พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการกู้ยืมเงิน: การให้การของจำเลยแสดงเหตุขาดอายุความชัดเจน ชอบวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันกู้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระต้นเงินให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ โดยผ่อนชำระคืนเป็นรายวันการที่จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(2) เนื่องจากนำคดีมาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับจากมีสิทธิเรียกร้อง ซึ่งตามมาตรา 193/33(2) บัญญัติอายุความการใช้สิทธิเรียกร้องไว้เพียงกรณีเดียวเฉพาะเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ เช่นนี้ ถือได้ว่าคำให้การของจำเลยดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่า สิทธิเรียกร้องตามหนังสือสัญญากู้ยืมที่โจทก์นำมาฟ้องขาดอายุความเมื่อใดและเพราะเหตุใด คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าคดีขาดอายุความหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลบังคับจำนอง: ศาลต้องพิจารณาตามอัตราที่จำเลยให้การหรือไม่ ให้ใช้ตามตารางค่าขึ้นศาล
คำร้องขอให้บังคับจำนองของผู้ร้องซึ่งเป็นคำฟ้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละเท่าใดนั้น เป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ ซึ่งเท่ากับว่าผู้ร้องมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น ผู้ร้องก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 226 (2) และแม้ว่าผู้ร้องจะอุทธรณ์ในเรื่องค่าขึ้นศาลเพียงอย่างเดียวแต่ก็เป็นการอุทธรณ์โดยยกเหตุว่าศาลชั้นต้นมิได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามผู้ร้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168
ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยนั่นเอง คดีนี้จำเลยผู้จำนองไม่ได้ให้การต่อสู้คดีหรือคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ. ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง แม้โจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นเพียงการ โต้แย้งในชั้นบังคับคดีของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าคำคัดค้านของโจทก์เป็นคำให้การต่อสู้คดีแทนจำเลยตามความหมาย ของตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ.
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2546
ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยนั่นเอง คดีนี้จำเลยผู้จำนองไม่ได้ให้การต่อสู้คดีหรือคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ. ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง แม้โจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นเพียงการ โต้แย้งในชั้นบังคับคดีของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าคำคัดค้านของโจทก์เป็นคำให้การต่อสู้คดีแทนจำเลยตามความหมาย ของตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ.
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2546
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานเกี่ยวกับเงินกองทุนเลี้ยงชีพและโบนัส จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นตามที่จำเลยให้การไว้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยที่สะสมไว้ให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าเงินกองทุนเลี้ยงชีพที่โจทก์ฟ้อง จำเลยได้จ่ายให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้จ่ายเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินสมทบกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลย อันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การของจำเลย ย่อมเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงาน และให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าว ข้างต้นใหม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินโบนัสจากจำเลยในปี 2540ส่วนที่ขาดอีกครึ่งหนึ่งของเงินโบนัสคิดเท่าเงินเดือนของโจทก์จำนวน 2.65 เดือน เป็นเงิน 40,582 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยการ ปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งเป็นการเลิกจ้าง ที่เป็นธรรมแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินโบนัสจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิ ได้รับเงินโบนัสเนื่องจากโจทก์ถูกปลดออกจากงานฐานทุจริต ต่อ หน้าที่หรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์ ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2540 จึงทำงานไม่ครบปีหรือตามเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงิน โบนัสครึ่งปีหลังของปี 2540 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ตามคำให้การ เป็นการมิชอบ ศาลแรงงานจำต้องวินิจฉัย ข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นใหม่เช่นเดียวกัน ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้กระทำได้ภายในระยะเวลาที่ศาลแรงงานกำหนดตามที่เห็นสมควร แม้คดีนี้จำเลยสืบพยานบุคคลปาก อ.โดยยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของ อ.ที่เบิกความถึงเอกสารหมาย ล.7 ซึ่งศาลแรงงานได้รับเอกสารดังกล่าวที่จำเลยอ้างส่งศาลและหมายเอกสารดังกล่าวไว้แล้วระบุเอกสารให้แยกเก็บ โดยจำเลยนำสืบพยานเอกสารดังกล่าว โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ตาม แต่การที่ศาลแรงงานรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย ล.7 และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษา แสดงว่า ศาลแรงงานเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่ จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล.7 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะการที่ศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ล.7 จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่ในการประเมินราคาทรัพย์สิน ของลูกค้าจำเลย โจทก์ได้เรียกและรับเงินจากลูกค้าโดย ไม่มีสิทธิ การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ที่โจทก์มีอยู่หาประโยชน์แก่ตนเอง หรือผู้อื่น อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่ง ของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ จะเห็นได้ว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ โดยกล่าวอ้างสาเหตุว่าโจทก์กระทำการเรียกและรับเงิน จากลูกค้าโดยไม่ชอบ อันเป็นการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรงถือได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งว่า จำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งได้อ้างสาเหตุ แห่งการเลิกจ้างครบถ้วนแล้ว ส่วนการที่โจทก์เรียกเงิน จากลูกค้ารายใด โจทก์รับเงินอย่างใด จำนวนกี่ราย เป็นรายละเอียดที่จำเลยมีสิทธินำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณา คำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การแล้ว หากเป็นการฟ้องผิดตัวบุคคล ศาลย่อมไม่รับคำขอแก้ไข
เดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยคือนางประไพพรรณหรือซายิดจันจุมอัมพาหรือนางประไพพรรณอับบาส โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท บุคคลที่ถูกฟ้องดังกล่าวมีเพียงคนเดียวเป็นหญิง มีชื่อ 2 ชื่อ ชื่อสกุล 2 ชื่อ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขหลังจากที่จำเลยยื่นคำให้การต่อศาลแล้วว่า จำเลยมิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายคือเจ้าของบัญชีร่วมกับจำเลยแม้ศาลชั้นต้นจะยังไม่ได้สั่งรับคำให้การก็ตามแต่ก็ทำให้ ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นผู้อื่นที่ไม่ใช่บุคคลซึ่งมีชื่อตามที่โจทก์ฟ้อง การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นเพียงการขอแก้ไขชื่อจำเลย แต่เป็นเรื่อง ที่โจทก์ฟ้องผิดคนแล้วขอแก้ไขคำฟ้อง ซึ่งถ้าศาลสั่งอนุญาต จะมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งเป็นจำเลย จากบุคคลหนึ่งเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ศาลจึงต้องสั่งยกคำร้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การว่าไม่ใช่ผู้ลงลายมือชื่อเช็ค ถือเป็นการฟ้องผิดคน ศาลไม่รับแก้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท บุคคลที่ ถูกฟ้องมีเพียงคนเดียวเป็นหญิง มีชื่อ 2 ชื่อ การที่โจทก์ ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยเป็น นาย ช. เป็นการแก้ทั้งชื่อและเพศของจำเลย ทั้งเป็นการขอแก้ไข หลังจากที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การต่อสู้คดี ว่าจำเลยมิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแม้ศาลชั้นต้น จะยังไม่ได้สั่งรับคำให้การก็ตาม แต่ก็ทำให้ปรากฏว่า ผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นผู้อื่นที่ไม่ใช่บุคคล ซึ่งมีชื่อตามที่โจทก์ฟ้อง การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องผิดคนแล้วขอแก้ไขคำฟ้อง ซึ่งถ้าศาลสั่งอนุญาตจะมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งเป็นจำเลยจากบุคคลหนึ่งเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม การชนสี่แยก ความรับผิดทางละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ได้
โจทก์ฟ้องความว่าจำเลยที่1กับโจทก์ต่างขับรถไปตามถนนคนละสายแต่ต่างมุ่งหน้าไปที่สี่แยกพระยาตรังซึ่งถนนทั้งสองสายจะต้องตัดผ่านจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกผ่านสี่แยกด้วยความเร็วสูงไม่ระมัดระวังจึงเป็นเหตุให้ชนกับรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับมาด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎหมายคำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่1กับโจทก์ขับรถมาอย่างไรและเกิดชนกันอย่างไรทั้งจำเลยที่2สามารถให้การต่อสู้คดีได้โจทก์ไม่จำต้องกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายขับรถตามกันหรือสวนกันหรือต่างฝ่ายต่างจอดรอสัญญาณไฟหรือฝ่าฝืนสัญญาณไฟและชนกันในลักษณะอย่างไรซึ่งเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินคืน: ลาภมิควรได้ vs. ติดตามทรัพย์คืน การให้การของจำเลยต้องชัดแจ้งเหตุขาดอายุความ
คำให้การของจำเลยที่ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว เพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าสมนาคุณตอบแทนคืนเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการเบิกเงินของจำเลยนั้น เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองแล้ว
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์จ่ายเงินค่าสมนาคุณตอบแทนให้แก่จำเลยรับไปโดยผิดหลงโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินที่รับไปส่งคืนแก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินให้โจทก์โดยมิได้บรรยายมาในฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 1336 กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์จ่ายเงินค่าสมนาคุณตอบแทนให้แก่จำเลยรับไปโดยผิดหลงโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินที่รับไปส่งคืนแก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินให้โจทก์โดยมิได้บรรยายมาในฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 1336 กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเรื่องการกู้ยืมเงินและโอนที่ดินชำระหนี้ ศาลฎีกาพิจารณาได้ตามข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การ
ศาลเป็นผู้พินิจพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยตามที่นำสืบมาในสำนวน การตรวจพิจารณาลายเซ็นชื่อของโจทก์ในสัญญากู้เปรียบเทียบกับลายเซ็นชื่อของโจทก์ในเอกสารต่างๆ ตามที่ปรากฏในสำนวนก็เป็นการพิจารณาอย่างหนึ่งที่ศาลมีอำนาจกระทำได้
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000 บาท ต่อมาไม่มีเงินชำระเงินต้น โจทก์จึงเอาส่วนพิพาทตีราคาใช้หนี้จำเลยในราคา 3,000 บาท โดยทำสัญญายกสวนให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ ส่วนการที่ต้องทำสัญญาเป็นสัญญายกให้ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขัดข้องที่จะทำสัญญาเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องทำเป็นสัญญายกให้ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจง ซึ่งเป็นการนำสืบแสดงถึงเหตุที่ต้องทำเป็นสัญญายกให้เท่านั้น ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยก็นำสืบได้ มิใช่จำเลยนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารและนำสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด
ข้อที่ว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่าได้มีการชำระหนี้ 3,000 บาทมาแสดงต่อศาล โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นี้ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000 บาท ต่อมาไม่มีเงินชำระเงินต้น โจทก์จึงเอาส่วนพิพาทตีราคาใช้หนี้จำเลยในราคา 3,000 บาท โดยทำสัญญายกสวนให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ ส่วนการที่ต้องทำสัญญาเป็นสัญญายกให้ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขัดข้องที่จะทำสัญญาเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องทำเป็นสัญญายกให้ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจง ซึ่งเป็นการนำสืบแสดงถึงเหตุที่ต้องทำเป็นสัญญายกให้เท่านั้น ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยก็นำสืบได้ มิใช่จำเลยนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารและนำสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด
ข้อที่ว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่าได้มีการชำระหนี้ 3,000 บาทมาแสดงต่อศาล โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นี้ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ และเงื่อนไขการถอนฟ้องที่ไม่ใช่การประนีประนอม
คดีแพ่ง เมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ยื่นคำขอเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องนั้น อำนาจศาลมีอยู่เสมอที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตภายในเงื่อนไขที่เห็นสมควร ข้อจำกัดมีอยู่แต่เพียงว่า ถ้าศาลอนุญาตจะต้องฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อนเท่านั้น
โจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยไม่คัดค้านแต่เสนอเงื่อนไขต่อศาลหลายประการนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ถอนคำฟ้องเนื่องจากมีข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลย จึงไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 175(2) และศาลมีอำนาจโดยบริบูรณ์ที่จะใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องได้
โจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยไม่คัดค้านแต่เสนอเงื่อนไขต่อศาลหลายประการนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ถอนคำฟ้องเนื่องจากมีข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลย จึงไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 175(2) และศาลมีอำนาจโดยบริบูรณ์ที่จะใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธข้อกล่าวหาและการพิสูจน์ความเท็จของคำแจ้งความ จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ความเท็จ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยแจ้งปริมาณข้าวซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นเท็จ ขอให้ลงโทษ จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นกสิกรได้รับยกเว้นไม่ต้องแจ้งปริมาณข้าว ทั้งข้อความที่จำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานก็เป็นความจริง ดังนี้จะฟังว่าจำเลยให้การรับตามฟ้องไม่ได้ กลับแสดงให้เห็นชัดว่าจำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อหา จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคำแจ้งความของจำเลยเป็นเท็จ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้