คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำนวนทุนทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4189/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน หากทราบราคาที่ดินเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นแล้วถือเป็นเหตุที่ควรทราบ
คดีไม่มีการชี้สองสถาน โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทอันเป็นเวลาล่วงเลยมาถึงยี่สิบปี วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าราคาที่ดินต้องเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ซึ่งโจทก์อาจกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ตามราคาในขณะยื่นฟ้องได้อยู่แล้ว ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ขณะยื่นฟ้องโจทก์ไม่ทราบว่าราคาที่ดินสูงขึ้นกว่าวันที่โจทก์ซื้อที่ดินก็ดี หรือโจทก์เพิ่งคิดได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่าราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นก็ดี ล้วนเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4189/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ต้องกระทำก่อนสืบพยาน หากมิได้กระทำก่อนและไม่มีเหตุสมควร ศาลยกคำร้องได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเมื่อปี 2521 ในราคา 30,000 บาท โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2541 ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยมาถึงยี่สิบปี วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าราคาที่ดินต้องเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ซึ่งโจทก์อาจกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ตามราคาในขณะยื่นฟ้องได้อยู่แล้ว ข้ออ้างที่ว่า ขณะยื่นฟ้องโจทก์ไม่ทราบว่าราคาที่ดินสูงขึ้นกว่าวันที่โจทก์ซื้อที่ดินก็ดี หรือโจทก์เพิ่งคิดได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่าราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นก็ดี ล้วนเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเรียกค่าปรับจากสัญญาไม่แล้วเสร็จ: ข้อจำกัดการฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์
จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าปรับรายวันแก่จำเลยรวมเป็นเงิน 120,000 บาท เนื่องด้วยโจทก์ผิดสัญญาก่อสร้างอาคารบ้านพักไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงต้องกันมาว่า โจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากโจทก์ ยกฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยฎีกาต่อมา คดีตามฟ้องแย้งจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ทำการก่อสร้างอาคารบ้านพักไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดก็ดี มิได้มีการตกลงขยายเวลาก่อสร้างก็ดี เป็นฎีกาโต้แย้งในข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งมาด้วยนั้น ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงจำกัดจำนวนทุนทรัพย์: ศาลต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยร่วมก่อน
การพิจารณาว่าคดีใดอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อเรียกร้องของโจทก์และจำเลยเป็นรายบุคคลไป
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 94,912 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,881.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงิน 94,912 บาท ตามฟ้องคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2ก่อน ว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และต้องรับผิดในจำนวนเงิน94,912 บาท หรือไม่จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนั้นได้ตามมาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7347/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องจำนวนทุนทรัพย์ – ศาลอุทธรณ์ลดจำนวนเงินที่พิพาท ทำให้ไม่สามารถฎีกาได้
โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูป หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามใช้ราคาเป็นเงิน248,700 บาท แก่โจทก์ ซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 200,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูปตามฟ้องแก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน128,340 บาท แก่โจทก์แทน เมื่อจำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้อง, อุทธรณ์, ฎีกา, จำนวนทุนทรัพย์, ค่าธรรมเนียมผิดนัด: ข้อจำกัดและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การวินิจฉัยว่าการแก้ไขอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยจำต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์โจทก์ขอแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินในคำขอบังคับท้ายฟ้องให้สอดคล้องกับข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาซึ่งได้บรรยายในคำฟ้องของโจทก์แต่เดิมโดยคำขอท้ายฟ้องได้พิมพ์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180 คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งจำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ไม่ชอบแม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยยกเหตุผลคนละเหตุและจำเลยฎีกาในข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบและศาลชั้นต้นรับฎีกามาก็ถือได้ว่าไม่ใช่ข้อที่ยกว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249 ตามวิธีการใช้บัตรสินเชื่อ ไดเนอร์สคลับ เมื่อจำเลยทำบัตรสินเชื่อของโจทก์ไปใช้โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลยจำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนดซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัดแต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดโจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนไม่ใช่ดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯแต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องห้าม – จำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 5 หมื่น – การเป็นทายาทรับสิทธิฟ้อง
โจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์อย่าง ลูกหนี้ร่วม แม้จะฟ้องรวมกันและเสีย ค่าขึ้นศาลรวมกันมาในคดีเดียวกันแต่คดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกพิจารณาจำนวน ทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามคดีของจำเลยแต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511ย่อมตกทอดเป็น มรดกไปยัง ทายาทของโจทก์ตามมาตรา12สิทธิในการ ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่พิพาทหาใช่เป็นเรื่อง เฉพาะตัวของโจทก์ไม่ อ.ซึ่งเป็น บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็น ทายาทมีสิทธิเข้าเป็น คู่ความแทนที่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6878/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องจำนวนทุนทรัพย์ และประเด็นนอกฟ้อง-ให้การ
คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้วนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินแปลงนี้เป็นของจำเลยโดยจำเลยเป็นผู้ก่นสร้างและครอบครองมานานกว่า 30 ปีแล้วตามคำให้การดังกล่าวจำเลยมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ จึงเป็นการกำหนดประเด็นนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และข้อจำกัดเรื่องจำนวนทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ได้ทำนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทโดยการฉ้อฉล และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 แล้ว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – จำนวนทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท – การโต้แย้งข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 290, 500 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าป.มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย จำเลยที่ 2 จึงรับผิดไม่เกินครึ่งหนึ่งของค่าสินไหม-ทดแทนทั้งหมด ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งในข้อเท็จจริงและจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 มาตรา 18 แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 ไม่ได้
of 2