พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8041/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยเหตุบันดาลโทสะ: การบุกรุกยามวิกาลและการข่มเหงทางจิตใจ
ป. อายุ 18 ปี เป็นบุตรสาวและอยู่ในความปกครองดูแลของจำเลยซึ่งเป็นบิดา แม้ผู้ตายจะเป็นคนรักของ ป. แต่ก็ลักลอบคบหาไปมาหาสู่กันโดยจำเลยและ ม. ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่เคยทราบเรื่องมาก่อน ขณะเกิดเหตุเป็นยามวิกาล เวลาถึง 1 นาฬิกาเศษ ผู้ตายแอบเข้ามาในบ้านทางช่องหน้าต่างห้องนอนของ ป. ชั้นบนของบ้านซึ่งอยู่ติดกับห้องนอนของจำเลยและอยู่กันลำพังเพียงสองต่อสอง ย่อมเป็นการกระทำที่อุกอาจผิดแบบธรรมเนียมประเพณีขัดต่อศีลธรรมอันดี ขาดความเคารพยำเกรงกระทบกระเทือนต่อจิตใจของจำเลยผู้เป็นบิดา ป. และเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุอย่างร้ายแรง นับได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยใช้อาวุธปืนสั้นติดตัวไปในขณะนั้นเนื่องจากได้ยินเสียงดังผิดปกติในห้องนอนของ ป. ยิงผู้ตายในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นการกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเหตุบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายไม่ถึงแก่ความตายหรืออันตรายร้ายแรง ไม่มีเหตุให้รับผิดชอบในความเสียหายทางจิตใจ
จำเลยที่ 1 ใช้กำลังชกต่อยที่หัวไหล่ขวาและบีบคอจนศรีษะของโจทก์กระแทกฝาห้องน้ำ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 คดีถึงที่สุดแล้ว คดีส่วนแพ่งจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีดังกล่าวว่าการทำร้ายของจำเลยที่ 1 ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของโจทก์ และเมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์เป็นผลมาจากการทำร้ายของจำเลยที่ 1 โดยตรง กรณีไม่มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหาย เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการก่อสร้างประมาทเลินเล่อ:สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจและทางร่างกาย
จำเลยก่อสร้างอาคารชิดที่ดินของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อซึ่งนอกจากทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของโจทก์แล้วยังทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายและอนามัย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินที่โจทก์ต้องทุกข์ทรมานจิตใจอันเนื่องมาจากการตอกเสาเข็ม วัสดุก่อสร้างและฝุ่นละอองร่วงหล่นเข้ามาในบริเวณที่ดินและบ้านโจทก์ได้และไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ไกลเกินเหตุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420,446
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8378/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนทางจิตใจจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ไม่อยู่ในข่ายที่กฎหมายคุ้มครอง
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเขตทางซึ่งอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร ... พ.ศ.2535ซึ่งมีผลใช้บังคับวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางจิตใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะจากความกดขี่ข่มเหงทางจิตใจ
จำเลยเห็นผู้ตายซึ่งเป็นสามีนำ ส.ภริยาน้อยและบุตรมาอยู่ในบ้านเรือนเดียวกัน จำเลยย่อมมีความหึงหวงและเป็นการหยามเกียรติ เมื่อจำเลยห้ามปรามผู้ตายก็ไม่ยอม กลับดื้อรั้นจะให้อยู่ร่วมด้วย ปราศจากความยำเกรง ทั้งยังจะเข้าทำร้าย การกระทำของผู้ตายเป็นการกระทบกระเทือนต่อจิตใจของจำเลยผู้เป็นภริยาเป็นอย่างยิ่ง ย่อมเหลือวิสัยที่จำเลยผู้เป็นภริยาจะอดกลั้นโทสะไว้ได้ จึงได้ใช้มีดแทงผู้ตายในทันทีทันใดที่ผู้ตายจะเข้าทำร้าย พฤติการณ์เช่นนี้นับได้ว่าเป็นการกระทำที่ถูกกดขี่ข่มเหงในทางจิตใจของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3357/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการละเมิด: ค่ารักษาพยาบาล, การดูแล, และความเสียหายทางจิตใจ
ค่ารักษาพยาบาลเป็นค่าเสียหายฐานละเมิด แม้บิดาโจทก์จะเบิกจากทางราชการและทางราชการได้จ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้แทนโจทก์ไปแล้วก็เป็นสิทธิเฉพาะตัวของบิดาโจทก์ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงยังมีสิทธิเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยที่ 2 ผู้ต้องรับผิดฐานละเมิดได้ และกรณีเป็นคนละเรื่องกับการที่โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินในกรณีถูกทำละเมิดจนได้รับอันตรายแก่กายหรือถึงแก่ชีวิต
เมื่อโจทก์ออกจากโรงพยาบาลแล้ว โจทก์ยังต้องได้รับการรักษาโดยทางกายภาพบำบัด ต้องมีผู้มาทำกายภาพบำบัดให้ที่บ้านของโจทก์อีกเป็นเวลา 3 เดือน เชื่อว่าโจทก์ต้องเสียค่าจ้างคนมาทำกายภาพบำบัดให้ แม้โจทก์ไม่มีใบเสร็จรับเงินมาแสดง โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
ค่าจ้างบุคคลอื่นดูแลโจทก์ในระหว่างการรักษาพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลนั้น แม้โจทก์จะไม่มีใบเสร็จรับเงินมาแสดงและไม่มีรายละเอียดว่าได้จ่ายค่าจ้างไปเท่าใดก็ตาม แต่การที่โจทก์ได้รับบาดเจ็บขาหักหลายแห่งต้องผ่าตัดหลายครั้งและต้องทำการกายภาพบำบัด ทั้งขณะอยู่ที่โรงพยาบาลและออกจากโรงพยาบาลแล้ว ใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลนานถึง 129 วัน จำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เพราะโจทก์ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นนักเรียนกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 6โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส ต้องพักรักษาตัวหลายเดือน ต้องขาดเรียนและเรียนซ้ำชั้น โจทก์ย่อมได้รับความทุกข์ทรมานทางกายและจิตใจมาก โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินในส่วนนี้ได้ และไม่ใช่ค่าเสียหายที่ไกลเกินเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446
เมื่อโจทก์ออกจากโรงพยาบาลแล้ว โจทก์ยังต้องได้รับการรักษาโดยทางกายภาพบำบัด ต้องมีผู้มาทำกายภาพบำบัดให้ที่บ้านของโจทก์อีกเป็นเวลา 3 เดือน เชื่อว่าโจทก์ต้องเสียค่าจ้างคนมาทำกายภาพบำบัดให้ แม้โจทก์ไม่มีใบเสร็จรับเงินมาแสดง โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
ค่าจ้างบุคคลอื่นดูแลโจทก์ในระหว่างการรักษาพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลนั้น แม้โจทก์จะไม่มีใบเสร็จรับเงินมาแสดงและไม่มีรายละเอียดว่าได้จ่ายค่าจ้างไปเท่าใดก็ตาม แต่การที่โจทก์ได้รับบาดเจ็บขาหักหลายแห่งต้องผ่าตัดหลายครั้งและต้องทำการกายภาพบำบัด ทั้งขณะอยู่ที่โรงพยาบาลและออกจากโรงพยาบาลแล้ว ใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลนานถึง 129 วัน จำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เพราะโจทก์ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นนักเรียนกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 6โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส ต้องพักรักษาตัวหลายเดือน ต้องขาดเรียนและเรียนซ้ำชั้น โจทก์ย่อมได้รับความทุกข์ทรมานทางกายและจิตใจมาก โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินในส่วนนี้ได้ และไม่ใช่ค่าเสียหายที่ไกลเกินเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างร่วม vs. ความรับผิดทางละเมิด และค่าเสียหายทางจิตใจ/ความสามารถในการทำงาน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้นำเข้าร่วมกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยได้ให้ประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 เป็นรายเที่ยว และให้ค่าต่อสัญญาเป็นรายปี ถือได้ว่า จำเลยที่ 3และที่ 2 ร่วมกันเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำละเมิด จำเลยที่ 3จึงต้องร่วมรับผิดด้วย หาจำต้องมีการแบ่งผลประโยชน์ในการประกอบกิจการไม่
ค่าขาดความสุขสำราญ เพราะร่างกายพิการทำให้สังคมรังเกียจอับอายขายหน้า ไม่ได้เล่นกีฬา ไม่ได้สมรส เป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจ เป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446ส่วนค่าสูญเสียความสามารถในการทำงาน เป็นความเสียหายเพราะเสียความสามารถประกอบการงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 เป็นค่าเสียหายคนละอย่างไม่ซ้ำซ้อน และแม้ค่าขาดความสุขสำราญกับค่าทนทุกขเวทนาต่างก็เป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน แต่ก็มิใช่ค่าเสียหายเดียวกัน เพราะค่าขาดความสุขสำราญเป็นเรื่องการขาดหรือสูญเสียความสุขสำราญจากความรู้สึกที่ดี ส่วนค่าทนทุกขเวทนา เป็นเรื่องการต้องทนยอมรับความเจ็บปวดหรือทรมาน จึงแตกต่างกัน ไม่ซ้ำซ้อน
ค่าขาดความสุขสำราญ เพราะร่างกายพิการทำให้สังคมรังเกียจอับอายขายหน้า ไม่ได้เล่นกีฬา ไม่ได้สมรส เป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจ เป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446ส่วนค่าสูญเสียความสามารถในการทำงาน เป็นความเสียหายเพราะเสียความสามารถประกอบการงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 เป็นค่าเสียหายคนละอย่างไม่ซ้ำซ้อน และแม้ค่าขาดความสุขสำราญกับค่าทนทุกขเวทนาต่างก็เป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน แต่ก็มิใช่ค่าเสียหายเดียวกัน เพราะค่าขาดความสุขสำราญเป็นเรื่องการขาดหรือสูญเสียความสุขสำราญจากความรู้สึกที่ดี ส่วนค่าทนทุกขเวทนา เป็นเรื่องการต้องทนยอมรับความเจ็บปวดหรือทรมาน จึงแตกต่างกัน ไม่ซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างร่วมและค่าเสียหายทางจิตใจจากการพิการไม่ซ้ำซ้อน
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่2ได้นำเข้าร่วมกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่3โดยได้ให้ประโยชน์แก่จำเลยที่3เป็นรายเที่ยวและให้ค่าต่อสัญญาเป็นรายปีถือได้ว่าจำเลยที่3และที่2ร่วมกันเป็นนายจ้างของจำเลยที่1จำเลยที่1ทำละเมิดจำเลยที่3จึงต้องร่วมรับผิดด้วยหาจำต้องมีการแบ่งผลประโยชน์ในการประกอบกิจการไม่ ค่าขาดความสุขสำราญเพราะร่างกายพิการทำให้สังคมรังเกียจอับอายขายหน้าไม่ได้เล่นกีฬาไม่ได้สมรสเป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา446ส่วนค่าสูญเสียความสามารถในการทำงานเป็นความเสียหายเพราะเสียความสามารถประกอบการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา444เป็นค่าเสียหายคนละอย่างไม่ซ้ำซ้อนและแม้ค่าขาดความสุขสำราญกับค่าทนทุกขเวทนาต่างก็เป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินแต่ก็มิใช่ค่าเสียหายเดียวกันเพราะค่าขาดความสุขสำราญเป็นเรื่องการขาดหรือสูญเสียความสุขสำราญจากความรู้สึกที่ดีส่วนค่าทนทุกขเวทนาเป็นเรื่องการต้องทนยอมรับความเจ็บปวดหรือทรมานจึงแตกต่างกันไม่ซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองผู้เยาว์: พิจารณาความผูกพันทางจิตใจและผลประโยชน์สูงสุดของผู้เยาว์
บิดามิได้ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบหรือประพฤติชั่วร้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1582 เพียงแต่ไม่สามารถปกครองดูแลผู้เยาว์ให้ได้รับความผาสุก อันอาจเป็นเหตุให้สุขภาพจิตของผู้เยาว์เสื่อมลงเท่านั้นกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของบิดา แต่ตามพฤติการณ์ของคดีได้ความว่าความผูกพันทางจิตใจของมารดาที่มีต่อผู้เยาว์จะแนบแน่นมากกว่าผู้เป็นบิดา แม้มารดาได้มีโอกาสปกครองดูแลผู้เยาว์บ้างเป็นครั้งคราวชั่วระยะเวลาอันสั้น ผู้เยาว์กลับประสงค์จะอยู่กับมารดา แสดงว่าผู้เยาว์ขาดความอบอุ่นทางจิตใจขณะอยู่กับบิดาเมื่อผู้เยาว์มีความผูกพันกับมารดามากกว่าบิดา การที่ผู้เยาว์อยู่กับมารดาจะมีผลดีต่อสุขภาพจิตของผู้เยาว์ จึงเห็นสมควรให้การใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่กับมารดาฝ่ายเดียวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากละเมิด: การทำร้ายร่างกายทำให้เสียโฉม, ความเสียหายทางจิตใจ, และการหลอกลวง
จำเลยใช้มีดกรีดใบหน้าโจทก์แผลยาว 3 นิ้วครึ่ง ลึก 1 นิ้ว เมื่อบาดแผลหายแล้วมีแผลเป็นทำให้โจทก์มีใบหน้าเสียโฉมอย่างติดตัวการที่โจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ เป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446ศาลกำหนดให้โดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์และความร้ายแรง แห่งละเมิด.