คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จิตบกพร่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีฆ่าพ่อและเหตุผลในการลดโทษจากอาการทางจิต
ทนายจำเลยขอส่งตัวจำเลยไปตรวจจิตที่โรงพยาบาล โจทก์แถลงว่ากรณีไม่เข้าเหตุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 14 ศาลชั้นต้นเห็นว่าในระหว่างการสอบสวนและพิจารณาจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ เหตุที่ทนายจำเลยขอส่งตัวจำเลยไปตรวจจิตที่โรงพยาบาลนั้นไม่เข้าเหตุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 14 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นชี้ขาดว่า จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยกับผู้ตายซึ่งเป็นบิดาของจำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ทั้งไม่มีมูลเหตุใดอันเป็นเรื่องรุนแรงพอที่จะทำให้จำเลยต้องฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจำเลยมาโดยตลอด จึงน่าเชื่อว่าจำเลยมีความผิดปกติในความคิดและการรับรู้ แม้ยังไม่เป็นการชัดแจ้งว่าจำเลยกระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง แต่การที่จำเลยเกิดความหวาดกลัวว่าจะมีคนมาทำร้ายและหลังเกิดเหตุจำเลยวิ่งหลบหนีไปนั้น แสดงว่าจำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตใจหรือจิตบกพร่อง แต่ก็เชื่อได้ว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ตาม ป.อ. มาตรา 65 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษความผิดหลายกรรมต่อเนื่องจากจิตบกพร่อง และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืน
ขณะกระทำความผิดจำเลยมีจิตบกพร่องแต่ยังสามารถรู้สึกผิดชอบหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญ และฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยได้กระทำความผิดในคราวเดียวต่อเนื่องเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องปรับบทลงโทษจำเลยประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 65 วรรคสอง ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เพียงเป็นว่า ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นประกอบ ป.อ. มาตรา 65 วรรคสอง จึงไม่ถูกต้อง การปรับบทลงโทษแม้คู่ความจะมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น-พยายามฆ่า-มีจิตบกพร่อง-การปรับบทลงโทษ-ความผิดอาวุธปืน
ก่อนเกิดเหตุประมาณ 6 ถึง 7 เดือน จำเลยเคยมีอาการผิดปกติทางจิตและเคยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล และตามคำเบิกความของแพทย์หญิง ก. พยานจำเลยกับใบรับรองแพทย์ซึ่งระบุว่าจำเลยเป็นโรคจิตประเภทชนิดหวาดระแวงประกอบกับรายงานการวินิจฉัยโรคของโรงพยาบาลนิติจิตเวชซึ่งระบุเช่นกันว่าป่วยเป็นโรคจิต จึงเชื่อว่าจำเลยกระทำไปเพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต แต่ข้อเท็จจริงได้ความอีกว่า ขณะเกิดเหตุ อ. อยู่ใกล้กับจำเลยและเข้าแย่งอาวุธปืนจากจำเลยด้วย แต่จำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงหรือทำร้าย อ. แต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าภาวะจิตใจของจำเลยขณะกระทำความผิดยังสามารถรู้สึกผิดชอบหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง
จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวต่อเนื่องเป็นหลายกรรมต่างกัน ต้องปรับบทลงโทษจำเลยประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรคสอง ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปด้วย การปรับบทลงโทษแม้คู่ความจะมิได้ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในทางอาญาของผู้ป่วยทางจิต: การพิสูจน์ความสามารถในการรู้ผิดชอบขณะกระทำความผิด
จำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตมานานแล้ว จะมีการกำเริบ เป็นครั้งคราวและไม่อาจรู้ได้ล่วงหน้า เมื่อมีอาการทางจิต แล้วจะรู้สึกกลัวและจำอะไรไม่ได้ การที่จำเลยฟันทำร้าย ผู้เสียหายทั้งสี่ได้รับบาดเจ็บนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับ ผู้เสียหายทั้งสี่มีเรื่องบาดหมางมาก่อนอันจะเป็นมูลเหตุ ให้จำเลยโกรธเคืองมุ่งร้ายผู้เสียหาย ถือเป็นการผิดปกติวิสัย ที่คนจิตปกติจะมาฟันทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏสาเหตุใด ๆ มาก่อน ดังนั้น พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยทำร้ายผู้เสียหายทั้งสี่ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่ สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคแรก การกระทำของจำเลยที่ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคแรกนั้นต้อง พิจารณาถึงผู้กระทำว่ารู้สึกผิดชอบในการกระทำผิดลงในขณะนั้นกับขณะนั้นผู้กระทำสามารถยับยั้งหรือบังคับตนเองได้หรือไม่อันเนื่องจากมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต มิใช่ถือเอาการกระทำของจำเลยภายหลังเกิดเหตุ ที่นำชี้สถานที่เกิดเหตุกับแสดงท่าทาง ในการกระทำผิดมาเป็นเกณฑ์พิจารณาประกอบการกระทำความผิด ที่กระทำก่อนแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดทางอาญา: การกระทำความผิดโดยมีอาการป่วยทางจิต และการพิจารณาความสามารถในการรับผิด
จำเลยมีอาการป่วยทางจิตเนื่องจากประสบอุบัติเหตุรถยนต์คว่ำ จำเลยเคยไปรักษาที่โรงพยาบาลติดต่อกันนานประมาณ 7 ปี แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยยังรับราชการที่แผนกการเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดได้ตามปกติแสดงว่าบางขณะจำเลยมีอาการคุ้มดีคุ้มร้าย บางขณะก็เป็นปกติ คืนเกิดเหตุ จำเลยเคาะประตูเรียก ป. และโวยวายให้คนช่วยหาคนที่เอามดแดงไปใส่ในรองเท้าจำเลยและทำลายข้าวของในห้องพักของ จำเลยเมื่อจำเลยไปค้นห้องพักผู้ตายพบมีดและปืนของผู้ตาย จำเลยหยิบมีดและปืนออกจากห้องและเดินตามหาผู้ตายเมื่อพบผู้ตายจำเลยพูดว่า "เฮ้ย มึงว่ากูกล้ายิงไหม" แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนยิงทันที นอกจากนี้หลังเกิดเหตุจำเลยได้พูดกับ ป. ว่า"เป็นไง เพื่อน มึงวิ่งหนีกูทำไม" พฤติการณ์ของจำเลยก่อนและหลังกระทำความผิดเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าภาวะจิตใจของจำเลยขณะกระทำความผิดยังสามารถรู้สึกผิดชอบอยู่บ้างหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปัญญาอ่อนและการรับผิดชอบทางอาญา: จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบในขณะกระทำความผิด
จำเลยเป็นคนปัญญาอ่อน กระทำผิดโดยใช้อวัยวะของจำเลยถูที่อวัยวะเพศของผู้เสียหาย แต่ได้ความจากแพทย์ผู้รักษาจำเลยว่าจำเลยเป็นโรคคริทินซึ่งเกิดจากการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน มาแต่กำเนิดการเจริญเติบโตทางกายและสติปัญญาช้ากว่าอายุจริง จำเลยเดินได้เมื่ออายุ 7 ปี พูดประโยคได้เมื่ออายุ 9 ปีเมื่ออายุ 11 ปี 11 เดือนมีความสามารถทางสติปัญญาเท่ากับเด็ก 5 ปี มีระดับไอคิว ต่ำกว่าเด็กปกติ เรียนซ้ำชั้นประถมปีที่ 1 อยู่เป็นเวลา 5 ปี จากการตรวจก่อนเกิดเหตุสองเดือนสติปัญญายังช้า แพทย์ยืนยันว่า จำเลยไม่รู้จักเหตุผล ไม่มีการวางแผน ไม่มีความรับผิดชอบ จะต้องรักษาตัวไปตลอดชีวิตไม่มีทางหายขาดได้ ทั้งปรากฏว่าจำเลยไม่ชอบเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน ดังนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดไปในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบเพราะจิตบกพร่องด้วยป่วยเป็นโรคปัญญาอ่อนมาแต่กำเนิด จึงไม่ต้องรับโทษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยป่วยโรคคริทินแต่กำเนิด ทำให้มีจิตบกพร่อง ไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ จึงไม่ต้องรับโทษในคดีอนาจาร
จำเลยกระทำอนาจารและพยายามกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปีแต่ได้ความว่า จำเลยป่วยเป็นโรคคริทิน ซึ่งเกิดจากการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดทำให้การเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาเจริญวัยทางสติปัญญาช้ากว่าอายุจริง จำเลยเพิ่งเดินได้เมื่ออายุ7 ปี พูดได้เป็นประโยคเมื่ออายุ 9 ปี ขณะอายุ 11 ปี 11 เดือนมีความสามารถทางสติปัญญาเท่ากับเด็กอายุ 5 ปี ก่อนเกิดเหตุ 2 เดือนแพทย์ตรวจจำเลยปรากฏว่าสติปัญญายังช้า ไม่รู้จักเหตุผล ไม่มีการวางแผน ไม่มีความรับผิดชอบ ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตไม่มีทางหายขาด ถือว่าจำเลยกระทำผิดในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบ เพราะมีจิตบกพร่องด้วยป่วยเป็นโรคปัญญาอ่อนมาตั้งแต่กำเนิด จึงไม่ต้องรับโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของผู้ป่วยจิตเภท: การกระทำความผิดในขณะจิตบกพร่อง
ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยมีอาการทางประสาท ชอบนั่งคอตก ไม่พูดกับใคร กับงานไม่ได้ ไล่ชกต่อยมารดา เคยจะฟันพี่ชาย อาการดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว คราวละประมาณ30 นาที พูดด้วยไม่รู้เรื่อง บางครั้งก็ต้องใช้โซ่ล่ามจำเลยไว้ วันเกิดเหตุโจทก์ร่วมนอนเล่นอยู่บนบ้าน จำเลยไปที่ใต้ถุนบ้าน โจทก์ร่วมและพูดคนเดียวโดยไม่มีใครรู้สาเหตุว่า "คนแก่อะไร พูดไม่เป็นคำพูด" โจทก์ร่วมได้ยินเสียงจำเลยจึงลุกขึ้นไปที่ประตูถามว่า "เมื่อตะกี้มึงพูดว่าอะไร" จำเลยตอบว่า"เรื่องอะไรเกิดขึ้นไม่สนใจ อย่าใช้เสียงดัง ถ้าส่งเสียงดังจะฆ่าให้ตาย" หลังจากนั้นจำเลยเดินไปใช้ไม้ขีดไฟจุดเผาหลังคายุ้งข้าวของโจทก์ร่วมแล้วหลบหนีไป เช่นนี้จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าสาเหตุคดีนี้เกิดขึ้นเพราะโจทก์ร่วมได้ว่ากล่าวจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน กรณีฟังได้ว่าจำเลยซึ่งป่วยเป็นโรคจิตประเภทชนิดเรื้อรังได้กระทำความผิดในขณะที่มีจิตบกพร่องหรือเป็นโรคจิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดในขณะจิตบกพร่องหรือเป็นโรคจิต และขอบเขตความรับผิดทางอาญาตามมาตรา 65 วรรคสอง
จำเลยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทเรื้อรัง วันเกิดเหตุโจทก์ร่วมนอนเล่นอยู่บนบ้าน จำเลยไปที่ใต้ถุนบ้านโจทก์ร่วมและพูดคนเดียวโดยไม่มีใครรู้สาเหตุว่า คนแก่อะไรพูดไม่เป็นคำพูด โจทก์ร่วมได้ยินเสียงจำเลย จึงลุกไปที่ประตูถามจำเลยว่าพูดอะไร จำเลยตอบว่าไม่ให้โจทก์ร่วมสนใจและอย่าใช้เสียงดังมิฉะนั้นจะฆ่าให้ตายแล้วจำเลยเดินไปใช้ไม้ขีดไฟจุดเผาหลังคายุ้งข้าวของโจทก์ร่วมพฤติการณ์เช่นนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าสาเหตุคดีนี้ เกิดขึ้นเพราะโจทก์ร่วมได้ว่ากล่าวจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องผิดปกติวิสัย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า บุคคลผู้มีจิตเป็นปกติจะกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยมีอาการทางประสาทมาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ คือชอบนั่งคอตกไม่พูดกับใคร ทำงานไม่ได้ ไล่ชกต่อยมารดาและเคยจะฟันพี่ชายพูดด้วยไม่รู้เรื่อง บางครั้งต้องใช้โซ่ล่ามไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดในขณะที่จิตบกพร่องหรือเป็นโรคจิตแต่ยังสามารถรู้ผิดชอบหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จิตบกพร่อง/จิตฟั่นเฟือน และความรับผิดทางอาญา: การกระทำโดยไม่สามารถรู้ผิดชอบ
แม้จะไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งตัวจำเลยไปให้จิตแพทย์ตรวจและลงความเห็น แต่พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำของผู้ที่มีจิตบกพร่อง และได้กระทำไปขณะที่จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะจิตบกพร่องหรือจิตฟั่นเฟือนแม้การที่จำเลยมีจิตบกพร่องหรือจิตฟั่นเฟือนนั้นจะไม่เป็นอยู่ตลอดเวลาจำเลยก็ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65.(ที่มา-เนติ)
of 3