานสอบสวนอาจสอบสวนความผิดทุกสำนวนแล้วเสนอความเห็นและส่งสำนวนไปยังโจทก์พร้อมกันได้ ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีนี้และคดีดังกล่าวทั้งยี่สิบหกคดีจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ซึ่งเป็นกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) รวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้ เมื่อศาลลงโทษจำคุกจำเลยคดีทั้งยี่สิบหกคดีติดต่อกันมีกำหนด 20 ปีแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษคดีก่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดโทษจำคุกคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้อยู่ในกรอบมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 12 บัญญัติว่า "การกำหนดโทษจำคุกที่จะลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ให้กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงที่สุดได้ไม่เกินห้าสิบปี"ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 และกำหนดโทษจำคุก 66 ปี จึงเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 12 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2941/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดโทษประมวลกฎหมายอาญา ม.91(1) เฉพาะคดีความผิดหลายกรรมที่ฟ้องรวมกัน หรือเกี่ยวพันกัน
คดีที่จะอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(1)ซึ่งมีการจำกัดในการลงโทษในความผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 10 ปี นั้น หมายถึงคดีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมแล้วโจทก์ฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือคดีที่เกี่ยวพันกัน สามารถรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เนื่องจากลักษณะของความผิดที่กระทำนั้นเกี่ยวพันกัน แต่โจทก์แยกฟ้องมาหลายคดี
จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าซื้อพลอยให้แก่โจทก์ร่วมหลายครั้งและยักยอกทรัพย์โจทก์ร่วมเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดี จึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(1) ในเรื่องการจำกัดระยะเวลาในการลงโทษจำคุก
จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าซื้อพลอยให้แก่โจทก์ร่วมหลายครั้งและยักยอกทรัพย์โจทก์ร่วมเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดี จึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(1) ในเรื่องการจำกัดระยะเวลาในการลงโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6118/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาลงโทษฐานรับของโจรได้แม้โจทก์ฎีกาขอลงโทษฐานลักทรัพย์ และจำกัดโทษตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แม้ว่าโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แต่เมื่อในทางพิจารณารับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้วศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสาม
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษกับคดีนี้ต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ศาลฎีกาจะเพิ่มเติมโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษกับคดีนี้ต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ศาลฎีกาจะเพิ่มเติมโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและการรับของโจร ศาลพิจารณาเป็นกรรมเดียวและจำกัดโทษตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสามได้นำรถยนต์ของกลางออกใช้ขับไปในที่ต่าง ๆโดยมีแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกัน โดยมีเจตนาแสดงเอกสารดังกล่าวต่อผู้อื่นหรือเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกันจนกระทั้งถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับ พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนาอย่างเดียวคือเพื่อให้ผู้อื่นหรือเจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่า รถยนต์คันที่จำเลยทั้งสามใช้ขับเป็นรถยนต์ถูกต้องตามกฎหมายเพียงอย่างเดียวเท่านั้นการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงมีความผิดกรรมเดียว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานรับของโจรจำคุกคนละ 4 ปี และลงโทษจำเลยทั้งสามในข้อหาใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมกับใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอม โดยจำคุกกระทงละคนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดสองกรรมว่าเป็นความผิดกรรมเดียวโดยพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในข้อหานี้ จำคุกคนละ 3 ปี โดยมิได้เปลี่ยนบทและโทษที่ได้รับก็ต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด ซึ่งเป็นผลดีแก่จำเลยทั้งสาม ถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำเลยทั้งสามในแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 เนื่องจากโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26 วรรคแรก,75 วรรคแรก และ 76 วรรคแรกลงโทษตามมาตรา 75 วรรคแรก อันเป็นบทหนัก ให้จำคุก 1 ปี 4 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26 วรรคแรก และ 76 วรรคแรก ให้จำคุก 2 เดือน และปรับ 600 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด2 ปี โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยจำหน่ายกัญชาของกลางโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันไม่เกินกำหนดดังกล่าว ฎีกาของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีอาญาและการพิจารณาความเกี่ยวพันของคดี การจำกัดโทษตาม ป.อ.มาตรา 91(2)
ตาม ป.อ.มาตรา 91 (2) ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี โทษจำคุกทั้งสิ้นรวมกันต้องไม่เกิน 20 ปีนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมแต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียว หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี แต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ส่วนคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2) เช่นเดียวกัน
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอก คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ.2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกัน จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533, 7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า20 ปีได้ คดีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2535)
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอก คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ.2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกัน จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533, 7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า20 ปีได้ คดีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2535)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5465/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษในชั้นฎีกา: ศาลฎีกาไม่สามารถเพิ่มโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลอุทธรณ์ตัดสิน หากโจทก์มิได้ฎีกาในประเด็นนั้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าระวางโทษขั้นต่ำ ที่กฎหมายกำหนด เมื่อโจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาจะลงโทษจำเลยทั้งสองหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อฟ้องหลายสำนวน ความผิดเกิดในคราวเดียวกัน ต้องไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา
คดีแรกที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วและคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษต่อ จากคดีแรกนั้น เป็นความผิดซึ่ง เกิดในคราวเดียว กัน ลักษณะและพฤติการณ์แห่งคดีเหมือนกัน เจ้าพนักงานจับกุมในคราวเดียวกันและผู้เสียหายคนเดียวกัน ทั้งความผิดทั้งสองสำนวนเกิดขึ้นและปรากฏต่อ พนักงานสอบสวนก่อนวันที่จำเลยถูก จับกุมในคดีนี้เห็นได้ ว่าโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ กรณีเช่นนี้ศาลลงโทษจำคุกจำเลยได้ ไม่เกินยี่สิบปีแม้ว่าโจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นสองสำนวนและขอให้นับโทษต่อกันก็ตามแต่ เมื่อรวมโทษที่จำเลยจะได้ รับแล้วต้อง ไม่เกินยี่สิบปี เมื่อคดีนี้ศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมโดย จำคุกจำเลยเต็มตาม ที่กฎหมายกำหนดแล้วศาลจะนับโทษจำเลยต่อ จากคดีแรกไม่ได้ เมื่อปรากฏจากคำฟ้องว่า ระหว่างสอบสวนจำเลยไม่ถูก ควบคุมในคดีนี้ แต่ถูก คุมขังในคดีแรก การคำนวณระยะเวลาจำคุกในคดีนี้ต้องหักจำนวนวันที่จำเลยถูก คุมขังในคดีแรกจากระยะเวลาจำคุก 20 ปีในคดีนี้ เพื่อมิให้จำเลยต้อง รับโทษจำคุกเกินกำหนด 20 ปี ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้คดีนี้จะถึง ที่สุดตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อ จากโทษในคดีแรกเกินกว่า 20 ปี อันไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้นับโทษจำเลยทั้งสองคดีติดต่อ กันให้ถูกต้อง ศาลก็มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ลงโทษจำเลยทั้งสองคดีติดต่อกันไม่เกิน 20 ปีได้ .