พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา: ต้องบังคับจากทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ก่อน หากไม่พอจึงบังคับจากจำเลยที่ 2
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน มีผลเท่ากับว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะใช้ได้ ก็ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนจนครบ ฉะนั้น โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อไม่พอจึงจะบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 689
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งเงินบำนาญของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มายังเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 และโจทก์ได้รับเงินบางส่วนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก แม้จะเป็นการชำระหนี้เพียงบางส่วนแต่ก็ยังไม่ปรากฏพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่อาจบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้อีกต่อไป โจทก์จึงต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งเงินบำนาญของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มายังเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 และโจทก์ได้รับเงินบางส่วนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก แม้จะเป็นการชำระหนี้เพียงบางส่วนแต่ก็ยังไม่ปรากฏพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่อาจบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้อีกต่อไป โจทก์จึงต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: จำเลยที่ 1 ผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่จำเลยที่ 2 (กรรมการ) ทำในฐานะตัวแทน
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้หนึ่งที่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาจะขายอาคารพาณิชย์พิพาทแก่โจทก์โดย ตามแผนผังอาคารพาณิชย์ที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นและใบเสนอราคาหัวกระดาษที่จำเลยที่ 2 นำมาให้แก่โจทก์ระบุชื่อจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเอกสารของจำเลยที่ 1 อีกทั้งบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ระบุชัดเจนว่าโครงการสร้างอาคารพาณิชย์พิพาทเป็นโครงการที่ 3 ของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามป.พ.พ. มาตรา 821 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตน
การตั้งตัวแทนที่ต้องทำเป็นหนังสือตามป.พ.พ. มาตรา 798 นั้นเป็นบทบังคับกรณีการตั้งตัวแทนตามปกติทั่ว ๆ ไป แต่การเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายจึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
การตั้งตัวแทนที่ต้องทำเป็นหนังสือตามป.พ.พ. มาตรา 798 นั้นเป็นบทบังคับกรณีการตั้งตัวแทนตามปกติทั่ว ๆ ไป แต่การเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายจึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6453/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 รับผิดใช้เงินตามสัญญา แม้จำเลยที่ 1 ยกอายุความ เพราะเป็นการกระทำส่วนตัวนอกเหนืออำนาจ
การว่าจ้างโจทก์ลงพิมพ์โฆษณาในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ฉบับหน้าเหลืองภาษาอังกฤษเป็นการโฆษณาของบริษัท ย. ไม่ใช่บริษัทจำเลยที่ 1 แต่เป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 และกระทำไปโดยปราศจากอำนาจและจำเลยที่ 1 ไม่ให้สัตยาบันจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 มูลความแห่งคดีจึงมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้อันจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) มาใช้บังคับจึงนำเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ให้การต่อสู้ไว้มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9402/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกัน ไม่มีสิทธิฎีกา เนื่องจากศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำเลยที่ 1 และไม่มีผลกระทบต่อจำเลยที่ 3
คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระเงิน จำนวน 18,327,369 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย ที่ 3ผู้ค้ำประกัน ร่วม กับ จำเลยที่ 1 รับ ผิด ชำระเงิน จำนวน2,98,257.21 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ปรากฏ ว่า เฉพาะ โจทก์ เท่านั้น ที่ อุทธรณ์ ขอให้ จำเลยที่ 1 รับผิด เพิ่มขึ้นจำเลยที่ 3 หา ได้ อุทธรณ์ ไม่ คดี สำหรับ จำเลย ที่ 3 จึง ถึงที่สุดตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น แม้ ศาลอุทธรณ์ จะ พิพากษา แก้ เป็น ว่าให้ จำเลย ที่ 1 ชำระเงิน 21,904,294.10 บาท พร้อม ดอกเบี้ยแก่ โจทก์ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ดังกล่าว ก็ หา มี ผล ทำให้จำเลยที่ 3 ต้อง รับผิด เพิ่ม ขึ้น จาก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ไม่จำเลยที่ 3 จึง ไม่ มี สิทธิ ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าโจทก์ มี สิทธิ เรียก ดอกเบี้ย ทบต้น จาก จำเลยที่ 1 ได้ จนถึงวันที่ หัก ทอน บัญชี กัน ครั้งสุดท้าย คือ วันที่ 1 เมษายน 2534ไม่ ถูกต้อง เพราะ เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดย ชอบใน ศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจัดรูปที่ดิน: จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เบื้องต้น, จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง
ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2517มาตรา13,14,17และ30สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดจำเลยที่2จะต้องดำเนินการจัดรูปที่ดินให้อยู่ในกรอบกำหนดของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางกับคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดและเป็นเพียงเจ้าหน้าที่เบื้องต้นในการจัดรูปที่ดินการดำเนินการของจำเลยที่2ยังไม่มีผลบังคับแก่เจ้าของที่ดินในโครงการเพราะต้องมีการเสนอการดำเนินการจัดรูปที่ดินดังกล่าวต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดเพื่อพิจารณาแล้วนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดรูปที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินชั้นที่สุดดังนั้นลำพังการดำเนินการจัดรูปที่ดินของจำเลยที่2หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2 พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2517มีบทบัญญัติกำหนดองค์กรให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการจัดรูปที่ดินและกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องในรูปของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางและคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดไว้เป็นเอกเทศหากผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดรูปที่ดินได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของเจ้าของที่ดินในโครงการจัดรูปที่ดินหรือของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องร้องต่อศาลได้แม้ผู้มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวจะมิได้เป็นนิติบุคคลก็ตามดังนั้นเพียงแต่สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดจำเลยที่2เป็นส่วนราชการอยู่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่1ก็ดีหรือจำเลยที่1มีหน้าที่ควบคุมดูแลแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ดีหรือแม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางก็ดีหาถือได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้กระทำหรือต้องรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการในการจัดรูปที่ดินของจำเลยที่2ไม่จำเลยที่1จึงมิได้เป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงทั้งศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยที่1จัดรูปที่ดินให้ใหม่ตามคำฟ้องของโจทก์ได้เพราะจำเลยที่1ไม่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเองในเรื่องนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7421/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร่วมดำเนินกิจการ: การใช้ตราบริษัทของจำเลยที่ 1 หลังจดทะเบียนแล้ว แสดงถึงการมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2
ขณะโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้า ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหลังจากมีการมอบอำนาจแล้ว 4 วันและตามหนังสือมอบอำนาจมีตราของห้างจำเลยที่ 1 ประทับไว้ที่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แสดงว่าโจทก์ ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 2 ด้วยมิใช่เป็นเรื่องมอบอำนาจระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2โดยเฉพาะเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 ย่อมกระทบสิทธิจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ใช้มอบหมาย แม้ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
ในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นอุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ก็ไม่มีหนี้จะให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ใช้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 กระทำในหน้าที่ราชการมาร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้อีกต่อไป ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ย่อมลบล้างผลอุทธรณ์ และจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดหากจำเลยที่ 1 ไม่ประมาท
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่1ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่1ไปแล้วย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นอุทธรณ์คดีสำหรับจำเลยที่1จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1มิได้เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ดังนี้เมื่อจำเลยที่1ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ไม่มีหนี้จะให้จำเลยที่2ในฐานะผู้ใช้มอบหมายให้จำเลยที่2กระทำในหน้าที่ราชการมาร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้อีกต่อไปปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่2จะมิได้ฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องจำเลยที่ 1 แล้วส่งผลต่อสิทธิในสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ศาลไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมการเช่า
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการเช่าตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่1ผู้ให้เช่ากับจำเลยที่2ผู้เช่าแต่โจทก์ได้ยื่นคำบอกกล่าวถอนฟ้องจำเลยที่1ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา176แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลยภายหลังเมื่อถอนฟ้องจำเลยที่1แล้วกรณีหากมีการเพิกถอนนิติกรรมการเช่าผลย่อมเป็นการกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่1อันมีอยู่ตามสัญญาเช่าและเป็นบุคคลนอกคดีดังนั้นศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ที่ให้เพิกถอนนิติกรรมการเช่าระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการร้านไม่ใช่คู่สัญญาซื้อขาย: ไม่ต้องรับผิดในสัญญาที่จำเลยที่ 1 ผิด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการร้านจำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นเพียงผู้กระทำกิจการร้านค้าแทนจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญาซื้อขายกับโจทก์การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ให้การต่อสู้และไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย