คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำนวนแน่นอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนฟ้องล้มละลายได้ แม้ศาลแพ่งยังไม่มีคำพิพากษา
จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญารับรองวงเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กับหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนที่เจ้าหนี้จะฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน เพราะ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) บัญญัติแต่เพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่า หนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6034/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ค่าฝากทรัพย์กับค่าเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ ต้องแสดงเจตนาและจำนวนที่แน่นอน
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ยังค้างชำระเงินบำเหน็จค่าฝากปลาทูนึ่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายของโจทก์ได้ แต่ตามคำให้การ จำเลยที่ 1 มิได้แสดงเจตนาที่จะหักกลบลบหนี้แก่โจทก์ และทางนำสืบของจำเลยที่ 1 ก็ปรากฏว่าเงินบำเหน็จค่าฝากทรัพย์ดังกล่าวยังคงมีข้อโต้แย้งและเป็นจำนวนที่ไม่แน่นอน สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จึงไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 342 วรรคหนึ่ง และมาตรา 344

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอน ทำให้ฟ้องล้มละลายไม่ได้
หนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเป็นการกำหนดให้จำเลยทั้งสองทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนด พึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างอันจำเลยทั้งสองจะพึงเลือก ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 ดังนั้นหนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องกระทำก่อน จึงเป็นหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน อันแสดงว่าโจทก์ยังคง มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อและมีสิทธิติดตามเอาคืน จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีหากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่ และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ หนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่ ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แม้ข้อนำสืบของโจทก์จะมีเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้ จำเลยทั้งสองล้มละลาย จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทั้งสามข้อ ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 มิใช่ข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียวเท่านั้น เมื่อหนี้ตาม คำพิพากษาส่วนที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนมีจำนวนน้อยกว่า 50,000 บาท และหนี้ตามคำพิพากษาส่วนอื่นไม่อาจกำหนด จำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย ในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องนั้น ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาท ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(1) ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท ไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เรียกเก็บเกินมาให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ล้มละลายต้องมีจำนวนแน่นอน การบังคับให้ชำระหนี้ค่าทรัพย์สินและการส่งมอบทรัพย์สินคืน
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 กำหนดให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ดังนั้น แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในประเด็นเกี่ยวกับหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อเครื่องยนต์เรือไปจากโจทก์แล้วผิดสัญญาเช่าซื้อเป็นผลให้สัญญาเลิกกัน โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในเครื่องยนต์เรือที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งคืนเครื่องยนต์เรือที่เช่าซื้อ หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาดังนั้น มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย จึงเป็นมูลหนี้ส่งมอบทรัพย์สินคืน เมื่อหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบเครื่องยนต์เรือจะมีหรือไม่หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินบำเหน็จเพื่อชำระหนี้ของลูกจ้างต้องเป็นหนี้ที่ลูกจ้างไม่โต้แย้งและมีจำนวนแน่นอน
หนี้ที่ลูกจ้างมีข้อผูกพันจะต้องชำระให้นายจ้างตามข้อบังคับของนายจ้างจะต้องเป็นหนี้ที่ลูกจ้างมิได้โต้แย้งและจำนวนหนี้ต้องกำหนดไว้แน่นอน นายจ้างจึงจะมีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างได้ ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ลูกจ้างปฏิเสธและเป็นหนี้ที่อยู่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาล เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกจ้างมีข้อผูกพันต้องชดใช้ให้นายจ้าง นายจ้างยังไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอิฐเป็นเตา: กรรมสิทธิ์โอนทันทีเมื่อทำสัญญา แม้ระบุจำนวนโดยประมาณ
ทำสัญญาขายเหมาอิฐ 2 เตา อิฐประมาณสองแสนสองหมื่นแผ่นซึ่งอยู่ที่ลานเป็นเงิน 7,000 บาท ดังนี้เป็นการขายอิฐเป็นเตาซึ่งมีจำนวนแน่นอน คือ สองเตา ราคาก็แน่นอนคือ 7,000 บาท แม้จะได้กล่าวถึงจำนวนอิฐไว้ด้วย ก็เป็นการกล่าวไว้โดยประมาณพอให้เข้าใจว่าอิฐที่ขายมีปริมาณสักเท่าใด กรรมสิทธิ์ในอิฐย่อมผ่านจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะทำสัญญากันแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุปริมาณข้าวที่กักกันตาม พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว การฟ้องต้องระบุจำนวนที่แน่นอนเกิน 1,000 กิโลกรัม
คำว่าปริมาณใน พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 มาตรา 5 หมายถึงจำนวน
ฟ้องกล่าวแต่เพียงว่า จำเลยบังอาจกักกันข้าวไว้ประมาณ 1,260 กิโลกรัมคำว่าประมาณกลายเป็นไม่ใช่ยืนยันว่า จำเลยกักกันข้าวไว้เกิน 1,000 กิโลกรัมดังนี้ จึงไม่เป็นฟ้องที่ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนและการฟ้องล้มละลาย: แม้มีการอุทธรณ์คำพิพากษา ก็ไม่ทำให้หนี้เปลี่ยนแปลง
จำเลยทั้งสิบเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 8 ซึ่งเป็นคู่ความย่อมต้องผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนกว่าคำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้พิพากษาแก้ไขหรือกลับ จำเลยที่ 1 และที่ 8 ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว ประกอบกับหนี้ดังกล่าวสามารถที่จะคิดคำนวณได้ถึงวันฟ้องว่ามีจำนวนเท่าใด ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 8 อุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว หาทำให้หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้วกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไปไม่ และเมื่อหนี้ดังกล่าวมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและไม่น้อยกว่าสองล้านบาทสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์ย่อมมีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 8 ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนในคดีล้มละลาย: ผลของการระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
โจทก์จำเลยตกลงกันใช้วิธีระงับข้อพิพาทตามสัญญาโดยให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ และโจทก์ได้นำข้อพิพาทเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดแล้ว ถ้าคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดข้อพิพาทไปอย่างไรก็จะมีผลผูกพันโจทก์จำเลยไปตามคำชี้ขาดนั้นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มิใช่ผูกพันกันตามสัญญาที่พิพาทกันอยู่นั้นแต่อย่างใด ดังนั้น ตราบใดที่คณะอนุญาโตตุลาการไม่มีคำชี้ขาดย่อมไม่อาจถือได้ว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ในระหว่างนี้โจทก์ยังฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนในคดีล้มละลาย: การรอคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
โจทก์และจำเลยพิพาทกันตามสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการโรงแรมภายใต้ชื่อ (THANI) ซึ่งเดิมเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบริษัท ด. กับจำเลยและต่อมาได้โอนสิทธิให้โจทก์ มีข้อสัญญาเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการไว้ในข้อ 9 ว่า หากมีข้อโต้แย้งใดๆ เกิดขึ้นจากการตีความหรือเกี่ยวกับหน้าที่หรือความรับผิดชอบตามสัญญานี้ จะพยายามทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาระหว่างกันเองก่อน หากข้อโต้แย้งนั้นยังไม่อาจตกลงกันได้ ก็ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันใช้วิธีระงับข้อพิพาทตามสัญญาโดยให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 และโจทก์ได้นำข้อพิพาทเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดแล้ว ถ้าคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดข้อพิพาทอย่างไรก็จะมีผลผูกพันโจทก์จำเลยไปตามคำชี้ขาดนั้น ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มิใช่ผูกพันกันตามสัญญาที่พิพาทกันอยู่ ดังนั้นตราบใดที่คณะอนุญาโตตุลาการไม่มีคำชี้ขาดย่อมไม่อาจถือได้ว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ในระหว่างนี้โจทก์ยังฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
of 2