คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำหน่ายกำไร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีของตัวแทนขายสินค้าต่างประเทศ: ภาษีเงินได้และภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ
การที่โจทก์แนะนำบริษัทม.เป็นบริษัทต่างประเทศให้แก่บริษัทท. ซึ่งเป็นลูกค้าโจทก์ในประเทศไทยจนมีการซื้อขายสินค้ากันแม้บริษัทท. จะทำสัญญาซื้อขายและชำระราคาให้แก่บริษัทม.โดยตรงโดยโจทก์มิได้มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้าก็ตามแต่เนื่องมาจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วยโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา70ทวินั้นผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้นต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรโจทก์เป็นเพียงผู้แทนทำการติดต่อลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทต่างประเทศไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสาขาบริษัทต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรแต่อย่างไรแม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้าถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยจึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา70ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการเป็นตัวแทนติดต่อซื้อขายสินค้าต่างประเทศ และการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ
การที่โจทก์แนะนำบริษัทม.ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศให้แก่บริษัทท.ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้มีการติดต่อผ่านโจทก์จนทำการซื้อขายสินค้ากันแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์จะทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์มิได้มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้าก็ตามแต่การที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้ก็เนื่องมาจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศเมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วยโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา70ทวิผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้นต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรโจทก์เป็นเพียงผู้แทนทำการติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทต่างประเทศเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหากแต่ลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้ติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรงแม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์ก็มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา70ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทย และการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศเพื่อเสียภาษี
สำนักงานใหญ่ของโจทก์คำนวณเฉลี่ยรายจ่ายต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง เงินที่จ่ายในการหยุดพักร้อน เงินบำนาญพนักงานชาวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและตรวจสำนักงานสาขาค่าโฆษณาทั่วไป ค่าเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ค่าใช้จ่ายอาคารสำนักงานใหญ่ ค่าตอบแทนกรรมการค่าตรวจสอบบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยเพราะคิดว่าเป็นรายจ่ายที่เกิดประโยชน์แก่กิจการสาขาในประเทศไทยด้วยแต่เมื่อโจทก์เพียงแต่ใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่กิจการของสาขาในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างไรและเป็นจำนวนเท่าใดกรณีเช่นนี้โจทก์จะนำค่าใช้จ่ายนั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ และต้องนำไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณภาษี โจทก์ได้ส่งเงินค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่ได้รับเฉลี่ยไปยังสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ จึงเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย อันต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ติดต่อหาลูกค้าต่างประเทศ ไม่ใช่ผู้จำหน่ายกำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 ทวิ
ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรนั้น โจทก์เพียงแต่เป็นผู้ติดต่อหาลูกค้าในประเทศไทยให้ซื้อสินค้าจากบริษัทในต่างประเทศ เมื่อลูกค้าตกลงซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ขายแล้ว ลูกค้าจะส่งเงินค่าสินค้าไปชำระให้บริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยตรง ไม่ผ่านโจทก์ซึ่งนอกจากจะถือไม่ได้ว่ามีการจำหน่ายเงินกำไรแล้ว ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ในเงินจำนวนนั้นตามมาตรา 70ทิว แห่งป.รัษฎากร.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ ต้องเป็นผู้จำหน่ายกำไรจริง และเป็นกำไรสุทธิที่หักต้นทุนแล้ว
กรมสรรพากรมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษี โจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้ นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2683/2517)
ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงซึ่งหักต้นทุนออกแล้ว โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นให้ได้รับความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ม. ลูกค้าเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและชำระเงินค่าสินค้าต่อบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเฉพาะกำไรสุทธิที่ทำการค้าในประเทศไทย ดังนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร เงินที่ลูกค้าส่งไปให้แก่บริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเงินค่าซื้อสินค้า ไม่ใช่กำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ ต้องเป็นผู้จำหน่ายกำไรจริง และเป็นกำไรสุทธิหลังหักต้นทุน
กรมสรรพากรมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษี โจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์ดังนี้ นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2683/2517)
ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงซึ่งหักต้นทุนออกแล้ว โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นให้ได้รับความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ม. ลูกค้าเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและชำระเงินค่าสินค้าต่อบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเฉพาะกำไรสุทธิที่ทำการค้าในประเทศไทยดังนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร เงินที่ลูกค้าส่งไปให้แก่บริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเงินค่าซื้อสินค้า ไม่ใช่กำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีของบริษัทต่างชาติมีสาขาในไทย: ดอกเบี้ยเงินกู้, การจำหน่ายกำไร, และอากรแสตมป์
โจทก์ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกา และมีสาขาที่กรุงเทพ ดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ เมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย เสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้บัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65 ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65 ทวิ ดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5 ของสาขากรุงเทพฯ แต่ละปี ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสอง ทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทย การส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ จะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตาม แต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศ ก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปี คิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าว จึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากร ตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญ เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับกรณีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยและการเสียภาษีเงินได้ของธนาคารที่มีสาขาต่างประเทศ
ธนาคารโจทก์กับสาขาต่างประเทศและสาขากรุงเทพฯ ย่อมเป็นนิติบุคคลเดียวกัน เงินที่สาขาต่างประเทศส่งมาใช้เป็นเงินกองทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ ต้องถือเป็นเงินทุนและเงินสำรองของโจทก์ เพราะพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 10, 12 ประกอบด้วยมาตรา 6 วรรคสองมีเจตนารมณ์ให้ธนาคารพาณิชย์ มีฐานะมั่นคงปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้เป็นลูกค้าหรื่อผู้ติดต่อทำธุรกิจ ไม่ประสงค์และไม่ได้บัญญัติให้ธนาคารสาขามีเงินทุน เงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกองทุนของตนเองแยกต่างหากจากสำนักงานใหญ่และสาขาอื่น ๆ
สาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศส่งเงินมาให้สาขากรุงเทพฯ ใช้เป็นเงินกองทุน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ แม้เงินที่ส่งมานั้นจะเคยเป็นเงินฝากของลูกค้าของสาขาต่างประเทศที่มีความผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากก็ตาม การที่สาขากรุงเทพฯ ส่งดอกเบี้ยสำหรับเงินจำนวนนี้ไปให้สาขาต่างประเทศ ก็เป็นเพียงการจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสาขาต่างประเทศเท่านั้น มิใช่รายจ่ายโดยตรงของสาขากรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ทั้งเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุนเงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) (10) (11) ซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้
บริษัท ป. กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศ ดอกเบี้ยที่บริษัท ป. ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป. ส่งไปให้สาขาต่างประเทศนั้น ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้เช่นเดียวกับเงินดอกเบี้ยที่สาขากรุงเทพฯ ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวมาแล้ว และการที่ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศ ย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทย ต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยและการหักรายจ่ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
ธนาคารโจทก์กับสาขาต่างประเทศและสาขากรุงเทพฯ เป็นนิติบุคคลเดียวกัน เมื่อสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศส่งเงินมาให้สาขากรุงเทพฯ ใช้เป็นเงินกองทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ แม้เงินที่ส่งมานั้นจะเคยเป็นเงินฝากของลูกค้าของสาขาต่างประเทศซึ่งมีความผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากก็ตามการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งดอกเบี้ยสำหรับเงินจำนวนนี้ไปให้สาขาต่างประเทศก็เป็นเพียงการผ่อนภาระของสาขาต่างประเทศเท่านั้นมิใช่รายจ่ายโดยตรงของสาขากรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงและเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ทั้งเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเองตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) ซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้
บริษัท ป. กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศดอกเบี้ยที่บริษัท ป. ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป. ส่งไปให้สาขาต่างประเทศ ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันและการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 70 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646-2649/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: ดอกเบี้ยส่งไปสำนักงานใหญ่ ถือรายจ่ายต้องห้ามและเป็นการจำหน่ายกำไร
ธนาคารสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย เป็นนิติบุคคลเดียวกันกับธนาคารสำนักงานใหญ่ที่อยู่ต่างประเทศ แม้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 จะบังคับให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องมีทรัพย์สินในประเทศไทย ให้ทำงบดุลต่างหาก ก็เป็นการบังคับไว้เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวมีความมั่นคงในการดำเนินกิจการในประเทศไทย หาใช่รับรองให้มีสภาพบุคคลเป็นเอกเทศจากสำนักงานใหญ่ไม่
ธนาคารสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศหรือสาขาของธนาคารในต่างประเทศส่งเงินที่รับฝากจากลูกค้ามาลงทุนในธนาคารสาขาในประเทศไทย เงินนั้นเป็นสังกมะทรัพย์เมื่อรับฝากจากลูกค้าแล้วก็ย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์ของธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขา ถือได้ว่าสำนักงานใหญ่หรือสาขานั้นเป็นผู้ส่งมาลงทุน แม้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมีพันธะผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากดอกเบี้ยนั้นก็เป็นรายจ่ายโดยแท้ของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ มิใช่รายจ่ายโดยตรงของธนาคารสาขาในประเทศไทยการที่ธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งดอกเบี้ยไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ จึงเป็นรายจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และถือได้ว่าเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเอง ตามมาตรา 65 ตรี (9)(10) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามมาตรา 65 ทวิ มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ซึ่งถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกำไร เมื่อธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งเงินดังกล่าวออกไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศก็เท่ากับเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
of 2